หากนึกถึงอัตราส่วนทางการเงินยอดนิยมที่นักลงทุนนำมาประกอบการตัดสินใจก่อนลงทุนหุ้น หนึ่งในนั้นคือ อัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรสุทธิ หรือ P/E Ratio ซึ่งเป็นการวัดว่าเราจ่ายเงินซื้อหุ้นด้วยราคากี่เท่าของกำไร หุ้นที่ P/E Ratio “สูง” แสดงว่าหุ้นตัวนั้น “แพง” กว่าหุ้นที่ P/E Ratio “ต่ำ” (ต้องเปรียบเทียบกับหุ้นที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันหรือมีลักษณะการดำเนินธุรกิจที่เหมือนหรือคล้ายกัน) อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ดูแค่ความ “ถูกหรือแพง” เท่านั้น นักลงทุนควรพิจารณาประเด็นอื่น ๆ เพิ่มเติมเมื่อจะประเมินมูลค่าหุ้นด้วย P/E Ratio ด้วย ดังนี้
1. ราคา คือ สิ่งที่จ่าย (ซื้อความคาดหวัง)
เมื่อนักลงทุนยอมจ่ายเงินเพื่อซื้อหุ้นในวันนี้ เพราะคาดหวังว่าจะได้กำไรในอนาคต ซึ่งปัจจัยที่กำหนดความคาดหวังนั้น คือ กิจการมีการเติบโตและมีคุณภาพในการดำเนินธุรกิจ มีความสามารถในการแข่งขัน มีแผนลงทุนที่ดีมีประสิทธิภาพ และนักลงทุนรับรู้พร้อมกับคาดหวังการเติบโตที่ดีในอนาคต ถึงแม้ว่าหุ้นตัวนั้น P/E Ratio จะสูง นักลงทุนก็จะยอมจ่าย และหากบริษัทสามารถรักษาการเติบโตได้ต่อเนื่อง ก็จะเห็น P/E Ratio ยืนอยู่ระดับสูง ๆ ได้หลายปี
2. กำไร คือ สิ่งที่ (คาดว่า) จะได้รับ
นอกจากนักลงทุนต้องการหุ้นที่มี P/E Ratio ต่ำแล้ว ก็ต้องการ “หุ้นที่ดี” ด้วย เพราะการได้ของถูกและดี เมื่อนักลงทุน (ส่วนใหญ่) เริ่มเห็นว่าเป็นหุ้นที่มีคุณค่า ราคาหุ้นก็จะปรับขึ้นไปสู่ระดับที่เรียกว่า มูลค่าที่เหมาะสม แต่สมมติว่ายังไม่มีใครเห็นสิ่งที่จะได้อย่างชัดเจน เช่น ผลตอบแทนในรูปของเงินปันผลที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามการเติบโตของกิจการ ต้องดูที่คุณภาพของกำไร ซึ่งสามารถดูได้จากความสม่ำเสมอของอัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ที่จะเป็นตัวบอกว่าส่วนของผู้ถือหุ้น 100 บาท สามารถสร้างผลตอบแทนได้เท่าไร ซึ่งแนวคิดการวิเคราะห์มาจากสมมติฐานเบื้องหลังของการประเมินมูลค่า คือ กำไรในอนาคต จะเติบโตในอัตราคงที่ไปเรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด ลักษณะการเติบโตแบบนี้เรียกว่า Sustainable Growth
สูตร g = ROE * (1-b)
โดยที่ g = การเติบโต
ROE = ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
b = อัตราปันผลต่อกำไร
ความหมายของการเติบโตในลักษณะนี้ คือ เมื่อบริษัทมีกำไรหลังจากหักปันผล จากนั้นนำเงินทุนที่เพิ่มไปลงทุนต่อได้ผลตอบแทนเท่ากับ ROE และหาก ROE อยู่ในระดับคงที่สม่ำเสมอ กำไรก็จะเติบโตคงที่สม่ำเสมอตามไปด้วย
