Tue, 2016-08-30 15:06
คนไทยถูกอุ้มหาย 101 รายนับจากปี 34 ดันร่างกฎหมายต้านการอุ้มหาย เอาผิด จนท.รัฐ และผู้บังคับบัญชาหากรู้เห็น ห้ามฟ้องหมิ่นฯ ผู้ร้อง และทุกนาทีต้องถูกนับ นักวิชาการหวั่น กม.ถูกตีตกหรือบิดเบือน ชี้ ม.44 เท่านั้นที่ยกเว้น กม.ต้านการอุ้มหายได้ เพราะมีอำนาจเหนือรัฐธรรมนูญ
“ตั้งแต่ไปแจ้งความที่ สภ.แก่งกระจาน วันแรก ช่วงเช้าเขาไม่รับแจ้งความ เขาบอกว่าเป็นคนที่ถูกจับ ไม่ใช่คนหายตัว จะมาแจ้งความได้ยังไง ช่วงบ่ายก็ไปอีกรอบหนึ่ง เจ้าหน้าที่บอกว่าเขาประสานงานกับหัวหน้าอุทยานแล้ว แล้วบอกว่าเขาจับไปจริง แล้วเขาก็ปล่อยไปเย็นวันนั้นแล้ว เขาไม่ได้ทำอะไร ก็เลยตอบกับเขาว่า เขาปล่อยตัวยังไง หนูเป็นภรรยาเขา ทำไมไม่เห็นเขากลับมาหาครอบครัว เขาก็ตอบกลับมาว่านั่นคือสิ่งสำคัญที่หนูต้องออกไปตามหา ไปเก็บข้อมูลมา ให้มาแจ้งความ เจ้าหน้าที่ตำรวจถึงจะออกสืบภายหลังน่ะค่ะ อันที่จริงแล้วอยากให้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยติดตามคดีให้กระจ่าง ให้มาไวๆ หน่อยค่ะ” พิณนภา พฤกษาพรรณ ภรรยาของบิลลี่-พอละจี รักจงเจริญ ที่หายตัวไปตั้งแต่ปี 2557 กล่าว
“ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาเมื่อต้นปี 2559 คดีทนายสมชาย นีละไพจิตร ระบุว่าผู้เสียหายในคดีอุ้มหาย หมายถึงคนที่ถูกเอาตัวไปเท่านั้น ซึ่งเป็นคำพิพากษาที่ผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ศาลฎีกากำลังบอกว่า ใครก็ตามต่อไปนี้ถูกลักพาตัวไป ต้องคนคนนั้นเท่านั้นเป็นผู้เสียหายที่มาร้องทุกข์ ที่มาฟ้องดำเนินคดีได้ สามี ภรรยา ลูก ญาติใกล้ชิด ไม่สามารถเป็นผู้เสียหายตามความหมายของกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาปัจจุบันได้ ศาลฎีกาตีความตามตัวอักษรเป๊ะ ซึ่งผมว่ามันเกิดผลประหลาดอย่างยิ่งคือเจ้าหน้าที่รัฐก็ไม่ปล่อยผู้ที่ถูกเอาตัวไป เพราะปล่อยออกมาก็ไปร้องทุกข์ ถูกดำเนินคดี ถ้าอุ้มแล้วหายไป แม้จะมีการอุ้ม เห็นกันกลางตลาด ก็ไม่มีใครดำเนินคดีได้ เพราะผู้เสียหายไม่ปรากฏ ด้วยการตีความที่จำกัดมากๆ แบบนี้ของศาลฎีกา” ปกป้อง ศรีสนิท อาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ กล่าว
สองข้อความข้างต้นสะท้อนให้เห็นปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงของการบังคับสูญหายหรือ ‘อุ้มหาย’ ทั้งในเชิงข้อกฎหมาย กลไกการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ และแนวคิดของผู้ที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม และเนื่องด้วยวันที่ 30 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันผู้สูญหายสากล (International Day of the Disappeared) เพื่อรำลึกถึงบุคคลที่สูญหายจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ภาวะสงคราม การปราบปรามจากรัฐ หรือการก่อการร้ายที่เกิดขึ้นอยู่ในหลายประเทศ และส่งผลให้มีผู้สูญหายและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก จึงสอดคล้องกันพอดีหากจะทำความเข้าใจร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ.... ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนของกฤษฎีกา ซึ่งเป็นกฎหมายที่จำเป็นต่อการสร้างกลไกรับมือกับการอุ้มหาย ซึ่งมักเกิดจากน้ำมือของเจ้าหน้าที่รัฐ
แต่ด้วยเนื้อหาสาระของร่างกฎหมายที่จะกล่าวต่อไป ก็น่าเป็นห่วงว่ากฎหมายฉบับนี้จะถูกตีตกหรือผ่านการพิจารณาโดยไม่ถูกบิดเบือนได้หรือไม่ เมื่อดูบริบทการเมืองไทยปัจจุบันว่าใครคือผู้ครองอำนาจ
กม.ต้านอุ้มหาย กำหนดความผิด จนท.รัฐ โดยตรง-ผู้บังคับบัญชาโดนด้วย
ปกป้อง อธิบายว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้นำมาจากอนุสัญญาระหว่างประเทศ 2 ฉบับคืออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย โดยเนื้อหาสาระทั้งหมดในกฎหมายเป็นพันธกรณีตามอนุสัญญาที่ใส่เข้ามา สาระสำคัญของร่างกฎหมายดังกล่าวคือ
1.กฎหมายได้กำหนดนิยามการทรมานและการอุ้มหายไว้ตามพันธกรณีของอนุสัญญา เนื่องจากไทยไม่เคยมีกฎหมายลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำการทรมานและอุ้มหายประชาชนมาก่อน ที่ผ่านมามีแต่กฎหมายเทียบเคียงกัน เช่น ข้อหาทำร้ายร่างกาย ซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษเบาและไม่สมเจตนาของการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงสูงสุดที่ทั่วโลกยอมรับว่ารัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่อาจอ้างสถานการณ์ใดๆ เพื่อจะบังคับคนให้ทรมานหรือสูญหายได้ จึงจำเป็นต้องมีฐานความผิดเฉพาะและต้องลงโทษอย่างหนัก
2.กฎหมายกำหนดนิยามผู้เสียหายให้กว้างขวางขึ้น หมายถึงบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการทรมานหรือการอุ้มหาย และให้รวมถึงบุพการี ผู้สืบสันดาน สามี ภรรยาของบุคคลดังกล่าว รวมทั้งผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง เพราะการตีความกฎหมายตามตัวอักษรแบบไม่ยืดหยุ่นของศาลฎีกาก่อให้เกิดปัญหาดังที่กล่าวข้างต้น โดยผู้เสียหายมีสิทธิร้องทุกข์ ติดตามผู้ที่ถูกเอาตัวไป และมีสิทธิรับการเยียวยาตามกฎหมายฉบับนี้
3.กำหนดให้ผู้บังคับบัญชาโดยตรงต้องรับผิดทางอาญา หากรู้เห็นว่าเจ้าหน้าที่ภายใต้การบังคับบัญชาของตนซ้อมทรมานหรือบังคับบุคคลให้สูญหายและไม่ยับยั้ง
4.การคุมขังในที่ลับหรือที่ไม่เปิดเผยจะกระทำไม่ได้ ต้องคุมขังในสถานที่ที่ญาติพี่น้องรู้ สามารถเข้าเยี่ยมและเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของผู้ถูกนำตัวไปได้ ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐไม่ยอมเปิดเผยหรือปกปิด ญาติพี่น้องของผู้ถูกคุมตัวโดยไม่เปิดเผยสถานที่สามารถร้องต่อศาลให้สั่งเปิดเผยข้อมูลได้
