JJNY : 5in1 พนง.โอดไม่มีจะกิน/ชาวสวนยางเจอโรคระบาด/ข้าวราคาตกรับประกันนาปี/ค้าปลีกสหรัฐฯแบนกระทิไทย/รัฐร้าวเราไม่ลืม!

พนักงานโอดไม่มีจะกิน ถูกโรงแรมบังคับทำงานแค่เดือนละ 9 วัน ชาวเน็ตแนะหาอาชีพเสริม
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2417718

 
พนักงานโอดไม่มีจะกิน ถูกโรงแรมบังคับทำงานแค่เดือนละ 9 วัน ชาวเน็ตแนะหาอาชีพเสริม
 
นับแต่สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ภูเก็ตเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ยังไม่ฟื้นตัวจากการท่องเที่ยวที่ซบเซา โดยกำลังรอมาตรการการเปิดประเทศในช่วงปลายปีนี้ ขณะที่ธุรกิจโรงแรมหลายแห่ง ต้องปรับตัวเพื่อลดค่าใช้จ่าย บางแห่งที่รับภาระไม่ไหวก็พากันปิดตัว
 
เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในเพจ กลุ่มเสียงประชาชน คนภูเก็ต “กระบอกเสียงคนภูเก็ต” ได้มีสมาชิกไปโพสต์สะท้อนปัญหาถึงการทำงานที่โรงแรม โดยโดนบังคับให้ทำงาน 9 วันต่อเดือน และโรงแรมจ่ายค่าจ้าง 9 วัน วันหยุดที่เหลือ ไม่ได้ค่าแรง
 
โดยสมาชิกรายนี้ สอบถามความเห็นว่าสถานการณ์เช่นนี้ ควรทำอย่างไร ขณะที่สมาชิกเข้าไปให้กำลังใจ บางรายแชร์ประสบการณ์ที่ออกมาขายของซึ่งก็ได้เงินพอสำหรับการใช้ชีวิตอยู่ในแต่ละวัน และบางรายแนะนำให้ทำใจ บอกว่าสถานการณ์แบบนี้เกิดขึ้นทั่วโลก
 
นอกจากนี้ยังมีสมาชิกบางราย เข้ามาโพสต์ปรับทุกข์ว่า “ป่าตอง” จะไม่มีโอกาสฟื้นแล้วใช่ไหม เพราะรองานมา 7 เดือนแล้ว หมดงาน หมดอนาคต ซึ่งมีสมาชิกเข้าไปให้กำลังใจเป็นจำนวนมาก
 

 
ชาวสวนยางเดือดร้อนหนัก เจอโรคระบาด กรีดไม่ได้ แม้ราคาขึ้น
https://www.matichon.co.th/region/news_2417930
 
ชาวสวนยางนาทวีเดือดร้อนหนัก เจอโรคระบาด ใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา ทำใบยางร่วง น้ำยางหด เสี่ยงที่จะยืนต้นตาย เสียโอกาสในการกรีดยางทำรายได้ในช่วงนี้
 
รายงานข่าวจากจังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 29 ตุลาคมนี้ ว่าสภาพสวนยางพาราในพื้นที่หมู่ 5 บ้านพรุเตียว ตำบลนาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ที่มีใบร่วงโกร๋น จนเกือบหมดต้น สภาพใบร่วงนั้นยังดป็นใบสีเขียว แต่ละใบมีจุดคล้ายรอยไหม้ ซึ่งเป็นลักษณะของโรคระบาดในต้นยางพารา ที่กำลังระบาดอย่างหนักในหลายจังหวัดภาคใต้ โดยโรคนี้นั้นถูกเรียกว่า โรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา ซึ่งจะทำให้ใบร่วง ต้นยางพาราไม่สามารถสังเคราะห์แสง ทำให้มีน้ำยางลดน้อยลงไป โดยโรคจะค่อยๆ คืบคลานเข้ามา แพร่ระบาดได้ดีในช่วงที่มีฝนตก โดยเจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถหาวิธีในการดูแลรักษาได้ โดยในขณะนี้พบว่าในพื้นที่อำเภอนาทวีนั้น มีโรคระบาดชนิดนี้กับสวนยางพาราแล้วกว่า 3 พันไร่ จากพื้นที่ปลูกยางกว่า 3 แสนไร่
 