ดังนั้น ควรพิจารณารายได้ กำไร และ ROE ที่เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และหากต้องการลงทุนแล้วสบายใจมากยิ่งขึ้น หุ้นก็ต้องมี P/E Ratio ไม่แพงจนเกินไป พูดง่าย ๆ ได้ซื้อ “ของดี ในราคาที่เหมาะสม”
3. หุ้น P/E ต่ำ แต่ตัวเลขกำไรหวาดเสียว
นักลงทุนอาจชื่นชอบหุ้น P/E Ratio ต่ำ เพราะมองว่าได้ซื้อของถูก แต่หากวิเคราะห์ก็อาจเป็นภาพลวงตาจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น
หุ้นวัฏจักร โดยหุ้นประเภทนี้จะมีผลการดำเนินงานตามวัฏจักร หากเป็นช่วงวัฏจักรขาขึ้น ก็จะขายสินค้าได้ดี สร้างผลกำไรได้สูง ทำให้เห็น P/E Ratio อยู่ในระดับต่ำ (เนื่องจากกำไรสูง) แต่เมื่อเข้าสู่วัฏจักรขาลง ยอดขายลดลง และนักลงทุนประเมินว่าผลกำไรจะลดลง ทำให้ราคาหุ้นปรับลง อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก P/E Ratio จะคำนวณจากตัวเลขกำไรในอดีต ผลลัพธ์ คือ จะเห็น P/E Ratio ปรับลดลง (เนื่องจากราคาหุ้นปรับลง) ดังนั้น หากลงทุนหุ้นวัฏจักร ควรศึกษาตัวเลขกำไรย้อนหลังในอดีตไปหลาย ๆ ปี
กำไรพิเศษ เช่น มีกำไรจากการขายสินทรัพย์ กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งกำไรดังกล่าวจะได้รับเพียงครั้งเดียว โดยงวดไหนที่บริษัทได้รับกำไรพิเศษ จะทำให้ P/E Ratio ปรับลดลง และในงวดถัดไปเมื่อไม่มีกำไรพิเศษ (มีแต่กำไรปกติ) ค่า P/E Ratio ก็จะปรับสูงขึ้น
กำไรผันผวนไม่ต่อเนื่อง ธุรกิจที่ต้องหางานใหม่ ๆ ตลอดเวลาจะมีความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันผวนด้านรายได้และกำไร เช่น ธุรกิจที่เกี่ยวกับการประมูลงาน ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ทำให้นักลงทุนจะให้ P/E Ratio ธุรกิจลักษณะนี้ในระดับต่ำเพื่อชดเชยความเสี่ยง ดังนั้น ก่อนตัดสินใจลงทุนควรพิจารณาว่าหุ้นตัวนั้น โดยธรรมชาติแล้วมีลักษณะการดำเนินธุรกิจที่มีกำไรผันผวนมากน้อยแค่ไหน
4. P/E Ratio ที่เหมาะสม ควรอยู่ระดับไหน
เทคนิคเบื้องต้นในการคำนวณหา P/E Ratio ที่เหมาะสม คือ การใช้ P/E Ratio เฉลี่ย เพราะเป็นค่าที่คำนวณจากตลาดโดยรวมที่มีต่อหุ้น หาก P/E Ratio เฉลี่ยอยู่ระดับสูง แสดงว่าตลาดโดยรวมคาดหวังการเติบโตสูง และหาก P/E Ratio เฉลี่ยอยู่ระดับต่ำ แสดงว่าตลาดโดยรวมคาดหวังการเติบโตไม่สูง
ถัดจากนั้น นักลงทุนก็นำมาปรับตามการวิเคราะห์ของตัวเองพร้อมกับการประเมินอนาคตธุรกิจไปใน 3 - 5 ปีข้างหน้า ว่าจะยังเติบโตสูงต่อเนื่องหรือไม่ หากมองว่ามีโอกาสเติบโตลดลง ก็ปรับ P/E Ratio ลง จากนั้นก็นำไปเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ย หาก P/E Ratio เฉลี่ยต่ำกว่า สะท้อนว่าได้ซื้อหุ้นในราคาถูก เป็นต้น