5.ร่างกฎหมายให้คณะกรรมการตามกฎหมายฉบับนี้มีอำนาจค่อนข้างมากในการสืบสวนสอบสวนคดีซ้อมทรมานและอุ้มหาย คุ้มครองพยาน และช่วยเหลือเยียวยาญาติพี่น้อง
6.ที่ผ่านมานักสิทธิมนุษยชนหรือญาติเหยื่อที่ร้องเรียนเจ้าหน้าที่รัฐมักถูกฟ้องกลับในข้อหาหมิ่นประมาท ร่างกฎหมายนี้จึงกำหนดให้การร้องเรียนทั้งหลายในคดีการซ้อมทรมานและบังคับสูญหายให้ได้รับความคุ้มครอง ไม่อาจถูกฟ้องแพ่ง-อาญาในคดีอื่นใด เพราะถือว่าการร้องเรียนในลักษณะนี้เป็นไปเพื่อสิทธิสาธารณะ ไม่ใช่ทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัว และเจ้าหน้าที่รัฐควรสู้ในคดีการซ้อมทรมานและบังคับสูญหาย ไม่ใช่คดีหมิ่นประมาท
101 ราย คนไทยที่ถูกอุ้มหาย
บุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า สถานการณ์การอุ้มหายในระดับภูมิภาคเอเชีย ตัวเลขจากคณะทำงานเรื่องคนหายของสหประชาชาติ พบว่า มีบุคคลถูกบังคับให้สูญหายในฟิลิปปินส์ 625 ราย ไทย 81 ราย อินโดนีเซีย 163 ราย กัมพูชา 1 ราย ลาว 2 ราย พม่า 2 ราย ติมอร์ตะวันออก 428 ราย เนปาล 459 ราย ภูฏาน 5 ราย อินเดีย 354 ราย ปากีสถาน 151 ราย จีน 37 ราย เกาหลีเหนือ 20 ราย บังกลาเทศ 135 ราย และศรีลังกา 5,731 ราย โดยเป็นเหตุที่เกิดขึ้นนานมาแล้วและสะสมตัวเลขมากขึ้นเรื่อยๆ
“ยูเอ็นเน้นคำว่าทุกนาทีจะถูกนับ คือแต่ละนาทีที่ผ่านไปของการควบคุมตัวโดยไม่เปิดเผยสถานที่ให้ญาติทราบจะถือว่าเป็นการบังคับสูญหาย การคุมตัวประชาชนไปยังสถานที่ใดสถานที่หนึ่งและไม่มีผู้ใดทราบว่าอยู่ที่ไหน ถึงแม้จะแค่วันเดียว ก็ถือเป็นการบังคับสูญหายตามอนุสัญญาฯ ของยูเอ็น”
“ส่วนในไทยที่อนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนรวบรวมตั้งแต่ปี 2534 เริ่มต้นที่คดีของคุณทนง โพธิ์อ่าน อดีตประธานสภาแรงงานแห่งประเทศไทยที่สูญหายไปหลังเหตุการณ์ รสช. (คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ) เหตุเกิดเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2534 ไล่มาถึงกรณีบิลลี่ รวม 79 กรณี 100 ราย แต่ถ้ารวมกรณีลุงเด่น คำแหล้ จะเป็น 80 กรณี เท่ากับ 101 ราย ซึ่งแทบไม่รู้ชะตากรรมเลยว่าผู้สูญหายเป็นอย่างไร แม้กระทั่งกรณีที่มีความชัดเจนอย่างกรณีคุณสมชาย นีละไพจิตร ก็ยังไม่สามารถเอาผิดทางอาญา เป็นสิ่งสะท้อนความจริงจังและจริงใจของรัฐว่าดำเนินการอย่างไรกับกรณีเหล่านี้ตั้งแต่ปี 2534 ถึงปัจจุบัน”
ทุกนาทีต้องถูกนับ
