สภาเดือดอีกรอบ! ‘ก้าวไกล’ ฉุนถูกเรียก ‘ไอ้หนู’ ชี้ไม่ให้เกียรติกัน
https://www.dailynews.co.th/news/3236328/
ประชุมสภา เดือดอีกรอบ! "ก้าวไกล" ฉุนถูกเรียก “ไอ้หนู” ชี้ไม่ให้เกียรติกัน ด้าน “รองปดิพัทธ์” แจงสภา ยันไม่ได้บุกเข้าทำเนียบก้าวล่วงการตัดสินใจนายกฯ บอกประสานล่วงหน้าแล้วแต่ไม่ได้รับการปฏิบัติตามที่แจ้งไว้
เมื่อวันที่ 6 มี.ค. ที่รัฐสภา ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ช่วงเย็นในระหว่าง นาย
ปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ทำหน้าที่ประธานการประชุมในระหว่างการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ได้ชี้แจงต่อที่ประชุมถึงกรณีการเดินทางไปติดตามร่าง พ.ร.บ.เกี่ยวกับการเงินที่ทำเนียบรัฐบาล ว่า ทางสภา โปร่งใส ก็อยากจะเห็นความโปร่งใสของฝั่งบริหารด้วย และอยากปกป้องผลประโยชน์ของ สส. เพราะเป็นร่างกฎหมายจาก สส. ทุกพรรค จึงตัดสินใจเดินทางไปที่ทำเนียบรัฐบาล โดยให้เลขานุการและตำรวจไปประสานงานที่ทำเนียบรัฐบาลก่อนในช่วงเช้า ก่อนเดินทางไปด้วยตนเองในช่วงบ่าย ซึ่งได้รับการยืนยันผ่านแชตไลน์และตำรวจรับทราบแล้ว และให้ใครมาต้อนรับ แต่เมื่อไปถึงทำเนียบรัฐบาล ก็ไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างที่ประสานงานไว้ ทำให้เกิดภาพออกมาทุลักทุเลอย่างที่เห็น แต่ยืนยันว่าเป็นการเข้าพบตามกระบวนการที่ถูกต้อง ได้ประสานงานไว้ล่วงหน้า ไม่ได้เป็นการบุกรุก ก้าวล่วง หรือก้าวล้ำเข้าไปในการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรี
ขณะนาย
ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม สส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ลุกขึ้นกล่าวว่า ตนได้อ่านระเบียบข้อบังคับการทำหน้าที่ของรองประธานสภาแล้วซึ่งจะต้องทำตามคำสั่งของประธานสภา การที่นาย
ปดิพัทธ์ เดินทางไปทำเนียบรัฐบาลได้รับคำสั่งจากประธานสภาแล้วหรือไม่ ซึ่งหากบอกว่าได้รับคำสั่งจากประธานสภาแล้ว ตนจะถามความชัดเจนอีกครั้งจากนาย
วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ทั้งนี้ ระหว่างที่นาย
ครูมานิตย์อภิปรายอยู่นั้น สส.จากพรรคก้าวไกลพยายามที่จะลุกขึ้นประท้วง นาย
ครูมานิตย์ จึงบอกว่า “
อย่าประท้วงเลย ไม่มีประโยชน์หรอกน้อง เอาความจริงมาพูด นั่งเถอะ..ไอ้หนู…” ทำให้ สส.ก้าวไกล ลุกขึ้นประท้วง ขอให้ประธานเดินหน้า พิจารณาร่างพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานต่อ
นาย
ปดิพัทธ์ จึงตอบกลับทันทีว่า “
ผมขอใช้เวลา เพราะเมื่อเช้าผมโดนไล่ให้ไปลาออก ผมขอใช้เวลาชี้แจงไม่นาน”
จากนั้น นาย
รังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้ประท้วงการทำหน้าที่ประธานของนาย
ปดิพัทธ์ ว่า ตนไม่สนว่าจะมีการตอบโต้อะไรกันเรื่องของรองประธานสภา แต่เมื่อมีคนประท้วง สิ่งที่ประธานต้องทำ คือการวินิจฉัย แต่กลับไม่มีการวินิจฉัยเลย ส่วนประเด็นที่ 2 นาย