5. หาราคาเป้าหมายด้วย P/E Ratio
การหาราคาเป้าหมายโดยใช้สูตร
ราคาเป้าหมาย = (PE) x กำไรที่คาดการณ์
ตัวอย่าง
การประเมินมูลค่าต้องมองไปข้างหน้า เช่น ใน 1 - 3 ปีข้างหน้าว่าบริษัทจะทำกำไรได้เท่าไร สมมติว่าอีก 1 ปีข้างหน้า คาดว่าบริษัทจะทำกำไรสุทธิได้ 100 ล้านบาท และบริษัทมีจำนวนหุ้นสามัญที่ชำระแล้วเป็นจำนวน 100 ล้านหุ้น ก็จะได้กำไรต่อหุ้น (EPS) เป็น 100 ล้านบาท/100 ล้านหุ้น = 1 บาท/หุ้น
สมมติให้ P/E Ratio ในอนาคตเท่ากับ 15 เท่า มาจากการเข้าใจธุรกิจอย่างลึกซึ้ง ทำให้เชื่อมั่นว่ากำไร 3 ปีนับจากนี้จะเติบโต 20% ดังนั้น ราคาเป้าหมายใน 1 ปี = 15 เท่า x กำไรต่อหุ้น 1 บาท = 15 บาท ณ สิ้นปี
สมมติว่าราคาหุ้นปัจจุบันอยู่ที่ 10 บาท แสดงว่าในอีก 1 ปีข้างหน้า ก็มีโอกาสเห็นราคาหุ้นปรับเพิ่มเป็น 15 บาท หมายความว่า หากซื้อหุ้นวันนี้ก็มีโอกาสทำกำไร 50% ใน 1 ปีข้างหน้า แต่ในทางกลับกันหากราคาหุ้นปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 15 บาท แสดงว่าราคาหุ้นได้ปรับขึ้นมารองรับผลประกอบการในอนาคต 1 ปีแล้ว ก็ต้องพิจารณาว่าควรซื้อหรือไม่
ดังนั้น ในการหาหุ้นที่ลงทุนไปแล้วจะสร้างผลตอบแทนที่ดีได้อย่างยาวนาน ก็ต้องเป็นหุ้นของบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง มีกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจที่ดีมีประสิทธิภาพ หรือมีความได้เปรียบเชิงแข่งขัน ซึ่งนักลงทุนก็ต้องค้นหา วิเคราะห์ และคาดหวังผลตอบแทนจากหุ้นอย่างสมเหตุสมผล ด้วยสมมติฐาน ข้อมูล ความรู้ที่รอบด้าน
5 เรื่องควรรู้ เมื่อเลือกหุ้นด้วย P/E Ratio
1. ราคา คือ สิ่งที่จ่าย (ซื้อความคาดหวัง)
เมื่อนักลงทุนยอมจ่ายเงินเพื่อซื้อหุ้นในวันนี้ เพราะคาดหวังว่าจะได้กำไรในอนาคต ซึ่งปัจจัยที่กำหนดความคาดหวังนั้น คือ กิจการมีการเติบโตและมีคุณภาพในการดำเนินธุรกิจ มีความสามารถในการแข่งขัน มีแผนลงทุนที่ดีมีประสิทธิภาพ และนักลงทุนรับรู้พร้อมกับคาดหวังการเติบโตที่ดีในอนาคต ถึงแม้ว่าหุ้นตัวนั้น P/E Ratio จะสูง นักลงทุนก็จะยอมจ่าย และหากบริษัทสามารถรักษาการเติบโตได้ต่อเนื่อง ก็จะเห็น P/E Ratio ยืนอยู่ระดับสูง ๆ ได้หลายปี
2. กำไร คือ สิ่งที่ (คาดว่า) จะได้รับ