อย่างไรก็ตาม กรณีการบังคับบุคคลให้สูญหายหรืออุ้มหายนั้น สังคมไทยหรือแม้แต่เจ้าหน้าที่รัฐเองก็ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าหมายถึงการพาตัวไป สังหาร และทำลายศพ ซึ่งอังคณา นีละไพจิตร กล่วว่า ในปีนี้ แถลงการณ์ยูเอ็นเนื่องในวันที่ระลึกเหยื่อการถูกบังคับให้สูญหาย เน้นย้ำว่าการบังคับสูญหายไม่ใช่เฉพาะกรณีอุ้มฆ่าหรือทำลายศพ แต่ยังหมายถึงการทำให้สูญหายในระยะสั้นหรือชั่วคราว รวมกรณีที่นำตัวไปควบคุมโดยปกปิดสถานที่ด้วย
“ยูเอ็นเน้นคำว่าทุกนาทีจะถูกนับ คือแต่ละนาทีที่ผ่านไปของการควบคุมตัวโดยไม่เปิดเผยสถานที่ให้ญาติทราบจะถือว่าเป็นการบังคับสูญหาย การคุมตัวประชาชนไปยังสถานที่ใดสถานที่หนึ่งและไม่มีผู้ใดทราบว่าอยู่ที่ไหน ถึงแม้จะแค่วันเดียว ก็ถือเป็นการบังคับสูญหายตามอนุสัญญาฯ ของยูเอ็น”
ซึ่งสอดคล้องกับสาระของร่างกฎหมายฉบับนี้ อังคณา ยังกล่าวอีกว่า กรณีบังคับบุคคลสูญหายจะสิ้นสุดต่อเมื่อทราบที่อยู่และชะตากรรมของผู้สูญหาย กรณีการควบคุมตัวโดยปกปิดสถานที่หรือการอุ้มฆ่า จะถือว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นบุคคลสูญหายจนกว่าจะรู้ว่าผู้นั้นอยู่ที่ไหนและอยู่ในสภาพใด เมื่อถึงตอนนั้นอายุความจึงจะเริ่มนับ แม้เวลาจะผ่านไป 50 ปี 70 ปีแล้วก็ตาม
อุ้มหายเป็นความผิดต่อเนื่อง เอาผิด จนท.รัฐ ได้
คำถามสำคัญคือหากกฎหมายฉบับนี้ผ่าน จะสามารถบังคับใช้กับกรณีการบังคับสูญหายที่เกิดขึ้นก่อนที่กฎหมายจะประกาศใช้ได้หรือไม่
ปกป้อง อธิบายว่า กฎหมายอาญาจะลงโทษคนย้อนหลังไม่ได้ เป็นหลักสิทธิมนุษยชนที่สูงเท่าๆ กับการคุ้มครองการทรมานและอุ้มหาย จึงไม่อาจย้อนหลังไปลงโทษการกระทำก่อนที่กฎหมายจะบังคับ
“แต่ลักษณะของการอุ้มหายเป็นความผิดที่มีลักษณะต่อเนื่อง หมายถึงตราบใดก็ตาม ที่เจ้าหน้าที่รัฐที่นำตัวไป ยังไม่ได้ปล่อยตัว ยังไม่เปิดเผยสถานที่ ทุกวินาทียังมีความผิดอยู่ ดังนั้น แม้เจ้าหน้าที่รัฐจะได้นำตัวไปเมื่อ 10 ปีก่อนหรือ 5 ปีก่อน และยังไม่เปิดเผยว่าอยู่ที่ไหน ยังไม่ได้ปล่อยตัวออกมา กฎหมายออกวันนี้ วันนี้เจ้าหน้าที่รัฐคนนั้นก็ยังมีความผิดอยู่ ไม่ใช่ลักษณะกฎหมายเอาผิดย้อนหลังเพราะมันเป็นลักษณะความผิดต่อเนื่องของการอุ้มหาย”
ปกป้องให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวประชาไทต่อคำถามที่ว่า แล้วในกรณีการอุ้มหายมีอาจเกิดจากเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และได้รับเงินเยียวยา 7.5 ล้านบาทไปแล้ว จะยังสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมายนี้ได้หรือไม่
“ถ้าตราบใดที่ยังไม่เปิดเผยขึ้นมาก็ยังถือเป็นความผิดตลอดเวลา การดำเนินคดีตามคดีนี้เพื่อเอาผิดยังมีอยู่ เพราะความผิดฐานอุ้มหายเป็นความผิดต่อเนื่อง ถ้าคุณเอาตัวเขาไป ยังไม่เปิดเผยว่าเขาอยู่ที่ไหนก็ยังเป็นความผิดอยู่ตลอดเวลา”
เนื้อหาต่อความเห็นต่อไปครับ
รายงาน: ชะตากรรม ร่าง กม.ต้านการอุ้มหาย ในมือ...
