โรม ติง กองทัพ ใช้ความลำบาก ทหารชั้นผู้น้อย ไปทำ PR ชี้หากช่วยจริงทำได้
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8062227
โรม ติง กองทัพ ใช้ความลำบาก ทหารชั้นผู้น้อย ไปทำ PR แนะอยากให้กองทัพทันสมัย ทำได้เลยไม่ต้องเพิ่มงบประมาณ เพียงแค่เฉือนโครงการที่ไม่จำเป็น
หลังสังคมวิพากษ์วิจารณ์ คลิปของ Pigkaploy หรือ
พลอย – พลอยไพลิน ตั้งประภาพร ยูทูบเบอร์สายท่องเที่ยวและนักแสดงชื่อดัง ที่นำเสนอเรื่องราวของทหารชายแดน พร้อมตั้งชื่อคลิปว่า “
ทหารมีไว้ทำไม? ลองใช้ชีวิตเป็นทหารชายแดนเหนือ 3 วัน 2 คืน ไทย – เมียนมาร์”
ทำให้เธอถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก จนต้องเปลี่ยนชื่อคลิป และขอโทษในเวลาต่อมา
ต่อเรื่องดังกล่าว
รังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความผ่าน X แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ ระบุว่า
จากที่ผมได้เคยเข้าไปในค่ายทหารชายแดน พบว่าในนั้นไม่มีไฟฟ้า ไม่มีน้ำ ไม่มีสิ่งของจำเป็นหลายอย่าง ต้องอยู่กันอย่างทรหด โดยที่กองทัพกลับนำความลำบากเหล่านี้มาใช้ PR แทนที่จะไปแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
ดังนั้น หากเราอยากให้กองทัพทันสมัย ควรนำฟีดแบคที่ได้รับจากเรื่อง #ทหารมีไว้ทำไม ไปปรับปรุง ซึ่งทำได้โดยไม่ต้องรอการเพิ่มงบประมาณของประเทศเพียงอย่างเดียว ทำไมถึงไม่หยุดโครงการแฟลตหรู
ทำไมถึงไม่ลดสวัสดิการนายพล รวมทั้งตัดโครงการที่ไม่ใช่หน้าที่ของกองทัพออก แล้วนำงบมาใช้ให้ถูกจุด นำมาพัฒนาการศึกษา พัฒนาความเป็นอยู่ของทหารชั้นผู้น้อย ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
https://twitter.com/RangsimanRome/status/1749331508371010046
ปิยบุตร หนุนพท. ยื่นแก้ 256 ทำประชามติ 2 ที แนะก้าวไกล เร่งชงร่างประกบ เชื่อสิ้นปีนี้ชัดเจน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4388848
ปิยบุตร เห็นด้วย เพื่อไทยยื่นแก้ 256 ทำประชามติ 2 ที แนะก้าวไกล เร่งชงร่างประกบ เชื่อสิ้นปีนี้ รธน.ใหม่ชัดเจนแน่
จากกรณีที่พรรคเพื่อไทย นำโดย นาย
ชูศักดิ์ ศิรินิล ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรค แถลงนำ 122 ส.ส.เพื่อไทย ยื่นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ…. ต่อประธานรัฐสภา เมื่อวันที่ 18 มกราคม ที่ผ่านมา ให้รัฐสภา แก้ไขมาตรา 256 พร้อมทำประชามติ 2 จาก 3 ครั้ง เพื่อประหยัดงบประมาณ และประหยัดเวลานั้น
ล่าสุด (22 ม.ค.) นาย
ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ได้โพสต์แสดงความคิดเห็นถึงเรื่องดังกล่าว โดยระบุว่า
พรรคเพื่อไทย นำโดย รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล แถลงข่าวเรื่องการทำรัฐธรรมนูญใหม่ โดยเห็นว่า ทำประชามติ 2 ครั้ง ครั้งแรก (ประชามติร่างแก้ตาม 256 กำหนดให้มี ส.ส.ร.) และครั้งที่สอง (ประชามติ ร่าง ร.ธ.น. ใหม่ที่ ส.ส.ร. ทำเสร็จ)
ผมเห็นด้วยกับวิธีการที่อาจารย์ชูศักดิ์ และพรรคเพื่อไทยเสนอนี้
คำวินิจฉัยศาล รธน. 4/2564 บอกว่า การทำรัฐธรรมนูญใหม่ ต้องทำประชามติ ก็จริง แต่ไม่ได้บอกว่า ให้ทำตอนไหน ดังนั้น เมื่อ ส.ส.ร. ทำร่างใหม่เสร็จ ก็ค่อยไปทำประชามติตอนนั้นก็ได้