ครูมานิตย์ สส.หลายสมัย ใช้คำว่า “
ไอ้หนู” กับเพื่อนสมาชิกในห้องประชุมได้อย่างไร ผมพูดจริงๆ ว่า ผมให้ความเคารพ ผมรู้จักกับนาย
ครูมานิตย์มานาน แต่ท่านจะมาใช้คำว่า “ไอ้หนู” แบบนี้มันเป็นการไม่เคารพกัน สส. ไม่ว่าจะเป็น 1 สมัย 5 สมัย หรือ 10 สมัย ก็เท่ากัน จะมาใช้คำพูดหยาบคาย ด้อยค่าเรื่องคุณวุฒิเป็นสิ่งที่ใช้ไม่ได้ ประธานจะต้องวินิจฉัย ต้องบอกให้นาย
ครูมานิตย์ถอนคำพูด นี่คือสิ่งที่ผมรอคอยและอยากเห็นจากประธาน ทั้งนี้ ตลอดการอภิปรายนาย
รังสิมันต์ มีท่าทางสีหน้าฉุนเฉียว และชี้มือไปทางนาย
ครูมานิตย์ ทำให้ประธานตักเตือนว่า ขอให้พูดกับประธานการประชุม
และสุดท้ายนาย
ครูมานิตย์ ก็ยอมถอนคำว่า “
ไอ้หนู” ทำให้สภาเดินหน้าตามวาระต่อ
อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่มีการประท้วงกันไปมา นาย
อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีชื่อเล่นว่า “หนู” ก็นั่งอยู่ในห้องประชุมสภา หลังนาย
ครูมานิตย์ ก็ได้แต่นั่งอมยิ้ม.
“ก้าวไกล” ยื่นญัตติด่วน! ขอสภาตั้ง กมธ.ศึกษาขอบเขตอำนาจศาล รธน. มองกระทบฝ่ายนิติบัญญัติเสนอกฎหมาย
https://siamrath.co.th/n/519433
เมื่อเวลา 14.45 น. วันที่ 6 มี.ค.67 ที่รัฐสภา นาย
ชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล นำทีม สส. พรรคก้าวไกล ยื่นญัตติด่วนขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ต่อนาย
วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร กรณีตรวจสอบการกระทำของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกรัฐสภา ในการดำเนินการทางนิติบัญญัติตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 3/2567 และคำวินิจฉัยอื่นๆ ซึ่งคำวินิจฉัยดังกล่าวนั้นเป็นการกล่าวหาว่าการเสนอแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 ของพรรคก้าวไกล เป็นการล้มล้างหรือใช้สิทธิเสรีภาพในการล้มล้างการปกครอง ซึ่งพรรคก้าวไกลได้โต้แย้งไปแล้วว่า การเสนอกฎหมายดังกล่าว เป็นไปตามกระบวนการนิติบัญญัติ และการเสนอร่างกฎหมายไม่สามารถเป็นการล้มล้างการปกครองได้ แต่ศาลเห็นว่ามีอำนาจที่จะตรวจสอบวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 ถือเป็นการถ่วงดุลฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งพรรคก้าวไกลมองว่าจะเกิดผลกระทบต่อสภา ดังนั้น จึงเห็นว่าสภาควรจะพิจารณาเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน โดยการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาฯ และหวังว่าจะสามารถบรรจุเป็นญัตติด่วนโดยเร็วที่สุดได้ เพราะขณะนี้สภายังไม่มีญัตติด่วน
เมื่อถามว่าผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญนี้จะมีผลต่อฝ่ายต่างๆ อย่างไร นาย
