อังคณา บี้รบ.พิสูจน์ความจริงใจ ใช้กม.ส่งผู้ร้ายข้ามแดน เอาพล.อ.พิศาล มาขึ้นศาลคดีตากใบ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4829675
อังคณา บี้รบ.พิสูจน์ความจริงใจ ใช้กม.ส่งผู้ร้ายข้ามแดน เอาพล.อ.พิศาล ขึ้นศาลคดีตากใบ โดยเคารพสิทธิผู้ป่วย ยุติวัฒนธรรมพ้นผิดลอยนวล
เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2567
อังคณา นีละไพจิตร สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กแสดงความคิดเห็นกรณีการนำจำเลยมาขึ้นศาลในคดีตากใบ โดยระบุว่า
คดีตากใบ : บทพิสูจน์ความจริงใจ และเจตจำนงทางการเมืองของรัฐบาลในการยุติการลอยนวลพ้นผิด การยึดมั่นในหลักนิติธรรม และไม่เลือกปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมาย : เรียกร้องอัยการสูงสุด และสำนักงานตำรวจแห่งชาติจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับศาล ตามกฎหมายส่งผู้ร้าย โดยเคารพสิทธิของผู้ป่วยอย่างเคร่งครัด
กรณีมีคนถามคุณภูมิธรรม เรื่องที่คุณพิศาล ส.ส.พรรคเพื่อไทย ไม่มารายงานตัวตามหมายจับคดีการสลายการชุมนุมตากใบ และมีผู้เสียชีวิตถึง 85 คน และคดีจะหมดอายุความในวันที่ 25 ตุลาคม 2567 ซึ่งคุณภูมิธรรมแสดงอาการไม่พอใจอย่างเห็นได้ชัด ทั้งยังได้เปรียบเทียบการเสียชีวิตของประชาชน 85 คนว่าไม่เร่งด่วนเท่าเหตุการณ์น้ำท่วม
รวมถึงพูดว่าพรรค “เพื่อไทย” ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ตากใบ ทั้งที่กรณีตากใบเกิดขึ้นสมัยรัฐบาล “ไทยรักไทย” ที่คุณทักษิณพ่อของคุณแพทองธารเป็นนายกรัฐมนตรี คำพูดของคุณภูมิธรรม นอกจากเป็นการปฏิเสธความรับผิดชอบแล้ว ยังเป็นการไม่เห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของชาวมลายูมุสลิมทั้ง 85 คนที่เสียชีวิตภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่ และไม่เห็นความสำคัญของการเข้าถึงความจริงและความยุติธรรมของเหยื่อทั้งที่เหตุการณ์ตากใบเป็นโศกนาฏกรรมร้ายแรงครั้งหนึ่งของสังคมไทย และประวัติศาสตร์ชาวมลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้
มีข้อสังเกตว่า คุณพิศาล ลาไปรักษาอาการป่วยที่ต่างประเทศภายหลังศาลจังหวัดนราธิวาสรับคำฟ้องคดีตากใบเพียงไม่กี่วัน เรื่องนี้ ประธานสภาฯ น่าจะทราบดีว่าคดีตากใบจะหมดอายุความในวันที่ 25 ตุลาคม แต่ยังอนุญาตให้คุณพิศาล ลาและเดินทางออกนอกประเทศ ทั้งนี้ คุณพิศาลได้ลาประชุมถึงวันที่ 30 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของสมัยประชุมรัฐสภา ซึ่งหลังจากนั้นสภาจะปิดสมัยประชุมจนถึงวันที่ 12 ธันวาคม 2567 กรณีนี้ หากรัฐบาลมีความจริงใจในการยุติวัฒนธรรมผู้กระทำผิดลอยนวล และไม่มีการเลือกปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมาย ควรให้พนักงานสอบสวน และอัยการสูงสุด ดำเนินการควบคุมตัว พลเอกพิศาลตาม พ.ร.บ.ส่งผู้ร้ายข้ามแดน โดยเคารพสิทธิของผู้ป่วย และหลักการสันนิษฐานว่า เป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา เพื่อให้คดีตากใบสามารถดำเนินไปตามกระบวนการยุติธรรม มิใช่ปล่อยให้คดีหมดอายุความเหมือนคดีการกระทำผิดของบรรดาผู้มีอิทธิพลต่างๆ ที่พิสูจน์ให้สังคมไทยเห็นว่า มีการเลือกปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมาย ทำลายหลักนิติธรรม และความยุติธรรมสำหรับคนจนไม่มีจริง
เรื่องความยุติธรรมตากใบ คุณภูมิธรรมอาจไม่รู้ว่า แต่ละปีแม่ๆ หลายคนตายจากไปโดยไม่รู้ความจริง และไม่ได้รับความยุติธรรม แม่ของผู้เสียชีวิตคนหนึ่งเคยพูดว่า “แม้โลกนี้เราจะไม่ได้รับความยุติธรรม แต่เราเชื่อว่าในโลกหน้าพวกเราจะได้รับความยุติธรรมจากพระผู้เป็นเจ้า และคนผิดต้องถูกลงโทษ” … คำถามที่อยากถามคุณภูมิธรรม และนายกรัฐมนตรี คือ ทำไมต้องให้ชาวบ้านรอความยุติธรรมในโลกหน้า ทั้งที่ผู้กระทำผิดยังเดินลอยนวลเย้ยกฎหมายอยู่ในวันนี้.