นอกจากนี้ การทำ รธน.ใหม่ โดยเว้นหมวด 1 หมวด 2 แบบที่พรรคเพื่อไทยต้องการ ก็ไม่ได้เข้าความหมายการทำใหม่ทั้งฉบับแบบที่ศาลรธน. บอกด้วย
ที่สำคัญ หากทำประชามติ 3 ครั้ง แล้วไปตั้งคำถามประชามติครั้งแรก (ก่อนริเริ่มแก้ตาม 256) ว่า จะทำใหม่ แบบเว้นหมวด 1 หมวด 2 ก็มีโอกาสสุ่มเสี่ยงมากที่จะไม่ผ่าน เพราะ ทั้งพลังฝ่ายก้าวหน้า และพลังฝ่ายอยากอยู่กับ 60 อาจไม่ออกไปใช้สิทธิหรือไม่เห็นชอบ จนทำให้แพ้ประชามติ และทำให้ รธน. 60 เป็นอมตะ มากยิ่งขึ้น
นอกจากเรื่องการเว้นหมวด 1 และ 2 แล้ว ประเด็นที่ยังคงต้องถกเถียงและสู้กันต่อไป คือ รูปแบบและที่มาของสภาร่างรัฐธรรมนูญ
พรรคก้าวไกล (ในฐานะพรรคเสียงเกิน 100 คน) ควรเร่งผลักดันร่างแก้ไข รธน. กำหนดให้มีการจัดทำ รธน. ใหม่ เข้าไปประกบกับร่างของพรรคเพื่อไทย
สิ้นปีนี้ จะได้เห็นทิศทางของการทำรัฐธรรมนูญใหม่ชัดเจนครับ
https://www.facebook.com/PiyabutrOfficial/posts/pfbid031yXwornqm6chMZ5nJRUgGcvc3JiTAxrhnsbrCbDn6V91XcZMXeZ7hes3QjWtPttEl
ทนายเมย์ ลั่น ถึงเปลี่ยนรบ.ยังไม่ดีขึ้น จี้ ‘เคลียร์คดีการเมือง’ เป็นตัวแทนอาเซียนแบบสมมง
https://www.matichon.co.th/politics/news_4388077
ทนายเมย์ ลั่น ถึงเปลี่ยนรัฐบาลยังไม่ดีขึ้น จี้เคลียร์คดีการเมือง-นิรโทษปชช. สมัครเป็นตัวแทนอาเซียนด้านสิทธิ แบบสมมง
เมื่อวันที่ 22 มกราคม ที่หน้าอาคารสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพฯ เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน นำโดย น.ส.
ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือรุ้ง แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม น.ส.
ธนพร วิจันทร์ หรือไหม แกนนำเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน น.ส.
แทนฤทัย แท่นรัตน์ นักกิจกรรมกลุ่มโมกหลวงริมน้ำ เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึงองค์การสหประชาชาติ (UN) เรียกร้องให้สนับสนุนรัฐบาลไทย ผ่านร่างกฎหมายนิรโทษกรรมประชาชน โดยมีการร่วมอ่านแถลงการณ์ก่อนส่งตัวแทนเข้ายื่นหนังสือ
น.ส.
พูนสุข พูนสุขเจริญ หรือ
ทนายเมย์ จากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า ทางเครือข่ายจะเข้าไปยื่นหนังสือ และพูดคุยว่าสถานการณ์ทางการเมืองไม่ได้ดีขึ้น ถึงแม้จะเปลี่ยนรัฐบาลแล้ว เป็นรัฐบาลที่มาจากประชาชน แต่การดำเนินคดีทางการเมืองยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และล่าสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาก็ยังมีคดี ม.112 ที่ศาลลงโทษจำคุกถึง 50 ปีด้วย
เราเห็นว่าคดีทางการเมือง ส่วนใหญ่เป็นคดีที่เราออกไปชุมนุม ใช้เสรีภาพในการแสดงออกอย่างสงบ โดยการการันตี ไม่ควรถูกดำเนินคดีตั้งแต่แรกแล้ว ซึ่งการนิรโทษกรรมเป็นอีกวิธีในการคลี่คลายความขัดแย้ง ประกอบกับรัฐบาลไทยประกาศสมัครสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Human Rights Council (HRC) วาระปี ค.ศ.2025-2027) เพื่อเป็นตัวแทนของอาเซียนในช่วงเดือนตุลาคมนี้
“
เราก็เลยมา คิดว่าการเข้าเป็นสมาชิกของประเทศไทยควรจะเข้าไปอย่างสง่างาม ไม่ใช่ว่าประเทศไทยยังมีคดีความทางการเมืองอยู่ ยังมีผู้ต้องขังทางการเมืองกว่า 30 คน และมีคนถูกดำเนินคดีเป็นพัน เป็นโอกาสอันดีที่จะได้คลี่คลายความขัดแย้ง โดยการเคลียร์คดีทางการเมืองและนิรโทษกรรมประชาชน” น.ส.