ชัยธวัช กล่าวว่า การดำเนินการดังกล่าวอย่างน้อยที่สุดจะเกิดความชัดเจนในฝ่ายนิติบัญญัติว่าขอบเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญมีแค่ไหน และผลการศึกษานี้จะมีส่วนในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งขณะนี้ยังมีปัญหาอยู่ เช่น ร่างของพรรคเพื่อไทยเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม ที่ไม่ใช่การแก้ไขทั้งฉบับ ซึ่งรัฐสภาเห็นว่า การเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญเช่นนี้เป็นการขัดต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แม้พรรคเพื่อไทยจะใช้อำนาจโดยชอบตามรัฐธรรมนูญก็ตาม แต่ถ้าเรื่องนี้ยังไม่มีความชัดเจนก็จะมีปัญหาต่อไปในอนาคต
“
เบื้องต้นได้แจ้งไปให้พรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลรับทราบบ้างแล้ว ส่วนจะเห็นชอบอย่างไรนั้นถือเป็นเอกสิทธิ์ของ สส. แต่ละคน ยืนยันการเสนอให้ตั้งกรรมาธิการดังกล่าว ไม่ใช่เป็นพิจารณาคำวินิจฉัยของศาล แต่เป็นไปเพื่อการศึกษาในอนาคต”นาย
ชัยธวัช กล่าว
เมื่อถามถึงกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. พิจารณาคำร้องยื่นยุบพรรคก้าวไกลในสัปดาห์หน้านั้น นาย
ชัยธวัช กล่าวว่า ไม่ได้เป็นการเร่งรีบ เพราะมีคำร้องยื่นมาอยู่แล้ว ซึ่งพรรคก้าวไกลก็เตรียมข้อมูลในการชี้แจง จึงหวังว่า กกต. จะเปิดโอกาสให้พรรคก้าวไกลได้เข้าไปชี้แจงในขั้นตอนกระบวนการไต่สวน
ด้าน นาย
วันนอร์ กล่าวว่า จะรับญัตติดังกล่าวไปให้ฝ่ายกฎหมายของสภาฯ ตรวจสอบขอบเขตของอำนาจประธานสภาฯ และวิธีการดำเนินงานต่อไป โดยไม่ให้ขัดแย้งต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและข้อบังคับต่างๆ โดยจะดำเนินการตามที่พรรคต้องการ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของทุกฝ่ายและให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและข้อบังคับ
#ก้าวไกล
เวิลด์แบงก์ชี้ ศก.ไทยยังอ่อนแรง เหตุปัจจัยทั้งใน-นอกประเทศ จ่อปรับลดคาดการณ์เติบโตลงอีก
https://www.matichon.co.th/economy/news_4458155
เวิลด์แบงก์ชี้ ศก.ไทยยังอ่อนแรง เหตุปัจจัยทั้งใน-นอกประเทศ จ่อปรับลดคาดการณ์เติบโตลงอีก
เมื่อวันที่ 6 มีนาคม นาย
เกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของธนาคารโลกประจำประเทศไทย กล่าวให้ความเห็นเกี่ยวกับภาพรวมเศรษฐกิจของไทยและอุปสรรคต่อเศรษฐกิจไทยที่ควรจะเฝ้าระวังในปีนี้
นาย
เกียรติพงศ์ กล่าวว่า ตามการคาดการณ์ของธนาคารโลก การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยยังคงตามหลังประเทศอื่นๆ ตัวเลขจีดีพีรายไตรมาสของไทยยังคงอ่อนแรงอยู่ เนื่องจากการค้าโลกชะลอตัวลง รวมถึงมีปัจจัยท้าทายภายในประเทศ เช่น ความล่าช้าของเรื่องงบประมาณรายจ่าย เพราะฉะนั้นประเทศไทยถือว่าได้รับผลกระทบมากที่สุดในบรรดาประเทศสมาชิกอาเซียนในช่วงไตรมาสที่แล้ว เราคาดว่าประเทศไทยจะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะกลางอยู่ที่ราว 