อิสราเอลส่งรถถังรุกถึงใจกลางเมืองข่านยูนิส ฐานที่มั่นกลุ่มฮามาส
https://www.pptvhd36.com/news/ต่างประเทศ/212242
รถถังของกองทัพอิสราเอลสามารถรุกถึงใจกลางเมืองข่าน ยูนิส เมืองหลักทางตอนใต้ของฉนวนกาซา ซึ่งเป็นอีกหนึ่งฐานที่มั่นสำคัญของกลุ่มฮามาส
ประชาชนในพื้นที่ระบุว่าขบวนรถถังของกองทัพป้องกันอิสราเอลหรือ IDF ได้เคลื่อนที่ถึงถนนสายหลักใจกลางเมืองข่าน ยูนิสที่เชื่อมตอนใต้และตอนเหนือของฉวนกาซา หลังจากการสู้รบอย่างดุเดือดตลอดทั้งคืนทำให้ทหารอิสราเอลต้องเคลื่อนทัพจากฝั่งตะวันออกอย่างช้าๆ โดยในช่วงเช้ายังคงมีเสียงปืนกลดังขึ้นเป็นระยะๆ ท่ามกลางปฏิบัติการโจมตีทางอากาศในเมืองข่านยูนิสยังคงดำเนินต่อไป
นอกจากนี้ กองทัพอิสราเอลยังสั่งให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของเมืองข่าน ยูนิส อพยพไปยังอัล-มาวาซี ซึ่งเป็นพื้นที่ขนาด 20 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่บริเวณแถบชายฝั่งและมีอาคารหรือสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงน้อยนิด
พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่เปิดโล่ง แต่มีผู้คนจำนวนมากหลั่งไหลอพยพหนีสงครามไป แม้ก่อนหน้านี้หน่วยงานด้านมนุษยธรรมจะออกคำเตือนว่าพื้นที่นั้นไม่สามารถทำหน้าที่เป็นพื้นที่ปลอดภัยได้ จนกว่าทุกฝ่ายจะให้คำมั่นว่าจะไม่สู้รบกันที่นั่น
สำหรับเมืองข่าน ยูนิส ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของฉนวนกาซาตอนใต้ และเมืองใหญ่อันดับ 2 รองจากกาซา ซิตี ตกเป็นเป้าหมายหลักของกองทัพอิสราเอลหลังจากข้อตกลงพักรบกับกลุ่มฮามาสสิ้นสุดลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
โดยทหารราบอิสราเอลได้รุกคืบถึงใจกลางเมืองดังกล่าวตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งกองทัพอิสราเอลเชื่อว่าแกนนำกลุ่มฮามาสที่หลบหนีออกจากตอนเหนือของฉนวนกาซาได้ใช้เมืองข่านยูนิสเป็นสถานที่ซ่อนตัว รวมทั้งนำตัวประกันมาควบคุมไว้ในพื้นที่ดังกล่าว
ส่วนความคืบหน้าการช่วยเหลือตัวประกัน นายกรัฐมนตรี
โมฮัมเหม็ด บิน อับดุลราห์มาน อัล ทานี (Mohammed bin Abdulrahman al-Thani) ของกาตาร์เตือนว่าการโจมตีฉนวนกาซาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจะทำให้ความพยายามเจรจาปล่อยผู้ที่ถูกกลุ่มฮามาสจับตัวไว้มีโอกาสประสบความสำเร็จน้อยลงไปเรื่อยๆ
โดย นายกรัฐมนตรี
อัล ทานี ยืนยันว่า กาตาร์ยังคงทำงานอย่างเต็มที่เพื่อทำให้ตัวประกันได้รับอิสระ รวมทั้งหาทางยุติการสู้รบระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาด้วย แต่ยังไม่เห็นความตั้งใจจากทั้งสองฝ่าย
นาย
