หมออ๋อง เปิดเอกสาร 2 ฉบับ โต้บุกทำเนียบ พบนายกฯ ยันประสานแล้ว วัน-เวลาชัด
https://www.matichon.co.th/politics/news_4450880
หมออ๋อง เปิดเอกสาร 2 ฉบับ โต้บุกทำเนียบ พบนายกฯ ยันประสานแล้ว วัน-เวลาชัด
จากกรณีที่ นาย
เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง ย้อนถามกรณีที่ นาย
ปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 จะมาทำเนียบรัฐบาล เพื่อติดตามร่างกฎหมายที่ค้างอยู่กว่า 31 ฉบับว่า เป็นพฤติกรรมที่ถูกต้องหรือไม่ ที่รองประธานสภาฯ จะบุกมาที่ทำเนียบรัฐบาล รวมถึงไม่แน่ใจว่า ต้องมีการประสานให้ชัดเจนหรือไม่ ถ้าประสานกันดี บอกเวลา ทำเนียบฯก็พร้อมเปิดรับแขก
ล่าสุด (1 มี.ค.) นาย
ปดิพัทธ์ ได้โพสต์ข้อความผ่าน X โดยระบุว่า
“ผมยืนยันว่า ไม่ได้บุกไปพบนายกฯ การตัดสินใจเซ็นร่างกฎหมายเป็นสิทธิและหน้าที่ของท่านเท่านั้น ผมไปติดตามสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีให้กระบวนการให้โปร่งใส นำข้อคิดเห็นของสมาชิกไปสะท้อน ทำความเข้าใจข้อบังคับการประชุมสภาในส่วนของกระทู้สดกันครับ หนังสือขอเข้าพบก็เขียนแบบนี้ครับ”
พร้อมกันนี้ นาย
ปดิพัทธ์ เผยหนังสือจากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 2 ฉบับ ประกอบด้วย
ฉบับแรกคือ สผ.0001.03/26 ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ถึงเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เรื่อง ขอเข้าหารือและเยี่ยมชมการดำเนินการเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.เกี่ยวการเงิน โดยระบุตอนหนึ่งว่า เพื่อให้การดำเนินการที่เกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.เกี่ยวด้วยการเงินของสภาฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
“
ผมจึงขออนุเคราะห์เข้าหารือ และเยี่ยมชมการดำเนินการเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.เกี่ยวด้วยกับการเงินที่จะเสนอให้นายกฯให้คำรับรอง หรือไม่รับรองของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีในศุกร์ที่ 1 มีนาคม เวลา 13.30 น. ณ สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล” ลงชื่อ นายปดิพันธ์ สันติภาดา รองประธานสภาฯ คนที่ 1
ฉบับที่สอง ลงหนังสือ สผ.ที่ 0001.03/18 ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ เป็นฉบับที่ออกก่อน สผ.0001.03/26 โดยมีเนื้อหาในทำนองเดียวกับ เพื่อขอเข้าเยี่ยมชมและศึกษาขั้นตอนแนวทางการปฏิบัติของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในวันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 13.30 น.
https://twitter.com/ongpadipat/status/1763536519787356389
กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐฯ เชิญหน่วยงานชี้แจงมาตรการถวายความปลอดภัยขบวนเสด็จ
https://prachatai.com/journal/2024/03/108272
กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐฯ เชิญหน่วยงานชี้แจงมาตรการถวายความปลอดภัยขบวนเสด็จ ขณะห่วงการสื่อสาร ขอทำความเข้าใจประชาชนให้ชัด ป้องกันเกิดความขัดแย้ง
เว็บไซต์สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา รายงานเมื่อวันที่ 29 ก.พ. 2567 ว่านาย
ปิยรัฐ จงเทพ โฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร แถลงผลการประชุมของ กมธ.ซึ่งมีวาระสำคัญ คือการพิจารณาแนวทางการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการถวายความปลอดภัยขบวนเสด็จให้สมพระเกียรติและรักษาไว้ซึ่งสถาบันหลักของชาติ โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม
โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้นำเสนอลำดับเหตุการณ์เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2567 และยืนยันว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีการรับมือต่อเหตุการณ์ตามหลักปฏิบัติงาน และไม่ได้ส่งผลกระทบต่อพระบรมวงศานุวงศ์หรือขบวนเสด็จแต่อย่างใด พร้อมชี้แจงบทบาทในการสนับสนุนภารกิจการถวายความปลอดภัยตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การถวายความปลอดภัย พ.ศ. 2560 ที่ย้ำถึงหลักการถวายความปลอดภัยอย่างสูงสุดและสมพระเกียรติ คำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อประชาชนอยู่เสมอ
ภายหลังรับฟังข้อมูล กมธ.มีข้อเสนอแนะและความกังวลเกี่ยวกับเรื่องการสื่อสารต่อสังคมถึงลำดับเหตุการณ์ ขั้นตอนการรับมือต่อเหตุการณ์ และกระบวนการบังคับใช้กฎหมาย หากมีความไม่ชัดเจนจะทำให้กลายเป็นความเข้าใจผิด เกิดข้อถกเถียง ความขัดแย้งภายในสังคมได้ ประเด็นความโปร่งใสในกระบวนการพิจารณาและกล่าวโทษในคดีที่มีความรุนแรงอย่างประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 โดยขอเจ้าหน้าที่พิจารณาอย่างถี่ถ้วนรอบคอบบนพื้นฐานความยุติธรรม และขอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำชับผู้กำกับการสถานีตำรวจแต่ละพื้นที่ จัดสรรกำลังพลตามแต่สมควรในการสนับสนุนภารกิจถวายความปลอดภัย คำนึงถึงผลกระทบต่อประชาชนร่วมด้วย
นาย
ปิยรัฐ กล่าวต่อว่า กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐฯ จะติดตามผลการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงระบบการถวายความปลอดภัยขบวนเสด็จของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสื่อสารสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างหน่วยงานรัฐและประชาชนต่อไป
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาศึกษาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. .... ซึ่งนาย
ปิยรัฐ จงเทพ และคณะ เป็นผู้เสนอ ภายหลังการพิจารณาร่างดังกล่าวอย่างถี่ถ้วนและสอบถามความเห็นกับตัวแทนจากแต่ละพรรคการเมือง พบว่าทุกพรรคการเมืองเห็นปัญหาด้านการขาดความร่วมมือจากหน่วยงานของรัฐในกระบวนการสืบเสาะ แสวงหาข้อเท็จจริงของ กมธ. อีกทั้งตัวแทนจากทุกพรรคการเมืองพร้อมให้การสนับสนุนรับร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเพื่อนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการทุกคณะ ในการหาข้อมูลข้อเท็จจริงและนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ที่ประชุม กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐฯ มีมติรับร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. .... โดยพร้อมสนับสนุนผลักดันร่างฯ เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
อสังหาเหงา เปิดใหม่วูบ-รอลดดอกเบี้ย คอนโดหรูไซซ์ใหญ่ฮอต ต่างชาติช้อปบ้านหลัง2
https://www.matichon.co.th/economy/news_4451043
ตลาดอสังหาเงียบเหงา เปิดใหม่วูบ รอลดดอกเบี้ย ‘คอนโดหรู’ไซซ์ใหญ่ฮอต ต่างชาติซื้อเป็นบ้านหลัง2
น.ส.
รุ่งรัตน์ วีระภาคย์การุณ กรรมการผู้จัดการ ซีบีอาร์อี ประเทศไทย เปิดเผยว่า แนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2567 จากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นในช่วงต้นปีการซื้อขายจะค่อนข้างเงียบ มีแนวโน้มจะคึกคักมากขึ้นในครึ่งหลังของปี และอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น จีดีพีที่อ่อนแอเป็นปัจจัยลบต่อภาคที่อยู่อาศัย แม้ผู้พัฒนาโครงการหลายรายประกาศแผนเพิ่มการเปิดตัวบ้านและคอนโดมิเนียมในปี 2566 แต่ใช้เวลาประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยทางเศรษฐกิจเชิงลบทั้งในประเทศและทั่วโลกต่อความสนใจการซื้อที่อยู่อาศัย แสดงถึงกิจกรรมที่ชะลอตัวมากขึ้น มีการเปิดตัวโครงการน้อยลง เมื่อเทียบกับปี 2565
น.ส.