https://www.facebook.com/angkhana.nee/posts/pfbid02PYaBs3dLbQMBfkjL87j3ommpsEDUu5PBPpzFZ9vcZWRrrvjAFCTeLyVQS6nBhxhrl
นันทนา ชี้ประชามติรอบแรก ส่อไม่ทันต้นปี’68 ข้องใจส.ว. เตะถ่วงตีกลับ ร่างกม.ให้ส.ส.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4829409
แก้ รธน.ส่อชะงัก! “นันทนา” เผย ร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ยังไม่ถูกส่งกลับให้ ส.ส. ข้องใจ เป็นแผนเตะถ่วง ชี้ ประชามติรอบแรก ต้นปี’68 ไม่ทันแน่
เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2567 น.ส.
นันทนา นันทวโรภาส สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การออกเสียงประชามติ พ.ศ. … วุฒิสภา กล่าวถึงกรณีวุฒิสภามีมติเห็นชอบให้แก้ไขร่าง พ.ร.บ.ประชามติ กลับไปใช้เสียงข้างมากสองชั้นในการแก้รัฐธรรมนูญว่า ขณะนี้ทางวุฒิสภายังไม่ได้ส่งร่างที่แก้ไขกลับไปให้สภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้ หากส่งไปแล้ว ส.ส.มีท่าทียืนยันจะใช้เสียงข้างมากแบบง่าย ก็ต้องกลับมาตั้ง กมธ.ร่วมเพื่อพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งตนมองว่าเป็นการเตะถ่วง แทนที่จะรีบส่งไป เพราะ ส.ว.มีมติตั้งแต่วันที่ 30 กันยายนแล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า มองว่า ส.ส.และ ส.ว. จะตกลงกันในชั้น กมธ.ร่วมได้หรือไม่ น.ส.นันทนากล่าวว่า อำนาจอยู่ที่ ส.ส. หาก ส.ส.ยืนยันเรื่องเสียงข้างมากแบบง่าย กฎหมายฉบับนี้ก็ต้องรอไปอีก 180 วัน เพื่อยืนยันและประกาศใช้
เมื่อถามย้ำว่า หากเป็นเช่นนี้ก็ไม่ทันกรอบเวลาทําประชามติครั้งแรกในต้นปี’68 ใช่หรือไม่ น.ส.นันทนากล่าวว่า หากต้องตั้ง กมธ.ร่วม ก็ไม่ทันแล้ว
ศิริกัญญา อัดรบ.ใช้เงินคงคลัง ชี้ยอด 1.2 แสนล. แซงหน้ายุคบิ๊กตู่ สะท้อนชัดวางแผนงบพลาด
https://www.matichon.co.th/politics/news_4829514
ศิริกัญญา อัดรบ.ใช้เงินคงคลัง ชี้ยอด 1.2 แสนล. เยอะกว่ายุคบิ๊กตู่ สะท้อนชัดวางแผนงบผิดพลาด
เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2567 น.ส.
ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคประชาชน ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กว่า
เ
ห็นข่าวรัฐบาลล้วงเงินคงคลังเพิ่มอีก 8 หมื่นล้าน แล้วก็ยิ่งเหนื่อยใจกับการบริหารการคลังของรัฐบาลนี้ เพราะรวมๆ แล้วตั้งแต่รัฐบาลนี้เข้ามาบริหาร มีการใช้เงินคงคลังไปราว 1.2 แสนล้าน
– ก้อนแรก นำไปชำระดอกเบี้ยราว 4 หมื่นล้าน เพราะตั้งงบไว้ไม่เพียงพอ
– ก้อนที่สอง เป็นค่าใช้จ่ายบุคลากร ทั้งเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ ขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ฯลฯ รวม 8 หมื่นล้าน
ซึ่งทั้ง 2 ก้อนนี้ไม่ใช่เรื่องสุดวิสัย สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าอยู่แล้ว แต่ก็ยังตั้งงบขาดราวกับจงใจ (ดิฉันเคยอภิปรายเตือนไว้ในงบปี’67 ว่าอย่าพลาดเหมือนประยุทธ์ แต่ก็ยังไม่แก้ไข งบปี’68 ก็ยังเป็นเหมือนเดิม)
ปกติถ้ามีการตั้งงบไว้ไม่เพียงพอ อาจใช้งบกลาง เงินสำรองจ่ายฉุกเฉินมาใช้ได้ แต่งบกลางถูกใช้จนหมด เอามาโปะได้แค่ 2 พันกว่าล้าน (อย่าอ้างเรื่องน้ำท่วม เพราะอนุมัติไปแค่ 2 พันกว่าล้าน แต่ดิจิทัลวอลเล็ตใช้ไป 23,500 ล้าน)
สุดท้าย… ต้องไปใช้เงินคงคลังรวม 1.2 แสนล้านในจำนวนเงินที่สูงกว่าตอนรัฐบาลประยุทธ์เสียอีก ในปีที่งบน้อยเพราะโควิดอย่างปี’66 ยังควักเงินคงคลังเพียง 8 หมื่นล้านบาท
การใช้เงินคงคลังสะท้อนการวางแผนงบประมาณที่ผิดพลาด จัดความสำคัญของเงินไม่ดี มีค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้คาดการณ์สูงจนงบกลางไม่พอจ่าย
และที่สำคัญมันไม่ฟรี! รัฐบาลต้องไปตั้งงบใช้คืนเงินคงคลังในปีงบถัดๆ ไปอยู่ดี งบปี ’69 ต้องถูกบีบจากงบใช้คืนหนี้สาธารณะมากขึ้นอยู่แล้ว ไหนจะต้องคืนหนี้ ธกส.ที่ปีนี้เบี้ยวเค้า แล้วยังจะต้องมาใช้คืนเงินคงคลังอีก 1.2 แสนล้าน แล้วจะเหลืองบไปทำอย่างอื่นซักเท่าไหร่กันในงบปี’69.
https://www.facebook.com/SirikanyaOfficial/posts/pfbid05iF9MZnubnEMGWm5tSsy2vp1zyUhUFsEQhihSE32GXJ7yS1swGf9vYyztrQXcX36l
ผู้ส่งออกข้าว เตือนรัฐรับมือผลผลิตทะลัก พิษอินเดียเลิกห้ามส่งออก กดปี’68เป้าไทยลดฮวบ2ล้านตัน
https://www.matichon.co.th/economy/news_4829658
ผู้ส่งออกข้าว เตือนรัฐรับมือผลผลิตทะลัก พิษอินเดียเลิกห้ามส่งออก กดปี’68เป้าไทยลดฮวบ2ล้านตัน
เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม นาย
ชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวถึงสถานการณ์ส่งออกข้าวภายหลังรัฐบาลอินเดียอนุมัติให้กลับมาส่งออกข้าวขาว ที่ไม่ใช่บาสมาติอีกครั้ง โดยกำหนดราคาขั้นต่ำ 490 เหรียญสหรัฐต่อตันว่า ผู้ส่งออกกำลังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากยังไม่เห็นการตกลงซื้อขายจริง แต่เมื่ออินเดียเลิกห้ามส่งออกข้าวขาว ส่งผลจิตวิทยาราคาส่งออกข้าวทั่วโลกร่วงลง มีผลกระทบต่อราคาข้าวและการซื้อขายที่กำลังเจรจาและจะส่งมอบในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมทันที โดยเฉพาะกดดันราคาข้าวขาว (5%) ซึ่งจากต้นทุนและค่าบาทแข็งราคาข้าวไทยอยู่ที่ 520 เหรียญสหรัฐ สูงกว่าประเทศคู่แข่ง ไม่แค่อินเดีย รวมถึงเวียดนาม ปากีสถาน เมียนมา ด้วย
“
