JJNY : พริษฐ์คาใจเกณฑ์│ผงะ!ปลาหมอคางดำบุกทะเล│ชาวบ้านให้คะแนนผ่านครึ่ง แก้ปัญหาริมราง│"โตโยต้า" ลดเป้าผลิตรถในรอบ 4 ปี

พริษฐ์ จี้ ถามนายกฯ คาใจเกณฑ์รับรองกฎหมายการเงิน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4731843
 
 
พริษฐ์ จี้ ถามนายกฯ คาใจเกณฑ์รับรองกฎหมายการเงิน
 
เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในวันที่ 15 สิงหาคม จะมีการประชุมมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน เป็นประธานกมธ. โดยมีวาระพิจารณา สำคัญ คือ ศึกษาสถานะและกระบวนการขั้นตอนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงิน และกำหนดเชิญ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกฯ ว่าที่ร้อยตำรวจตรี อาพัทธ์ สุขะนันท์ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เพื่อมาชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว

นายพริษฐ์ กล่าวว่า ขณะนี้มีการตอบรับมาแล้วว่า นายเศรษฐา จะส่งรองเลขาธิการนายกฯ มาร่วมพิจารณาประเด็นที่ ประธานสภาฯ จะใช้เกณฑ์อะไรวินิจฉัยว่าเป็นร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการเงินหรือไม่ เมื่อวินิจฉัยและตัดสินว่าเป็น นายกฯ ใช้เกณฑ์อะไรตัดสินใจว่า จะให้คำรับรองและส่งเข้าสภาหรือไม่ ซึ่งเป็นการตรวจสอบและกรอบเวลา ทั้งนี้ในขั้นตอนที่เกี่ยวกับนายกฯ มีร่างการเงินหลายฉบับใช้เวลาพิจารณานาน เกินกว่า 6 เดือน โดยกมธ.ต้องการให้มีตัวแทนายกฯ ชี้แจงและหาทางออกร่วมกัน
 
ตามรัฐธรรมนูญให้อำนาจนายกฯ พิจารณาเพื่อประเมินว่าเมื่อกฎหมายผ่านแล้วจะเป็นภาระทางงบประมาณแก่รัฐบาลหรือไม่ และปัจจุบันนายกฯมีเกณฑ์อื่นหรือไม่ หรือใช้เกณฑ์อื่นพิจารณาหรือไม่ เช่น กรณีเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับสาระของกฎหมาย หากมีร่างกฎหมายซึ่งไม่ได้เพิ่มภาระงบประมาณมาก แม้ไม่เห็นด้วยเนื้อหาต้องรับรองพิจารณาในสภา” นายพริษฐ์ กล่าว
 
ประธานกมธ.การเมือง กล่าวด้วยว่า สำหรับกรอบระยะเวลาได้ความชัดเจนในขั้นตอนพิจารณาตัดสินใจอย่างไร เพราะหากนายกฯ ใช้เวลาพิจารณานานทั้งในร่างกฎหมายที่เสนอโดย สส. หรือ ที่ประชาชนเสนอ อาจจะทำให้ทำงานต่อลำบาก อย่างไรก็ดีเมื่อนายกฯ และเลขาธิการนายกฯ ไม่มา แต่ส่งรองเลขาธิการนายกฯมาแทน ต้องรอดูว่าจะให้คำตอบได้หรือไม่
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าตามขั้นตอนของการพิจารณาร่างพ.ร.บ.นั้น หากถูกพิจารณาว่าเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการเงิน สภาฯต้องส่งให้นายกฯ ลงนามรับรองก่อน โดยที่ผ่านมาพบว่าสภาฯ​ส่งร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการเงินให้นายกฯ พิจารณา รวม 56 ฉบับ พบว่ารอลงนามรับรอง 40 ฉบับ และไม่ลงนามรับรอง 16 ฉบับ ซึ่งแบ่งเป็นของสส. 8 ฉบับ และของประชาชน 8 ฉบับ


 
ผงะ!ปลาหมอคางดำบุกทะเล พบเกยตื้นนับหมื่นตัว
https://www.dailynews.co.th/news/3746300/
 
เอเลี่ยนชัดๆ! ชาวบ้านแห่จับปลาหมอคางดำ หวั่นสัตว์น้ำในทะเลอื่นๆ หายนะ หลังเกยตื้นพยายามลงทะเลหลายหมื่นตัว
 
วันที่ 12 ส.ค. 67 สมาชิก TikTok @phetnawee1 โพสต์คลิปเหตุการณ์ขณะพบปลาหมอคางดำ เกยตื้นอยู่ริมทะเล ซึ่งพบว่ามันมีจำนวนมาก และพวกมันได้ปรับตัวให้อยู่ได้ในน้ำทะเลอีกด้วย ภายในคลิปจะเห็นว่า ปลาหมอคางดำ เกยตื้นอยู่หลายพันถึงหมื่นตัว บริเวณริมทะเลที่น้ำลง และมีคนเข้าไปจับปลาหมอคางดำ เพื่อป้องกันไม่ให้มันกลับลงทะเลไปได้ เพราะเป็นอันตรายกับสัตว์น้ำ หวั่นบางสายพันธุ์สูญพันธุ์.