นายสมพงษ์ ราชสุวรรณ ชาวสวนยางที่ได้รับผลกระทบบอกว่าสวนยางของตนเองนั้น พบว่าเป็นโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารามาตั้งแต่เดือนสิงหาคม ทำให้รอบการกรีดเท่าเดิม แต่ก็มีปริมาณน้ำยางลดน้อยลงไปกว่าร้อยละ 30 และจะค่อยๆ ลดลงไปเรื่องๆ จนกระทั่งต้นยางแห้งตาย หรือยืนต้นตาย ไม่สามารถให้น้ำยางต่อไปได้ ที่สำคัญโรคนี้ไม่มีวิธีการรักษา ซึ่งพบระบาดเกือบทั้งภาคใต้แล้ว ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นการยางแห่งประเทศไทย สำนักงานเกษตรในแต่ละอำเภอต่างเร่งหาแนวทางในการช่วยเหลือ แต่ก็คงไม่ทันการณ์ เพราะในช่วงนี้ราคายางพารากำลังปรับพุ่งสูงขึ้นทุกวัน และในทางกลับกันผลผลิตของน้ำยางลดน้อยลง ทำให้รายได้ต้องสูญหายไปไม่น้อย
 
ในวันนี้ราคาน้ำยางสดที่กลุ่มจำหน่ายน้ำยางสดในตลาดท้องถิ่นอยู่ที่กิโลกรัมละ 70-75 บาท ซึ่งเป็นราคาที่เกษตรกรส่วนหนึ่งยิ้มได้ ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งกลับมีรายได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น จากปัญหาโรคระบาดในสวนยางพารา จึงต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขปัญหา
 
นางชนันญชิดา หนูสีคง เกษตรอำเภอนาทวี กล่าวว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การยางแห่งประเทศไทยสาขานาทวี สำนักงานเกษตรอำเภอนาทวี เตรียมลงพื้นที่เพื่อเร่งหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา ซึ่งจะใช้แนวทางทั้งการบินโดรนฉีดพ่นสารเคมีเพื่อกำจัดโรค ในส่วนของเกษตรอำเภอ ก็จะทำการฉีดพ่นสารกำจัดเชื้อราแบบชีวภัณฑ์ ภาคพื้นดิน พร้อมกับการใส่ปุ๋ยหลักและธาตุอาหารรองให้ครบถ้วน เพื่อบำรุงและกำจัดโรคในคราวเดียวกัน ซึ่งจะเริ่มปฏิบัติโดยหาแปลงยางเพื่อสาธิตและทดลองแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างเร่งด่วน
 

 
ข้าวราคาตกรับประกันนาปี รัฐอัด2หมื่นล้านจ่ายส่วนต่าง
https://www.prachachat.net/economy/news-546132
 
ราคาข้าวหอมมะลิดิ่งหนัก จากตันละ 32,000 เหลือ 23,000 บาท ฉุดข้าวเปลือกเหลือ 12,000 บาท ส่งผลรัฐอ่วมจ่ายชดเชยประกันรายได้ชาวนา ธ.ก.ส.เตรียมอัดเสริมวงเงิน 3,500 ล้าน จากเดิมที่ตั้งไว้ 22,900 ล้าน ด้าน “โรงสี” สภาพคล่องฝืด ขาดทุนสต๊อก-แบงก์บีบจ่ายหลักทรัพย์ประกันเพิ่ม
 
ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จะเสนอโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2563/64 เข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการข้าว (นบข.) มีมติ(20 ตุลาคม 2563) อนุมัติวงเงินงบประมาณ 23,495 ล้านบาท ให้ใช้ประกันรายได้ข้าว 5 ชนิด ได้แก่
 
ข้าวเปลือกหอมมะลิตันละ 15,000 บาท ไม่เกิน14 ตัน/ราย, ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ตันละ 14,000 บาท ไม่เกิน16 ตัน/ราย, ข้าวเปลือกเจ้าตันละ 10,000 ไม่เกิน 30 ตัน/ราย, ข้าวเปลือกหอมปทุมธานีตันละ 11,000 บาท ไม่เกิน25 ตัน/ราย และข้าวเปลือกเหนียวตันละ12,000 บาท ไม่เกิน 16 ตัน/ราย
 
โดยราคาประกันเป็นอัตราเดียวกับโครงการประกันในปีที่ผ่านมา คาดว่าจะมีเกษตรกรผู้ปลูกข้าวขึ้นทะเบียนประมาณ 4.46 ล้านครัวเรือน
 
อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบสถานการณ์ราคาข้าวในตลาดพบว่า ขณะนี้ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ (ซึ่งเป็นชนิดที่ปลูกในช่วงนาปีมากที่สุด) มีระดับราคาลดลงเหลือแค่ตันละ 12,000-13,000 บาทหรือราคา “ต่ำกว่า” ปีที่ผ่านมาที่เคยมีราคาถึงตันละ 16,000-17,000 บาท ส่งผลให้ราคาข้าวสารหอมมะลิลดลงเหลือตันละ 23,000 บาท หรือลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่เคยมีราคาถึงตันละ 32,000 บาท ด้านราคาข้าวขาวแม้จะปรับตัวลดลงมาบ้าง แต่ราคาลงไม่รุนแรงเท่ากับข้าวหอมมะลิ โดยราคาข้าวเปลือกเจ้าอยู่ที่ตันละ 8,000-8,300 บาทหรือลดลงจากเดือนก่อนหน้าแต่ก็ยังสูงกว่าปีก่อนที่เคยมีราคาตันละ 7,000-7,600 บาท
 
สะท้อนให้เห็นความกังวลของตลาดที่ว่า “ข้าวเปลือกหอมะลิ” มีราคาน่าเป็นห่วงที่สุดและหากราคาตลาดยังยืนอยู่ระดับนี้จนถึงเริ่มโครงการประกันข้าวนาปี 2563/64 ก็มีแนวโน้มว่า รัฐบาลจะต้องจ่ายชดเชยราคาข้าวหอมมะลิไม่ต่ำกว่าตันละ 3,000 บาท จากราคาประกันตันละ 15,000 บาท เทียบกับปีก่อนที่รัฐบาลไม่ต้องจ่ายชดเชย
 
แบงก์ไม่ปล่อยสินเชื่อ
 
นายเกรียงศักดิ์ ตาปนานนท์ นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย คาดการณ์ว่า ชาวนาจะเริ่มเกี่ยวข้าวนาปีหลังวันที่ 7 พฤศจิกายนไปแล้ว โดยแนวโน้มผลผลิตข้าวเปลือกนาปีหอมมะลิในปีนี้น่าจะมีปริมาณผลผลิตดีกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งโดยปกติจะมีปริมาณเฉลี่ยประมาณ 8 ล้านตันข้าวเปลือกบวกลบ “ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิในพื้นที่ตอนนี้เป็นราคาข้าวเก่า ซึ่งปรับอ่อนตัวลงเหลือตันละ 12,000 บาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ตันละ 16,000-17,000 บาท ซึ่งสูงกว่าราคาประกันรายได้ที่กำหนดตันละ 15,000 บาท ทำให้รัฐบาลไม่ต้องจ่ายชดเชย
 
