อังคณา ร่วมแจง ประเด็นสหประชาชาติรุมตั้งคำถามไทยละเมิดสิทธิฯ ปชช. ลั่น กรรมการสิทธิฯ ยังทำงานอิสระ
สำนักข่าวอิศรารายงาน นางอังคณา นีละไพจิตร ภรรยา ทนายสมชาย นีละไพจิตร และกรรมการสิทธิฯ เปิดเผย ประเด็นปม [iประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ 105 ประเทศจากทั้งหมด 193 ประเทศ รุมตั้งคำถามและมีข้อเสนอแนะต่อสถานการ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย เรื่อง เสรีภาพในการแสดงออก การชุมนุม การซ้อมทรมาน การบังคับบุคคลสูญหาย ม.112 ฯลฯ] ว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งประเทศไทยต้องไปนั่งในที่ประชุมที่เจนีวา และ กสม. ต้องมีถ้อยแถลงการต่อสถานการณ์เรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย แต่เนื่องจาก กสม.ไทยถูกลดสถานะจาก A เป็น B เลยทำให้กสม.ไม่สามารถมีถ้อยแถลงด้วยวาจาในเวที UPR ได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม กสม.เป็นองค์กรอิสระ ทั้งตามรัฐธรรมนูญของไทยและหลักการสากล กสม.ไม่ได้มีภาระผูกพันที่ต้องปฎิบัติตามกฎหมายภายในประเทศอย่างเดียว แต่มีภาระหน้าที่ในการนำอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันทั้ง 7 ฉบับ มาเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศด้วย
"ต้องขอบคุณรัฐบาลที่สนับสนุนในเรื่องของงบประมาณ ซึ่งกสม.ไทยยังได้รับงบประมาณจากรัฐ แต่ตัวกรรมการสิทธิฯ ไม่ใช่ราชการ ดังนั้นกรรมการสิทธิฯ จึงต้องทำงานอย่างอิสระ" นางอังคณา กล่าว และว่า ส่วนเรื่องการปฏิรูปกสม. เห็นว่า กสม.ภาครัฐต้องสนับสนุน ไม่ใช่เรื่องเงินอย่างเดียว แต่ต้องสนับสนุนให้ กสม.สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างอิสระ เคารพการทำงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการทำหน้าที่ปกป้องสิทธิมนุษยในไทย
นอกจากนี้ประเด็นที่ถูกประชาคมโลกตั้งคำถามอย่างมาก อย่างสถานการณ์การบังคับบุคคลสูญหายในประเทศ นางอังคนา กล่าวว่า เรื่องบังคับสูญหายเป็นประเด็นสำคัญ ในสถานการณ์ตอนนี้ประเทศไทยมีการอุ้มหายมากขึ้น ในช่วงตุลาคม 2554 ในการทบทวน UPR ครั้งแรก ไทยได้ตอบรับข้อแนะนำ และได้ลงนามอนุสัญญาว่าด้วยการบังคับสูญหาย ในเดือนมกราคม 2555 จากนั้นไทยมีความพยายามในการร่างกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับบุคคลสูญหายและการซ้อมทรมาน แต่อย่างไรก็ดี กฎหมายดังกล่าวก็ยังคงมีความล่าช้า ทั้งๆ ที่มีการยื่นให้ครม.ตั้งแต่เดือนเมษายน2558 จนปัจจุบัน กฎหมายดังกล่าว ยังไม่เข้าสู่การพิจารณาของ สนช.