https://www.tiktok.com/@phetnawee1/video/7399944992715853061

ขอบคุณสมาชิก สมาชิก TikTok @phetnawee1


 
ชาวบ้านให้คะแนนผ่านครึ่ง รัฐเข็นโครงการแก้ปัญหาริมราง
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_759984/

ชาวบ้านให้คะแนนผ่านครึ่ง รัฐเข็นโครงการแก้ปัญหาริมราง หวั่นใจอาจไม่เป็นไปตามแผน เหตุผู้มีอำนาจเจียดงบโครงการไม่สอดคล้องแผนงาน ทำบ้านคนจนไม่เสร็จตามเป้า 
 
นายอัภยุทย์ จันทรพา ที่ปรึกษาเครือข่ายสลัม 4 ภาคและที่ปรึกษาเครือข่ายชุมชนคนเมืองผู้ได้รับผลกระทบรถไฟ หรือ ชมฟ. กล่าวถึงการดำเนินโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยในชุมชน ที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาระบบราง 35 จังหวัด 300 ชุมชน 27,084 ครัวเรือน (2566-2570) ว่า วันนี้หากถามพวกเราว่าพอใจไหมกับสิ่งที่รัฐบาลกำลังช่วยเหลืออยู่ ถ้าคะแนนเต็ม 10 ชาวบ้านคงให้ 6 คะแนน เพราะต้องใช้เวลาอีกนานพอสมควร กว่าที่ชาวบ้านจะมีที่ดินที่ถูกต้องตามกฎหมายและได้มีที่อยู่อาศัยกันครบทุกคน
 
นอกจากนี้ขอฝากไปถึงหน่วยงานรัฐ สำนักงบประมาณควรจัดสรรงบให้สอดคล้องกับแผนโครงการดังกล่าวเพื่อให้ขบวนการช่วยชาวบ้านไม่สะดุด เราอยากให้ผู้มีอำนาจทำตามแผนการดำเนินโครงการฯระยะ 5 ปี (2566-2570)เพราะถ้างบไม่มาตามแผนหรือจัดสรรให้น้อย การทำงานในโครงการอาจต้องเลื่อนออกไปอีก เท่ากับที่อยู่อาศัยใหม่ชาวบ้านก็เลื่อนออกไปด้วย อยากให้เข้าใจหัวอกคนจนด้วยว่าที่อยู่อาศัยทำให้คนมีหลักประกันในชีวิตถือเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวบ้านกังวลที่สุดเวลานี้
 
นายอัภยุทย์ ยังกล่าวถึงผลกระทบจากการพัฒนาระบบรางในบริเวณชุมชนริมทางรถไฟบางซื่อ กม.11 ว่า พื้นที่แห่งนี้เดิมทีเคยมีพนักงานการรถไฟเกษียณแล้ว แต่ไม่มีที่อยู่อาศัยประกอบกับเป็นครอบครัวขยายด้วย จึงได้มาบุกเบิกที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ย่านนี้สร้างบ้าน ต่อมามีชาวบ้านจากต่างจังหวัดที่มาหางานทำในเมืองเข้ามาจับจองพื้นที่สร้างบ้านร่วมด้วยจนกลายเป็นชุมชน 3 ชุมชนได้แก่ ชุมชนบ้านพักรถไฟบางซื่อ ชุมชนพัฒนา กม.11 ชุมชนริมทางรถไฟ กม.11 ต่อมาการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีแผนต้องการนำที่ดินริมทางรถไฟย่านนี้ไปพัฒนาเป็นศูนย์กลางการคมนาคมและธุรกิจ ทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ ต้องย้ายออกไปอยู่ที่อื่น ชาวบ้านจึงมีการรวมตัวเคลื่อนไหวในนาม “ชุมชนคนเมืองผู้ได้รับผลกระทบรถไฟ”หรือ ชมฟ.เพื่อให้เกิดพลังในการเรียกร้องปกป้องสิทธิชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาระบบราง
 
ทั้งนี้ปี 2563 ชาวบ้านรวมกลุ่มเป็นเครือข่าย ชมฟ. มีข้อเสนอขอเช่าที่ดิน รฟท.ให้ถูกต้องตามกฏหมาย พร้อมผนวกรายชื่อชุมชนที่ตกสำรวจได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยในชุมชน ที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาระบบราง จากนั้นปี 2566 คณะรัฐมนตรี (ครม.)มีมติปลดล็อกเงื่อนไขที่เป็นปัญหาและขยายจำนวนชุมชนที่ได้เข้าร่วมโครงการฯ เป็น 300 ชุมชนทั่วประเทศ
 
โดยชาวบ้านขอให้รัฐบาลหาที่อยู่ใหม่ใกล้ๆที่อยู่เดิมจะได้สอดคล้องกับวิถีชาวบ้าน เพราะถ้าไปอยู่ไกลจากพื้นที่เดิมก็เหมือนถอนรากถอนโคนชาวชุมชน อย่างไรก็ตามขณะนี้แม้ว่าในทางนโยบาย รฟท.จะยอมรับเงื่อนไขชาวบ้านและดำเนินการให้เป็นมาตรฐานทั่วประเทศแต่ทางปฏิบัติเครือข่ายชาวบ้านจำเป็นต้องดูสภาพปัญหาเป็นรายกรณีด้วยโดยเจรจาหาจุดลงตัวให้สอดคล้องกันมากที่สุด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่