JJNY : ‘ทายาทปรีดี’ร่ายที่มารธน.│มุนินทร์ชี้รธน.60 ‘เป็นโมฆะ’│อีคอนไทยชี้เศรษฐาค้านแค่เล่นการเมือง│สังหารฮามาสกว่า7,000

ทายาทปรีดี’ ร่ายที่มา รธน.ฉบับแรก ถึง รธน.ฉบับรัฐประหาร ทำ ปชต.ลุ่มๆ ดอนๆ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4324786

‘ทายาทปรีดี’ ร่ายที่มา รธน.ฉบับแรก ถึง รธน.ฉบับรัฐประหาร ทำ ปชต.ลุ่มๆ ดอนๆ
 
ทายาทปรีดี พนมยงค์’ ร่ายที่มารัฐธรรมนูญฉบับแรก จนมีรัฐธรรมนูญฉบับรัฐประหาร ต้นแบบรัฐธรรมนูญฉบับอื่น ทำประชาธิปไตยปัจจุบันลุ่มๆ ดอนๆ ขอผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เคารพเจตจำนงปฐมรัฐธรรมนูญ-ผลักดันให้เกิดรัฐธรรมนูญของประชาชน เพื่อประชาชนอย่างแท้จริง
 
เมื่อเวลา 14.55 น. วันที่ 10 ธันวาคม ที่รัฐสภา มีการจัดงานวันเฉลิมรัฐธรรมนูญประจำปี 2566 “ร่วมก้าวย่างบนประชาธิปไตย สู่เส้นชัยรัฐธรรมนูญ” ช่วงหนึ่งนายปรีดีวิชญ์ พนมยงค์ ทายาท นายปรีดี พนมยงค์ กล่าวในหัวข้อความสำคัญของวันรัฐธรรมนูญ บทบาทของนายปรีดี ต่อการร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรก และความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ ตอนหนึ่งว่า วันนี้ตนรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับเชิญมาร่วมงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่รัฐสภาในปัจุบันให้ความสำคัญกับวันรัฐธรรมนูญ รวมถึงมีการจัดงานเหมือนที่เคยทำมาในอดีตครั้งแรกที่เรามีรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ในฐานะทายาทของผู้มีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับแรก ตนขอกล่าวความสำคัญของรัฐธรรมนูญเล็กน้อย เพราะได้ตั้งปณิธานไว้แล้วว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องการเมืองเนื่องจากไม่ถนัด แต่เมื่อ นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 ให้เกียรติเชิญมาร่วมงาน ตนจึงเห็นเป็นโอกาสดี และขอขอบคุณนายปดิพัทธ์ด้วย
 
นายปรีดีวิชญ์ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม หากจะพูดถึงความสำคัญของรัฐธรรมนูญนั้น ย้อนไปเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ที่มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยเป็นครั้งแรก โดยนายปรีดีซึ่งเป็นหนึ่งในคณะผู้ก่อการขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ รวมถึงเป็นหนึ่งในคณะอนุกรรมการที่มาจากคณะราษฎร ทำให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 10 ธันวาคม 2475 ขึ้นมาเป็นฉบับแรก แต่ก็มีหลายคนเข้าใจผิดถึงจุดประสงค์ในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนั้น จึงขอทำความเข้าใจว่าประชาธิปไตยนั้นหมายถึงการปกครองโดยราษฎร ดังที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของราษฎรทั้งหลาย ซึ่งทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายสูงสุดคือรัฐธรรมนูญ
 