พูนสุขกล่าว
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า หลังจากการเข้าไปยื่นหนังสือกับสหประชาชาติในวันนี้ ทางเครือข่ายจะขับเคลื่อนอย่างไรต่อไป?
น.ส.
พูนสุขเผยว่า หลังจากนี้ วันที่ 1-14 กุมภาพันธ์นี้ ทางเครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน จะเปิดแคมเปญเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ให้ประชาชนมาร่วมกันแสดงเจตจำนงในการเคลียร์คดีความ และเสนอร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้เข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรต่อไป
เมื่อถามต่อว่า มีการวางกรอบระยะเวลา หรือขีดเส้นตายว่าจะมีการไปพูดคุย ขอความสนับสนุนกับรัฐบาลหรือไม่ อย่างไร?
น.ส.
พูนสุขกล่าวว่า เราคงหาการสนับสนุนจากประชาชนก่อน การพูดคุยกับรัฐบาลหรือสภา ขอให้เป็นขั้นตอนหลังจากนั้น
ผลสำรวจอนาคตการเติบโต พบไทยน่าห่วงติดอันดับ 51 ของโลก ตามหลังเพื่อนบ้านในอาเซียน-สวีเดนคว้าที่ 1
https://www.matichon.co.th/economy/news_4388519
เผยผลสำรวจอนาคตการเติบโต พบไทยน่าห่วงติดอันดับ 51 ของโลก ตามหลังสิงคโปร์-มาเลย์-เวียดนาม-อินโดฯ ส่วน สวีเดนคว้าที่ 1 ของโลก แนะเร่งพัฒนาด้านความยั่งยืน-เหลื่อมล้ำของรายได้
เมื่อวันที่ 22 มกราคม ศาสตราจารย์ ดร.
วิเลิศ ภูริวัชร คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CBS) เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับ World Economic Forum (WEF) จัดทำและเผยแพร่รายงานอนาคตการเติบโต The Future of Growth Report 2024 เพื่อวัดคุณภาพการเติบโตของประเทศต่างๆ พบว่าประเทศไทยการเติบโตอยู่ค่อนไปทางครึ่งหลังของโลก แต่ควรเร่งพัฒนาด้านความยั่งยืน ความเหลื่อมล้ำของรายได้ และกฏหมายคุ้มครองอย่างเต็มกำลัง ซึ่งได้ทำการสำรวจและวิเคราะห์ทิศทางการเติบโตในอนาคตของประเทศต่างๆ ซึ่งครอบคลุม 107 ประเทศทั่วโลก ประเทศไทยอยู่ลำดับที่ 51 โดยอันดับหนึ่งในโลกได้แก่ประเทศ สวีเดน และตามด้วยสวิสเซอร์แลนด์ ฟินแลนด์ และเดนมาร์ก ในแถบประเทศเอเชีย ญี่ปุ่นนำโด่งในลำดับที่ 11 ตามด้วยเกาหลี (12) และสิงคโปร์ (16) ในขณะที่ มาเลเซียมาลำดับที่ 31 เวียตนาม 36 อินโดนีเซีย 50 และไทยลำดับ 51 จากคะแนนรวมที่ถ่วงน้ำหนักทั้ง 4 มิติแห่งการเติบโตของประเทศ
ดร.