รุ่งรัตน์กล่าวว่า สำหรับตลาดที่พักอาศัยในกรุงเทพฯ เติบโตเต็มที่และแข่งขันสูง ผู้พัฒนาโครงการต้อง ปรับตัวให้เข้ากับแนวโน้มตลาด โดยต้นปีนี้มีแนวโน้มตลาดคอนโดมิเนียมใจกลางเมืองจะมีความเคลื่อนไหวมากขึ้นในกลุ่มลักชัวรี่และซูเปอร์ลักชัวรี่ที่หลายโครงการจะมีจำนวนต่ำกว่า 100 ยูนิต และเน้นยูนิตใหญ่ เพื่อตอบโจทย์ผู้ซื้ออยู่อาศัยเองและเป็นบ้านหลังที่สองสำหรับผู้ซื้อชาวต่างชาติ แม้คาดว่าการเปิดตัวคอนโดมิเนียมกลางเมืองจะสูงกว่าปี 2566 แต่ผู้พัฒนาโครงการยังไม่เปิดตัวจนกว่าจะได้รับความเชื่อมั่นเพียงพอจากแคมเปญการตลาด และเลื่อนเปิดช่วงครึ่งปีหลัง ส่วนแนวราบคึกคักมาก 2 ปีที่ผ่านมาจากดีมานด์สะสม ดีมานด์ใหม่ คาดปีนี้มีเปิดตัวน้อยลง เพราะซัพพลายที่เพิ่มขึ้นและธนาคารที่เข้มงวดการให้สินเชื่อมากขึ้นทั้งสินเชื่อโครงการและรายย่อย โดยแนวโน้มจะเน้นตลาดระดับบน 15-30 ล้านบาท ที่มีดีมานด์แท้จริง
น.ส.
อาทิตยา เกษมลาวัณย์ หัวหน้าแผนกซื้อขายโครงการที่พักอาศัย ซีบีอาร์อี ประเทศไทย กล่าวว่า คาดการณ์ครึ่งปีแรกจะมีเปิดตัวโครงการน้อยลง หวังว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลง ทำให้มีความเชื่อมั่นมากขึ้นและอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านที่ลดลง นำไปสู่การเปิดตัวโครงการที่เพิ่มขึ้นในครึ่งหลังของปีนี้ ส่วนตลาดคอนโดมิเนียมมือสองจะได้รับความสนใจสำหรับยูนิตใหญ่ และยูนิตใหม่ตกแต่งพร้อมอยู่
นาย
บานาบี้ สเวนสัน หัวหน้าแผนกการลงทุนและที่ดิน ซีบีอาร์อี ประเทศไทย กล่าวว่า กรุงเทพฯยังคงดึงดูดต่างชาติเข้ามาลงทุน โดยผู้พัฒนาโครงการในประเทศหลายราย มีแผนพัฒนามิกซ์ยูสขนาดใหญ่ ด้วยต้นทุนเงินกู้ยืมในประเทศที่สูง ธนาคารเข้มงวดปล่อยกู้ ทำให้การเข้ามาลงทุนจากต่างชาติถือเป็นสิ่งที่น่าจูงใจ เพราะภาษีที่ดินสูงขึ้น เจ้าของที่ดินมีแนวโน้มร่วมมือกับนักพัฒนาโครงการหรือทำสัญญาเช่าระยะยาว คาดปีนี้จะมีซื้อขายที่ดิน การร่วมทุนเพิ่มมากขึ้น
นาย
โสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด(AREA) กล่าวว่าภาพรวมของอสังหาริมทรัพย์ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลในเดือนมกราคม 2567 ในแง่จำนวนโครงการเปิดขายใหม่หดตัวลง หลังจากที่ได้ทยอยเปิดตัวโครงการไปแล้วในไตรมาส 4 ของปี 2566 ทำให้มีโครงการเปิดขายใหม่ทั้งหมด 19 โครงการ ลดลงจากเดือนธันวาคม 2566 จำนวน 11 โครงการ ซึ่งลดลงทั้งจำนวนหน่วยขาย และมูลค่าโครงการ
โดยมีจำนวนเปิดใหม่ 3,760 หน่วย ลดลง 1,687 หน่วย จากเดือนธันวาคม 2566 มี 5,447 หน่วย หรือลดลง 31% เนื่องจากการเปิดขายเดือนมกราคมนี้ ส่วนใหญ่ 52% ของจำนวนหน่วยขายเป็นการพัฒนาโดยผู้ประกอบการนอกตลาดหลักทรัพย์ และเป็นโครงการขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง ที่มีจำนวนหน่วยขายเฉลี่ยต่อโครงการไม่สูงมากนัก จึงทำให้เดือนมกราคมนี้มีจำนวนอุปทานหน่วยขายลดลง
ส่วนมูลค่ารวมของการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์มีมูลค่ารวม 19,245 ล้านบาท ลดลง 29,423 ล้านบาท จากเดือนธันวาคม 2566 มีมูลค่า 48,668 ล้านบาท หรือลดลง 60.5%
JJNY : หมออ๋องยันประสานแล้ว│กมธ.ความมั่นคงฯเชิญหน่วยงานชี้แจง│อสังหาเหงา เปิดใหม่วูบ│อินเดียไฟเขียว โซลาร์เซลล์ติดหลังคา
https://www.matichon.co.th/politics/news_4450880
หมออ๋อง เปิดเอกสาร 2 ฉบับ โต้บุกทำเนียบ พบนายกฯ ยันประสานแล้ว วัน-เวลาชัด