นายปรีดีวิชญ์ กล่าวด้วยว่า คณะราษฎรได้ยึดหลักประกาศเป็นปฏิญญาพัฒนาชาติไทย ได้แก่ หลักเอกราช ความปลอดภัย ความสุขสมบูรณ์ทางเศรษฐกิจ ความเสมอภาค เสรีภาพ และการศึกษา จึงขอให้ทุกคนเข้าใจว่าเป็นธรรมดา ในช่วงที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ จำเป็นต้องมีบทเฉพาะกาลชั่วคราวที่ต้องเปลี่ยนระบบเก่าที่มีมาอย่างช้านาน ให้เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยเต็มที่นั้น จะต้องมีการดำเนินการไปทีละขั้น ไม่ใช่มีการสถาปนาแล้วจะสามารถทำให้สมบูรณ์ได้ ต่อมานายปรีดี และคณะราษฎรได้พยายามผลักดันให้เกิดสิทธิประชาธิปไตยอย่างเต็มที่แก่ปวงชนชาวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประสบผลสำเร็จในรัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 9 พฤษภาคม 2489 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ให้ความสำคัญให้การรับรองสิทธิเสรีภาพกับประชาชนมากที่สุด แต่ก็มีผลบังคับใช้ในระยะสั้น และมีการถูกยกเลิก พร้อมถูกแทนที่ด้วยรัฐธรรมนูญฉบับรัฐประหารในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2490 ซึ่งเป็นแม่บทให้รัฐธรรมนูญฉบับต่อๆ มาอีกหลายฉบับ
 
นายปรีดีวิชญ์ กล่าวด้วยว่า นี่เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ประชาธิปไตยไทยลุ่มๆ ดอนๆ เหมือนที่เป็นในปัจจุบัน ตนขอยกคำสอนของนายปรีดีในงานเขียนชิ้นหนึ่ง ที่กล่าวว่าชนรุ่นใหม่ที่สนใจระบบรัฐธรรมนูญของประเทศไทยควรนำรัฐธรรมนูญทุกฉบับมาเทียบกันดูให้ถี่ถ้วนว่าระบบรัฐธรรมนูญฉบับใดมีความเป็นประชาธิปไตยในความหมายของคำว่าประชาธิปไตย จริงหรือไม่เพียงใดขอให้ทุกท่านได้พิจารณาเพื่อจะได้เข้าใจถึงปัญหาและพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตย
 
ท้ายที่สุดแล้วผมในฐานะทายาทและประชาชนคน อยากให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในปัจจุบัน เคารพเจตจำนงของปฐมรัฐธรรมนูญในการสถาปนากฎหมายสูงสุดที่มุ่งคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทยอย่างเท่าเทียมกัน และผลักดันให้เกิดการสถาปนารัฐธรรมนูญของประชาชนเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง” นายปรีดีวิชญ์ กล่าว


 
มุนินทร์ ชี้ รธน.60 ‘เป็นโมฆะ’ มองปชช.คือ ‘ผู้เยาว์’ ยก 2 เรื่องประหลาดสร้างปัญหาร้ายแรง
https://www.matichon.co.th/politics/news_4324871

มุนินทร์ ชี้ รธน.60 ‘เป็นโมฆะ’ มองปชช.คือ ‘ผู้เยาว์’ ยก 2 เรื่องประหลาดสร้างปัญหาร้ายแรง
 
เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม เมื่อเวลา 14.00 น. ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ สถาบันปรีดี พนมยงค์ จัดกิจกรรม PRIDI Talks #23 x PBIC : รื้อ ร่าง สร้าง รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อประชาชน โดยมี วิทยากร ได้แก่ นายชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล, รศ.ดร.มุนินทร์ พงศาปาน อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์, ผศ.ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, รศ.ดร. นันทนา นันทวโรภาส คณบดีวิทยาลัยสื่อสารการเมือง ม.เกริก, นายนิกร จำนง โฆษกคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ, นายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผอ. โครงการอินเทอร์เนตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ไอลอว์ ดำเนินรายการ
 
ในตอนหนึ่ง รศ.ดร.มุนินทร์ กล่าวว่า เราจำเป็นต้องพูดถึงปัญหารัฐธรรมนูญฉบับ 2560 และเส้นทางที่นำไปสู่รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนอย่างแท้จริง จนกว่าจะได้รัฐธรรมนูญฉบับรัฐธรรมนูญของประชาชนอย่างแท้จริง ท่านอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ เคยพูดถึงความเป็นโมฆะของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2490 ส่วนรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน อาจารย์ปรีชา สุวรรณทัต เคยเขียนบทความไว้แล้วว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับโมฆะ
การจัดทำรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาเป็นผลผลิตของการศึกษารัฐธรรมนูญเปรียบเทียบจากหลายประเทศ เราน่าจะเป็นประเทศที่ศึกษารัฐธรรมนูญบ่อยที่สุด จนกระทั่งมีเรื่องประหลาด 2 เรื่อง ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 กล่าวคือ
 