ปีนี้การส่งออกไทยรอด จากคาดการณ์ไว้ 8.5-8.6 ล้านตัน ใกล้เคียงปีก่อนที่ส่งออกได้ 8.7 ล้านตัน และสูงกว่าเวียดนามที่น่าจะส่งออกได้ 8 ล้านตัน เพราะดูจากตัวเลขส่งออกไทย 9 เดือนทำได้เกิน 7 ล้านตัน และเฉลี่ย 3 เดือนที่เหลือส่งออกได้ 5-6 แสนตันก็ได้ตามเป้าแล้ว ที่น่าห่วงคือปี 2568 ที่มีโอกาสส่งออกข้าวขาวหายไป 2 ล้านตัน และเข้าสู่ภาวะปกติ ที่ไทยเคยส่งออกได้ 6.5-6.7 ล้านตัน ด้วย 2 ปีที่ผ่านมาที่อินเดียหยุดส่งออกข้าวขาว ทำให้ประเทศนำเข้าจากไทยแทนเป็นส่วนใหญ่” นาย
ชูเกียรติกล่าว
นาย
ชูเกียรติกล่าวว่า อีกทั้งมีปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อส่งออกปี 2568 คือ ค่าเงิน ผลผลิตข้าวทั่วโลกเพิ่มขึ้นหลังภัยแล้งรุนแรงคลี่คลาย เช่น อินเดียคาดจะมีผลผลิตข้าวเปลือกเพิ่มเป็น 138 ล้านตัน อินโดนีเซียหรือฟิลิปปินส์เคยนำเข้ามากในปีนี้เมื่อผลผลิตเขามากขึ้นก็นำเข้าลดลง ซึ่งจะส่งผลต่อราคาข้าวในประเทศลดลง วันนี้ราคาข้าวเจ้า (5%) อยู่ที่ 15.30 บาท/กก. หรือ 15,300 บาทต่อตัน จากราคา 18-19 บาท/กก. หายไปแล้ว 2 บาทต่อ กก. ส่วนราคาจะลงอีกเท่าไหร่ ขึ้นกับผลผลิตใหม่ที่จะออกสู่ตลาด อย่างไทย ข้าวเปลือกหอมมะลิจะออกก่อนปีใหม่ เวียดนามและอินเดียออกต้นปีหน้า รวมถึงมาตรการรัฐบาลที่จะออกมาพยุงราคาข้าวในฤดูกาลใหม่ และเร่งพัฒนายกระดับข้าวไทย เช่น ข้าวพันธ์ุใหม่ ข้าวลดคาร์บอน เป็นต้น
นาย
วิทยากร มณีเนตร โฆษกกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า อินเดียกลับมาส่งออกข้าวขาว 5% และกำหนดราคาส่งออกขั้นต่ำที่ 490 เหรียญสหรัฐ/ตัน ยังถือว่าเป็นผลดีกับตลาดข้าวโลกและข้าวไทย เพราะราคาถือว่าอยู่ในระดับที่สูง เมื่อเทียบกับช่วงปกติก่อนอินเดียประกาศไม่ส่งออกข้าวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติปี 2565 เฉลี่ย 360-370 เหรียญสหรัฐ/ตัน จากการติดตามสถานการณ์ร่วมกับผู้ประกอบการโรงสีข้าวและผู้ส่งออกของกรมการค้าภายใน คาดว่าสถานการณ์ราคามีแนวโน้มดีขึ้นไม่ต่ำลงไปมากกว่านี้ ขณะนี้เกษตรกรส่วนใหญ่เก็บเกี่ยวข้าวเปลือกเจ้าแล้วและมีผลผลิตออกสู่ตลาดอีกครั้งปลายเดือนตุลาคมนี้ และแนวโน้มราคาตลาดซื้อขายจะกลับมาปกติ โดยข้าวเปลือกเจ้าความชื้นไม่เกิน 15% ราคา 9,100-10,000 บาท/ตัน ข้าวเกี่ยวสดความชื้น 30% ราคา 7,000-7,750 บาท/ตัน ข้าวเปลือกหอมมะลิเฉลี่ย 16,600 บาท/ตัน ข้าวเปลือกเหนียวเฉลี่ย 13,900 บาท/ตัน ทั้งนี้ รัฐบาลเตรียมมาตรการเก็บข้าวไว้ในยุ้งฉางเกษตรกร ช่วยชะลอข้าวเปลือกออกสู่ตลาดมากในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2567 พร้อมกำชับให้ปิดป้ายแสดงราคารับซื้อ ตรวจความถูกต้องของเครื่องชั่งและเครื่องวัดความชื้น และราคารับซื้อที่เป็นธรรม ส่วนส่งออกข้าวทั้งปี 2567 คงเป้า 8.2 ล้านตัน
JJNY : 5in1 อังคณาบี้เอาพล.อ.พิศาลขึ้นศาล│นันทนาข้องใจส.ว.│ศิริกัญญาอัดรบ.│เตือนรับมือผลผลิตทะลัก│ยูเอ็นชี้ราคาอาหารพุ่ง
https://www.matichon.co.th/politics/news_4829675
อังคณา บี้รบ.พิสูจน์ความจริงใจ ใช้กม.ส่งผู้ร้ายข้ามแดน เอาพล.อ.พิศาล ขึ้นศาลคดีตากใบ โดยเคารพสิทธิผู้ป่วย ยุติวัฒนธรรมพ้นผิดลอยนวล
เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2567 อังคณา นีละไพจิตร สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กแสดงความคิดเห็นกรณีการนำจำเลยมาขึ้นศาลในคดีตากใบ โดยระบุว่า
