วันนี้พี่หมอฝั่งธน..จะมาให้ความรู้ ทำไมไข้หวัดใหญ่..ถึงอันตรายรุนแรงในผู้สูงอายุ
10% ของผู้สูงอายุที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ จะสูญเสียความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองด้านกิจวัตรประจำวัน
และจำเป็นต้องพึ่งพาผู้อื่น การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุ ส่งผลกระทบต่อร่างกายมากกว่าคนทั่วไป
เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดสมองตีบมากกว่าคนทั่วไป 8 เท่า
และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบมากกว่าคนทั่วไป 10 เท่า
โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจที่พบบ่อยและมักจะมีการระบาดช่วงฤดูฝน
อาการไข้หวัดใหญ่ ที่พบทั่วไปคือ เป็นไข้ ไอ ปวดเมื่อยตามตัว ในผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงจะหายเองในเวลา 3-5 วัน
แต่ในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง
โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน มักมีความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงถึงขั้นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
ในผู้ที่เป็นเบาหวาน จะมีระดับน้ำตาลผิดปกติ ถึง 75 % หากมีการติดเชื้อผู้สูงอายุมีโอกาสเสียชีวิตได้ถึง 50 %
หลังจากเป็นไข้หวัดใหญ่ ผู้สูงอายุจะสูญเสียความสามารถในการดูแลตนเองถึง 23 %
สาเหตุหลักที่ทำให้ ผู้สูงอายุที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและเสียชีวิตเพิ่มขึ้น
1.ภาวะภูมิคุ้มกันเสื่อมถอย (Immunosenescence)
ผู้สูงอายุมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อจากแบคทีเรีย เชื้อรา หรือไวรัส
ภาวะร่างกายเสื่อมถอยและสูญเสียความสมดุลก็จะเกิดการอักเสบรุนแรง ซึ่งเป็นกระบวนการของระบบภูมิคุ้มกัน
ที่เกิดขึ้นจนไม่สามารถยับยั้งและเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้
2.โรคประจำตัวที่รักษาไม่หายขาด (Underlying disease)
ผู้สูงอายุและผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคไต เบาหวาน และโรคมะเร็ง หากพบการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่
มีความเสี่ยงสูงที่จะพบอาการแทรกซ้อน เช่น ติดเชื้อไซนัสหรือหลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ
บางรายมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
3.ภาวะเปราะบางและความอ่อนแอในผู้สูงอายุ (Frailty)
ภาวะเปราะบางไม่ใช่โรค แต่เป็นภาวะหนึ่งของร่างกายซึ่งอยู่ระหว่างกลางของความสามารถในการทำงานได้กับภาวะไร้ความสามารถ
และอยู่ระหว่างความมีสุขภาพดีกับความเป็นโรค นับเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญและพบบ่อยในผู้สูงอายุ
เมื่อผู้สูงอายุติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ พบว่า 10% ของผู้สูงอายุจะสูญเสียความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองด้านกิจวัตรประจำวัน
และจำเป็นต้องพึ่งพาผู้อื่น รวมทั้ง 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุที่นอนโรงพยาบาลยังไม่สามารถกลับมาทำกิจกรรมได้ตามปกติภายใน 1 ปี
โรคไข้หวัดใหญ่ ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนเป็นประจำทุกปี เนื่องจากเชื้อโรคมีการเปลี่ยนแปลงและกลายพันธุ์อยู่เสมอ
โดยในแต่ละปีวัคซีนจะถูกปรับให้เหมาะสมกับเชื้อที่ระบาดในช่วงเวลานั้น
เมื่อป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่บางคนอาจมีอาการรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป
ลักษณะเช่นนี้มักพบในเด็กเล็ก ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป หญิงตั้งครรภ์และผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ
เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคไต หรือระบบภูมิต้านทานต่ำ
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มคนเหล่านี้รวมถึงผู้ใกล้ชิด
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ชนิด High-Dose
เป็นวัคซีนเชื้อตายที่มีข้อบ่งใช้สำหรับการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
และภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคปอดอักเสบในโรงพยาบาล
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดปกติ เป็นเวลามากกว่า 10 ปี ในผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
เพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันไข้หวัดใหญ่ มากกว่าวัคซีนขนาดปกติถึง 24%
มีปริมาณแอนติเจนในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เพิ่มขึ้น 4 เท่า
ทั้งยังสามารถลดอัตราการนอนโรงพยาบาลจากโรคแทรกซ้อนอื่นๆ
การปฏิบัติตัวและอาการข้างเคียงหลังได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุ
หลังจากผู้สูงอายุฉีดวัคซีนแล้ว ควรนั่งหรือนอนพัก ประมาณ 15-30 นาที ที่โรงพยาบาลเพื่อสังเกตอาการแพ้
หรืออาการข้างเคียงอื่น วัคซีนที่ใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่มีความปลอดภัยสูง แต่ยังคงพบอาการข้างเคียงได้บ้าง
ซึ่งส่วนใหญ่ไม่รุนแรงและยอมรับได้ โดยอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังจากได้รับการฉีดวัคซีน
ได้แก่ ระบม แดง หรือบวมบริเวณที่ฉีด มีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีอาการปวดศีรษะ คัน หรือ อ่อนเพลีย เป็นต้น
โดยปัญหาเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นไม่นานหลังฉีดและควรหายเองภายใน 3 วัน
ไข้หวัดใหญ่สามารถหายเองได้หากดูแลตัวเอง พักผ่อนให้เพียงพอ แต่ถ้าเริ่มมีอาการไข้สูง
หายใจเหนื่อยหอบ แน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน ทานอาหารไม่ได้ ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย
โดยนำตัวอย่างของเหลวจากจมูกหรือลำคอของคนไข้ไปตรวจหาชนิดของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่และรักษาโดยเร่งด่วน
ในผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว การปล่อยให้เชื้อไข้หวัดใหญ่อยู่ในร่างกายเป็นเวลานาน
สามารถเพิ่มความเสี่ยงเกิดโรคแทรกซ้อน อีกทั้งเพิ่มระดับความรุนแรงของโรคให้มากขึ้นค่ะ
ความรู้เพิ่มเติม
https://www.thonburihospital.com/package/flu-highdose/
https://www.youtube.com/watch?v=UH_JiUO77Zc
ทำไมไข้หวัดใหญ่..ถึงอันตรายรุนแรงในผู้สูงอายุ
10% ของผู้สูงอายุที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ จะสูญเสียความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองด้านกิจวัตรประจำวัน
และจำเป็นต้องพึ่งพาผู้อื่น การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุ ส่งผลกระทบต่อร่างกายมากกว่าคนทั่วไป
เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดสมองตีบมากกว่าคนทั่วไป 8 เท่า
และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบมากกว่าคนทั่วไป 10 เท่า
โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจที่พบบ่อยและมักจะมีการระบาดช่วงฤดูฝน
อาการไข้หวัดใหญ่ ที่พบทั่วไปคือ เป็นไข้ ไอ ปวดเมื่อยตามตัว ในผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงจะหายเองในเวลา 3-5 วัน
แต่ในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง
โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน มักมีความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงถึงขั้นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
ในผู้ที่เป็นเบาหวาน จะมีระดับน้ำตาลผิดปกติ ถึง 75 % หากมีการติดเชื้อผู้สูงอายุมีโอกาสเสียชีวิตได้ถึง 50 %
หลังจากเป็นไข้หวัดใหญ่ ผู้สูงอายุจะสูญเสียความสามารถในการดูแลตนเองถึง 23 %
สาเหตุหลักที่ทำให้ ผู้สูงอายุที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและเสียชีวิตเพิ่มขึ้น
1.ภาวะภูมิคุ้มกันเสื่อมถอย (Immunosenescence)
ผู้สูงอายุมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อจากแบคทีเรีย เชื้อรา หรือไวรัส
ภาวะร่างกายเสื่อมถอยและสูญเสียความสมดุลก็จะเกิดการอักเสบรุนแรง ซึ่งเป็นกระบวนการของระบบภูมิคุ้มกัน
ที่เกิดขึ้นจนไม่สามารถยับยั้งและเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้
2.โรคประจำตัวที่รักษาไม่หายขาด (Underlying disease)
ผู้สูงอายุและผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคไต เบาหวาน และโรคมะเร็ง หากพบการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่