แต่ปีนี้หากจนถึงวันเกี่ยวแล้วราคาข้าวยังยืนอยู่ในระดับนี้ก็มีโอกาสที่รัฐบาลจะต้องจ่ายชดเชยประกันรายได้ให้กับเกษตรกร เท่าที่ลงสำรวจพื้นที่มองว่าผลผลิตดีกว่าปีที่ผ่านมา ดังนั้นขึ้นอยู่กับแรงซื้อจากตลาดส่งออกในช่วงโค้งสุดท้ายมีการประเมินว่า ปีนี้ส่งออกข้าวจะเหลือแค่ 6.5 ล้านตันจากปีก่อนที่เคยได้ 7.5 ล้านตัน”
 
แต่ในส่วนของโรงสีตอนนี้ยังคงประสบปัญหาเรื่อง “สภาพคล่อง”ต่อเนื่องมาหลายปี ซึ่งในปีนี้โรงสีได้รับผลกระทบจากการสต๊อกข้าวไว้ก่อนหน้านี้ในราคาสูง แต่ต้องมาขายในช่วงที่ราคาตลาดลดลง บางรายขาดทุนจากช่วงที่สต๊อกมีต้นทุนตันละ 16,000-17,000 บาท แต่ตอนนี้ราคาข้าวเหลือแค่ตันละ 12,500 บาทเท่านั้น
 
“วันนี้โรงสีกับแบงก์เรื่องการจะขอวงเงินใหม่เรียกว่าประตูปิดไปเลย ทางแบงก์มองว่าโรงสีเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงมานานแล้ว และเมื่อราคาข้าวลดลง สต๊อกที่เก็บไว้ก็มีมูลค่าลดลงตามไปด้วย โรงสีที่มีการเปิดวงเงินไว้กับแบงก์เดิม เมื่อหลักทรัพย์ลดลงสถาบันการเงินก็ให้หาวงเงินไปปิด หรือไม่ก็ต้องซื้อข้าวในตลาดไปเพิ่มทำให้มีปัญหา
 
ตอนนี้แบงก์เอกชนก็เริ่มมาคุยกับโรงสีแล้วว่า ถ้าไม่ไหวจะให้ปรับโครงสร้างหนี้ แฮร์คัตหนี้ ยืดชำระหนี้ไป ซึ่งที่ผ่านมากำลังการผลิตของโรงสีก็มีเยอะถึง 120 ล้านตัน หรือมากกว่าผลผลิตข้าว 3 เท่า ก็คงมีผู้ที่ล้มหายไปในที่สุด” นายเกรียงศักดิ์กล่าว
 
ขณะที่นายบรรจง ตั้งจิตรวัฒนกุล รองนายกสมาคมโรงสีข้าวไทย กล่าวว่า รัฐบาลควรพิจารณาดำเนินการคลี่คลายปัญหาให้กับโรงสีข้าวที่เข้าร่วมเป็นคลังฝากเก็บในโครงการรับจำนำในอดีต ซึ่งมีอยู่จำนวน 160 คลัง โดยขณะนี้ผ่านการพิจารณาแล้ว 30 คลัง เหลือตกค้างอีกประมาณ 130 คลัง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงสีที่สีข้าวหอมมะลิ ยังเป็นคดีความกันอยู่ ซึ่งมีผลต่อสภาพคล่องของโรงสี
 
อีสานขอซอฟต์โลน+ดอกเบี้ยพิเศษ
 
ด้านนายวิชัย ศรีนวกุล นายกสมาคมโรงสีข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า ขณะนี้ข้าวมะลิจากที่เคยตันละ 30,000-34,000 บาท ก็ลดลงเหลือ 23,000 บาท ซึ่งเป็นการลดลงในรอบ 3-4 ปี โดยระดับราคานี้ธนาคารคงไม่มีความเชื่อมั่นที่จะปล่อยวงเงินสินเชื่อให้กับโรงสีอีก
 
