ย้ายสถานประกอบการนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยอย่างไร

"ถ้าฝ่ายบุคคล​ให้เขียนใบลาออกอย่าเขียน​ เด็ดขาด​"   ถ้าบังคับ​ฟ้องคณะกรรมการ​กรมแรงงาน​ หรือศาลแรงงาน
หลักเกณฑ์ตามกฎหมาย
๑) การย้ายสถานประกอบกิจการนายจ้างมีหน้าที่ต้องปิดประกาศแจ้งการย้ายให้ลูกจ้างแต่ละคนทราบล่วงหน้า โดยปิดประกาศให้ลูกจ้างเห็นชัดเจน โดยประกาศจะต้องมีข้อความว่า

ก) ลูกจ้างคนใดจะต้องถูกย้าย
ข) ย้ายไปสถานที่ใด
ค) ย้ายเมื่อใด

การปิดวันต้องปิดไว้ให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าก่อนย้ายอย่างน้อย ๓๐ วัน
หากไม่ปิดประกาศให้ลูกจ้างทราบ หรือปิดประกาศแต่ไม่ถูกต้องตามกำหนดระยะเวลา ๓๐ วันที่กฎหมายกำหนด นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้กับลูกจ้างที่ไม่ประสงค์จะไปทำงาน ณ สถานที่ทำงานแห่งใหม่ โดยจ่ายเท่ากับจำนวนค่าจ้างของการทำงาน ๓๐ วัน สุดท้าย

โดยต้องจ่ายภายใน ๗ วันนับแต่วันที่สัญญาจ้างสิ้นสุด

หากลูกจ้างไม่ประสงค์จะไปทำงาน ณ สถานประกอบการแห่งใหม่ หรือสถานที่อื่นของนายจ้าง ลูกจ้าง “ต้องแจ้งให้นายจ้างทราบเป็นหนังสือภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันปิดประกาศ”

หนังสือแจ้งของลูกจ้างควรแจ้ง “เหตุผลที่แสดงให้เห็นว่าการย้ายนั้นส่งผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้าง หรือครอบครัวอย่างไร”

ตัวอย่างเหตุผลที่การย้ายส่งผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตปกติ
เอกสารอ้างอิง
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. คู่มือการย้ายสถานประกอบกิจการตามมาตรา ๑๒๐ มาตรา ๑๒๐/๑ และมาตรา ๑๒๐/๑. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เรียงสาม กราฟฟิค ดีไซน์ จำกัด, ๒๕๖๔
ตรีเนตร สาระพงษ์. กฎหมายคุ้มครองแรงงาน. กรุงเทพมหานคร, ๒๕๖๔
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่