วิเลิศกล่าวว่า แนวทางการพิจารณาการเติบโตของประเทศ ซึ่งไม่เพียงแต่มุ่งเน้นด้านความรวดเร็วในการเติบโตเท่านั้น แต่ควรมุ่งเน้นในด้านคุณภาพของการเติบโตด้วย ซึ่งจะช่วยให้มีการสร้างความสมดุลระหว่างประสิทธิภาพและความเท่าเทียมในระยะยาว โดยปัจจัยที่สำคัญของอนาคตการเติบโตของประเทศตาม World Economic Forum ประกอบด้วย 4 มิติ ได้แก่ ด้านนวัตกรรม (Innovativeness) ด้านความครอบคลุมของโครงสร้างพื้นฐาน (Inclusiveness) ความยั่งยืน (Sustainability) และความยืดหยุ่น (Resilience)
ดร.
วิเลิศกล่าวว่า นอกจากนี้ รายงานฉบับนี้เน้นย้ำถึงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสําคัญ ซึ่งคาดว่าจะลดลงสู่อัตราที่ต่ำที่สุดในรอบสามทศวรรษภายในปี ค.ศ. 2030 ท่ามกลางผลกระทบทางเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์อย่างต่อเนื่อง ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำนี้ทำให้เกิดความท้าทายระดับโลกที่รุนแรงขึ้น รวมถึงวิกฤตสภาพภูมิอากาศและสัญญาทางสังคมที่อ่อนแอลง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าในการพัฒนา ดังนั้น การมุ่งเน้นการเติบโตอย่างมีคุณภาพของประเทศต่างๆ จึงมีความสำคัญต่อการรับมือกับ ความท้าทายที่หลากหลายนี้
ดร.
วิเลิศ กล่าวว่า จากการเปรียบเทียบผลประเมินของประเทศไทยกับผลประเมินโดยรวมของประเทศต่างๆ ทั่วโลก และผลประเมินของประเทศในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางระดับบน พบว่าประเทศไทยมีคะแนนด้านนวัตกรรม(Innovativeness) เท่ากับ 47.94 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก (45.2) และค่าเฉลี่ยของประเทศในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางระดับบน (39.3) สะท้อนให้เห็นถึงความโดดเด่นของไทยในการเพิ่มขีดความสามารถด้านนวัตกรรม
ด้านความครอบคลุมของโครงสร้างพื้นฐาน (Inclusiveness) ประเทศไทยได้คะแนน 55.66 ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยโลก (55.9) และสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางระดับบน (54.8) แสดงให้เห็นว่าไทยยังคงดำเนินการเพื่อการเติบโตที่เป็นธรรมและรวมทุกภาคส่วนเข้าไว้ด้วยกัน
ด้านความยั่งยืน (Sustainability) คะแนนของประเทศไทยเท่ากับ 40.84 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก (46.8) และค่าเฉลี่ยของประเทศในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางระดับบน (44.0) จึงเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงความจำเป็นที่ต้องมีการเร่งดำเนินการเพื่อพัฒนาด้านความยั่งยืนของไทยให้เพิ่มมากขึ้น
ด้านความยืดหยุ่นและการปรับตัว (Resilience) ซึ่งแสดงถึงการปรับตัวต่อผลกระทบต่างๆ คะแนนของประเทศไทยเท่ากับ 51.5 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก (52.75) เล็กน้อย แต่ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางระดับบน (50.0) สะท้อนให้เห็นว่าไทยมีความสามารถในการตอบสนองและฟื้นฟูจากวิกฤติต่างๆ ได้พอประมาณ และควรมีการพัฒนาในด้านนี้ต่อไป
ดังนั้น ประเทศไทยควรเร่งเพิ่มขีดความสามารถในทุกด้าน แม้ว่าด้านนวัตกรรมจะทำได้ดีแต่ยังต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาในด้านต่างๆ เพิ่มเติม โดยเฉพาะด้านความยั่งยืน เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของการเติบโตของประเทศให้ดียิ่งขึ้น
ดร.