3% ซึ่งยังไม่อยู่ในระดับเดียวกับประเทศที่จะเติบโตเป็นประเทศที่มีรายได้สูง ที่จะต้องมีอัตราการเติบโตราว 5% รัฐบาลไทยควรจะปฏิรูปในเรื่องนวัตกรรม การบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งเสริมการเติบโตของเมืองและภูมิภาค รวมถึงลงทุนในเรื่องทุนมนุษย์ ไม่เพียงแต่ไทยจะสามารถบรรลุในเรื่องนั้นได้จากการระดมทรัพยากรมากขึ้น แต่ยังผ่านการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย ประเทศไทยยังคงมีขีดความสามารถที่จะใช้โครงสร้างพื้นฐานที่มี เช่น โครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลที่จะทำการปฏิรูปเหล่านี้เช่นกัน ไทยยังคงมีพื้นที่ทางการคลังที่จะลงทุนในเศรษฐกิจ ในทุนมนุษย์ ในโครงสร้างพื้นฐาน และปฏิรูปเศรษฐกิจให้ลดกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ และการลงทุนไม่ใช่แค่เม็ดเงินเพิ่มขึ้น แต่เพิ่มประสิทธิภาพในการลงทุนอีกด้วย
นาย
เกียรติพงศ์กล่าวอีกว่า ธนาคารโลกประจำประเทศไทยอาจปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในปีนี้และปีหน้าลงอีก เพราะอุปสรรคต่างๆ ดังที่ได้กล่าวไป อาทิ การชะลอตัวของการค้าโลก งบประมาณรายจ่ายที่ล่าช้าซึ่งจะลามไปจนถึงปีงบประมาณหน้า และจะส่งผลกระทบต่อโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะต่างๆ โดยเฉพาะโครงการที่ยังไม่ได้เริ่มต้น โดยธนาคารโลกคาดว่าจะเผยแพร่รายงานการคาดการณ์ดังกล่าวในช่วงเดือนเมษายนนี้
ต่อประเด็นคำถามว่าธนาคารโลกมองเรื่องนโยบายอัตราดอกเบี้ยของไทยอย่างไร นายเกียรติพงศ์กล่าวว่า เท่าที่ดูในรายงานของธนาคารโลกเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา มองว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจและแรงกดดันเงินเฟ้อก็ยังคงมีในระบบเพราะเราใช้มาตรการตรึงราคา แรงกดดันอาจยังแฝงอยู่ในบางหมวด เพราะฉะนั้นเรามองว่านโยบายดอกเบี้ยของไทยอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันแล้ว
เมื่อถามว่าเศรษฐกิจไทยควรที่จะเฝ้าระวังเรื่องใดบ้างในปีนี้ นายเกียรติพงศ์ให้ความเห็นว่า จะมีเรื่องงบประมาณล่าช้า การขับเคลื่อนโครงการพื้นฐานที่อาจล่าช้าไปมากกว่านี้ ภาวะเงินเฟ้อก็มองว่ามีความเสี่ยงเพราะเศรษฐกิจโลกยังมีความเสี่ยงจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ที่อาจทำให้ราคาพลังงานและอาหารเพิ่มขึ้นไปอีก ก็จะกระทบกับประเทศไทยด้วย ส่วนความกังวลว่าเหตุการณ์ที่กลุ่มกบฏฮูตีโจมตีเรือบรรทุกสินค้าในทะเลแดงนั้น ตนไม่ทราบว่าไทยจะได้รับผลกระทบหรือไม่ แต่ก็มีความเป็นไปได้เพราะทุกอย่างมีความเชื่อมโยงกันผ่านระบบห่วงโซ่อุปทานของโลก และมีโอกาสที่จะทำให้ภาวะเงินเฟ้อของโลกสูงขึ้นไปอีก เรามองว่าเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวดีกว่าที่คาด แต่เติบโตในระดับที่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับก่อนช่วงการแพร่ระบาดของโควิด – 19
