ความหนาแน่นของอวิชชา ในแต่ละยุคย่อมไม่เท่ากัน

ปฏิจจสมุปบาทใหญ่เริ่มจากอวิชชา แต่หลายท่านดับที่วิญญาณ หลายท่านดับที่นามรูป หลายท่านดับที่ตัณหาเมื่อดับได้ อวิชชาก็สลายไปด้วยก็ไม่จำเป็นต้องดับที่อวิชชาอีก ดังนั้น ใครดับตรงไหน ก็มักแสดงปฏิจจสมุปบาทถึงตรงนั้น

แต่ความเป็นพระพุทธเจ้า เมื่อตรัสรู้แล้ว ทรงแทงตลอดสรรพสัจจะ ขณะเสวยวิมุตติสุขจึงทบทวนปฏิจจสมุปบาททั้งระบบ และทรงเห็นว่าโลกยุคนี้อวิชชาห่อหุ้มตัณหาฉาบทาหนาแน่น จึงทรงแสดงครบถึงอวิชชา

บางยุคบางสมัย อวิชชาเบาบาง พระพุทธเจ้าบางพระองค์ เช่น พระวิปัสสีพุทธเจ้า ก็ทรงแสดงแค่วิญญาณกับนามรูปเช่นกัน

เพื่อนำสู่ภาคปฏิบัติควรเข้าใจปฏิจจสมุปบาททั้งสามขณะ คือ

๑.  ขณะแรกเกิด the origin

๒.  ขณะดำรงอยู่และสืบต่อวนเวียน ต่างเป็นเหตุแก่กันและกัน จึงเกิดผลเวียนไปเวียนมา

๓.  ขณะดับ ดับแม่น ๆ จะหลุดทั้งพวง เพราะทุกตัวพันกันอยู่


The origin

อวิชชาทำให้เกิดสังขาร การประกอบอินทรียสารเป็นเซลส์ การประกอบเซลส์ ทำให้เกิดวิญญาณ แสงธาตุรู้การประกอบนั้น

วิญญาณที่รู้นั้นสะสมความทรงจำมากเข้า พัฒนาไป เกิดนามรูป นามคือใจ รูปคือกาย


ขณะดำรงอยู่สืบต่อวนเวียน

ต่างเป็นเหตุแก่กันและเป็นผลของกัน two ways and multi network

Two way - รูป (วัตถุ) ภายนอกประกอบกับอายตนะภายใน จึงเกิดวิญญาณที่อายตนะที่รับการกระทบนั้น

เมื่อวิญญาณรับรู้แล้ว จึงเกิดเวทนาและสัญญาความจำเก่า + ความจำใหม่

เมื่อรู้แล้ว จึงเกิดการประกอบเจตนา (จิตตสังขาร) ในการสนองตอบ หากในความจำมีเชื้อตัณหาอยู่บ้าง ก็ปรุงความอยากความไม่อยาก เตลิดไปถักสานปฏิจจสมุปบาทสืบต่อไป

Multi-network - ตัณหา กรรม (สังขาร) จึงเป็นเหตุให้เกิดวิญญาณ พันกันไปมาทั้งวงจรปฏิจจสมุปบาท


ขณะดับ

ดับตรงไหนก็ตาม หากดับแล้วดับสมุทัยหลัก คือ อวิชชาและตัณหา ได้ด้วย จะเป็นการดับถาวร ไม่ต้องประกอบปฏิจจสมุปบาทอีก เหลือแต่กิริยา ปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติด้วยปัญญา


โดยสรุป

วิญญาณทำให้เกิดนามรูป นามรูปทำงานเป็นขันธ์ห้า รู้ที่ขันธ์ทั้งหมดจึงเป็นรู้แห่งวิญญาณ เมื่อดับวิญญาณ นามรูป (ขันธ์) ก็ตั้งอยู่ไม่ได้ หรือเมื่อดับนามรูป (ขันธ์) วิญญาณก็ไม่มีที่ตั้ง ดังนั้น จะดับที่วิญญาณหรือดับที่นามรูปก็ได้

"พุทธะ" ไม่ใช่วิญญาณ ไม่ใช่ขันธ์หรือนามรูป บริสุทธิ์เป็นอิสระจากระบบขันธ์และวิญญาณทั้งปวง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่