คาร์ล สเคา รองผู้อำนวยการโรงการอาหารโลกแห่งสหประชาชาติ เปิดเผยในวันที่ 9 ธ.ค. 2566 ว่า ตอนนี้ประชากรกว่าครึ่งในฉนวนกาซา กำลังเผชิญภาวะอดอยาก ชาวกาซาถึง 9 ใน 10 ครอบครัวต้องอดหลายมื้อกว่าจะได้กิน 1 มื้อ ขณะที่การส่งเสบียงอาหารก็ทำได้อย่างยากลำบาก
โดยนับตั้งแต่สงครามเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 7 ต.ค. ฉนวนกาซาได้ถูกปิดล้อมทุกด้าน มีเพียงด่านราฟาห์ที่เชื่อมต่อกับอียิปต์ที่ยังเปิดอยู่ และส่งเสบียงอาหารในปริมาณจำกัดเข้าสู่กาซาได้ แต่ปริมาณอาหารที่ถูกส่งเข้าสู่กาซาในช่วงที่ผ่านมา มีสัดส่วนเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณความต้องการและสถานการณ์ในกาซาขณะนี้นี้ทำให้แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่เสบียงอาหารจะถูกส่งเข้ามา
ชัยธวัช ชี้ สภาฯ มีอำนาจแก้ม.256 อย่าเพิ่มภาระให้ศาลรธน. ย้ำ ควรทำประชามติตั้งแต่แรก
https://www.matichon.co.th/politics/news_4325332
‘ชัยธวัช’ มอง ขอความเห็นศาลรธน. ปม ‘เพื่อไทย’ อาจชงแก้ม.256 แค่เพิ่มความชัดเจน แต่เสียเวลา ชี้ อย่าทำให้ศาลฯ เป็นทุกอย่าง ย้ำ สภาฯ มีอำนาจโดยสมบูรณ์อยู่แล้ว ยัน ควรทำประชามติตั้งแต่ครั้งแรก หวังใช้เสียงปชช.ปลดล็อก ส.ว.
เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม นาย
ชัยธวัช ตุลาธน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) กล่าวถึงแนวทางที่พรรคเพื่อไทย (พท.) อาจจะมีการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ขัดกับคำวินิจฉัยเดิมเพื่อหาช่องถามศาลรัฐธรรมนูญ ในฐานะฝ่ายค้านสนับสนุนแนวทางนี้ หรือมีมุมมองอย่างไรบ้าง ว่า จุดยืนของพรรค ก.ก. เราเห็นว่า สภาฯ มีอำนาจโดยสมบูรณ์ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 ให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้วินิจฉัยว่าต้องทำ แต่แนะนำให้ทำประชามติก่อน
นาย
ชัยธวัช กล่าวต่อว่า ข้อเสนอของพรรค ก.ก. เราเสนอให้ทำประชามติตั้งแต่แรก ไม่ใช่เพราะเราเห็นว่าต้องทำตามการตีความ หรือคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แต่เราคิดว่ามีประโยชน์ในทางการเมือง ไม่ต้องไปเสียเวลา ทำจนติดขั้นของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่จะทำให้เสียโอกาส อย่าลืมว่า หากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 จะต้องผ่านเสียง 1 ใน 3 ของ ส.ว.ด้วย ซึ่งที่ผ่านมา ส.ว. ก็มีจุดยืนชัดว่า ถ้าจะแก้ไขทั้งฉบับ หรือแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 266 ให้มี ส.ส.ร. มาทำใหม่ทั้งฉบับ ควรจะต้องทำประชามติ
นาย
