ฟัง“รศ.พิชาย” วิเคราะห์กลยุทธ์“พรรคใหม่” เพื่อจะกลับมาเป็นรัฐบาลในการเลือกตั้งครั้งหน้า
https://www.matichon.co.th/matichon-tv/news_4724323
รศ.
พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต กล่าวในรายการพิเศษ กรณีศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคก้าวไกล ปมล้มล้างการปกครอง ตัดสิทธิ์กรรมการบริหาร 10 ปี วิเคราะห์พรรคการเมืองใหม่ที่จะตั้งมารองรับนั้น จะต้องมีกลยุทธ์ที่ชัดเจน เพื่อที่จะมาเป็นรัฐบาลบริหารประเทศในการเลือกตั้งครั้งหน้า
สถาบันปรีดีฯ แถลงกรณียุบก้าวไกล ห่วงศาลตีความล้ำอำนาจรัฐสภา ลดทอนหลักการปชต.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4724948
สถาบันปรีดีฯ แถลงกรณียุบก้าวไกล ห่วงศาลตีความล้ำอำนาจรัฐสภา ลดทอนหลักการปชต.
วันที่ 8 สิงหาคม สถาบันปรีดี พนมยงค์ออกแถลงต่อกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยยุบพรรคการเมือง ว่า
สถาบันปรีดี พนมยงค์ มีความเห็นต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่สั่งยุบพรรคก้าวไกล โดยให้เหตุผลว่า การเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นความพยายามล้มล้างการปกครอง ฯ นั้น มีข้อที่น่ากังวลว่าเป็นการตีความใช้อำนาจและดุลพินิจ จนอาจเป็นการแทรกแซงการทำหน้าที่ของรัฐสภา ล้ำเกินขอบเขตแห่งหลักการแบ่งแยกอำนาจ และขัดต่อหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย ที่ยึดถือมติทางการเมืองของประชาชนเป็นสำคัญ
อนึ่ง การเสนอแก้ไขกฎหมายตามกระบวนการขั้นตอนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นสิ่งที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้แทนราษฎร และไม่ควรนำไปสู่การยุบพรรคการเมือง
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว อาจทำให้สาธารณชนตั้งคำถามถึงความชอบธรรมในการดำรงอยู่ขององค์กรที่ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชนผ่านผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง และเป็นผลพวงจากรัฐธรรมนูญฉบับคณะรัฐประหาร ปี 2560 กำลังถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกำจัดฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง นอกจากนี้ กระบวนการทางตุลาการของไทย ก็สุ่มเสี่ยงต่อการถูกเพ่งเล็งจากสาธารณชนด้วยเช่นกันว่า ได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการคุกคามผู้มีความเห็นแตกต่างทางการเมือง ซึ่งเป็นการบ่อนทำลายหลักนิติธรรมและสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนหรือไม่
สถาบันปรีดี พนมยงค์ ยังคงยึดมั่นและยืนยันในหลักการประชาธิปไตยที่ว่า “อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย” องค์กรของรัฐทุกองค์กร รวมถึงผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจักต้องมาจากการเลือกตั้ง หรืออย่างน้อยที่สุด จักต้องมีความยึดโยงกับประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยมีพรรคการเมืองทำหน้าที่เป็นตัวแทนเจตจำนงทางการเมืองของประชาชน รัฐที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยจะต้องเคารพหลักการแบ่งแยกอำนาจ และเปิดโอกาสให้พรรคการเมืองต่างๆ ได้แข่งขันกันอย่างเสรีและเป็นธรรม
การยุบพรรคการเมืองโดยคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญเช่นนี้ ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิทธิของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนมาก ที่ได้แสดงเจตจำนงในการเลือกพรรคการเมืองเข้ามาทำหน้าที่แทนตนในสภาผู้แทนราษฎร อีกทั้งยังเป็นการลดทอนคุณค่าและหลักการประชาธิปไตย อันขัดต่อพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนของไทย ซึ่งรัฐไทยมีหน้าที่ต้องเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิเหล่านี้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้ ตามหลักการประชาธิปไตย อำนาจในการยุบพรรคการเมืองควรใช้เพื่อพิทักษ์บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและระบอบประชาธิปไตยจากการถูกคุกคาม หรือการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตย มิใช่เพื่อใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง หรือขัดขวางกระบวนการทางประชาธิปไตยของประชาชน
สถาบันปรีดี พนมยงค์ จึงขอเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจในบ้านเมือง เคารพหลักการประชาธิปไตย ยึดมั่นในหลักนิติรัฐ ยุติการแทรกแซงสถาบันทางการเมือง และเปิดพื้นที่ให้อย่างเสรี สร้างสรรค์และสันติ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชน
สถาบันปรีดี พนมยงค์
7 สิงหาคม 2567
“สส.อดีตก้าวไกล” ทำหน้าที่ในสภาฯลุกหารือรัวๆ บรรยากาศเงียบเหงา ขณะที่สส.ปฎิบัติหน้าที่ได้เหลือ 493 คน
https://siamrath.co.th/n/556810
วันที่ 8 ส.ค.2567 เวลา 09.00 น.ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนาย
วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม โดยบรรยากาศในห้องประชุมพบว่าค่อนข้างเงียบเหงา เจ้าหน้าที่สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้นำป้ายพรรคก้าวไกล ออกจากบริเวณที่นั่งของสส.ตั้งแต่เมื่อวานนี้(7 ส.ค.) ทั้งนี้ก่อนเข้าสู่วาระ ที่ประชุมได้เปิดให้สมาชิกหารือปัญหาความเดือดร้อนในพื้นที่นั้น จำนวน 184 คน โดยเฉพาะ สส.อดีตพรรคก้าวไกล ที่มาเข้าร่วมการประชุมเพียง 10-13 คนเท่านั้น โดยแต่ละคนมีสีหน้าที่ค่อนข้างตึงเครียด บางส่วนก็นิ่งเฉย ไม่มีการเดินไปพูดคุยกับเพื่อสมาชิกเท่าที่ควร แต่ทุกคนก็ยังทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนราษฎรหารือที่ประชุมถึงปัญหาชาวบ้านในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งจะแนะนำตัวเองว่าเป็น สส. อดีตพรรคก้าวไกล
ขณะที่นาย
กัณตภณ ดวงอัมพร สส.กทม.แนะนำว่าเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อดีตพรรคก้าวไกล พรรคการเมืองที่มาจาก 14 ล้านเสียงของพี่น้องประชาชน
ด้าน น.ส.
พุธิตา ชัยอนันต์ สส.เชียงใหม่ แนะนำตัวว่าตนเป็น สส. อดีตพรรคก้าวไกลที่มาจากเสียงของประชาชน กว่า 14 ล้านเสียง และจากไปด้วย 9 เสียง เมื่อวานนี้ พร้อมทิ้งท้ายความในใจว่า “
ขอให้ผู้มีอำนาจในประเทศนี้เห็นหัวประชาชนด้วย”
ส่วนนาย
นิติพล ผิวเหมาะ แนะนำตัวว่าเป็น สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ที่ถูกยุบไปแล้ว ขอหารือ ปัญหาการล่มสลายของระบบนิเวศไทยเพราะรัฐมนตรีที่ไม่รู้และไม่สนใจมาสภาฯ จนทำให้ปัญหาปลาหมอข้างดำที่หลุดสู่แม่น้ำ ลำคลอง ล่าสุดหลุดลงสู่ทะเลแล้ว ซึ่งไม่ใช่ปัญหาที่อยู่ห่างไกลจากตัวประชาชน เพราะประชาชนที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำปลาที่เคยจับมารับประทาน ตอนนี้ก็จะไม่มีกินอีกต่อไป ส่วนประชาชนในพื้นที่ภาคใต้จะไม่มีกุ้งหอยปูปลารับประทาน ซึ่งพล.ต.อ.
พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นบุคคลที่ควรออกมาแสดงความรับผิดชอบมากที่สุด แต่กลับไม่เคยสนใจที่จะมาสภาฯ จึงหวังว่าในวันข้างหน้าจะมาตอบกระทู้ถามเรื่องปลาหมอข้างดำ ที่หลุดเข้าสู่ระบบนิเวศไทย เนื่องจากพล.ต.อ
.พัชรวาท เป็นประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ แต่ไม่สามารถป้องกันไม่ให้ปลาหมอข้างดำหลุดเข้าสู่ระบบนิเวศได้ ซึ่งในพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 กำหนดให้ผู้ที่ปล่อยประละเลยทำให้ระบบนิเวศไทยซึ่งถือเป็นทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายทั้งหมด จึงขอให้ประธานสภาฯ ส่งเรื่องไปให้ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากกรณีที่พรรคก้าวไกลถูกยุบ มี สส.บัญชีรายชื่อ อดีตพรรคก้าวไกล ต้องพ้นจากตำแหน่งจำนาน 5 คน และจะไม่มีการขยับบัญชีรายชื่อขึ้นมา เนื่องจากพรรคได้ถูกยุบไปแล้ว สส.ที่ยังเหลืออยู่ 143 คน ก็จะย้ายไปสังกัดพรรคใหม่ ภายใน 60 วัน ตามกฎหมาย
ขณะเดียวกันยังมีนาย
ปดิพัทธ์ สันติภาดา อดีต สส.จ.พิษณุโลก พรรคเป็นธรรม อดีตกรรมการบริหารพรรคก้าวไกล ที่ต้องเลือกตั้งใหม่ และสส.ของพรรคภูมิใจไทย จ.นครศรีธรรมราช ที่ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ เนื่องจากมีเรื่องร้องเรียนผลการเลือกตั้ง 1 คน จึงทำให้จำนวน สส.ในสภาฯ สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ 493 คน
JJNY : ฟัง“รศ.พิชาย”วิเคราะห์กลยุทธ์│สถาบันปรีดีฯ แถลงคดี│“สส.อดีตก้าวไกล”ทำหน้าที่ในสภาฯ│‘ฮีทสโตรก’ คร่าชีวิตคนโตเกียว
https://www.matichon.co.th/matichon-tv/news_4724323
รศ.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต กล่าวในรายการพิเศษ กรณีศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคก้าวไกล ปมล้มล้างการปกครอง ตัดสิทธิ์กรรมการบริหาร 10 ปี วิเคราะห์พรรคการเมืองใหม่ที่จะตั้งมารองรับนั้น จะต้องมีกลยุทธ์ที่ชัดเจน เพื่อที่จะมาเป็นรัฐบาลบริหารประเทศในการเลือกตั้งครั้งหน้า
สถาบันปรีดีฯ แถลงกรณียุบก้าวไกล ห่วงศาลตีความล้ำอำนาจรัฐสภา ลดทอนหลักการปชต.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4724948
สถาบันปรีดีฯ แถลงกรณียุบก้าวไกล ห่วงศาลตีความล้ำอำนาจรัฐสภา ลดทอนหลักการปชต.