จากกรณีที่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง ย้อนถามกรณีที่ นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 จะมาทำเนียบรัฐบาล เพื่อติดตามร่างกฎหมายที่ค้างอยู่กว่า 31 ฉบับว่า เป็นพฤติกรรมที่ถูกต้องหรือไม่ ที่รองประธานสภาฯ จะบุกมาที่ทำเนียบรัฐบาล รวมถึงไม่แน่ใจว่า ต้องมีการประสานให้ชัดเจนหรือไม่ ถ้าประสานกันดี บอกเวลา ทำเนียบฯก็พร้อมเปิดรับแขก
ล่าสุด (1 มี.ค.) นายปดิพัทธ์ ได้โพสต์ข้อความผ่าน X โดยระบุว่า
“ผมยืนยันว่า ไม่ได้บุกไปพบนายกฯ การตัดสินใจเซ็นร่างกฎหมายเป็นสิทธิและหน้าที่ของท่านเท่านั้น ผมไปติดตามสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีให้กระบวนการให้โปร่งใส นำข้อคิดเห็นของสมาชิกไปสะท้อน ทำความเข้าใจข้อบังคับการประชุมสภาในส่วนของกระทู้สดกันครับ หนังสือขอเข้าพบก็เขียนแบบนี้ครับ”
พร้อมกันนี้ นายปดิพัทธ์ เผยหนังสือจากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 2 ฉบับ ประกอบด้วย
ฉบับแรกคือ สผ.0001.03/26 ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ถึงเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เรื่อง ขอเข้าหารือและเยี่ยมชมการดำเนินการเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.เกี่ยวการเงิน โดยระบุตอนหนึ่งว่า เพื่อให้การดำเนินการที่เกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.เกี่ยวด้วยการเงินของสภาฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
“ผมจึงขออนุเคราะห์เข้าหารือ และเยี่ยมชมการดำเนินการเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.เกี่ยวด้วยกับการเงินที่จะเสนอให้นายกฯให้คำรับรอง หรือไม่รับรองของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีในศุกร์ที่ 1 มีนาคม เวลา 13.30 น. ณ สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล” ลงชื่อ นายปดิพันธ์ สันติภาดา รองประธานสภาฯ คนที่ 1
ฉบับที่สอง ลงหนังสือ สผ.ที่ 0001.03/18 ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ เป็นฉบับที่ออกก่อน สผ.0001.03/26 โดยมีเนื้อหาในทำนองเดียวกับ เพื่อขอเข้าเยี่ยมชมและศึกษาขั้นตอนแนวทางการปฏิบัติของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในวันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 13.30 น.
https://twitter.com/ongpadipat/status/1763536519787356389
กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐฯ เชิญหน่วยงานชี้แจงมาตรการถวายความปลอดภัยขบวนเสด็จ
https://prachatai.com/journal/2024/03/108272
กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐฯ เชิญหน่วยงานชี้แจงมาตรการถวายความปลอดภัยขบวนเสด็จ ขณะห่วงการสื่อสาร ขอทำความเข้าใจประชาชนให้ชัด ป้องกันเกิดความขัดแย้ง
เว็บไซต์สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา รายงานเมื่อวันที่ 29 ก.พ. 2567 ว่านายปิยรัฐ จงเทพ โฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร แถลงผลการประชุมของ กมธ.ซึ่งมีวาระสำคัญ คือการพิจารณาแนวทางการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการถวายความปลอดภัยขบวนเสด็จให้สมพระเกียรติและรักษาไว้ซึ่งสถาบันหลักของชาติ โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม
โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้นำเสนอลำดับเหตุการณ์เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2567 และยืนยันว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีการรับมือต่อเหตุการณ์ตามหลักปฏิบัติงาน และไม่ได้ส่งผลกระทบต่อพระบรมวงศานุวงศ์หรือขบวนเสด็จแต่อย่างใด พร้อมชี้แจงบทบาทในการสนับสนุนภารกิจการถวายความปลอดภัยตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การถวายความปลอดภัย พ.ศ. 2560 ที่ย้ำถึงหลักการถวายความปลอดภัยอย่างสูงสุดและสมพระเกียรติ คำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อประชาชนอยู่เสมอ
ภายหลังรับฟังข้อมูล กมธ.มีข้อเสนอแนะและความกังวลเกี่ยวกับเรื่องการสื่อสารต่อสังคมถึงลำดับเหตุการณ์ ขั้นตอนการรับมือต่อเหตุการณ์ และกระบวนการบังคับใช้กฎหมาย หากมีความไม่ชัดเจนจะทำให้กลายเป็นความเข้าใจผิด เกิดข้อถกเถียง ความขัดแย้งภายในสังคมได้ ประเด็นความโปร่งใสในกระบวนการพิจารณาและกล่าวโทษในคดีที่มีความรุนแรงอย่างประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 โดยขอเจ้าหน้าที่พิจารณาอย่างถี่ถ้วนรอบคอบบนพื้นฐานความยุติธรรม และขอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำชับผู้กำกับการสถานีตำรวจแต่ละพื้นที่ จัดสรรกำลังพลตามแต่สมควรในการสนับสนุนภารกิจถวายความปลอดภัย คำนึงถึงผลกระทบต่อประชาชนร่วมด้วย
นายปิยรัฐ กล่าวต่อว่า กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐฯ จะติดตามผลการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงระบบการถวายความปลอดภัยขบวนเสด็จของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสื่อสารสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างหน่วยงานรัฐและประชาชนต่อไป
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาศึกษาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. .... ซึ่งนายปิยรัฐ จงเทพ และคณะ เป็นผู้เสนอ ภายหลังการพิจารณาร่างดังกล่าวอย่างถี่ถ้วนและสอบถามความเห็นกับตัวแทนจากแต่ละพรรคการเมือง พบว่าทุกพรรคการเมืองเห็นปัญหาด้านการขาดความร่วมมือจากหน่วยงานของรัฐในกระบวนการสืบเสาะ แสวงหาข้อเท็จจริงของ กมธ. อีกทั้งตัวแทนจากทุกพรรคการเมืองพร้อมให้การสนับสนุนรับร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเพื่อนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการทุกคณะ ในการหาข้อมูลข้อเท็จจริงและนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ที่ประชุม กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐฯ มีมติรับร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. .... โดยพร้อมสนับสนุนผลักดันร่างฯ เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
อสังหาเหงา เปิดใหม่วูบ-รอลดดอกเบี้ย คอนโดหรูไซซ์ใหญ่ฮอต ต่างชาติช้อปบ้านหลัง2
https://www.matichon.co.th/economy/news_4451043
ตลาดอสังหาเงียบเหงา เปิดใหม่วูบ รอลดดอกเบี้ย ‘คอนโดหรู’ไซซ์ใหญ่ฮอต ต่างชาติซื้อเป็นบ้านหลัง2
น.ส.รุ่งรัตน์ วีระภาคย์การุณ กรรมการผู้จัดการ ซีบีอาร์อี ประเทศไทย เปิดเผยว่า แนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2567 จากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นในช่วงต้นปีการซื้อขายจะค่อนข้างเงียบ มีแนวโน้มจะคึกคักมากขึ้นในครึ่งหลังของปี และอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น จีดีพีที่อ่อนแอเป็นปัจจัยลบต่อภาคที่อยู่อาศัย แม้ผู้พัฒนาโครงการหลายรายประกาศแผนเพิ่มการเปิดตัวบ้านและคอนโดมิเนียมในปี 2566 แต่ใช้เวลาประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยทางเศรษฐกิจเชิงลบทั้งในประเทศและทั่วโลกต่อความสนใจการซื้อที่อยู่อาศัย แสดงถึงกิจกรรมที่ชะลอตัวมากขึ้น มีการเปิดตัวโครงการน้อยลง เมื่อเทียบกับปี 2565