ชัยธวัช กล่าวอีกว่า อีกหนึ่งมิติที่สำคัญ คือ เราสามารถใช้โอกาสในการทำประชามติครั้งแรก เพื่อหาฉันทามติร่วมกันของประชาชนได้ว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยหรือไม่ เพื่อสร้างความชอบธรรมทางการเมืองกับข้อเสนอที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มี ส.ส.ร. ส่วนประเด็นที่ยังมีความคิดเห็นแตกต่างกันในสังคม ก็สามารถใส่เข้าไปเป็นคำถามพ่วงของประชามติได้ เพื่อหาข้อยุติในความเห็นที่แตกต่างกัน ตามกระบวนการประชาธิปไตย สิ่งนี้ก็มีข้อดีของมัน
ผู้สื่อข่าวถามถึงข้อกังวลจากฝ่ายรัฐบาล ต่อคำถามพ่วงที่พรรค ก.ก. เสนอ จะสามารถหาข้อยุติได้อย่างไร นาย
ชัยธวัช กล่าวว่า เรื่องที่ควรมีคำถามพ่วง มาจากจุดยืนกับข้อเสนอของพรรค ก.ก. ที่เราอยากเห็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จริง ๆ เราจึงไม่อยากให้ออกแบบคำถามหลักในการถามประชามติ ที่ใส่เงื่อนไขยิบย่อย จนทำให้ประชาชนที่เห็นด้วยกับการทำธรรมนูญฉบับใหม่ แต่ไม่เห็นด้วยกับคำถามยิบย่อย มาโหวตไม่เห็นด้วย หรือโหวตไม่ประสงค์ลงคะแนน ดังนั้น คำถามหลักจึงควรเป็นคำถามที่กว้าง และมีจุดร่วมมากที่สุด ส่วนประเด็นที่ยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ก็ให้มาถามที่คำถามย่อย แต่จะถามอะไรบ้าง ตนคิดว่ายังมีเวลาที่จะหารือกัน
เมื่อถามว่า การที่พรรค พท. เปิดให้ศาลรัฐธรรมนูญเข้ามามีบทบาทในส่วนนี้ จะดูเหมือนการเตะถ่วง หรือดูไม่จริงใจ กับการแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ นาย
ชัยธวัช กล่าวว่า เราอาจมองได้ว่า การไปถามศาลรัฐธรรมนูญก่อนเป็นการเพิ่มความชัดเจน ให้กับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็ได้ อย่าไปมองมิติเดียว แต่อาจจะทำให้ใช้เวลามากจนเกินไป ซึ่งตนคิดว่า ต้องอย่าไปทำให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นทุกอย่าง เป็นเจ้าของรัฐธรรมนูญ เพราะเราใช้คำวินิจฉัยของเราเองได้ แต่ประเด็นสำคัญ คือ การหาแนวทางที่จะทำให้เราได้รับเสียง ส.ว. เกิน 1 ใน 3 ได้อย่างไร ซึ่งเราสามารถใช้เสียงของพี่น้องประชาชนส่วนใหญ่ในการทำประชามติครั้งแรก เพื่อให้ ส.ว. ยอมรับได้
‘ชัยธวัช’ จ่อประชุม-ทำงานใกล้ชิดพรรคร่วมฝ่ายค้าน หลัง ปชป.ได้หัวหน้าพรรค
https://www.matichon.co.th/politics/news_4325334
‘ชัยธวัช’ จ่อประชุม-ทำงานใกล้ชิดพรรคร่วมฝ่ายค้าน หลัง ปชป.ได้หัวหน้าพรรค เผยจะอภิปรายทั่วไป-ไม่ไว้วางใจหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเนื้อหา-ความพร้อม คาดพิจารณางบปี 67 เสร็จช่วง มี.ค. ก่อนปิดสมัย
เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม นาย