คนไทยถูกอุ้มหาย 101 รายนับจากปี 34 ดันร่างกฎหมายต้านการอุ้มหาย เอาผิด จนท.รัฐ และผู้บังคับบัญชาหากรู้เห็น ห้ามฟ้องหมิ่นฯ ผู้ร้อง และทุกนาทีต้องถูกนับ นักวิชาการหวั่น กม.ถูกตีตกหรือบิดเบือน ชี้ ม.44 เท่านั้นที่ยกเว้น กม.ต้านการอุ้มหายได้ เพราะมีอำนาจเหนือรัฐธรรมนูญ
“ตั้งแต่ไปแจ้งความที่ สภ.แก่งกระจาน วันแรก ช่วงเช้าเขาไม่รับแจ้งความ เขาบอกว่าเป็นคนที่ถูกจับ ไม่ใช่คนหายตัว จะมาแจ้งความได้ยังไง ช่วงบ่ายก็ไปอีกรอบหนึ่ง เจ้าหน้าที่บอกว่าเขาประสานงานกับหัวหน้าอุทยานแล้ว แล้วบอกว่าเขาจับไปจริง แล้วเขาก็ปล่อยไปเย็นวันนั้นแล้ว เขาไม่ได้ทำอะไร ก็เลยตอบกับเขาว่า เขาปล่อยตัวยังไง หนูเป็นภรรยาเขา ทำไมไม่เห็นเขากลับมาหาครอบครัว เขาก็ตอบกลับมาว่านั่นคือสิ่งสำคัญที่หนูต้องออกไปตามหา ไปเก็บข้อมูลมา ให้มาแจ้งความ เจ้าหน้าที่ตำรวจถึงจะออกสืบภายหลังน่ะค่ะ อันที่จริงแล้วอยากให้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยติดตามคดีให้กระจ่าง ให้มาไวๆ หน่อยค่ะ” พิณนภา พฤกษาพรรณ ภรรยาของบิลลี่-พอละจี รักจงเจริญ ที่หายตัวไปตั้งแต่ปี 2557 กล่าว
“ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาเมื่อต้นปี 2559 คดีทนายสมชาย นีละไพจิตร ระบุว่าผู้เสียหายในคดีอุ้มหาย หมายถึงคนที่ถูกเอาตัวไปเท่านั้น ซึ่งเป็นคำพิพากษาที่ผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ศาลฎีกากำลังบอกว่า ใครก็ตามต่อไปนี้ถูกลักพาตัวไป ต้องคนคนนั้นเท่านั้นเป็นผู้เสียหายที่มาร้องทุกข์ ที่มาฟ้องดำเนินคดีได้ สามี ภรรยา ลูก ญาติใกล้ชิด ไม่สามารถเป็นผู้เสียหายตามความหมายของกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาปัจจุบันได้ ศาลฎีกาตีความตามตัวอักษรเป๊ะ ซึ่งผมว่ามันเกิดผลประหลาดอย่างยิ่งคือเจ้าหน้าที่รัฐก็ไม่ปล่อยผู้ที่ถูกเอาตัวไป เพราะปล่อยออกมาก็ไปร้องทุกข์ ถูกดำเนินคดี ถ้าอุ้มแล้วหายไป แม้จะมีการอุ้ม เห็นกันกลางตลาด ก็ไม่มีใครดำเนินคดีได้ เพราะผู้เสียหายไม่ปรากฏ ด้วยการตีความที่จำกัดมากๆ แบบนี้ของศาลฎีกา” ปกป้อง ศรีสนิท อาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ กล่าว
สองข้อความข้างต้นสะท้อนให้เห็นปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงของการบังคับสูญหายหรือ ‘อุ้มหาย’ ทั้งในเชิงข้อกฎหมาย กลไกการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ และแนวคิดของผู้ที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม และเนื่องด้วยวันที่ 30 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันผู้สูญหายสากล (International Day of the Disappeared) เพื่อรำลึกถึงบุคคลที่สูญหายจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ภาวะสงคราม การปราบปรามจากรัฐ หรือการก่อการร้ายที่เกิดขึ้นอยู่ในหลายประเทศ และส่งผลให้มีผู้สูญหายและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก จึงสอดคล้องกันพอดีหากจะทำความเข้าใจร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ.... ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนของกฤษฎีกา ซึ่งเป็นกฎหมายที่จำเป็นต่อการสร้างกลไกรับมือกับการอุ้มหาย ซึ่งมักเกิดจากน้ำมือของเจ้าหน้าที่รัฐ
แต่ด้วยเนื้อหาสาระของร่างกฎหมายที่จะกล่าวต่อไป ก็น่าเป็นห่วงว่ากฎหมายฉบับนี้จะถูกตีตกหรือผ่านการพิจารณาโดยไม่ถูกบิดเบือนได้หรือไม่ เมื่อดูบริบทการเมืองไทยปัจจุบันว่าใครคือผู้ครองอำนาจ
กม.ต้านอุ้มหาย กำหนดความผิด จนท.รัฐ โดยตรง-ผู้บังคับบัญชาโดนด้วย
ปกป้อง อธิบายว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้นำมาจากอนุสัญญาระหว่างประเทศ 2 ฉบับคืออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย โดยเนื้อหาสาระทั้งหมดในกฎหมายเป็นพันธกรณีตามอนุสัญญาที่ใส่เข้ามา สาระสำคัญของร่างกฎหมายดังกล่าวคือ
1.กฎหมายได้กำหนดนิยามการทรมานและการอุ้มหายไว้ตามพันธกรณีของอนุสัญญา เนื่องจากไทยไม่เคยมีกฎหมายลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำการทรมานและอุ้มหายประชาชนมาก่อน ที่ผ่านมามีแต่กฎหมายเทียบเคียงกัน เช่น ข้อหาทำร้ายร่างกาย ซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษเบาและไม่สมเจตนาของการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงสูงสุดที่ทั่วโลกยอมรับว่ารัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่อาจอ้างสถานการณ์ใดๆ เพื่อจะบังคับคนให้ทรมานหรือสูญหายได้ จึงจำเป็นต้องมีฐานความผิดเฉพาะและต้องลงโทษอย่างหนัก
2.กฎหมายกำหนดนิยามผู้เสียหายให้กว้างขวางขึ้น หมายถึงบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการทรมานหรือการอุ้มหาย และให้รวมถึงบุพการี ผู้สืบสันดาน สามี ภรรยาของบุคคลดังกล่าว รวมทั้งผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง เพราะการตีความกฎหมายตามตัวอักษรแบบไม่ยืดหยุ่นของศาลฎีกาก่อให้เกิดปัญหาดังที่กล่าวข้างต้น โดยผู้เสียหายมีสิทธิร้องทุกข์ ติดตามผู้ที่ถูกเอาตัวไป และมีสิทธิรับการเยียวยาตามกฎหมายฉบับนี้
3.กำหนดให้ผู้บังคับบัญชาโดยตรงต้องรับผิดทางอาญา หากรู้เห็นว่าเจ้าหน้าที่ภายใต้การบังคับบัญชาของตนซ้อมทรมานหรือบังคับบุคคลให้สูญหายและไม่ยับยั้ง
4.การคุมขังในที่ลับหรือที่ไม่เปิดเผยจะกระทำไม่ได้ ต้องคุมขังในสถานที่ที่ญาติพี่น้องรู้ สามารถเข้าเยี่ยมและเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของผู้ถูกนำตัวไปได้ ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐไม่ยอมเปิดเผยหรือปกปิด ญาติพี่น้องของผู้ถูกคุมตัวโดยไม่เปิดเผยสถานที่สามารถร้องต่อศาลให้สั่งเปิดเผยข้อมูลได้