คดีตากใบ : บทพิสูจน์ความจริงใจ และเจตจำนงทางการเมืองของรัฐบาลในการยุติการลอยนวลพ้นผิด การยึดมั่นในหลักนิติธรรม และไม่เลือกปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมาย : เรียกร้องอัยการสูงสุด และสำนักงานตำรวจแห่งชาติจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับศาล ตามกฎหมายส่งผู้ร้าย โดยเคารพสิทธิของผู้ป่วยอย่างเคร่งครัด
กรณีมีคนถามคุณภูมิธรรม เรื่องที่คุณพิศาล ส.ส.พรรคเพื่อไทย ไม่มารายงานตัวตามหมายจับคดีการสลายการชุมนุมตากใบ และมีผู้เสียชีวิตถึง 85 คน และคดีจะหมดอายุความในวันที่ 25 ตุลาคม 2567 ซึ่งคุณภูมิธรรมแสดงอาการไม่พอใจอย่างเห็นได้ชัด ทั้งยังได้เปรียบเทียบการเสียชีวิตของประชาชน 85 คนว่าไม่เร่งด่วนเท่าเหตุการณ์น้ำท่วม
รวมถึงพูดว่าพรรค “เพื่อไทย” ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ตากใบ ทั้งที่กรณีตากใบเกิดขึ้นสมัยรัฐบาล “ไทยรักไทย” ที่คุณทักษิณพ่อของคุณแพทองธารเป็นนายกรัฐมนตรี คำพูดของคุณภูมิธรรม นอกจากเป็นการปฏิเสธความรับผิดชอบแล้ว ยังเป็นการไม่เห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของชาวมลายูมุสลิมทั้ง 85 คนที่เสียชีวิตภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่ และไม่เห็นความสำคัญของการเข้าถึงความจริงและความยุติธรรมของเหยื่อทั้งที่เหตุการณ์ตากใบเป็นโศกนาฏกรรมร้ายแรงครั้งหนึ่งของสังคมไทย และประวัติศาสตร์ชาวมลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้
มีข้อสังเกตว่า คุณพิศาล ลาไปรักษาอาการป่วยที่ต่างประเทศภายหลังศาลจังหวัดนราธิวาสรับคำฟ้องคดีตากใบเพียงไม่กี่วัน เรื่องนี้ ประธานสภาฯ น่าจะทราบดีว่าคดีตากใบจะหมดอายุความในวันที่ 25 ตุลาคม แต่ยังอนุญาตให้คุณพิศาล ลาและเดินทางออกนอกประเทศ ทั้งนี้ คุณพิศาลได้ลาประชุมถึงวันที่ 30 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของสมัยประชุมรัฐสภา ซึ่งหลังจากนั้นสภาจะปิดสมัยประชุมจนถึงวันที่ 12 ธันวาคม 2567 กรณีนี้ หากรัฐบาลมีความจริงใจในการยุติวัฒนธรรมผู้กระทำผิดลอยนวล และไม่มีการเลือกปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมาย ควรให้พนักงานสอบสวน และอัยการสูงสุด ดำเนินการควบคุมตัว พลเอกพิศาลตาม พ.ร.บ.ส่งผู้ร้ายข้ามแดน โดยเคารพสิทธิของผู้ป่วย และหลักการสันนิษฐานว่า เป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา เพื่อให้คดีตากใบสามารถดำเนินไปตามกระบวนการยุติธรรม มิใช่ปล่อยให้คดีหมดอายุความเหมือนคดีการกระทำผิดของบรรดาผู้มีอิทธิพลต่างๆ ที่พิสูจน์ให้สังคมไทยเห็นว่า มีการเลือกปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมาย ทำลายหลักนิติธรรม และความยุติธรรมสำหรับคนจนไม่มีจริง
เรื่องความยุติธรรมตากใบ คุณภูมิธรรมอาจไม่รู้ว่า แต่ละปีแม่ๆ หลายคนตายจากไปโดยไม่รู้ความจริง และไม่ได้รับความยุติธรรม แม่ของผู้เสียชีวิตคนหนึ่งเคยพูดว่า “แม้โลกนี้เราจะไม่ได้รับความยุติธรรม แต่เราเชื่อว่าในโลกหน้าพวกเราจะได้รับความยุติธรรมจากพระผู้เป็นเจ้า และคนผิดต้องถูกลงโทษ” … คำถามที่อยากถามคุณภูมิธรรม และนายกรัฐมนตรี คือ ทำไมต้องให้ชาวบ้านรอความยุติธรรมในโลกหน้า ทั้งที่ผู้กระทำผิดยังเดินลอยนวลเย้ยกฎหมายอยู่ในวันนี้.