วันที่ 8 สิงหาคม สถาบันปรีดี พนมยงค์ออกแถลงต่อกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยยุบพรรคการเมือง ว่า
สถาบันปรีดี พนมยงค์ มีความเห็นต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่สั่งยุบพรรคก้าวไกล โดยให้เหตุผลว่า การเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นความพยายามล้มล้างการปกครอง ฯ นั้น มีข้อที่น่ากังวลว่าเป็นการตีความใช้อำนาจและดุลพินิจ จนอาจเป็นการแทรกแซงการทำหน้าที่ของรัฐสภา ล้ำเกินขอบเขตแห่งหลักการแบ่งแยกอำนาจ และขัดต่อหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย ที่ยึดถือมติทางการเมืองของประชาชนเป็นสำคัญ
อนึ่ง การเสนอแก้ไขกฎหมายตามกระบวนการขั้นตอนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นสิ่งที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้แทนราษฎร และไม่ควรนำไปสู่การยุบพรรคการเมือง
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว อาจทำให้สาธารณชนตั้งคำถามถึงความชอบธรรมในการดำรงอยู่ขององค์กรที่ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชนผ่านผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง และเป็นผลพวงจากรัฐธรรมนูญฉบับคณะรัฐประหาร ปี 2560 กำลังถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกำจัดฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง นอกจากนี้ กระบวนการทางตุลาการของไทย ก็สุ่มเสี่ยงต่อการถูกเพ่งเล็งจากสาธารณชนด้วยเช่นกันว่า ได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการคุกคามผู้มีความเห็นแตกต่างทางการเมือง ซึ่งเป็นการบ่อนทำลายหลักนิติธรรมและสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนหรือไม่
สถาบันปรีดี พนมยงค์ ยังคงยึดมั่นและยืนยันในหลักการประชาธิปไตยที่ว่า “อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย” องค์กรของรัฐทุกองค์กร รวมถึงผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจักต้องมาจากการเลือกตั้ง หรืออย่างน้อยที่สุด จักต้องมีความยึดโยงกับประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยมีพรรคการเมืองทำหน้าที่เป็นตัวแทนเจตจำนงทางการเมืองของประชาชน รัฐที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยจะต้องเคารพหลักการแบ่งแยกอำนาจ และเปิดโอกาสให้พรรคการเมืองต่างๆ ได้แข่งขันกันอย่างเสรีและเป็นธรรม
การยุบพรรคการเมืองโดยคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญเช่นนี้ ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิทธิของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนมาก ที่ได้แสดงเจตจำนงในการเลือกพรรคการเมืองเข้ามาทำหน้าที่แทนตนในสภาผู้แทนราษฎร อีกทั้งยังเป็นการลดทอนคุณค่าและหลักการประชาธิปไตย อันขัดต่อพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนของไทย ซึ่งรัฐไทยมีหน้าที่ต้องเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิเหล่านี้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้ ตามหลักการประชาธิปไตย อำนาจในการยุบพรรคการเมืองควรใช้เพื่อพิทักษ์บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและระบอบประชาธิปไตยจากการถูกคุกคาม หรือการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตย มิใช่เพื่อใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง หรือขัดขวางกระบวนการทางประชาธิปไตยของประชาชน
สถาบันปรีดี พนมยงค์ จึงขอเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจในบ้านเมือง เคารพหลักการประชาธิปไตย ยึดมั่นในหลักนิติรัฐ ยุติการแทรกแซงสถาบันทางการเมือง และเปิดพื้นที่ให้อย่างเสรี สร้างสรรค์และสันติ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชน
สถาบันปรีดี พนมยงค์
7 สิงหาคม 2567
“สส.อดีตก้าวไกล” ทำหน้าที่ในสภาฯลุกหารือรัวๆ บรรยากาศเงียบเหงา ขณะที่สส.ปฎิบัติหน้าที่ได้เหลือ 493 คน
https://siamrath.co.th/n/556810
วันที่ 8 ส.ค.2567 เวลา 09.00 น.ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม โดยบรรยากาศในห้องประชุมพบว่าค่อนข้างเงียบเหงา เจ้าหน้าที่สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้นำป้ายพรรคก้าวไกล ออกจากบริเวณที่นั่งของสส.ตั้งแต่เมื่อวานนี้(7 ส.ค.) ทั้งนี้ก่อนเข้าสู่วาระ ที่ประชุมได้เปิดให้สมาชิกหารือปัญหาความเดือดร้อนในพื้นที่นั้น จำนวน 184 คน โดยเฉพาะ สส.อดีตพรรคก้าวไกล ที่มาเข้าร่วมการประชุมเพียง 10-13 คนเท่านั้น โดยแต่ละคนมีสีหน้าที่ค่อนข้างตึงเครียด บางส่วนก็นิ่งเฉย ไม่มีการเดินไปพูดคุยกับเพื่อสมาชิกเท่าที่ควร แต่ทุกคนก็ยังทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนราษฎรหารือที่ประชุมถึงปัญหาชาวบ้านในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งจะแนะนำตัวเองว่าเป็น สส. อดีตพรรคก้าวไกล
ขณะที่นายกัณตภณ ดวงอัมพร สส.กทม.แนะนำว่าเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อดีตพรรคก้าวไกล พรรคการเมืองที่มาจาก 14 ล้านเสียงของพี่น้องประชาชน
ด้าน น.ส.พุธิตา ชัยอนันต์ สส.เชียงใหม่ แนะนำตัวว่าตนเป็น สส. อดีตพรรคก้าวไกลที่มาจากเสียงของประชาชน กว่า 14 ล้านเสียง และจากไปด้วย 9 เสียง เมื่อวานนี้ พร้อมทิ้งท้ายความในใจว่า “ขอให้ผู้มีอำนาจในประเทศนี้เห็นหัวประชาชนด้วย”
ส่วนนายนิติพล ผิวเหมาะ แนะนำตัวว่าเป็น สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ที่ถูกยุบไปแล้ว ขอหารือ ปัญหาการล่มสลายของระบบนิเวศไทยเพราะรัฐมนตรีที่ไม่รู้และไม่สนใจมาสภาฯ จนทำให้ปัญหาปลาหมอข้างดำที่หลุดสู่แม่น้ำ ลำคลอง ล่าสุดหลุดลงสู่ทะเลแล้ว ซึ่งไม่ใช่ปัญหาที่อยู่ห่างไกลจากตัวประชาชน เพราะประชาชนที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำปลาที่เคยจับมารับประทาน ตอนนี้ก็จะไม่มีกินอีกต่อไป ส่วนประชาชนในพื้นที่ภาคใต้จะไม่มีกุ้งหอยปูปลารับประทาน ซึ่งพล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นบุคคลที่ควรออกมาแสดงความรับผิดชอบมากที่สุด แต่กลับไม่เคยสนใจที่จะมาสภาฯ จึงหวังว่าในวันข้างหน้าจะมาตอบกระทู้ถามเรื่องปลาหมอข้างดำ ที่หลุดเข้าสู่ระบบนิเวศไทย เนื่องจากพล.ต.อ.พัชรวาท เป็นประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ แต่ไม่สามารถป้องกันไม่ให้ปลาหมอข้างดำหลุดเข้าสู่ระบบนิเวศได้ ซึ่งในพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 กำหนดให้ผู้ที่ปล่อยประละเลยทำให้ระบบนิเวศไทยซึ่งถือเป็นทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายทั้งหมด จึงขอให้ประธานสภาฯ ส่งเรื่องไปให้ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากกรณีที่พรรคก้าวไกลถูกยุบ มี สส.บัญชีรายชื่อ อดีตพรรคก้าวไกล ต้องพ้นจากตำแหน่งจำนาน 5 คน และจะไม่มีการขยับบัญชีรายชื่อขึ้นมา เนื่องจากพรรคได้ถูกยุบไปแล้ว สส.ที่ยังเหลืออยู่ 143 คน ก็จะย้ายไปสังกัดพรรคใหม่ ภายใน 60 วัน ตามกฎหมาย
ขณะเดียวกันยังมีนายปดิพัทธ์ สันติภาดา อดีต สส.จ.พิษณุโลก พรรคเป็นธรรม อดีตกรรมการบริหารพรรคก้าวไกล ที่ต้องเลือกตั้งใหม่ และสส.ของพรรคภูมิใจไทย จ.นครศรีธรรมราช ที่ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ เนื่องจากมีเรื่องร้องเรียนผลการเลือกตั้ง 1 คน จึงทำให้จำนวน สส.ในสภาฯ สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ 493 คน