วิเลิศ กล่าวว่า การนำเสนอรายงานในครั้งนี้แสดงให้เห็นข้อมูลระดับประเทศที่ช่วยให้ผู้มีส่วนกำหนดนโยบายและทิศทางในการพัฒนาการเติบโตของประเทศจาก 4 มิติ ที่สำคัญต่อการเติบโตของประเทศ ซึ่งจะเป็นเข็มทิศในการกำหนดแนวทางนโยบาย และกลยุทธ์สำหรับประเทศไทย เพื่อเสริมสร้างการเติบโตที่มีทั้งในด้านนวัตกรรม ด้านความครอบคลุมของโครงสร้
JJNY : 5in1 โรมติงกองทัพ│ปิยบุตรแนะก้าวไกล│ทนายเมย์จี้‘เคลียร์คดีการเมือง’│อนาคตการเติบโต ไทยน่าห่วง│โปแลนด์เยือนยูเครน
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8062227
โรม ติง กองทัพ ใช้ความลำบาก ทหารชั้นผู้น้อย ไปทำ PR แนะอยากให้กองทัพทันสมัย ทำได้เลยไม่ต้องเพิ่มงบประมาณ เพียงแค่เฉือนโครงการที่ไม่จำเป็น
หลังสังคมวิพากษ์วิจารณ์ คลิปของ Pigkaploy หรือ พลอย – พลอยไพลิน ตั้งประภาพร ยูทูบเบอร์สายท่องเที่ยวและนักแสดงชื่อดัง ที่นำเสนอเรื่องราวของทหารชายแดน พร้อมตั้งชื่อคลิปว่า “ทหารมีไว้ทำไม? ลองใช้ชีวิตเป็นทหารชายแดนเหนือ 3 วัน 2 คืน ไทย – เมียนมาร์”
ทำให้เธอถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก จนต้องเปลี่ยนชื่อคลิป และขอโทษในเวลาต่อมา
ต่อเรื่องดังกล่าว รังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความผ่าน X แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ ระบุว่า
จากที่ผมได้เคยเข้าไปในค่ายทหารชายแดน พบว่าในนั้นไม่มีไฟฟ้า ไม่มีน้ำ ไม่มีสิ่งของจำเป็นหลายอย่าง ต้องอยู่กันอย่างทรหด โดยที่กองทัพกลับนำความลำบากเหล่านี้มาใช้ PR แทนที่จะไปแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
ดังนั้น หากเราอยากให้กองทัพทันสมัย ควรนำฟีดแบคที่ได้รับจากเรื่อง #ทหารมีไว้ทำไม ไปปรับปรุง ซึ่งทำได้โดยไม่ต้องรอการเพิ่มงบประมาณของประเทศเพียงอย่างเดียว ทำไมถึงไม่หยุดโครงการแฟลตหรู
ทำไมถึงไม่ลดสวัสดิการนายพล รวมทั้งตัดโครงการที่ไม่ใช่หน้าที่ของกองทัพออก แล้วนำงบมาใช้ให้ถูกจุด นำมาพัฒนาการศึกษา พัฒนาความเป็นอยู่ของทหารชั้นผู้น้อย ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
https://twitter.com/RangsimanRome/status/1749331508371010046
ปิยบุตร หนุนพท. ยื่นแก้ 256 ทำประชามติ 2 ที แนะก้าวไกล เร่งชงร่างประกบ เชื่อสิ้นปีนี้ชัดเจน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4388848
ปิยบุตร เห็นด้วย เพื่อไทยยื่นแก้ 256 ทำประชามติ 2 ที แนะก้าวไกล เร่งชงร่างประกบ เชื่อสิ้นปีนี้ รธน.ใหม่ชัดเจนแน่
จากกรณีที่พรรคเพื่อไทย นำโดย นายชูศักดิ์ ศิรินิล ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรค แถลงนำ 122 ส.ส.เพื่อไทย ยื่นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ…. ต่อประธานรัฐสภา เมื่อวันที่ 18 มกราคม ที่ผ่านมา ให้รัฐสภา แก้ไขมาตรา 256 พร้อมทำประชามติ 2 จาก 3 ครั้ง เพื่อประหยัดงบประมาณ และประหยัดเวลานั้น
ล่าสุด (22 ม.ค.) นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ได้โพสต์แสดงความคิดเห็นถึงเรื่องดังกล่าว โดยระบุว่า
พรรคเพื่อไทย นำโดย รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล แถลงข่าวเรื่องการทำรัฐธรรมนูญใหม่ โดยเห็นว่า ทำประชามติ 2 ครั้ง ครั้งแรก (ประชามติร่างแก้ตาม 256 กำหนดให้มี ส.ส.ร.) และครั้งที่สอง (ประชามติ ร่าง ร.ธ.น. ใหม่ที่ ส.ส.ร. ทำเสร็จ)
ผมเห็นด้วยกับวิธีการที่อาจารย์ชูศักดิ์ และพรรคเพื่อไทยเสนอนี้
คำวินิจฉัยศาล รธน. 4/2564 บอกว่า การทำรัฐธรรมนูญใหม่ ต้องทำประชามติ ก็จริง แต่ไม่ได้บอกว่า ให้ทำตอนไหน ดังนั้น เมื่อ ส.ส.ร. ทำร่างใหม่เสร็จ ก็ค่อยไปทำประชามติตอนนั้นก็ได้