https://www.facebook.com/angkhana.nee/posts/pfbid02PYaBs3dLbQMBfkjL87j3ommpsEDUu5PBPpzFZ9vcZWRrrvjAFCTeLyVQS6nBhxhrl
นันทนา ชี้ประชามติรอบแรก ส่อไม่ทันต้นปี’68 ข้องใจส.ว. เตะถ่วงตีกลับ ร่างกม.ให้ส.ส.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4829409
แก้ รธน.ส่อชะงัก! “นันทนา” เผย ร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ยังไม่ถูกส่งกลับให้ ส.ส. ข้องใจ เป็นแผนเตะถ่วง ชี้ ประชามติรอบแรก ต้นปี’68 ไม่ทันแน่
เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2567 น.ส.นันทนา นันทวโรภาส สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การออกเสียงประชามติ พ.ศ. … วุฒิสภา กล่าวถึงกรณีวุฒิสภามีมติเห็นชอบให้แก้ไขร่าง พ.ร.บ.ประชามติ กลับไปใช้เสียงข้างมากสองชั้นในการแก้รัฐธรรมนูญว่า ขณะนี้ทางวุฒิสภายังไม่ได้ส่งร่างที่แก้ไขกลับไปให้สภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้ หากส่งไปแล้ว ส.ส.มีท่าทียืนยันจะใช้เสียงข้างมากแบบง่าย ก็ต้องกลับมาตั้ง กมธ.ร่วมเพื่อพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งตนมองว่าเป็นการเตะถ่วง แทนที่จะรีบส่งไป เพราะ ส.ว.มีมติตั้งแต่วันที่ 30 กันยายนแล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า มองว่า ส.ส.และ ส.ว. จะตกลงกันในชั้น กมธ.ร่วมได้หรือไม่ น.ส.นันทนากล่าวว่า อำนาจอยู่ที่ ส.ส. หาก ส.ส.ยืนยันเรื่องเสียงข้างมากแบบง่าย กฎหมายฉบับนี้ก็ต้องรอไปอีก 180 วัน เพื่อยืนยันและประกาศใช้
เมื่อถามย้ำว่า หากเป็นเช่นนี้ก็ไม่ทันกรอบเวลาทําประชามติครั้งแรกในต้นปี’68 ใช่หรือไม่ น.ส.นันทนากล่าวว่า หากต้องตั้ง กมธ.ร่วม ก็ไม่ทันแล้ว
ศิริกัญญา อัดรบ.ใช้เงินคงคลัง ชี้ยอด 1.2 แสนล. แซงหน้ายุคบิ๊กตู่ สะท้อนชัดวางแผนงบพลาด
https://www.matichon.co.th/politics/news_4829514
ศิริกัญญา อัดรบ.ใช้เงินคงคลัง ชี้ยอด 1.2 แสนล. เยอะกว่ายุคบิ๊กตู่ สะท้อนชัดวางแผนงบผิดพลาด
เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2567 น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคประชาชน ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กว่า
เห็นข่าวรัฐบาลล้วงเงินคงคลังเพิ่มอีก 8 หมื่นล้าน แล้วก็ยิ่งเหนื่อยใจกับการบริหารการคลังของรัฐบาลนี้ เพราะรวมๆ แล้วตั้งแต่รัฐบาลนี้เข้ามาบริหาร มีการใช้เงินคงคลังไปราว 1.2 แสนล้าน
– ก้อนแรก นำไปชำระดอกเบี้ยราว 4 หมื่นล้าน เพราะตั้งงบไว้ไม่เพียงพอ
– ก้อนที่สอง เป็นค่าใช้จ่ายบุคลากร ทั้งเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ ขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ฯลฯ รวม 8 หมื่นล้าน
