หลังเลิกงานประจำ ไปรับจ็อบทำงานกับอีกที่เลิกจ้างได้หรือไม่...
คำสอนที่ว่าคนเราคนทำงานหลายจ็อบ มีรายได้หลาย ๆ ทางนั้นก็อาจทำให้หลายคนหารายได้พิเศษจากงานประจำ เช่น พยาบาลไปทำงานที่คลินิกหมอหรือไปรับงานที่โรงพยาบาลเอกชนต่อ หลังเลิกงานประจำ หรือพนักงานบัญชี ไปรับทำงานให้บริษัทอื่นหลังเลิกงาน
กรณีเหล่านี้โดยหลักการต้องถือว่าเป็นสิทธิของพนักงานหรือลูกจ้าง เพราะเวลาหลังเลิกงานแล้วย่อมมีอิสระ
แต่นายจ้างหรือฝ่ายบุคคลก็จะเกรงว่าการไปรับงานกับนายจ้างคนอื่นต่อจะทำให้พักผ่อนน้อยลงทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานน้อยลงตามไปด้วย จึงมักออกระเบียบ หรือข้อบังคับห้ามไปทำงานกับบุคคลอื่นหลังเลิกงานแล้ว
ระเบียบดังกล่าวสามารถบังคับใช้ได้
หากฝ่าฝืนถือเป็นความผิดวินัยได้ แต่ไม่ใช่เรื่องร้ายแรง จะเลิกจ้างทันทีไม่ได้ จะต้องออกหนังสือตักเตือนก่อน
อนึ่ง การไปทำงานนั้นหากเป็นกิจการอื่นอันเป็นคู่แข่งกับนายจ้างอาจเป็นเรื่องร้ายแรงถึงขนาดเลิกจ้างได้
เคยมีคดีที่ลูกจ้างไปทำงานรับจ้างกับร้านอื่นในขณะเป็นลูกจ้างของนายจ้างอยู่ แม้เป็นการทำงานหลังเลิกงานก็ไม่ทำให้ความสัมพันธ์ตามกฎหมายระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเปลี่ยนแปลงไป
การทำงานกับนายจ้างอื่นย่อมเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับการทำงานของนายจ้าง แต่การที่ระเบียบเขียนว่าเป็นการทำผิดวินัยร้ายแรงนั้น การจะผิดวินัยร้ายแรงหรือไม่ต้องอาศัยลักษณะและพฤติการณ์การกระทำความผิดของลูกจ้างตลอดจนผลเสียหายที่เกิดขึ้นมาคำนึงประกอบกัน
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าลูกจ้างไปทำงานหารายได้พิเศษหลังเลิกงานประจำ แม้จะทำให้มีเวลาพักผ่อนน้อยลง แต่ไม่ปรากฎว่าได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่การทำงานของนายจ้าง ถือไม่ได้ว่าเป็นการทำผิดวินัยร้ายแรงอันจะเลิกจ้างโดยไม่ต้องตักเตือนก่อนตามมาตรา ๑๑๙(๔) ได้
นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชย และค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ที่มา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ 234/2561
ที่มาข้อมูล
https://www.facebook.com/share/36eDZCNPonL6CKD2/?mibextid=oFDknk
หลังเลิกงานประจำ หรือนอกเวลางาน ลูกจ้างไปทำงานที่อื่นได้หรือไม่
คำสอนที่ว่าคนเราคนทำงานหลายจ็อบ มีรายได้หลาย ๆ ทางนั้นก็อาจทำให้หลายคนหารายได้พิเศษจากงานประจำ เช่น พยาบาลไปทำงานที่คลินิกหมอหรือไปรับงานที่โรงพยาบาลเอกชนต่อ หลังเลิกงานประจำ หรือพนักงานบัญชี ไปรับทำงานให้บริษัทอื่นหลังเลิกงาน
กรณีเหล่านี้โดยหลักการต้องถือว่าเป็นสิทธิของพนักงานหรือลูกจ้าง เพราะเวลาหลังเลิกงานแล้วย่อมมีอิสระ
แต่นายจ้างหรือฝ่ายบุคคลก็จะเกรงว่าการไปรับงานกับนายจ้างคนอื่นต่อจะทำให้พักผ่อนน้อยลงทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานน้อยลงตามไปด้วย จึงมักออกระเบียบ หรือข้อบังคับห้ามไปทำงานกับบุคคลอื่นหลังเลิกงานแล้ว
ระเบียบดังกล่าวสามารถบังคับใช้ได้
หากฝ่าฝืนถือเป็นความผิดวินัยได้ แต่ไม่ใช่เรื่องร้ายแรง จะเลิกจ้างทันทีไม่ได้ จะต้องออกหนังสือตักเตือนก่อน
อนึ่ง การไปทำงานนั้นหากเป็นกิจการอื่นอันเป็นคู่แข่งกับนายจ้างอาจเป็นเรื่องร้ายแรงถึงขนาดเลิกจ้างได้
เคยมีคดีที่ลูกจ้างไปทำงานรับจ้างกับร้านอื่นในขณะเป็นลูกจ้างของนายจ้างอยู่ แม้เป็นการทำงานหลังเลิกงานก็ไม่ทำให้ความสัมพันธ์ตามกฎหมายระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเปลี่ยนแปลงไป
การทำงานกับนายจ้างอื่นย่อมเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับการทำงานของนายจ้าง แต่การที่ระเบียบเขียนว่าเป็นการทำผิดวินัยร้ายแรงนั้น การจะผิดวินัยร้ายแรงหรือไม่ต้องอาศัยลักษณะและพฤติการณ์การกระทำความผิดของลูกจ้างตลอดจนผลเสียหายที่เกิดขึ้นมาคำนึงประกอบกัน
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าลูกจ้างไปทำงานหารายได้พิเศษหลังเลิกงานประจำ แม้จะทำให้มีเวลาพักผ่อนน้อยลง แต่ไม่ปรากฎว่าได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่การทำงานของนายจ้าง ถือไม่ได้ว่าเป็นการทำผิดวินัยร้ายแรงอันจะเลิกจ้างโดยไม่ต้องตักเตือนก่อนตามมาตรา ๑๑๙(๔) ได้
นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชย และค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ที่มา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ 234/2561
ที่มาข้อมูล
https://www.facebook.com/share/36eDZCNPonL6CKD2/?mibextid=oFDknk