นอกจากนี้ การทำ รธน.ใหม่ โดยเว้นหมวด 1 หมวด 2 แบบที่พรรคเพื่อไทยต้องการ ก็ไม่ได้เข้าความหมายการทำใหม่ทั้งฉบับแบบที่ศาลรธน. บอกด้วย
ที่สำคัญ หากทำประชามติ 3 ครั้ง แล้วไปตั้งคำถามประชามติครั้งแรก (ก่อนริเริ่มแก้ตาม 256) ว่า จะทำใหม่ แบบเว้นหมวด 1 หมวด 2 ก็มีโอกาสสุ่มเสี่ยงมากที่จะไม่ผ่าน เพราะ ทั้งพลังฝ่ายก้าวหน้า และพลังฝ่ายอยากอยู่กับ 60 อาจไม่ออกไปใช้สิทธิหรือไม่เห็นชอบ จนทำให้แพ้ประชามติ และทำให้ รธน. 60 เป็นอมตะ มากยิ่งขึ้น
นอกจากเรื่องการเว้นหมวด 1 และ 2 แล้ว ประเด็นที่ยังคงต้องถกเถียงและสู้กันต่อไป คือ รูปแบบและที่มาของสภาร่างรัฐธรรมนูญ
พรรคก้าวไกล (ในฐานะพรรคเสียงเกิน 100 คน) ควรเร่งผลักดันร่างแก้ไข รธน. กำหนดให้มีการจัดทำ รธน. ใหม่ เข้าไปประกบกับร่างของพรรคเพื่อไทย
สิ้นปีนี้ จะได้เห็นทิศทางของการทำรัฐธรรมนูญใหม่ชัดเจนครับ
https://www.facebook.com/PiyabutrOfficial/posts/pfbid031yXwornqm6chMZ5nJRUgGcvc3JiTAxrhnsbrCbDn6V91XcZMXeZ7hes3QjWtPttEl
ทนายเมย์ ลั่น ถึงเปลี่ยนรบ.ยังไม่ดีขึ้น จี้ ‘เคลียร์คดีการเมือง’ เป็นตัวแทนอาเซียนแบบสมมง
https://www.matichon.co.th/politics/news_4388077
ทนายเมย์ ลั่น ถึงเปลี่ยนรัฐบาลยังไม่ดีขึ้น จี้เคลียร์คดีการเมือง-นิรโทษปชช. สมัครเป็นตัวแทนอาเซียนด้านสิทธิ แบบสมมง
เมื่อวันที่ 22 มกราคม ที่หน้าอาคารสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพฯ เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน นำโดย น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือรุ้ง แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม น.ส.ธนพร วิจันทร์ หรือไหม แกนนำเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน น.ส.แทนฤทัย แท่นรัตน์ นักกิจกรรมกลุ่มโมกหลวงริมน้ำ เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึงองค์การสหประชาชาติ (UN) เรียกร้องให้สนับสนุนรัฐบาลไทย ผ่านร่างกฎหมายนิรโทษกรรมประชาชน โดยมีการร่วมอ่านแถลงการณ์ก่อนส่งตัวแทนเข้ายื่นหนังสือ
น.ส.พูนสุข พูนสุขเจริญ หรือทนายเมย์ จากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า ทางเครือข่ายจะเข้าไปยื่นหนังสือ และพูดคุยว่าสถานการณ์ทางการเมืองไม่ได้ดีขึ้น ถึงแม้จะเปลี่ยนรัฐบาลแล้ว เป็นรัฐบาลที่มาจากประชาชน แต่การดำเนินคดีทางการเมืองยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และล่าสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาก็ยังมีคดี ม.112 ที่ศาลลงโทษจำคุกถึง 50 ปีด้วย
เราเห็นว่าคดีทางการเมือง ส่วนใหญ่เป็นคดีที่เราออกไปชุมนุม ใช้เสรีภาพในการแสดงออกอย่างสงบ โดยการการันตี ไม่ควรถูกดำเนินคดีตั้งแต่แรกแล้ว ซึ่งการนิรโทษกรรมเป็นอีกวิธีในการคลี่คลายความขัดแย้ง ประกอบกับรัฐบาลไทยประกาศสมัครสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Human Rights Council (HRC) วาระปี ค.ศ.2025-2027) เพื่อเป็นตัวแทนของอาเซียนในช่วงเดือนตุลาคมนี้
“เราก็เลยมา คิดว่าการเข้าเป็นสมาชิกของประเทศไทยควรจะเข้าไปอย่างสง่างาม ไม่ใช่ว่าประเทศไทยยังมีคดีความทางการเมืองอยู่ ยังมีผู้ต้องขังทางการเมืองกว่า 30 คน และมีคนถูกดำเนินคดีเป็นพัน เป็นโอกาสอันดีที่จะได้คลี่คลายความขัดแย้ง โดยการเคลียร์คดีทางการเมืองและนิรโทษกรรมประชาชน” น.ส.พูนสุขกล่าว
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า หลังจากการเข้าไปยื่นหนังสือกับสหประชาชาติในวันนี้ ทางเครือข่ายจะขับเคลื่อนอย่างไรต่อไป?