ชัยธวัช ตุลาธน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) กล่าวถึงการหารือกันระหว่างพรรคฝ่ายค้านในการอภิปราย เมื่อเปิดสมัยประชุมสภา เนื่องจากพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ได้หัวหน้าพรรคคนใหม่แล้วว่า เมื่อสภาเปิดสมัยประชุมในสัปดาห์หน้า พรรคฝ่ายค้านคงมีการคุยกันใกล้ชิดมากขึ้น เดิมจากสมัยประชุมที่แล้ว เราได้มีการประชุมอย่างไม่เป็นทางการร่วมกัน ซึ่งก็คิดว่าต้องรอกระบวนการโปรดเกล้าฯ ผู้นำฝ่ายค้าน ซึ่งเมื่อได้ผู้นำฝ่ายค้านชัดเจนอย่างเป็นทางการ ก็ควรมีการประชุมพรรคร่วมฝ่ายค้านอย่างเป็นทางการด้วย ในขณะนี้กระบวนการโปรดเกล้าฯ ยังไม่เรียบร้อย แต่การทำงานในสภาต้องเริ่มแล้ว
เมื่อถามว่า พรรค ปชป. ได้นาย
เฉลิมชัย ศรีอ่อน เป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ จะทำให้การหารือกันง่ายขึ้นหรือไม่ นาย
ชัยธวัชกล่าวว่า ก็คงเหมือนเดิม ไม่ว่าหัวหน้าพรรคจะเป็นใคร
เมื่อถามว่า หัวหน้าพรรค ปชป.คนใหม่ดูจะเป็นอุปสรรคสำหรับการทำงานของฝ่ายค้านหรือไม่ เนื่องจากมีกระแสข่าวว่าพรรค ปชป.กำลังหาช่องที่จะไปร่วมรัฐบาล นายชัยธวัชกล่าวว่า การทำงานร่วมกันต้องให้เกียรติกัน ถ้าเรามัวแต่ไม่ไว้วางใจต่อกันโดยไม่จำเป็น คงไม่สร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดีร่วมกัน
เมื่อถามว่า เนื่องจากการเปิดสมัยประชุมสภาที่จะถึงนี้ จะเป็นสมัยประชุมสุดท้ายของปีนี้ ฝ่ายค้านเตรียมการไว้สำหรับการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ หรือการเปิดอภิปรายทั่วไปในช่วงเวลาใด นาย
ชัยธวัชกล่าวว่า ในช่วงต้นที่สภาเปิด คงให้ความสำคัญกับการพิจารณากฎหมาย ทั้งร่างกฎหมายของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ร่างกฎหมายที่พรรคการเมืองต่างๆ และร่างกฎหมายที่ประชาชนเสนอเข้ามา เนื่องจากสภาสมัยที่แล้ว ไม่ได้พิจารณาร่างกฎหมายเลย ขณะนี้มีร่างกฎหมายหลายฉบับที่จ่อเข้าอยู่ รวมถึงของรัฐบาลด้วย
นอกจากนี้ ยังมีวาระสำคัญในการพิจารณาวาระสำคัญในร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 โดยเมื่อพิจารณา พ.ร.บ.งบประมาณ ซึ่งคาดว่าน่าจะเสร็จภายในช่วงเดือน มี.ค. 67 ก่อนที่จะมีการปิดสมัยประชุมอีกครั้ง ก็น่าจะทำให้เรามีเวลาในการอภิปรายใหญ่ได้ แต่จะเป็นการอภิปรายทั่วไป แบบไม่ลงมติ หรือเป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจ คงจะมีการหารือกับพรรคร่วมฝ่ายค้านอีกครั้ง ขึ้นอยู่กับเนื้อหา ข้อเท็จจริง ข้อมูล ในการทำงานของฝ่ายค้านว่ามีความพร้อมมากน้อยเพียงใด
เมื่อถามว่า จำเป็นหรือไม่ ที่จะต้องมีการใช้สิทธิของฝ่ายค้านในการอภิปราย หรือหากไม่มีประเด็นก็ไม่เปิดอภิปราย นาย
ชัยธวัชกล่าวว่า เอาเนื้อหาเป็นหลัก ส่วนประเด็นที่จะเปิดอภิปรายนั้น ยังต้องใช้เวลา แต่ในฐานะฝ่ายค้านก็ควรจะใช้โอกาสในสภา ตรวจสอบถ่วงดุลการทำงานของฝ่ายบริหารให้เป็นประโยชน์ที่สุดกับพี่น้องประชาชน