JJNY : 5in1 ก้าวไกลชี้ไม่ให้เกียรติ│ก้าวไกลยื่นญัตติด่วน!│เวิลด์แบงก์ชี้ไทยยังอ่อน│เอลนีโญเริ่มอ่อนแรง│รัสเซียจับมือจีน
https://www.dailynews.co.th/news/3236328/
ประชุมสภา เดือดอีกรอบ! "ก้าวไกล" ฉุนถูกเรียก “ไอ้หนู” ชี้ไม่ให้เกียรติกัน ด้าน “รองปดิพัทธ์” แจงสภา ยันไม่ได้บุกเข้าทำเนียบก้าวล่วงการตัดสินใจนายกฯ บอกประสานล่วงหน้าแล้วแต่ไม่ได้รับการปฏิบัติตามที่แจ้งไว้
เมื่อวันที่ 6 มี.ค. ที่รัฐสภา ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ช่วงเย็นในระหว่าง นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ทำหน้าที่ประธานการประชุมในระหว่างการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ได้ชี้แจงต่อที่ประชุมถึงกรณีการเดินทางไปติดตามร่าง พ.ร.บ.เกี่ยวกับการเงินที่ทำเนียบรัฐบาล ว่า ทางสภา โปร่งใส ก็อยากจะเห็นความโปร่งใสของฝั่งบริหารด้วย และอยากปกป้องผลประโยชน์ของ สส. เพราะเป็นร่างกฎหมายจาก สส. ทุกพรรค จึงตัดสินใจเดินทางไปที่ทำเนียบรัฐบาล โดยให้เลขานุการและตำรวจไปประสานงานที่ทำเนียบรัฐบาลก่อนในช่วงเช้า ก่อนเดินทางไปด้วยตนเองในช่วงบ่าย ซึ่งได้รับการยืนยันผ่านแชตไลน์และตำรวจรับทราบแล้ว และให้ใครมาต้อนรับ แต่เมื่อไปถึงทำเนียบรัฐบาล ก็ไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างที่ประสานงานไว้ ทำให้เกิดภาพออกมาทุลักทุเลอย่างที่เห็น แต่ยืนยันว่าเป็นการเข้าพบตามกระบวนการที่ถูกต้อง ได้ประสานงานไว้ล่วงหน้า ไม่ได้เป็นการบุกรุก ก้าวล่วง หรือก้าวล้ำเข้าไปในการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรี
ขณะนายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม สส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ลุกขึ้นกล่าวว่า ตนได้อ่านระเบียบข้อบังคับการทำหน้าที่ของรองประธานสภาแล้วซึ่งจะต้องทำตามคำสั่งของประธานสภา การที่นายปดิพัทธ์ เดินทางไปทำเนียบรัฐบาลได้รับคำสั่งจากประธานสภาแล้วหรือไม่ ซึ่งหากบอกว่าได้รับคำสั่งจากประธานสภาแล้ว ตนจะถามความชัดเจนอีกครั้งจากนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ทั้งนี้ ระหว่างที่นายครูมานิตย์อภิปรายอยู่นั้น สส.จากพรรคก้าวไกลพยายามที่จะลุกขึ้นประท้วง นายครูมานิตย์ จึงบอกว่า “อย่าประท้วงเลย ไม่มีประโยชน์หรอกน้อง เอาความจริงมาพูด นั่งเถอะ..ไอ้หนู…” ทำให้ สส.ก้าวไกล ลุกขึ้นประท้วง ขอให้ประธานเดินหน้า พิจารณาร่างพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานต่อ
นายปดิพัทธ์ จึงตอบกลับทันทีว่า “ผมขอใช้เวลา เพราะเมื่อเช้าผมโดนไล่ให้ไปลาออก ผมขอใช้เวลาชี้แจงไม่นาน”