"ก็สงสัยว่าทำไมกฎหมายดีๆ แบบนี้ถึงยังไม่ผ่านการพิจารณาเสียที ต้องฝากรัฐบาลในการตอบข้อสงสัยนี้ เพราะว่ากฎหมายหมายฉบับนี้ กฎหมายที่จะคุ้มครองประชาชน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องผลักดัน ให้ออกมาโดยเร็ว โดยต้องมีกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพราะว่าวันนี้ใครก็เสี่ยงถูกอุ้มหายได้ การอุ้มหายไม่ใช่เรื่องของการอุ้มฆ่าอย่างเดียว แต่หมายถึงการคุมตัวในสถานที่ลับ ประเทศให้คำมั่นที่จะสามารถนำกลับมาใช้ได้จริง"
แม้ทั่วโลกครหาสิทธิมนุษยชนไทย อังคณา ลั่น บทบาทกสม. ยังอิสระ จี้ รัฐออก กม.ตามสัญญา
สำนักข่าวอิศรารายงาน นางอังคณา นีละไพจิตร ภรรยา ทนายสมชาย นีละไพจิตร และกรรมการสิทธิฯ เปิดเผย ประเด็นปม [iประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ 105 ประเทศจากทั้งหมด 193 ประเทศ รุมตั้งคำถามและมีข้อเสนอแนะต่อสถานการ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย เรื่อง เสรีภาพในการแสดงออก การชุมนุม การซ้อมทรมาน การบังคับบุคคลสูญหาย ม.112 ฯลฯ] ว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งประเทศไทยต้องไปนั่งในที่ประชุมที่เจนีวา และ กสม. ต้องมีถ้อยแถลงการต่อสถานการณ์เรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย แต่เนื่องจาก กสม.ไทยถูกลดสถานะจาก A เป็น B เลยทำให้กสม.ไม่สามารถมีถ้อยแถลงด้วยวาจาในเวที UPR ได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม กสม.เป็นองค์กรอิสระ ทั้งตามรัฐธรรมนูญของไทยและหลักการสากล กสม.ไม่ได้มีภาระผูกพันที่ต้องปฎิบัติตามกฎหมายภายในประเทศอย่างเดียว แต่มีภาระหน้าที่ในการนำอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันทั้ง 7 ฉบับ มาเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศด้วย
"ต้องขอบคุณรัฐบาลที่สนับสนุนในเรื่องของงบประมาณ ซึ่งกสม.ไทยยังได้รับงบประมาณจากรัฐ แต่ตัวกรรมการสิทธิฯ ไม่ใช่ราชการ ดังนั้นกรรมการสิทธิฯ จึงต้องทำงานอย่างอิสระ" นางอังคณา กล่าว และว่า ส่วนเรื่องการปฏิรูปกสม. เห็นว่า กสม.ภาครัฐต้องสนับสนุน ไม่ใช่เรื่องเงินอย่างเดียว แต่ต้องสนับสนุนให้ กสม.สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างอิสระ เคารพการทำงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการทำหน้าที่ปกป้องสิทธิมนุษยในไทย
นอกจากนี้ประเด็นที่ถูกประชาคมโลกตั้งคำถามอย่างมาก อย่างสถานการณ์การบังคับบุคคลสูญหายในประเทศ นางอังคนา กล่าวว่า เรื่องบังคับสูญหายเป็นประเด็นสำคัญ ในสถานการณ์ตอนนี้ประเทศไทยมีการอุ้มหายมากขึ้น ในช่วงตุลาคม 2554 ในการทบทวน UPR ครั้งแรก ไทยได้ตอบรับข้อแนะนำ และได้ลงนามอนุสัญญาว่าด้วยการบังคับสูญหาย ในเดือนมกราคม 2555 จากนั้นไทยมีความพยายามในการร่างกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับบุคคลสูญหายและการซ้อมทรมาน แต่อย่างไรก็ดี กฎหมายดังกล่าวก็ยังคงมีความล่าช้า ทั้งๆ ที่มีการยื่นให้ครม.ตั้งแต่เดือนเมษายน2558 จนปัจจุบัน กฎหมายดังกล่าว ยังไม่เข้าสู่การพิจารณาของ สนช.
"ก็สงสัยว่าทำไมกฎหมายดีๆ แบบนี้ถึงยังไม่ผ่านการพิจารณาเสียที ต้องฝากรัฐบาลในการตอบข้อสงสัยนี้ เพราะว่ากฎหมายหมายฉบับนี้ กฎหมายที่จะคุ้มครองประชาชน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องผลักดัน ให้ออกมาโดยเร็ว โดยต้องมีกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพราะว่าวันนี้ใครก็เสี่ยงถูกอุ้มหายได้ การอุ้มหายไม่ใช่เรื่องของการอุ้มฆ่าอย่างเดียว แต่หมายถึงการคุมตัวในสถานที่ลับ ประเทศให้คำมั่นที่จะสามารถนำกลับมาใช้ได้จริง"