น.ส.พูนสุขเผยว่า หลังจากนี้ วันที่ 1-14 กุมภาพันธ์นี้ ทางเครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน จะเปิดแคมเปญเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ให้ประชาชนมาร่วมกันแสดงเจตจำนงในการเคลียร์คดีความ และเสนอร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้เข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรต่อไป
เมื่อถามต่อว่า มีการวางกรอบระยะเวลา หรือขีดเส้นตายว่าจะมีการไปพูดคุย ขอความสนับสนุนกับรัฐบาลหรือไม่ อย่างไร?
น.ส.พูนสุขกล่าวว่า เราคงหาการสนับสนุนจากประชาชนก่อน การพูดคุยกับรัฐบาลหรือสภา ขอให้เป็นขั้นตอนหลังจากนั้น
ผลสำรวจอนาคตการเติบโต พบไทยน่าห่วงติดอันดับ 51 ของโลก ตามหลังเพื่อนบ้านในอาเซียน-สวีเดนคว้าที่ 1
https://www.matichon.co.th/economy/news_4388519
เผยผลสำรวจอนาคตการเติบโต พบไทยน่าห่วงติดอันดับ 51 ของโลก ตามหลังสิงคโปร์-มาเลย์-เวียดนาม-อินโดฯ ส่วน สวีเดนคว้าที่ 1 ของโลก แนะเร่งพัฒนาด้านความยั่งยืน-เหลื่อมล้ำของรายได้
เมื่อวันที่ 22 มกราคม ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CBS) เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับ World Economic Forum (WEF) จัดทำและเผยแพร่รายงานอนาคตการเติบโต The Future of Growth Report 2024 เพื่อวัดคุณภาพการเติบโตของประเทศต่างๆ พบว่าประเทศไทยการเติบโตอยู่ค่อนไปทางครึ่งหลังของโลก แต่ควรเร่งพัฒนาด้านความยั่งยืน ความเหลื่อมล้ำของรายได้ และกฏหมายคุ้มครองอย่างเต็มกำลัง ซึ่งได้ทำการสำรวจและวิเคราะห์ทิศทางการเติบโตในอนาคตของประเทศต่างๆ ซึ่งครอบคลุม 107 ประเทศทั่วโลก ประเทศไทยอยู่ลำดับที่ 51 โดยอันดับหนึ่งในโลกได้แก่ประเทศ สวีเดน และตามด้วยสวิสเซอร์แลนด์ ฟินแลนด์ และเดนมาร์ก ในแถบประเทศเอเชีย ญี่ปุ่นนำโด่งในลำดับที่ 11 ตามด้วยเกาหลี (12) และสิงคโปร์ (16) ในขณะที่ มาเลเซียมาลำดับที่ 31 เวียตนาม 36 อินโดนีเซีย 50 และไทยลำดับ 51 จากคะแนนรวมที่ถ่วงน้ำหนักทั้ง 4 มิติแห่งการเติบโตของประเทศ
ดร.วิเลิศกล่าวว่า แนวทางการพิจารณาการเติบโตของประเทศ ซึ่งไม่เพียงแต่มุ่งเน้นด้านความรวดเร็วในการเติบโตเท่านั้น แต่ควรมุ่งเน้นในด้านคุณภาพของการเติบโตด้วย ซึ่งจะช่วยให้มีการสร้างความสมดุลระหว่างประสิทธิภาพและความเท่าเทียมในระยะยาว โดยปัจจัยที่สำคัญของอนาคตการเติบโตของประเทศตาม World Economic Forum ประกอบด้วย 4 มิติ ได้แก่ ด้านนวัตกรรม (Innovativeness) ด้านความครอบคลุมของโครงสร้างพื้นฐาน (Inclusiveness) ความยั่งยืน (Sustainability) และความยืดหยุ่น (Resilience)
