อุปสรรคทางภาษา ทำให้เรียนรู้ช้า

ทำไมผมยังคิดว่าระดับการใช้ภาษาไทยเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ขอเด็ก  บางคำไม่มีในคำไทยแท้ต้องยืมบาลีมาบัญญัติ  ใช้ในห้องเรียน ยิ่งในระดับสูงๆ หรือใช้ในการพูด/ประกาศต่อสาธารณะกับกลุ่มคนจำนวณเยอะๆ 
ในทางเดียวกันอังกฤษในแต่แขนงวิชาก็มียืมคำหรือมีรากศัพท์จากภาษาเก่าๆ  เช่นกรีก  แถมการสะกดในวิชาก็ไม่เหมือนกัน   แถมยังปนฝรั่งเศษกับ ละติน มาหลายคำ แต่ผมก็รู้สึกเหมือนมันสามารถเข้าใจในตัวของมันเอง ไม่ต้องต้องมาขยายามความเพิ่ม  เพราะยังใช้ร่วมกับภาษาพูดเก่าๆ  ภาษาเขียนเลยไม่ค่อยแตกต่างจากภาษาพูดมากเหมือนไทย  ในขณะที่ไทยยังแอบมีใช้สลับกันๆ ทั้งภาษาพูด/เขียน บาลี แถมบางทีก็ต้องทับศัพท์อังกฤษเข้าไปให้เป็นมาตรฐานในวิชานั้นๆ  บางทีต้องมานิยามความหมายกระบวนการแทรกเข้าไปในประโยค เนื้อหาส่วนใหญ่ก็มาจากอังกฤษ แต่แปลยาวกว่าทุกที  เพราะต้องแอบมาปูพื้นฐานศัพท์เข้าไปในเนื้อหาในช่วงแรกๆ  ทำให้เนื้อหาไม่กระชับ   แต่พอใช้ศัพท์วิชาการล้วนๆ  ทั้งในบทความ หรือการพูดสื่อสาร  บางคนกลับแอบรำคาญ  เพราะบาลีมันยังไม่เป็นสแตนดาร์ด(มาตราฐาน)กับทุกคนๆขนาดนั้น
ไม่ผิดหรอกที่ไทยยืมบาลีมาบัญญัติศัพท์ที่ตัวเองไม่มี  แต่ผิดที่ภาษาบาลียังไม่กลมกลืนเข้าไปในชีวิตของคนทุกๆ กลุ่ม แถมบางทีก็ใช้ในชีวิตประจำวัน(ในโอกาสปกติ)น้อย  ทำให้ความแข็งแรงของภาษาไทยน้อย   ต่อไปก็มีอังกฤษทับศัพท์เข้ามาเรื่อยๆ  (ผมคิดมามันดีนะ) เพื่อความเข้าใจตรงกัน  ต่อให้มันวิบัติหรือเฉพาะกลุ่มแบบภาษาวัยรุ่น  แต่มันเลี่ยงไม่ได้  จากที่มีอยู่แล้วผมว่ามันก็จะมีเข้ามาอีกเรื่อยๆ  จากที่เห็นๆ  อย่างเวลาทำงานคนไทยก็นิยมใช้คำทับศัพท์อังกฤษกันเป็นปกติ  ถึงบางทีแอบกร่อนคำผิดแปลกไปจากอังกฤษเดิมๆมาก แต่ผมว่ามันดูกระชับและมีความหมายในตัวของมัน ที่สามารถเข้าใจได้ทันที   
จุดอ่อนที่เป็นอุปสรรคคือประเทศไทยมีหลายกลุ่มชาติพันธ์  ทำให้ภาษาท้องถิ่นแต่ละที่ใช้คำไม่เหมือน  ทำให้ไม่รู้จะตัดสินใช้เลือกคำไหนดี  
โครงสร้างคำไทยแท้ส่วนมาก   ก็จะเป็น นาม+นาม  นาม+กริยา  คล้ายๆกันในกับประเทศในเอเซียอื่นๆ แต่ภาษาไทยส่วนมากจะเอาคำหลังมาขยายคำหน้า  มีบ้างที่คำหน้าขยายคำหลัง   ส่วนภาษาอื่นๆ  แม้แต่บาลีเอง ส่วนมากคำหน้าจะขยายคำหลังเสมอ แต่ผมว่าคำท้องถิ่นหรือคำไทยแท้พวกนี้น่าจะเอาใช้ให้เยอะกันแต่ต้น  ตอนนี้วิวัฒนาการของภาษาไทยมาไกลเกินที่จะใช้คำไทยแท้ในทางการแล้ว    ผมว่ามันทำให้คนใช้เกิดความสับสน(แบบไม่รู้ตัว)   คำง่ายๆ เช่น ชาวนา แต่คนทำเกษตรไม่ได้ทำแต่นานี่หน่า ก็เลยยืมคำว่าเกษตรกรมาใช้  แต่ถ้าใช่ชาวนาก็ เป็นชาวสวน ชาวไร่ได้หนิ แล้วชาวสวนกับชาวไร่แตกต่างกันอย่างไร ขนาดพื้นที่การทำเกษตรหรอ  มาทีก็พูดรวมๆกันในประโยค ชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ บางทีพูดไปพูดมาก็แอบสลับกัน อันนี้ผมแค่ยกตัวอย่างนะ  ความหลากหลายของภาษาไทยมันเยอะมาก  เราจะยัดให้เด็กทั้งหมดเลยหรอ หรือจะหาวิธีอะไรมาปลูกฝังให้เด็กใช้ตั้งแต่เนิ่นๆ  เพราะโตไปแต่ผมว่าต้องมีบางคนสับสนทางภาษาแน่ๆ ถึงจะไม่เป็นกันทุกคน   ถ้าปล่อยให้เรียนรู้เอาเองตามช่วงอายุ ผมว่าเราแอบสร้างอุปสรรค์ไว้ให้กับเด็ก  เพราะต้องมาท่องจำคำเพิ่มเยอะกว่าชาวบ้านเขา  จำกันทั้งไทยแท้ บาลี อังกฤษ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่