นอกจากนักลงทุนต้องการหุ้นที่มี P/E Ratio ต่ำแล้ว ก็ต้องการ “หุ้นที่ดี” ด้วย เพราะการได้ของถูกและดี เมื่อนักลงทุน (ส่วนใหญ่) เริ่มเห็นว่าเป็นหุ้นที่มีคุณค่า ราคาหุ้นก็จะปรับขึ้นไปสู่ระดับที่เรียกว่า มูลค่าที่เหมาะสม แต่สมมติว่ายังไม่มีใครเห็นสิ่งที่จะได้อย่างชัดเจน เช่น ผลตอบแทนในรูปของเงินปันผลที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามการเติบโตของกิจการ ต้องดูที่คุณภาพของกำไร ซึ่งสามารถดูได้จากความสม่ำเสมอของอัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ที่จะเป็นตัวบอกว่าส่วนของผู้ถือหุ้น 100 บาท สามารถสร้างผลตอบแทนได้เท่าไร ซึ่งแนวคิดการวิเคราะห์มาจากสมมติฐานเบื้องหลังของการประเมินมูลค่า คือ กำไรในอนาคต จะเติบโตในอัตราคงที่ไปเรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด ลักษณะการเติบโตแบบนี้เรียกว่า Sustainable Growth
สูตร g = ROE * (1-b)
โดยที่ g = การเติบโต
ROE = ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
b = อัตราปันผลต่อกำไร
ความหมายของการเติบโตในลักษณะนี้ คือ เมื่อบริษัทมีกำไรหลังจากหักปันผล จากนั้นนำเงินทุนที่เพิ่มไปลงทุนต่อได้ผลตอบแทนเท่ากับ ROE และหาก ROE อยู่ในระดับคงที่สม่ำเสมอ กำไรก็จะเติบโตคงที่สม่ำเสมอตามไปด้วย
ดังนั้น ควรพิจารณารายได้ กำไร และ ROE ที่เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และหากต้องการลงทุนแล้วสบายใจมากยิ่งขึ้น หุ้นก็ต้องมี P/E Ratio ไม่แพงจนเกินไป พูดง่าย ๆ ได้ซื้อ “ของดี ในราคาที่เหมาะสม”
3. หุ้น P/E ต่ำ แต่ตัวเลขกำไรหวาดเสียว
นักลงทุนอาจชื่นชอบหุ้น P/E Ratio ต่ำ เพราะมองว่าได้ซื้อของถูก แต่หากวิเคราะห์ก็อาจเป็นภาพลวงตาจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น
หุ้นวัฏจักร โดยหุ้นประเภทนี้จะมีผลการดำเนินงานตามวัฏจักร หากเป็นช่วงวัฏจักรขาขึ้น ก็จะขายสินค้าได้ดี สร้างผลกำไรได้สูง ทำให้เห็น P/E Ratio อยู่ในระดับต่ำ (เนื่องจากกำไรสูง) แต่เมื่อเข้าสู่วัฏจักรขาลง ยอดขายลดลง และนักลงทุนประเมินว่าผลกำไรจะลดลง ทำให้ราคาหุ้นปรับลง อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก P/E Ratio จะคำนวณจากตัวเลขกำไรในอดีต ผลลัพธ์ คือ จะเห็น P/E Ratio ปรับลดลง (เนื่องจากราคาหุ้นปรับลง) ดังนั้น หากลงทุนหุ้นวัฏจักร ควรศึกษาตัวเลขกำไรย้อนหลังในอดีตไปหลาย ๆ ปี
กำไรพิเศษ เช่น มีกำไรจากการขายสินทรัพย์ กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งกำไรดังกล่าวจะได้รับเพียงครั้งเดียว โดยงวดไหนที่บริษัทได้รับกำไรพิเศษ จะทำให้ P/E Ratio ปรับลดลง และในงวดถัดไปเมื่อไม่มีกำไรพิเศษ (มีแต่กำไรปกติ) ค่า P/E Ratio ก็จะปรับสูงขึ้น