5.ร่างกฎหมายให้คณะกรรมการตามกฎหมายฉบับนี้มีอำนาจค่อนข้างมากในการสืบสวนสอบสวนคดีซ้อมทรมานและอุ้มหาย คุ้มครองพยาน และช่วยเหลือเยียวยาญาติพี่น้อง
6.ที่ผ่านมานักสิทธิมนุษยชนหรือญาติเหยื่อที่ร้องเรียนเจ้าหน้าที่รัฐมักถูกฟ้องกลับในข้อหาหมิ่นประมาท ร่างกฎหมายนี้จึงกำหนดให้การร้องเรียนทั้งหลายในคดีการซ้อมทรมานและบังคับสูญหายให้ได้รับความคุ้มครอง ไม่อาจถูกฟ้องแพ่ง-อาญาในคดีอื่นใด เพราะถือว่าการร้องเรียนในลักษณะนี้เป็นไปเพื่อสิทธิสาธารณะ ไม่ใช่ทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัว และเจ้าหน้าที่รัฐควรสู้ในคดีการซ้อมทรมานและบังคับสูญหาย ไม่ใช่คดีหมิ่นประมาท
101 ราย คนไทยที่ถูกอุ้มหาย
บุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า สถานการณ์การอุ้มหายในระดับภูมิภาคเอเชีย ตัวเลขจากคณะทำงานเรื่องคนหายของสหประชาชาติ พบว่า มีบุคคลถูกบังคับให้สูญหายในฟิลิปปินส์ 625 ราย ไทย 81 ราย อินโดนีเซีย 163 ราย กัมพูชา 1 ราย ลาว 2 ราย พม่า 2 ราย ติมอร์ตะวันออก 428 ราย เนปาล 459 ราย ภูฏาน 5 ราย อินเดีย 354 ราย ปากีสถาน 151 ราย จีน 37 ราย เกาหลีเหนือ 20 ราย บังกลาเทศ 135 ราย และศรีลังกา 5,731 ราย โดยเป็นเหตุที่เกิดขึ้นนานมาแล้วและสะสมตัวเลขมากขึ้นเรื่อยๆ
“ยูเอ็นเน้นคำว่าทุกนาทีจะถูกนับ คือแต่ละนาทีที่ผ่านไปของการควบคุมตัวโดยไม่เปิดเผยสถานที่ให้ญาติทราบจะถือว่าเป็นการบังคับสูญหาย การคุมตัวประชาชนไปยังสถานที่ใดสถานที่หนึ่งและไม่มีผู้ใดทราบว่าอยู่ที่ไหน ถึงแม้จะแค่วันเดียว ก็ถือเป็นการบังคับสูญหายตามอนุสัญญาฯ ของยูเอ็น”
“ส่วนในไทยที่อนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนรวบรวมตั้งแต่ปี 2534 เริ่มต้นที่คดีของคุณทนง โพธิ์อ่าน อดีตประธานสภาแรงงานแห่งประเทศไทยที่สูญหายไปหลังเหตุการณ์ รสช. (คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ) เหตุเกิดเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2534 ไล่มาถึงกรณีบิลลี่ รวม 79 กรณี 100 ราย แต่ถ้ารวมกรณีลุงเด่น คำแหล้ จะเป็น 80 กรณี เท่ากับ 101 ราย ซึ่งแทบไม่รู้ชะตากรรมเลยว่าผู้สูญหายเป็นอย่างไร แม้กระทั่งกรณีที่มีความชัดเจนอย่างกรณีคุณสมชาย นีละไพจิตร ก็ยังไม่สามารถเอาผิดทางอาญา เป็นสิ่งสะท้อนความจริงจังและจริงใจของรัฐว่าดำเนินการอย่างไรกับกรณีเหล่านี้ตั้งแต่ปี 2534 ถึงปัจจุบัน”
ทุกนาทีต้องถูกนับ