มีความเสี่ยงสูงที่จะพบอาการแทรกซ้อน เช่น ติดเชื้อไซนัสหรือหลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ
บางรายมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
3.ภาวะเปราะบางและความอ่อนแอในผู้สูงอายุ (Frailty)
ภาวะเปราะบางไม่ใช่โรค แต่เป็นภาวะหนึ่งของร่างกายซึ่งอยู่ระหว่างกลางของความสามารถในการทำงานได้กับภาวะไร้ความสามารถ
และอยู่ระหว่างความมีสุขภาพดีกับความเป็นโรค นับเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญและพบบ่อยในผู้สูงอายุ
เมื่อผู้สูงอายุติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ พบว่า 10% ของผู้สูงอายุจะสูญเสียความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองด้านกิจวัตรประจำวัน
และจำเป็นต้องพึ่งพาผู้อื่น รวมทั้ง 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุที่นอนโรงพยาบาลยังไม่สามารถกลับมาทำกิจกรรมได้ตามปกติภายใน 1 ปี
โรคไข้หวัดใหญ่ ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนเป็นประจำทุกปี เนื่องจากเชื้อโรคมีการเปลี่ยนแปลงและกลายพันธุ์อยู่เสมอ
โดยในแต่ละปีวัคซีนจะถูกปรับให้เหมาะสมกับเชื้อที่ระบาดในช่วงเวลานั้น
เมื่อป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่บางคนอาจมีอาการรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป
ลักษณะเช่นนี้มักพบในเด็กเล็ก ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป หญิงตั้งครรภ์และผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ
เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคไต หรือระบบภูมิต้านทานต่ำ
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มคนเหล่านี้รวมถึงผู้ใกล้ชิด
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ชนิด High-Dose
เป็นวัคซีนเชื้อตายที่มีข้อบ่งใช้สำหรับการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
และภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคปอดอักเสบในโรงพยาบาล
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดปกติ เป็นเวลามากกว่า 10 ปี ในผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
เพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันไข้หวัดใหญ่ มากกว่าวัคซีนขนาดปกติถึง 24%
มีปริมาณแอนติเจนในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เพิ่มขึ้น 4 เท่า
ทั้งยังสามารถลดอัตราการนอนโรงพยาบาลจากโรคแทรกซ้อนอื่นๆ
การปฏิบัติตัวและอาการข้างเคียงหลังได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุ
หลังจากผู้สูงอายุฉีดวัคซีนแล้ว ควรนั่งหรือนอนพัก ประมาณ 15-30 นาที ที่โรงพยาบาลเพื่อสังเกตอาการแพ้
หรืออาการข้างเคียงอื่น วัคซีนที่ใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่มีความปลอดภัยสูง แต่ยังคงพบอาการข้างเคียงได้บ้าง
ซึ่งส่วนใหญ่ไม่รุนแรงและยอมรับได้ โดยอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังจากได้รับการฉีดวัคซีน
ได้แก่ ระบม แดง หรือบวมบริเวณที่ฉีด มีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีอาการปวดศีรษะ คัน หรือ อ่อนเพลีย เป็นต้น
โดยปัญหาเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นไม่นานหลังฉีดและควรหายเองภายใน 3 วัน
ไข้หวัดใหญ่สามารถหายเองได้หากดูแลตัวเอง พักผ่อนให้เพียงพอ แต่ถ้าเริ่มมีอาการไข้สูง
หายใจเหนื่อยหอบ แน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน ทานอาหารไม่ได้ ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย
โดยนำตัวอย่างของเหลวจากจมูกหรือลำคอของคนไข้ไปตรวจหาชนิดของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่และรักษาโดยเร่งด่วน
ในผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว การปล่อยให้เชื้อไข้หวัดใหญ่อยู่ในร่างกายเป็นเวลานาน
สามารถเพิ่มความเสี่ยงเกิดโรคแทรกซ้อน อีกทั้งเพิ่มระดับความรุนแรงของโรคให้มากขึ้นค่ะ
ความรู้เพิ่มเติม
https://www.thonburihospital.com/package/flu-highdose/
https://www.youtube.com/watch?v=UH_JiUO77Zc