กำไรผันผวนไม่ต่อเนื่อง ธุรกิจที่ต้องหางานใหม่ ๆ ตลอดเวลาจะมีความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันผวนด้านรายได้และกำไร เช่น ธุรกิจที่เกี่ยวกับการประมูลงาน ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ทำให้นักลงทุนจะให้ P/E Ratio ธุรกิจลักษณะนี้ในระดับต่ำเพื่อชดเชยความเสี่ยง ดังนั้น ก่อนตัดสินใจลงทุนควรพิจารณาว่าหุ้นตัวนั้น โดยธรรมชาติแล้วมีลักษณะการดำเนินธุรกิจที่มีกำไรผันผวนมากน้อยแค่ไหน
4. P/E Ratio ที่เหมาะสม ควรอยู่ระดับไหน
เทคนิคเบื้องต้นในการคำนวณหา P/E Ratio ที่เหมาะสม คือ การใช้ P/E Ratio เฉลี่ย เพราะเป็นค่าที่คำนวณจากตลาดโดยรวมที่มีต่อหุ้น หาก P/E Ratio เฉลี่ยอยู่ระดับสูง แสดงว่าตลาดโดยรวมคาดหวังการเติบโตสูง และหาก P/E Ratio เฉลี่ยอยู่ระดับต่ำ แสดงว่าตลาดโดยรวมคาดหวังการเติบโตไม่สูง
ถัดจากนั้น นักลงทุนก็นำมาปรับตามการวิเคราะห์ของตัวเองพร้อมกับการประเมินอนาคตธุรกิจไปใน 3 - 5 ปีข้างหน้า ว่าจะยังเติบโตสูงต่อเนื่องหรือไม่ หากมองว่ามีโอกาสเติบโตลดลง ก็ปรับ P/E Ratio ลง จากนั้นก็นำไปเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ย หาก P/E Ratio เฉลี่ยต่ำกว่า สะท้อนว่าได้ซื้อหุ้นในราคาถูก เป็นต้น
5. หาราคาเป้าหมายด้วย P/E Ratio
การหาราคาเป้าหมายโดยใช้สูตร
ราคาเป้าหมาย = (PE) x กำไรที่คาดการณ์
ตัวอย่าง
การประเมินมูลค่าต้องมองไปข้างหน้า เช่น ใน 1 - 3 ปีข้างหน้าว่าบริษัทจะทำกำไรได้เท่าไร สมมติว่าอีก 1 ปีข้างหน้า คาดว่าบริษัทจะทำกำไรสุทธิได้ 100 ล้านบาท และบริษัทมีจำนวนหุ้นสามัญที่ชำระแล้วเป็นจำนวน 100 ล้านหุ้น ก็จะได้กำไรต่อหุ้น (EPS) เป็น 100 ล้านบาท/100 ล้านหุ้น = 1 บาท/หุ้น
สมมติให้ P/E Ratio ในอนาคตเท่ากับ 15 เท่า มาจากการเข้าใจธุรกิจอย่างลึกซึ้ง ทำให้เชื่อมั่นว่ากำไร 3 ปีนับจากนี้จะเติบโต 20% ดังนั้น ราคาเป้าหมายใน 1 ปี = 15 เท่า x กำไรต่อหุ้น 1 บาท = 15 บาท ณ สิ้นปี
สมมติว่าราคาหุ้นปัจจุบันอยู่ที่ 10 บาท แสดงว่าในอีก 1 ปีข้างหน้า ก็มีโอกาสเห็นราคาหุ้นปรับเพิ่มเป็น 15 บาท หมายความว่า หากซื้อหุ้นวันนี้ก็มีโอกาสทำกำไร 50% ใน 1 ปีข้างหน้า แต่ในทางกลับกันหากราคาหุ้นปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 15 บาท แสดงว่าราคาหุ้นได้ปรับขึ้นมารองรับผลประกอบการในอนาคต 1 ปีแล้ว ก็ต้องพิจารณาว่าควรซื้อหรือไม่
ดังนั้น ในการหาหุ้นที่ลงทุนไปแล้วจะสร้างผลตอบแทนที่ดีได้อย่างยาวนาน ก็ต้องเป็นหุ้นของบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง มีกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจที่ดีมีประสิทธิภาพ หรือมีความได้เปรียบเชิงแข่งขัน ซึ่งนักลงทุนก็ต้องค้นหา วิเคราะห์ และคาดหวังผลตอบแทนจากหุ้นอย่างสมเหตุสมผล ด้วยสมมติฐาน ข้อมูล ความรู้ที่รอบด้าน