JJNY : รุกถึงใจกลางข่านยูนิส│ชัยธวัชชี้สภาฯมีอำนาจแก้ม.256│‘ชัยธวัช’ จ่อประชุม-ทำงาน│เปิดผลวิจัยสุดช็อก! ‘มะเร็งปอด’หนัก
https://www.pptvhd36.com/news/ต่างประเทศ/212242
รถถังของกองทัพอิสราเอลสามารถรุกถึงใจกลางเมืองข่าน ยูนิส เมืองหลักทางตอนใต้ของฉนวนกาซา ซึ่งเป็นอีกหนึ่งฐานที่มั่นสำคัญของกลุ่มฮามาส
ประชาชนในพื้นที่ระบุว่าขบวนรถถังของกองทัพป้องกันอิสราเอลหรือ IDF ได้เคลื่อนที่ถึงถนนสายหลักใจกลางเมืองข่าน ยูนิสที่เชื่อมตอนใต้และตอนเหนือของฉวนกาซา หลังจากการสู้รบอย่างดุเดือดตลอดทั้งคืนทำให้ทหารอิสราเอลต้องเคลื่อนทัพจากฝั่งตะวันออกอย่างช้าๆ โดยในช่วงเช้ายังคงมีเสียงปืนกลดังขึ้นเป็นระยะๆ ท่ามกลางปฏิบัติการโจมตีทางอากาศในเมืองข่านยูนิสยังคงดำเนินต่อไป
นอกจากนี้ กองทัพอิสราเอลยังสั่งให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของเมืองข่าน ยูนิส อพยพไปยังอัล-มาวาซี ซึ่งเป็นพื้นที่ขนาด 20 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่บริเวณแถบชายฝั่งและมีอาคารหรือสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงน้อยนิด
พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่เปิดโล่ง แต่มีผู้คนจำนวนมากหลั่งไหลอพยพหนีสงครามไป แม้ก่อนหน้านี้หน่วยงานด้านมนุษยธรรมจะออกคำเตือนว่าพื้นที่นั้นไม่สามารถทำหน้าที่เป็นพื้นที่ปลอดภัยได้ จนกว่าทุกฝ่ายจะให้คำมั่นว่าจะไม่สู้รบกันที่นั่น
สำหรับเมืองข่าน ยูนิส ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของฉนวนกาซาตอนใต้ และเมืองใหญ่อันดับ 2 รองจากกาซา ซิตี ตกเป็นเป้าหมายหลักของกองทัพอิสราเอลหลังจากข้อตกลงพักรบกับกลุ่มฮามาสสิ้นสุดลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
โดยทหารราบอิสราเอลได้รุกคืบถึงใจกลางเมืองดังกล่าวตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งกองทัพอิสราเอลเชื่อว่าแกนนำกลุ่มฮามาสที่หลบหนีออกจากตอนเหนือของฉนวนกาซาได้ใช้เมืองข่านยูนิสเป็นสถานที่ซ่อนตัว รวมทั้งนำตัวประกันมาควบคุมไว้ในพื้นที่ดังกล่าว
ส่วนความคืบหน้าการช่วยเหลือตัวประกัน นายกรัฐมนตรี โมฮัมเหม็ด บิน อับดุลราห์มาน อัล ทานี (Mohammed bin Abdulrahman al-Thani) ของกาตาร์เตือนว่าการโจมตีฉนวนกาซาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจะทำให้ความพยายามเจรจาปล่อยผู้ที่ถูกกลุ่มฮามาสจับตัวไว้มีโอกาสประสบความสำเร็จน้อยลงไปเรื่อยๆ
โดย นายกรัฐมนตรี อัล ทานี ยืนยันว่า กาตาร์ยังคงทำงานอย่างเต็มที่เพื่อทำให้ตัวประกันได้รับอิสระ รวมทั้งหาทางยุติการสู้รบระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาด้วย แต่ยังไม่เห็นความตั้งใจจากทั้งสองฝ่าย