ดร.วิเลิศกล่าวว่า นอกจากนี้ รายงานฉบับนี้เน้นย้ำถึงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสําคัญ ซึ่งคาดว่าจะลดลงสู่อัตราที่ต่ำที่สุดในรอบสามทศวรรษภายในปี ค.ศ. 2030 ท่ามกลางผลกระทบทางเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์อย่างต่อเนื่อง ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำนี้ทำให้เกิดความท้าทายระดับโลกที่รุนแรงขึ้น รวมถึงวิกฤตสภาพภูมิอากาศและสัญญาทางสังคมที่อ่อนแอลง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าในการพัฒนา ดังนั้น การมุ่งเน้นการเติบโตอย่างมีคุณภาพของประเทศต่างๆ จึงมีความสำคัญต่อการรับมือกับ ความท้าทายที่หลากหลายนี้
ดร.วิเลิศ กล่าวว่า จากการเปรียบเทียบผลประเมินของประเทศไทยกับผลประเมินโดยรวมของประเทศต่างๆ ทั่วโลก และผลประเมินของประเทศในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางระดับบน พบว่าประเทศไทยมีคะแนนด้านนวัตกรรม(Innovativeness) เท่ากับ 47.94 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก (45.2) และค่าเฉลี่ยของประเทศในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางระดับบน (39.3) สะท้อนให้เห็นถึงความโดดเด่นของไทยในการเพิ่มขีดความสามารถด้านนวัตกรรม
ด้านความครอบคลุมของโครงสร้างพื้นฐาน (Inclusiveness) ประเทศไทยได้คะแนน 55.66 ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยโลก (55.9) และสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางระดับบน (54.8) แสดงให้เห็นว่าไทยยังคงดำเนินการเพื่อการเติบโตที่เป็นธรรมและรวมทุกภาคส่วนเข้าไว้ด้วยกัน
ด้านความยั่งยืน (Sustainability) คะแนนของประเทศไทยเท่ากับ 40.84 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก (46.8) และค่าเฉลี่ยของประเทศในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางระดับบน (44.0) จึงเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงความจำเป็นที่ต้องมีการเร่งดำเนินการเพื่อพัฒนาด้านความยั่งยืนของไทยให้เพิ่มมากขึ้น
ด้านความยืดหยุ่นและการปรับตัว (Resilience) ซึ่งแสดงถึงการปรับตัวต่อผลกระทบต่างๆ คะแนนของประเทศไทยเท่ากับ 51.5 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก (52.75) เล็กน้อย แต่ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางระดับบน (50.0) สะท้อนให้เห็นว่าไทยมีความสามารถในการตอบสนองและฟื้นฟูจากวิกฤติต่างๆ ได้พอประมาณ และควรมีการพัฒนาในด้านนี้ต่อไป
ดังนั้น ประเทศไทยควรเร่งเพิ่มขีดความสามารถในทุกด้าน แม้ว่าด้านนวัตกรรมจะทำได้ดีแต่ยังต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาในด้านต่างๆ เพิ่มเติม โดยเฉพาะด้านความยั่งยืน เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของการเติบโตของประเทศให้ดียิ่งขึ้น
ดร.วิเลิศ กล่าวว่า การนำเสนอรายงานในครั้งนี้แสดงให้เห็นข้อมูลระดับประเทศที่ช่วยให้ผู้มีส่วนกำหนดนโยบายและทิศทางในการพัฒนาการเติบโตของประเทศจาก 4 มิติ ที่สำคัญต่อการเติบโตของประเทศ ซึ่งจะเป็นเข็มทิศในการกำหนดแนวทางนโยบาย และกลยุทธ์สำหรับประเทศไทย เพื่อเสริมสร้างการเติบโตที่มีทั้งในด้านนวัตกรรม ด้านความครอบคลุมของโครงสร้