ซึ่งทั้ง 2 ก้อนนี้ไม่ใช่เรื่องสุดวิสัย สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าอยู่แล้ว แต่ก็ยังตั้งงบขาดราวกับจงใจ (ดิฉันเคยอภิปรายเตือนไว้ในงบปี’67 ว่าอย่าพลาดเหมือนประยุทธ์ แต่ก็ยังไม่แก้ไข งบปี’68 ก็ยังเป็นเหมือนเดิม)
ปกติถ้ามีการตั้งงบไว้ไม่เพียงพอ อาจใช้งบกลาง เงินสำรองจ่ายฉุกเฉินมาใช้ได้ แต่งบกลางถูกใช้จนหมด เอามาโปะได้แค่ 2 พันกว่าล้าน (อย่าอ้างเรื่องน้ำท่วม เพราะอนุมัติไปแค่ 2 พันกว่าล้าน แต่ดิจิทัลวอลเล็ตใช้ไป 23,500 ล้าน)
สุดท้าย… ต้องไปใช้เงินคงคลังรวม 1.2 แสนล้านในจำนวนเงินที่สูงกว่าตอนรัฐบาลประยุทธ์เสียอีก ในปีที่งบน้อยเพราะโควิดอย่างปี’66 ยังควักเงินคงคลังเพียง 8 หมื่นล้านบาท
การใช้เงินคงคลังสะท้อนการวางแผนงบประมาณที่ผิดพลาด จัดความสำคัญของเงินไม่ดี มีค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้คาดการณ์สูงจนงบกลางไม่พอจ่าย
และที่สำคัญมันไม่ฟรี! รัฐบาลต้องไปตั้งงบใช้คืนเงินคงคลังในปีงบถัดๆ ไปอยู่ดี งบปี ’69 ต้องถูกบีบจากงบใช้คืนหนี้สาธารณะมากขึ้นอยู่แล้ว ไหนจะต้องคืนหนี้ ธกส.ที่ปีนี้เบี้ยวเค้า แล้วยังจะต้องมาใช้คืนเงินคงคลังอีก 1.2 แสนล้าน แล้วจะเหลืองบไปทำอย่างอื่นซักเท่าไหร่กันในงบปี’69.
https://www.facebook.com/SirikanyaOfficial/posts/pfbid05iF9MZnubnEMGWm5tSsy2vp1zyUhUFsEQhihSE32GXJ7yS1swGf9vYyztrQXcX36l
ผู้ส่งออกข้าว เตือนรัฐรับมือผลผลิตทะลัก พิษอินเดียเลิกห้ามส่งออก กดปี’68เป้าไทยลดฮวบ2ล้านตัน
https://www.matichon.co.th/economy/news_4829658
ผู้ส่งออกข้าว เตือนรัฐรับมือผลผลิตทะลัก พิษอินเดียเลิกห้ามส่งออก กดปี’68เป้าไทยลดฮวบ2ล้านตัน
เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวถึงสถานการณ์ส่งออกข้าวภายหลังรัฐบาลอินเดียอนุมัติให้กลับมาส่งออกข้าวขาว ที่ไม่ใช่บาสมาติอีกครั้ง โดยกำหนดราคาขั้นต่ำ 490 เหรียญสหรัฐต่อตันว่า ผู้ส่งออกกำลังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากยังไม่เห็นการตกลงซื้อขายจริง แต่เมื่ออินเดียเลิกห้ามส่งออกข้าวขาว ส่งผลจิตวิทยาราคาส่งออกข้าวทั่วโลกร่วงลง มีผลกระทบต่อราคาข้าวและการซื้อขายที่กำลังเจรจาและจะส่งมอบในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมทันที โดยเฉพาะกดดันราคาข้าวขาว (5%) ซึ่งจากต้นทุนและค่าบาทแข็งราคาข้าวไทยอยู่ที่ 520 เหรียญสหรัฐ สูงกว่าประเทศคู่แข่ง ไม่แค่อินเดีย รวมถึงเวียดนาม ปากีสถาน เมียนมา ด้วย