อย่างไรก็ตาม กรณีการบังคับบุคคลให้สูญหายหรืออุ้มหายนั้น สังคมไทยหรือแม้แต่เจ้าหน้าที่รัฐเองก็ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าหมายถึงการพาตัวไป สังหาร และทำลายศพ ซึ่งอังคณา นีละไพจิตร กล่วว่า ในปีนี้ แถลงการณ์ยูเอ็นเนื่องในวันที่ระลึกเหยื่อการถูกบังคับให้สูญหาย เน้นย้ำว่าการบังคับสูญหายไม่ใช่เฉพาะกรณีอุ้มฆ่าหรือทำลายศพ แต่ยังหมายถึงการทำให้สูญหายในระยะสั้นหรือชั่วคราว รวมกรณีที่นำตัวไปควบคุมโดยปกปิดสถานที่ด้วย
“ยูเอ็นเน้นคำว่าทุกนาทีจะถูกนับ คือแต่ละนาทีที่ผ่านไปของการควบคุมตัวโดยไม่เปิดเผยสถานที่ให้ญาติทราบจะถือว่าเป็นการบังคับสูญหาย การคุมตัวประชาชนไปยังสถานที่ใดสถานที่หนึ่งและไม่มีผู้ใดทราบว่าอยู่ที่ไหน ถึงแม้จะแค่วันเดียว ก็ถือเป็นการบังคับสูญหายตามอนุสัญญาฯ ของยูเอ็น”
ซึ่งสอดคล้องกับสาระของร่างกฎหมายฉบับนี้ อังคณา ยังกล่าวอีกว่า กรณีบังคับบุคคลสูญหายจะสิ้นสุดต่อเมื่อทราบที่อยู่และชะตากรรมของผู้สูญหาย กรณีการควบคุมตัวโดยปกปิดสถานที่หรือการอุ้มฆ่า จะถือว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นบุคคลสูญหายจนกว่าจะรู้ว่าผู้นั้นอยู่ที่ไหนและอยู่ในสภาพใด เมื่อถึงตอนนั้นอายุความจึงจะเริ่มนับ แม้เวลาจะผ่านไป 50 ปี 70 ปีแล้วก็ตาม
อุ้มหายเป็นความผิดต่อเนื่อง เอาผิด จนท.รัฐ ได้
คำถามสำคัญคือหากกฎหมายฉบับนี้ผ่าน จะสามารถบังคับใช้กับกรณีการบังคับสูญหายที่เกิดขึ้นก่อนที่กฎหมายจะประกาศใช้ได้หรือไม่
ปกป้อง อธิบายว่า กฎหมายอาญาจะลงโทษคนย้อนหลังไม่ได้ เป็นหลักสิทธิมนุษยชนที่สูงเท่าๆ กับการคุ้มครองการทรมานและอุ้มหาย จึงไม่อาจย้อนหลังไปลงโทษการกระทำก่อนที่กฎหมายจะบังคับ
“แต่ลักษณะของการอุ้มหายเป็นความผิดที่มีลักษณะต่อเนื่อง หมายถึงตราบใดก็ตาม ที่เจ้าหน้าที่รัฐที่นำตัวไป ยังไม่ได้ปล่อยตัว ยังไม่เปิดเผยสถานที่ ทุกวินาทียังมีความผิดอยู่ ดังนั้น แม้เจ้าหน้าที่รัฐจะได้นำตัวไปเมื่อ 10 ปีก่อนหรือ 5 ปีก่อน และยังไม่เปิดเผยว่าอยู่ที่ไหน ยังไม่ได้ปล่อยตัวออกมา กฎหมายออกวันนี้ วันนี้เจ้าหน้าที่รัฐคนนั้นก็ยังมีความผิดอยู่ ไม่ใช่ลักษณะกฎหมายเอาผิดย้อนหลังเพราะมันเป็นลักษณะความผิดต่อเนื่องของการอุ้มหาย”
ปกป้องให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวประชาไทต่อคำถามที่ว่า แล้วในกรณีการอุ้มหายมีอาจเกิดจากเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และได้รับเงินเยียวยา 7.5 ล้านบาทไปแล้ว จะยังสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมายนี้ได้หรือไม่
“ถ้าตราบใดที่ยังไม่เปิดเผยขึ้นมาก็ยังถือเป็นความผิดตลอดเวลา การดำเนินคดีตามคดีนี้เพื่อเอาผิดยังมีอยู่ เพราะความผิดฐานอุ้มหายเป็นความผิดต่อเนื่อง ถ้าคุณเอาตัวเขาไป ยังไม่เปิดเผยว่าเขาอยู่ที่ไหนก็ยังเป็นความผิดอยู่ตลอดเวลา”
เนื้อหาต่อความเห็นต่อไปครับ