เรื่องที่ 1 เราใช้กฎหมายเปรียบเทียบ ในทางรัฐธรรมนูญ เราไปดูกฎหมายรัฐธรรมนูญในต่างประเทศที่หลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญยุโรป อังกฤษ ฝรั่งเศส โดยลองผิดลองถูกหลายครั้ง
 
ในการจัดทำรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ในทางรัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นเรื่องแปลกใหม่มาก เป็นนวัตกรรมที่เกิดจากการศึกษารัฐธรรมนูญของหลายประเทศเป็นอย่างดี ศึกษาการผิดพลาดต่างๆ จนสามารถดีไซน์ระบบ เพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างที่ต้องการได้
 
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ยกตัวอย่าง การให้ ส.ว. มีอำนาจให้เลือกนายกรัฐมนตรีได้ หรือการทำให้องค์กรอิสระมีอำนาจมากมหาศาล สามารถวินิจฉัยทุกสรรพสิ่ง ทุกการกระทำในทางกฏหมายเพื่อขัดรัฐธรรมนูญได้
 
ถามว่าความเป็นจริงมันเป็นสิ่งใหม่หรือไม่ในการวินิจฉัยการกระทำเชิงกฎหมายว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็ไม่ได้ใหม่มากนัก ในเยอรมันก็มีหลักการที่คล้ายกันแบบนี้ มันถูกนำมาใช้ในสภาพของสังคมเรา ในขณะที่หลักการคล้ายกันๆ แต่มีฟังก์ชั่นอีกแบบหนึ่ง
 
ในสภาพแวดล้อมแบบประเทศเยอรมัน การนำหลักการของต่างประเทศมาใช้ มีการหยิบยกหลักการที่คิดว่าน่าจะนำมาใช้แล้วเกิดผลอย่างที่ต้องการต่อระบบบ้านเรา มีการดัดแปลงจนเกิดนวัตกรรมใหม่ เพราะฉะนั้นเราจะเห็นนวัตกรรมใหม่ภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 เราอยู่ในจุดที่เป็นตัวอย่าง เป็นแรงบันดาลใจให้กับประเทศเพื่อนบ้านได้เรามี ส.ว. ที่เลือกนายกรัฐมนตรีได้ เรามีศาลรัฐธรรมนูญ ที่สามารถวินิจฉัยคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด หรือทุกการกระทำขององค์กรรัฐที่ถูกอยู่ในข่ายวินิจฉัยที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญได้ เราเจอนวัตกรรมมากมายที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งถือเป็นเรื่องพิศดารมาก” รศ.ดร.มุนินทร์ กล่าว
 
รศ.ดร.มุนินทร์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับเรื่องที่ 2 คือ เรามีกลุ่มคนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นเรื่องพิศดาร จะมีกี่ประเทศที่มีกลุ่มคนที่เชี่ยวชาญการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งหมายความว่าคุณต้องร่างบ่อยมาก จนเชี่ยวชาญในการร่างรัฐธรรมนูญให้กับประเทศ ซึ่งไม่ปรากฎที่ประเทศไหน แต่ปรากฎกับประเทศเรา เรามีกลุ่มคนกำหนดกฎกติกาของประเทศมีคนสร้างมาตราฐานในการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ
2 เรื่องนี้คือสิ่งที่แปลกประหลาดมากที่เกิดขึ้นภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560
 
เมื่อพูดภาพรวมรัฐธรรมนูญจากทั่วโลก มีอยู่ 2 รูปแบบด้วยกัน คือ

1. รัฐธรรมนูญที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการปกป้องประชาชนที่เป็นอำนาจอธิปไตยอย่างแท้จริง รัฐธรรมนูญฉบับนั้นช่วยให้ประชาชนมีสิทธิละเสรีภาพที่พึ่งมี ภายใต้หลักการสากล
 
2. รัฐธรรมนูญที่ถูกออกแบบมาเป็นเครื่องมือ ในการจำกัดบทบาทของประชาชนในการเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย สร้างกลไกไว้มากมาย เพื่อไม่ให้ประชาชนสามารถที่จะใช้สิทธิและเสรีภาพได้อย่างแท้จริง
 