“ปีนี้การส่งออกไทยรอด จากคาดการณ์ไว้ 8.5-8.6 ล้านตัน ใกล้เคียงปีก่อนที่ส่งออกได้ 8.7 ล้านตัน และสูงกว่าเวียดนามที่น่าจะส่งออกได้ 8 ล้านตัน เพราะดูจากตัวเลขส่งออกไทย 9 เดือนทำได้เกิน 7 ล้านตัน และเฉลี่ย 3 เดือนที่เหลือส่งออกได้ 5-6 แสนตันก็ได้ตามเป้าแล้ว ที่น่าห่วงคือปี 2568 ที่มีโอกาสส่งออกข้าวขาวหายไป 2 ล้านตัน และเข้าสู่ภาวะปกติ ที่ไทยเคยส่งออกได้ 6.5-6.7 ล้านตัน ด้วย 2 ปีที่ผ่านมาที่อินเดียหยุดส่งออกข้าวขาว ทำให้ประเทศนำเข้าจากไทยแทนเป็นส่วนใหญ่” นายชูเกียรติกล่าว
นายชูเกียรติกล่าวว่า อีกทั้งมีปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อส่งออกปี 2568 คือ ค่าเงิน ผลผลิตข้าวทั่วโลกเพิ่มขึ้นหลังภัยแล้งรุนแรงคลี่คลาย เช่น อินเดียคาดจะมีผลผลิตข้าวเปลือกเพิ่มเป็น 138 ล้านตัน อินโดนีเซียหรือฟิลิปปินส์เคยนำเข้ามากในปีนี้เมื่อผลผลิตเขามากขึ้นก็นำเข้าลดลง ซึ่งจะส่งผลต่อราคาข้าวในประเทศลดลง วันนี้ราคาข้าวเจ้า (5%) อยู่ที่ 15.30 บาท/กก. หรือ 15,300 บาทต่อตัน จากราคา 18-19 บาท/กก. หายไปแล้ว 2 บาทต่อ กก. ส่วนราคาจะลงอีกเท่าไหร่ ขึ้นกับผลผลิตใหม่ที่จะออกสู่ตลาด อย่างไทย ข้าวเปลือกหอมมะลิจะออกก่อนปีใหม่ เวียดนามและอินเดียออกต้นปีหน้า รวมถึงมาตรการรัฐบาลที่จะออกมาพยุงราคาข้าวในฤดูกาลใหม่ และเร่งพัฒนายกระดับข้าวไทย เช่น ข้าวพันธ์ุใหม่ ข้าวลดคาร์บอน เป็นต้น
นายวิทยากร มณีเนตร โฆษกกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า อินเดียกลับมาส่งออกข้าวขาว 5% และกำหนดราคาส่งออกขั้นต่ำที่ 490 เหรียญสหรัฐ/ตัน ยังถือว่าเป็นผลดีกับตลาดข้าวโลกและข้าวไทย เพราะราคาถือว่าอยู่ในระดับที่สูง เมื่อเทียบกับช่วงปกติก่อนอินเดียประกาศไม่ส่งออกข้าวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติปี 2565 เฉลี่ย 360-370 เหรียญสหรัฐ/ตัน จากการติดตามสถานการณ์ร่วมกับผู้ประกอบการโรงสีข้าวและผู้ส่งออกของกรมการค้าภายใน คาดว่าสถานการณ์ราคามีแนวโน้มดีขึ้นไม่ต่ำลงไปมากกว่านี้ ขณะนี้เกษตรกรส่วนใหญ่เก็บเกี่ยวข้าวเปลือกเจ้าแล้วและมีผลผลิตออกสู่ตลาดอีกครั้งปลายเดือนตุลาคมนี้ และแนวโน้มราคาตลาดซื้อขายจะกลับมาปกติ โดยข้าวเปลือกเจ้าความชื้นไม่เกิน 15% ราคา 9,100-10,000 บาท/ตัน ข้าวเกี่ยวสดความชื้น 30% ราคา 7,000-7,750 บาท/ตัน ข้าวเปลือกหอมมะลิเฉลี่ย 16,600 บาท/ตัน ข้าวเปลือกเหนียวเฉลี่ย 13,900 บาท/ตัน ทั้งนี้ รัฐบาลเตรียมมาตรการเก็บข้าวไว้ในยุ้งฉางเกษตรกร ช่วยชะลอข้าวเปลือกออกสู่ตลาดมากในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2567 พร้อมกำชับให้ปิดป้ายแสดงราคารับซื้อ ตรวจความถูกต้องของเครื่องชั่งและเครื่องวัดความชื้น และราคารับซื้อที่เป็นธรรม ส่วนส่งออกข้าวทั้งปี 2567 คงเป้า 8.2 ล้านตัน