“ถ้าธนาคารมาบีบอีกก็จะทำให้ราคาข้าวทรุดหนัก จังหวะที่มันกำลังจะลงไม่รู้ว่าจุดต่ำอยู่ตรงไหน คนก็จะชะลอซื้อข้าวก็ยิ่งลง รัฐบาลก็จะต้องจ่ายชดเชยประกันราคาข้าวมากขึ้น สมาคมตอนนี้อยู่ระหว่างพิจารณาแนวทางช่วยเหลือสมาชิก เช่น การประสานโดยตรงไปยังสถาบันการเงินภาครัฐเพื่อขอให้ลดดอกเบี้ย จาก 5% เหลือ 4% สำหรับลูกค้าโรงสีที่ยังมีกำลังดี ส่งดอกเบี้ย และมีแนวคิดว่า อาจเสนอขอให้นำวงเงินซอฟต์โลน 500,000 ล้านบาท มาช่วยดอกเบี้ยให้กับโรงสี แต่ขึ้นอยู่ที่กระทรวงการคลังจะโยกมาได้ไหม
 
เช่น กรุงไทยมีวงเงิน 60,000 ล้านบาท ถ้าลดไป 1% ก็ 600 ล้านบาทต่อปี ชดเชยให้เป็นการแบ่งเบาภาระ ธนาคารก็ยังได้เงิน ในส่วนของสมาชิกอีสานที่ไม่มีปัญหาสภาพคล่อง 70-80% พอไปได้ แต่ด้วยภาระบางแบงก์ดอกเบี้ยยังแพงอยู่ ควรจะลดภาระช่วยประคับประคองโรงสี” นายวิชัยกล่าว
 
ขณะที่นายสมบัติ เฉลิมวุฒินันท์ ประธานบริษัท เอเซีย โกลเด้นไรซ์ จำกัด ผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 กล่าวถึงทิศทางการส่งออกข้าวโดยเฉพาะข้าวพรีเมี่ยมในไตรมาส 4 “มีแนวโน้มดีขึ้น” จากสัญญาณว่า จีนและสหรัฐจะกลับมาซื้อข้าวหลังจากที่ราคาส่งออกข้าวไทยลดลงจึงแข่งขันได้ เฉลี่ยการส่งออกข้าวจะเพิ่มขึ้นได้เกินกว่าเดือนละ 400,000 ตัน จากที่ล่าสุดในเดือนกันยายน 2563 ส่งออกได้ 390,000 ตัน ส่งผลให้ 3 ไตรมาสแรก 2563 ส่งออกได้ 4.1 ล้านตัน รวมทั้งปีคาดว่าจะได้ประมาณ 6 ล้านตัน
 
ธ.ก.ส.พร้อมจ่ายเงินประกัน
 
นายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี 2563/64 มีกรอบวงเงิน 22,957 ล้านบาท เพื่อดูแลเกษตรกรครอบคลุม 4 ล้านครัวเรือน โดยวงเงินนี้ “เพิ่มขึ้นมากกว่า” โครงการประกันรายได้ข้าวปี 2562/63 ที่ใช้เงินไป 19,414 ล้านบาท ในการดูแลเกษตรกรครอบคลุม 1 ล้านครัวเรือน
 
“โครงการปีนี้กำหนดวงเงินเพิ่มขึ้นกว่าปีที่แล้วกว่า 3,500 ล้านบาท เพื่อรองรับความเสี่ยงหากข้าวมีราคาต่ำลง โดยครอบคลุมเกษตรกรทำนาปีทั้งหมด ซึ่งเกษตรกรจะได้ส่วนต่างหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับวันที่เก็บเกี่ยว ส่วนกรณีเกษตรกรปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด จะได้สิทธิไม่เกินจำนวนสูงสุดของข้าวแต่ละชนิดและเมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงชนิดข้าวที่กำหนดไว้สูงสุด โดยมีการกำหนดราคาอ้างอิงและระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย” นายกษาปณ์กล่า
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่