น.ส.รุ่งรัตน์กล่าวว่า สำหรับตลาดที่พักอาศัยในกรุงเทพฯ เติบโตเต็มที่และแข่งขันสูง ผู้พัฒนาโครงการต้อง ปรับตัวให้เข้ากับแนวโน้มตลาด โดยต้นปีนี้มีแนวโน้มตลาดคอนโดมิเนียมใจกลางเมืองจะมีความเคลื่อนไหวมากขึ้นในกลุ่มลักชัวรี่และซูเปอร์ลักชัวรี่ที่หลายโครงการจะมีจำนวนต่ำกว่า 100 ยูนิต และเน้นยูนิตใหญ่ เพื่อตอบโจทย์ผู้ซื้ออยู่อาศัยเองและเป็นบ้านหลังที่สองสำหรับผู้ซื้อชาวต่างชาติ แม้คาดว่าการเปิดตัวคอนโดมิเนียมกลางเมืองจะสูงกว่าปี 2566 แต่ผู้พัฒนาโครงการยังไม่เปิดตัวจนกว่าจะได้รับความเชื่อมั่นเพียงพอจากแคมเปญการตลาด และเลื่อนเปิดช่วงครึ่งปีหลัง ส่วนแนวราบคึกคักมาก 2 ปีที่ผ่านมาจากดีมานด์สะสม ดีมานด์ใหม่ คาดปีนี้มีเปิดตัวน้อยลง เพราะซัพพลายที่เพิ่มขึ้นและธนาคารที่เข้มงวดการให้สินเชื่อมากขึ้นทั้งสินเชื่อโครงการและรายย่อย โดยแนวโน้มจะเน้นตลาดระดับบน 15-30 ล้านบาท ที่มีดีมานด์แท้จริง
น.ส.อาทิตยา เกษมลาวัณย์ หัวหน้าแผนกซื้อขายโครงการที่พักอาศัย ซีบีอาร์อี ประเทศไทย กล่าวว่า คาดการณ์ครึ่งปีแรกจะมีเปิดตัวโครงการน้อยลง หวังว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลง ทำให้มีความเชื่อมั่นมากขึ้นและอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านที่ลดลง นำไปสู่การเปิดตัวโครงการที่เพิ่มขึ้นในครึ่งหลังของปีนี้ ส่วนตลาดคอนโดมิเนียมมือสองจะได้รับความสนใจสำหรับยูนิตใหญ่ และยูนิตใหม่ตกแต่งพร้อมอยู่
นายบานาบี้ สเวนสัน หัวหน้าแผนกการลงทุนและที่ดิน ซีบีอาร์อี ประเทศไทย กล่าวว่า กรุงเทพฯยังคงดึงดูดต่างชาติเข้ามาลงทุน โดยผู้พัฒนาโครงการในประเทศหลายราย มีแผนพัฒนามิกซ์ยูสขนาดใหญ่ ด้วยต้นทุนเงินกู้ยืมในประเทศที่สูง ธนาคารเข้มงวดปล่อยกู้ ทำให้การเข้ามาลงทุนจากต่างชาติถือเป็นสิ่งที่น่าจูงใจ เพราะภาษีที่ดินสูงขึ้น เจ้าของที่ดินมีแนวโน้มร่วมมือกับนักพัฒนาโครงการหรือทำสัญญาเช่าระยะยาว คาดปีนี้จะมีซื้อขายที่ดิน การร่วมทุนเพิ่มมากขึ้น
นายโสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด(AREA) กล่าวว่าภาพรวมของอสังหาริมทรัพย์ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลในเดือนมกราคม 2567 ในแง่จำนวนโครงการเปิดขายใหม่หดตัวลง หลังจากที่ได้ทยอยเปิดตัวโครงการไปแล้วในไตรมาส 4 ของปี 2566 ทำให้มีโครงการเปิดขายใหม่ทั้งหมด 19 โครงการ ลดลงจากเดือนธันวาคม 2566 จำนวน 11 โครงการ ซึ่งลดลงทั้งจำนวนหน่วยขาย และมูลค่าโครงการ
โดยมีจำนวนเปิดใหม่ 3,760 หน่วย ลดลง 1,687 หน่วย จากเดือนธันวาคม 2566 มี 5,447 หน่วย หรือลดลง 31% เนื่องจากการเปิดขายเดือนมกราคมนี้ ส่วนใหญ่ 52% ของจำนวนหน่วยขายเป็นการพัฒนาโดยผู้ประกอบการนอกตลาดหลักทรัพย์ และเป็นโครงการขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง ที่มีจำนวนหน่วยขายเฉลี่ยต่อโครงการไม่สูงมากนัก จึงทำให้เดือนมกราคมนี้มีจำนวนอุปทานหน่วยขายลดลง
ส่วนมูลค่ารวมของการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์มีมูลค่ารวม 19,245 ล้านบาท ลดลง 29,423 ล้านบาท จากเดือนธันวาคม 2566 มีมูลค่า 48,668 ล้านบาท หรือลดลง 60.5%