จากนั้น นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้ประท้วงการทำหน้าที่ประธานของนายปดิพัทธ์ ว่า ตนไม่สนว่าจะมีการตอบโต้อะไรกันเรื่องของรองประธานสภา แต่เมื่อมีคนประท้วง สิ่งที่ประธานต้องทำ คือการวินิจฉัย แต่กลับไม่มีการวินิจฉัยเลย ส่วนประเด็นที่ 2 นายครูมานิตย์ สส.หลายสมัย ใช้คำว่า “ไอ้หนู” กับเพื่อนสมาชิกในห้องประชุมได้อย่างไร ผมพูดจริงๆ ว่า ผมให้ความเคารพ ผมรู้จักกับนายครูมานิตย์มานาน แต่ท่านจะมาใช้คำว่า “ไอ้หนู” แบบนี้มันเป็นการไม่เคารพกัน สส. ไม่ว่าจะเป็น 1 สมัย 5 สมัย หรือ 10 สมัย ก็เท่ากัน จะมาใช้คำพูดหยาบคาย ด้อยค่าเรื่องคุณวุฒิเป็นสิ่งที่ใช้ไม่ได้ ประธานจะต้องวินิจฉัย ต้องบอกให้นายครูมานิตย์ถอนคำพูด นี่คือสิ่งที่ผมรอคอยและอยากเห็นจากประธาน ทั้งนี้ ตลอดการอภิปรายนายรังสิมันต์ มีท่าทางสีหน้าฉุนเฉียว และชี้มือไปทางนายครูมานิตย์ ทำให้ประธานตักเตือนว่า ขอให้พูดกับประธานการประชุม
และสุดท้ายนายครูมานิตย์ ก็ยอมถอนคำว่า “ไอ้หนู” ทำให้สภาเดินหน้าตามวาระต่อ
อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่มีการประท้วงกันไปมา นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีชื่อเล่นว่า “หนู” ก็นั่งอยู่ในห้องประชุมสภา หลังนายครูมานิตย์ ก็ได้แต่นั่งอมยิ้ม.
“ก้าวไกล” ยื่นญัตติด่วน! ขอสภาตั้ง กมธ.ศึกษาขอบเขตอำนาจศาล รธน. มองกระทบฝ่ายนิติบัญญัติเสนอกฎหมาย
https://siamrath.co.th/n/519433
เมื่อเวลา 14.45 น. วันที่ 6 มี.ค.67 ที่รัฐสภา นายชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล นำทีม สส. พรรคก้าวไกล ยื่นญัตติด่วนขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ต่อนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร กรณีตรวจสอบการกระทำของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกรัฐสภา ในการดำเนินการทางนิติบัญญัติตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 3/2567 และคำวินิจฉัยอื่นๆ ซึ่งคำวินิจฉัยดังกล่าวนั้นเป็นการกล่าวหาว่าการเสนอแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 ของพรรคก้าวไกล เป็นการล้มล้างหรือใช้สิทธิเสรีภาพในการล้มล้างการปกครอง ซึ่งพรรคก้าวไกลได้โต้แย้งไปแล้วว่า การเสนอกฎหมายดังกล่าว เป็นไปตามกระบวนการนิติบัญญัติ และการเสนอร่างกฎหมายไม่สามารถเป็นการล้มล้างการปกครองได้ แต่ศาลเห็นว่ามีอำนาจที่จะตรวจสอบวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 ถือเป็นการถ่วงดุลฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งพรรคก้าวไกลมองว่าจะเกิดผลกระทบต่อสภา ดังนั้น จึงเห็นว่าสภาควรจะพิจารณาเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน โดยการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาฯ และหวังว่าจะสามารถบรรจุเป็นญัตติด่วนโดยเร็วที่สุดได้ เพราะขณะนี้สภายังไม่มีญัตติด่วน