ถ้าย้อนกลับมามองประเทศไทย นั่นก็คือแบบที่ 2 เรามีรัฐธรรมนูญเยอะแยะมากมายในส่วนต้นที่เขียนไว้ รับรองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน โดยเฉพาะมาตรา 3 ซึ่งยืนยันหนักแน่น ว่าประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
 
“ทุกท่านทราบว่าเรามีการเลือกตั้ง แต่อำนาจอธิปไตยของประชาชนชาวไทย เราไม่สามารถที่จะใช้ได้อย่างสมบูรณ์ คนส่วนใหญ่พูดว่า อำนาจอธิปไตยคือการไปออกเสียงเลือกตั้ง นั่นคือวันเดียวที่เราเป็นเจ้าของ หลังการเลือกตั้ง อำนาจอธิปไตยของเราก็หายไป นี่เป็นเรื่องน่าเศร้าที่เกิดขึ้นในบ้านเรา
 
ทุกครั้งที่มีการรัฐประหาร รัฐธรรมนูญที่ตามมา ก็คือรัฐธรรมนูญที่ถูกออกแบบมาเป็นเครื่องมือ รวมถึงรัฐธรรมนูญที่ถูกออกแบบมาเป็นเครื่องมือฉบับปัจจุบัน
ดังนั้น ถ้าเราดูหลักคิดของการร่างรัฐธรรมนูญ ของผู้เชี่ยวชาญการร่างรัฐธรรมนูญในบ้านเรา ผมคิดว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน รัฐธรรมนูญรับรองความเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดของประชาชน ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจประชาธิปไตย แต่ว่ารัฐธรรมนูญได้สร้างกลไลขึ้นมาบนสิ่งที่บอกว่าคุ้มครองประชาชน แต่มองว่าประชาชนเป็นเพียงผู้ไร้ความสามารถในการใช้อำนาจอธิปไตย หรือมองประชาชนเป็นเพียงผู้เยาว์ ซึ่งมีความสามารถในการใช้อำนาจอธิปไตยได้อย่างจำกัด ฉะนั้นผู้เยาว์ ก็ต้องมีผู้แทนโดยชอบธรรม ที่คอยมาชี้เรื่องนั้นเรื่องนี้ และค่อยมายกเลิกการตัดสินใจของประชาชน มีกลไก หรือองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมคอยมายกเลิก เพิกถอนการแสดงเจตนาของประชาชน มองประชาชนเป็นผู้ไร้ความสามารถ มองว่ากลไกต่างๆเป็นเหมือนกลไกการคุ้มครองประชาชนไม่ใช้ประชาชนถูกหลอกโดยนักการเมือง หรือการแสดงเจตนาที่มีผลกระทบต่อความสงบสุข หรือความมั่นคงต่อส่วนร่วม ซึ่งหลักการคิดแบบนี้มันถูกต้องและสอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยหรือไม่” รศ.ดร.มุนินทร์ กล่าว
 
รศ.ดร.มุนินทร์ กล่าวว่า หลักกฎหมายผู้เยาว์นั้นใช้ได้ในกฎหมายเอกชน กฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย์เท่านั้น ที่เราคุ้มครองเป็นบุคคลๆไป แต่ว่าในระบบกฎหมายรัฐธรรมนูญในทางมหาชนทุกคนมีสิทธิ และเสรีภาพ มีความเสมอภาค เราทุกคนเป็นเจ้าของอำนาจความเป็นอธิปไตยเสมอกัน เราทุกคนมีสิทธิเลือกผู้แทนอำนาจของตัวเราทุกคน เราไม่ควรมีใครมาชี้ว่า การแสดงเจตนาของเรามันมีวุฒิภาวะหรือไม่ เป็นมาตราฐานความถูกต้องของศีลธรรม ความสงบเรียบร้อยหรือเปล่า นี่เป็นปัญหาของรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2560 เป็นชุดความคิดที่ครอบงำ หรืออยู่เบื้องหลังของรัฐธรรมนูญทั้งหมด คนที่พยายามที่จะสร้างระบบนี้ขึ้นมาดูเหมือนว่า ไม่เชื่อว่าประชาชนมีวุฒิภาวะมากพอที่จะใช้อำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นของประชาชน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่