นายคาร์ล สเคา รองผู้อำนวยการโรงการอาหารโลกแห่งสหประชาชาติ เปิดเผยในวันที่ 9 ธ.ค. 2566 ว่า ตอนนี้ประชากรกว่าครึ่งในฉนวนกาซา กำลังเผชิญภาวะอดอยาก ชาวกาซาถึง 9 ใน 10 ครอบครัวต้องอดหลายมื้อกว่าจะได้กิน 1 มื้อ ขณะที่การส่งเสบียงอาหารก็ทำได้อย่างยากลำบาก
โดยนับตั้งแต่สงครามเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 7 ต.ค. ฉนวนกาซาได้ถูกปิดล้อมทุกด้าน มีเพียงด่านราฟาห์ที่เชื่อมต่อกับอียิปต์ที่ยังเปิดอยู่ และส่งเสบียงอาหารในปริมาณจำกัดเข้าสู่กาซาได้ แต่ปริมาณอาหารที่ถูกส่งเข้าสู่กาซาในช่วงที่ผ่านมา มีสัดส่วนเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณความต้องการและสถานการณ์ในกาซาขณะนี้นี้ทำให้แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่เสบียงอาหารจะถูกส่งเข้ามา
ชัยธวัช ชี้ สภาฯ มีอำนาจแก้ม.256 อย่าเพิ่มภาระให้ศาลรธน. ย้ำ ควรทำประชามติตั้งแต่แรก
https://www.matichon.co.th/politics/news_4325332
‘ชัยธวัช’ มอง ขอความเห็นศาลรธน. ปม ‘เพื่อไทย’ อาจชงแก้ม.256 แค่เพิ่มความชัดเจน แต่เสียเวลา ชี้ อย่าทำให้ศาลฯ เป็นทุกอย่าง ย้ำ สภาฯ มีอำนาจโดยสมบูรณ์อยู่แล้ว ยัน ควรทำประชามติตั้งแต่ครั้งแรก หวังใช้เสียงปชช.ปลดล็อก ส.ว.
เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม นายชัยธวัช ตุลาธน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) กล่าวถึงแนวทางที่พรรคเพื่อไทย (พท.) อาจจะมีการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ขัดกับคำวินิจฉัยเดิมเพื่อหาช่องถามศาลรัฐธรรมนูญ ในฐานะฝ่ายค้านสนับสนุนแนวทางนี้ หรือมีมุมมองอย่างไรบ้าง ว่า จุดยืนของพรรค ก.ก. เราเห็นว่า สภาฯ มีอำนาจโดยสมบูรณ์ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 ให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้วินิจฉัยว่าต้องทำ แต่แนะนำให้ทำประชามติก่อน
นายชัยธวัช กล่าวต่อว่า ข้อเสนอของพรรค ก.ก. เราเสนอให้ทำประชามติตั้งแต่แรก ไม่ใช่เพราะเราเห็นว่าต้องทำตามการตีความ หรือคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แต่เราคิดว่ามีประโยชน์ในทางการเมือง ไม่ต้องไปเสียเวลา ทำจนติดขั้นของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่จะทำให้เสียโอกาส อย่าลืมว่า หากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 จะต้องผ่านเสียง 1 ใน 3 ของ ส.ว.ด้วย ซึ่งที่ผ่านมา ส.ว. ก็มีจุดยืนชัดว่า ถ้าจะแก้ไขทั้งฉบับ หรือแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 266 ให้มี ส.ส.ร. มาทำใหม่ทั้งฉบับ ควรจะต้องทำประชามติ
