ถ้าระเบิดเป็นเรื่องอุยกูร์จริงเรื่องนี้จะไม่เกิดขึ้นถ้าไทยทำตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศจริงมั้ย

กระทู้คำถาม
คือว่านี้ไปรับเพื่อนที่เคยเรียนด้วยกันตอน ม.ปลาย ที่สมาคมเนติบัญฑิตไทย มีคนเรียนเนฯเต็มเลย เลยถือโอกาสไปคุยเล่นๆกับคนเรียนแถวๆนั้นเรื่องการระเบิด เราตั้งสมมุติฐานว่าถ้ามันเป็นการกระทำของอุยกูร์จริง เราสามารถป้องกันไม่ให้มันเกิดได้มั้ยหรือคณะรัฐประหารสามารถป้องกันเรื่องนี้ได้มั้นในสายตานักกฎหมาย เขาก็อธิบายว่าถ้าสมมุติว่าเรื่องนี้เกี่ยวกับอุยกูร์จริงๆ หลักการมันมีอยู่ว่า

หลายคนชอบอ้างว่าไทยไม่ได้เป็นภาคี 1951 1967 ซึ่งเกี่ยวกับการหลบหนีเข้าเมือง แต่เราจำเป็นต้องทำตามหลักการและอนุสัญญาที่เราไปลงนาม


         1    หลักการ ห้ามผลักดันไปเผชิญอันตรายเป็นหลักการพื้นฐานในกฎหมายระหว่างประเทศ เป็นกฎหมายจารีตประเพณีที่เราต้องเคารพแม้นไม่ได้เขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม


        2    ไทยเป็นภาคีอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี  (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment - CAT) ซึ่งเราลงนามในวันที่ 2 ตุลาคม 2550 และมีผลบังคับใช้ 1 พฤศจิกายน 2550 แม้นเราจะอ้างว่าเราไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญา 1951 1967 เราก็ยังต้องทำตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ อยู่ดี


       3    หลักกฎหมายการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2472 ที่กำหนดว่าจะต้องดำเนินการในชั้นศาล โดยกระทรวงการต่างประเทศและพนักงานอัยการเข้าร่วมแบบคดี วิกเตอร์บูธ ที่รัสเซียทำอะไรไม่ได้จะอ้างอะไรก็ไม่ได้ก็เพราะเราทำตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศฉบับนี้ ขณะที่อุนกูร์เราไม่ได้ทำตาม เราทำระดับเจ้าหน้าที่ มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ ต.ม.(ตำรวจ) ทักท้วงแล้วแต่เจ้าหน้าที่ทหารไม่ฟัง ให้ทางการจีนจับชี้ไปเลยและก้ฝ่ายกระทรวงต่างประเทศก้ไม่ทราบเรื่อง ฟังจาก สำนักงานสิทธิประจำประเทศไทย คุณ สุนัย ภาสุข

     4 เมื่อมีการเจอผุ้หลบหนีเข้าเมืองแล้วมีการร้องของลี้ภัย การจะพิสูจน์ทราบซึ่งสัญชาติ จะต้องมีหน่วย UNHCR เข้ามาร่วมตรวจสอบด้วย แต่ UNHCR แถลงซึ่งในเรื่องนี้ไทยก็ไม่ได้ทำเนื่องจากยูเอ็นเอชซีอาร์ระบุชัดในแถลงการณ์ว่าไม่รู้ข่าวมาก่อน


     เขายังเสริมอีกว่าเรื่องนี้ถ้าเป็นจริง โทษใครไม่ได้เลยนอกจากคณะยึกอำนาจที่ทำให้ประชาชนตายจากการไม่เคารพหลักการ ตัวของหลักการนี้ออกแบบมาเพื่อกันตัวประเทศไทยออกจากการเป็นคู่ขัดแย้งกับประเทศอื่นๆ ระบบนี้จึงถูกออกแบบมาหรือคู้กรณีที่ไม่ใช่รัฐอื่นๆ ประเทศเราเอาตัวเองไม่เป็นหน้าสื่อสร้างปัญหาเองแล้วกรรก็มาลงที่ประชาชนที่ไม่รู้เรื่องราว