เมื่อถามว่าผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญนี้จะมีผลต่อฝ่ายต่างๆ อย่างไร นายชัยธวัช กล่าวว่า การดำเนินการดังกล่าวอย่างน้อยที่สุดจะเกิดความชัดเจนในฝ่ายนิติบัญญัติว่าขอบเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญมีแค่ไหน และผลการศึกษานี้จะมีส่วนในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งขณะนี้ยังมีปัญหาอยู่ เช่น ร่างของพรรคเพื่อไทยเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม ที่ไม่ใช่การแก้ไขทั้งฉบับ ซึ่งรัฐสภาเห็นว่า การเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญเช่นนี้เป็นการขัดต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แม้พรรคเพื่อไทยจะใช้อำนาจโดยชอบตามรัฐธรรมนูญก็ตาม แต่ถ้าเรื่องนี้ยังไม่มีความชัดเจนก็จะมีปัญหาต่อไปในอนาคต
“เบื้องต้นได้แจ้งไปให้พรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลรับทราบบ้างแล้ว ส่วนจะเห็นชอบอย่างไรนั้นถือเป็นเอกสิทธิ์ของ สส. แต่ละคน ยืนยันการเสนอให้ตั้งกรรมาธิการดังกล่าว ไม่ใช่เป็นพิจารณาคำวินิจฉัยของศาล แต่เป็นไปเพื่อการศึกษาในอนาคต”นายชัยธวัช กล่าว
เมื่อถามถึงกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. พิจารณาคำร้องยื่นยุบพรรคก้าวไกลในสัปดาห์หน้านั้น นายชัยธวัช กล่าวว่า ไม่ได้เป็นการเร่งรีบ เพราะมีคำร้องยื่นมาอยู่แล้ว ซึ่งพรรคก้าวไกลก็เตรียมข้อมูลในการชี้แจง จึงหวังว่า กกต. จะเปิดโอกาสให้พรรคก้าวไกลได้เข้าไปชี้แจงในขั้นตอนกระบวนการไต่สวน
ด้าน นายวันนอร์ กล่าวว่า จะรับญัตติดังกล่าวไปให้ฝ่ายกฎหมายของสภาฯ ตรวจสอบขอบเขตของอำนาจประธานสภาฯ และวิธีการดำเนินงานต่อไป โดยไม่ให้ขัดแย้งต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและข้อบังคับต่างๆ โดยจะดำเนินการตามที่พรรคต้องการ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของทุกฝ่ายและให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและข้อบังคับ
#ก้าวไกล
เวิลด์แบงก์ชี้ ศก.ไทยยังอ่อนแรง เหตุปัจจัยทั้งใน-นอกประเทศ จ่อปรับลดคาดการณ์เติบโตลงอีก
https://www.matichon.co.th/economy/news_4458155
เวิลด์แบงก์ชี้ ศก.ไทยยังอ่อนแรง เหตุปัจจัยทั้งใน-นอกประเทศ จ่อปรับลดคาดการณ์เติบโตลงอีก
เมื่อวันที่ 6 มีนาคม นายเกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของธนาคารโลกประจำประเทศไทย กล่าวให้ความเห็นเกี่ยวกับภาพรวมเศรษฐกิจของไทยและอุปสรรคต่อเศรษฐกิจไทยที่ควรจะเฝ้าระวังในปีนี้
นายเกียรติพงศ์ กล่าวว่า ตามการคาดการณ์ของธนาคารโลก การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยยังคงตามหลังประเทศอื่นๆ ตัวเลขจีดีพีรายไตรมาสของไทยยังคงอ่อนแรงอยู่ เนื่องจากการค้าโลกชะลอตัวลง รวมถึงมีปัจจัยท้าทายภายในประเทศ เช่น ความล่าช้าของเรื่องงบประมาณรายจ่าย เพราะฉะนั้นประเทศไทยถือว่าได้รับผลกระทบมากที่สุดในบรรดาประเทศสมาชิกอาเซียนในช่วงไตรมาสที่แล้ว เราคาดว่าประเทศไทยจะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะกลางอยู่ที่ราว 