นายชัยธวัช กล่าวอีกว่า อีกหนึ่งมิติที่สำคัญ คือ เราสามารถใช้โอกาสในการทำประชามติครั้งแรก เพื่อหาฉันทามติร่วมกันของประชาชนได้ว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยหรือไม่ เพื่อสร้างความชอบธรรมทางการเมืองกับข้อเสนอที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มี ส.ส.ร. ส่วนประเด็นที่ยังมีความคิดเห็นแตกต่างกันในสังคม ก็สามารถใส่เข้าไปเป็นคำถามพ่วงของประชามติได้ เพื่อหาข้อยุติในความเห็นที่แตกต่างกัน ตามกระบวนการประชาธิปไตย สิ่งนี้ก็มีข้อดีของมัน
ผู้สื่อข่าวถามถึงข้อกังวลจากฝ่ายรัฐบาล ต่อคำถามพ่วงที่พรรค ก.ก. เสนอ จะสามารถหาข้อยุติได้อย่างไร นายชัยธวัช กล่าวว่า เรื่องที่ควรมีคำถามพ่วง มาจากจุดยืนกับข้อเสนอของพรรค ก.ก. ที่เราอยากเห็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จริง ๆ เราจึงไม่อยากให้ออกแบบคำถามหลักในการถามประชามติ ที่ใส่เงื่อนไขยิบย่อย จนทำให้ประชาชนที่เห็นด้วยกับการทำธรรมนูญฉบับใหม่ แต่ไม่เห็นด้วยกับคำถามยิบย่อย มาโหวตไม่เห็นด้วย หรือโหวตไม่ประสงค์ลงคะแนน ดังนั้น คำถามหลักจึงควรเป็นคำถามที่กว้าง และมีจุดร่วมมากที่สุด ส่วนประเด็นที่ยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ก็ให้มาถามที่คำถามย่อย แต่จะถามอะไรบ้าง ตนคิดว่ายังมีเวลาที่จะหารือกัน
เมื่อถามว่า การที่พรรค พท. เปิดให้ศาลรัฐธรรมนูญเข้ามามีบทบาทในส่วนนี้ จะดูเหมือนการเตะถ่วง หรือดูไม่จริงใจ กับการแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ นายชัยธวัช กล่าวว่า เราอาจมองได้ว่า การไปถามศาลรัฐธรรมนูญก่อนเป็นการเพิ่มความชัดเจน ให้กับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็ได้ อย่าไปมองมิติเดียว แต่อาจจะทำให้ใช้เวลามากจนเกินไป ซึ่งตนคิดว่า ต้องอย่าไปทำให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นทุกอย่าง เป็นเจ้าของรัฐธรรมนูญ เพราะเราใช้คำวินิจฉัยของเราเองได้ แต่ประเด็นสำคัญ คือ การหาแนวทางที่จะทำให้เราได้รับเสียง ส.ว. เกิน 1 ใน 3 ได้อย่างไร ซึ่งเราสามารถใช้เสียงของพี่น้องประชาชนส่วนใหญ่ในการทำประชามติครั้งแรก เพื่อให้ ส.ว. ยอมรับได้
‘ชัยธวัช’ จ่อประชุม-ทำงานใกล้ชิดพรรคร่วมฝ่ายค้าน หลัง ปชป.ได้หัวหน้าพรรค
https://www.matichon.co.th/politics/news_4325334
‘ชัยธวัช’ จ่อประชุม-ทำงานใกล้ชิดพรรคร่วมฝ่ายค้าน หลัง ปชป.ได้หัวหน้าพรรค เผยจะอภิปรายทั่วไป-ไม่ไว้วางใจหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเนื้อหา-ความพร้อม คาดพิจารณางบปี 67 เสร็จช่วง มี.ค. ก่อนปิดสมัย
เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม นายชัยธวัช ตุลาธน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) กล่าวถึงการหารือกันระหว่างพรรคฝ่ายค้านในการอภิปราย เมื่อเปิดสมัยประชุมสภา เนื่องจากพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ได้หัวหน้าพรรคคนใหม่แล้วว่า เมื่อสภาเปิดสมัยประชุมในสัปดาห์หน้า พรรคฝ่ายค้านคงมีการคุยกันใกล้ชิดมากขึ้น เดิมจากสมัยประชุมที่แล้ว เราได้มีการประชุมอย่างไม่เป็นทางการร่วมกัน ซึ่งก็คิดว่าต้องรอกระบวนการโปรดเกล้าฯ ผู้นำฝ่ายค้าน ซึ่งเมื่อได้ผู้นำฝ่ายค้านชัดเจนอย่างเป็นทางการ ก็ควรมีการประชุมพรรคร่วมฝ่ายค้านอย่างเป็นทางการด้วย ในขณะนี้กระบวนการโปรดเกล้าฯ ยังไม่เรียบร้อย แต่การทำงานในสภาต้องเริ่มแล้ว
เมื่อถามว่า พรรค ปชป. ได้นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ จะทำให้การหารือกันง่ายขึ้นหรือไม่ นายชัยธวัชกล่าวว่า ก็คงเหมือนเดิม ไม่ว่าหัวหน้าพรรคจะเป็นใคร
เมื่อถามว่า หัวหน้าพรรค ปชป.คนใหม่ดูจะเป็นอุปสรรคสำหรับการทำงานของฝ่ายค้านหรือไม่ เนื่องจากมีกระแสข่าวว่าพรรค ปชป.กำลังหาช่องที่จะไปร่วมรัฐบาล นายชัยธวัชกล่าวว่า การทำงานร่วมกันต้องให้เกียรติกัน ถ้าเรามัวแต่ไม่ไว้วางใจต่อกันโดยไม่จำเป็น คงไม่สร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดีร่วมกัน
เมื่อถามว่า เนื่องจากการเปิดสมัยประชุมสภาที่จะถึงนี้ จะเป็นสมัยประชุมสุดท้ายของปีนี้ ฝ่ายค้านเตรียมการไว้สำหรับการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ หรือการเปิดอภิปรายทั่วไปในช่วงเวลาใด นายชัยธวัชกล่าวว่า ในช่วงต้นที่สภาเปิด คงให้ความสำคัญกับการพิจารณากฎหมาย ทั้งร่างกฎหมายของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ร่างกฎหมายที่พรรคการเมืองต่างๆ และร่างกฎหมายที่ประชาชนเสนอเข้ามา เนื่องจากสภาสมัยที่แล้ว ไม่ได้พิจารณาร่างกฎหมายเลย ขณะนี้มีร่างกฎหมายหลายฉบับที่จ่อเข้าอยู่ รวมถึงของรัฐบาลด้วย
นอกจากนี้ ยังมีวาระสำคัญในการพิจารณาวาระสำคัญในร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 โดยเมื่อพิจารณา พ.ร.บ.งบประมาณ ซึ่งคาดว่าน่าจะเสร็จภายในช่วงเดือน มี.ค. 67 ก่อนที่จะมีการปิดสมัยประชุมอีกครั้ง ก็น่าจะทำให้เรามีเวลาในการอภิปรายใหญ่ได้ แต่จะเป็นการอภิปรายทั่วไป แบบไม่ลงมติ หรือเป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจ คงจะมีการหารือกับพรรคร่วมฝ่ายค้านอีกครั้ง ขึ้นอยู่กับเนื้อหา ข้อเท็จจริง ข้อมูล ในการทำงานของฝ่ายค้านว่ามีความพร้อมมากน้อยเพียงใด
เมื่อถามว่า จำเป็นหรือไม่ ที่จะต้องมีการใช้สิทธิของฝ่ายค้านในการอภิปราย หรือหากไม่มีประเด็นก็ไม่เปิดอภิปราย นายชัยธวัชกล่าวว่า เอาเนื้อหาเป็นหลัก ส่วนประเด็นที่จะเปิดอภิปรายนั้น ยังต้องใช้เวลา แต่ในฐานะฝ่ายค้านก็ควรจะใช้โอกาสในสภา ตรวจสอบถ่วงดุลการทำงานของฝ่ายบริหารให้เป็นประโยชน์ที่สุดกับพี่น้องประชาชน