ต่อไปนี้ถ้าเรื่องเกี่ยวพันกับกลุ่มก่อการร้ายจริง เรื่องจะไม่จบแค่นี้มันเป็นแค่การเริ่มต้น เพราะแนวคิดเรื่องการก่อการร้ายมาจากแนวคิดแบบยุคกลาง ที่ไม่ให้ความสำคัญกับชีวิตบนโลกนี้ แต่ไปให้ความสำคัญกับโลกหน้า ว่าทำไปแล้วจะได้บุญไปอยู่กับพระเจ้าในโลกที่ดีกว่า ยิ่งเราจับกุมหรือทำอะไรที่ไม่เคารพสิทธิมนุษยชนเข้าไปอีก จะยิ่งเข้าทางกลุ่มคนกลุ่มนี้มากขึ้น

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอถึงเราจะบอกว่า เราจับตามหลักสิทธิ แต่หลักกฎหมายระหว่างประเทศใหญ่กว่ายังไม่เคารพ จะแก้ข่าวก็ค่อนข้างยาก
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
มุสลิมอุยกูร์จะไปตุรกี   ต้องไปทางทิศตะวันตก  ห่างไป  2,700 กิโลเมตร
แต่มุสลิมอุยกูร์กลับวกมาที่ประเทศไทย  แล้วค่อยไปตุรกี   ที่ต้องเดินทาง 11,000 กิโลเมตร   
- กลายเป็นประเทศไทยผิด

ผู้ก่อการร้ายที่จับได้   เป็นมุสลิมอุยกูร์  สัญชาติจีน    (พาสปอร์ตปลอมตุรกี)
คนเช่าบ้านให้ผู้ก่อการร้าย  น.ส.วรรณา หรือ นางไมซาเลาะ สวนสันต์   แต่งงานกับคนตุรกี
แสดงว่าเครือข่ายผู้ก่อการร้าย  อุยกูร์-ตุรกี-มุสลิมไทย   มีอยู่จริง
ที่ไทยส่งผุ้ก่อการร้ายมุสลิมอุยกูร์ไปให้จีนตอนแรกก็ถูกต้องแล้ว     
ไทยต้องไปขอคำชี้แจงจากพวก  อเมริกา  ยุโรป   ตุรกี  UN  
ที่ตอนนั้นไปรับรองว่าไม่มีขบวนการมุสลิมก่อการร้าย   ตอนนั้นประนามไทยกันใหญ่


ผู้ก่อการร้ายที่กัมพูชาจับได้แล้วส่งตัวให้ไทย   
ถามว่า   ถ้ากัมพูชาจับได้แล้วไม่ส่งตัวให้ไทย    กัมพูชาจะผิดหรือไม่
ก็เหมือนที่พวกขบวนการมุสลิมอุยกูร์   ก่อการร้ายหลายแห่งในจีน   ฆ่าคนตายไปหลายร้อยคน
แล้วหนีมาไทย    ถ้าไทยไม่ส่งตัวให้จีนจะผิดหรือไม่
สมัยก่อนไทยก็จับตัว   วิคเตอร์ บูท  , ฮัมบาลี  ส่งให้อเมริกา   


แต่ที่น่าเกลียดที่สุดคือ  พวกคนไทยที่เป็นกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้าม     
พยายามจะใช้เรื่องนี้มาโจมตีรัฐบาล    หวังผลทางการเมืองแบบไม่สนใจอะไรทั้งนั้น   
พฤติกรรมแบบนี้  ทำให้กลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้าม   เสียความน่าเชื่อถือไปเยอะ   
กลายเป็นพวกที่สามารถร่วมมือกับผู้ก่อการร้ายได้   ขอเพียงให้ตัวเองกลับสู่อำนาจได้
ถ้าคนแบบนี้ได้ปกครองประเทศ   ประเทศจะchipหายขนาดไหน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่