3% ซึ่งยังไม่อยู่ในระดับเดียวกับประเทศที่จะเติบโตเป็นประเทศที่มีรายได้สูง ที่จะต้องมีอัตราการเติบโตราว 5% รัฐบาลไทยควรจะปฏิรูปในเรื่องนวัตกรรม การบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งเสริมการเติบโตของเมืองและภูมิภาค รวมถึงลงทุนในเรื่องทุนมนุษย์ ไม่เพียงแต่ไทยจะสามารถบรรลุในเรื่องนั้นได้จากการระดมทรัพยากรมากขึ้น แต่ยังผ่านการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย ประเทศไทยยังคงมีขีดความสามารถที่จะใช้โครงสร้างพื้นฐานที่มี เช่น โครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลที่จะทำการปฏิรูปเหล่านี้เช่นกัน ไทยยังคงมีพื้นที่ทางการคลังที่จะลงทุนในเศรษฐกิจ ในทุนมนุษย์ ในโครงสร้างพื้นฐาน และปฏิรูปเศรษฐกิจให้ลดกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ และการลงทุนไม่ใช่แค่เม็ดเงินเพิ่มขึ้น แต่เพิ่มประสิทธิภาพในการลงทุนอีกด้วย
นายเกียรติพงศ์กล่าวอีกว่า ธนาคารโลกประจำประเทศไทยอาจปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในปีนี้และปีหน้าลงอีก เพราะอุปสรรคต่างๆ ดังที่ได้กล่าวไป อาทิ การชะลอตัวของการค้าโลก งบประมาณรายจ่ายที่ล่าช้าซึ่งจะลามไปจนถึงปีงบประมาณหน้า และจะส่งผลกระทบต่อโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะต่างๆ โดยเฉพาะโครงการที่ยังไม่ได้เริ่มต้น โดยธนาคารโลกคาดว่าจะเผยแพร่รายงานการคาดการณ์ดังกล่าวในช่วงเดือนเมษายนนี้
ต่อประเด็นคำถามว่าธนาคารโลกมองเรื่องนโยบายอัตราดอกเบี้ยของไทยอย่างไร นายเกียรติพงศ์กล่าวว่า เท่าที่ดูในรายงานของธนาคารโลกเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา มองว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจและแรงกดดันเงินเฟ้อก็ยังคงมีในระบบเพราะเราใช้มาตรการตรึงราคา แรงกดดันอาจยังแฝงอยู่ในบางหมวด เพราะฉะนั้นเรามองว่านโยบายดอกเบี้ยของไทยอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันแล้ว
เมื่อถามว่าเศรษฐกิจไทยควรที่จะเฝ้าระวังเรื่องใดบ้างในปีนี้ นายเกียรติพงศ์ให้ความเห็นว่า จะมีเรื่องงบประมาณล่าช้า การขับเคลื่อนโครงการพื้นฐานที่อาจล่าช้าไปมากกว่านี้ ภาวะเงินเฟ้อก็มองว่ามีความเสี่ยงเพราะเศรษฐกิจโลกยังมีความเสี่ยงจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ที่อาจทำให้ราคาพลังงานและอาหารเพิ่มขึ้นไปอีก ก็จะกระทบกับประเทศไทยด้วย ส่วนความกังวลว่าเหตุการณ์ที่กลุ่มกบฏฮูตีโจมตีเรือบรรทุกสินค้าในทะเลแดงนั้น ตนไม่ทราบว่าไทยจะได้รับผลกระทบหรือไม่ แต่ก็มีความเป็นไปได้เพราะทุกอย่างมีความเชื่อมโยงกันผ่านระบบห่วงโซ่อุปทานของโลก และมีโอกาสที่จะทำให้ภาวะเงินเฟ้อของโลกสูงขึ้นไปอีก เรามองว่าเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวดีกว่าที่คาด แต่เติบโตในระดับที่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับก่อนช่วงการแพร่ระบาดของโควิด – 19