รุ้ง พูดตรงๆ ถึงประยุทธ์-รธน.ใหม่ ‘ชาติพันธุ์’ โอด 6.1 ล้านคน ขอแค่เป็นพลเมืองชั้น 2
https://www.matichon.co .th/politics/news_4323833
รุ้ง พูดตรงๆ ถึงประยุทธ์-รธน.ใหม่ ‘ชาติพันธุ์’ โอด 6.1 ล้านคน ขอแค่เป็นพลเมืองชั้น 2
เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา (แยกคอกวัว) เขตพระนคร กรุงเทพฯ กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ หรือ #ConforAll จัดงาน “
ConforAll
ปักธงส่งต่อ สสร.เลือกตั้ง” ส่งเสียงเรียกร้องไปยังรัฐบาล ผ่านคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเกี่ยวกับการจัดออกเสียงประชามติ เพื่อเปิดทางไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยประชาชน
บรรยากาศเวลา 16.30 น. มีวงเสวนา “
Con for All Talk: รัฐธรรมนูญในฝัน” โดยตัวแทนเครือข่ายต่างๆ ที่ร่วมกันขับเคลื่อนรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน อาทิ น.ส.
ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล อดีตกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม, นาย
พายุ บุญโสภณ หรือ ‘พายุดาวดิน’ กลุ่มราษฎร โขง ชี มูน และอีสานใหม่, น.ส.
พรชิตา ฟ้าประทานไพร หรือ ดวง กลุ่มชาติพันธุ์ปลดแอก, นาย
ฉัตรชัย พุ่มพวง หรือ แชมป์ สหภาพคนทำงาน, นาย
นนทวัฒน์ เหลาผา กลุ่ม We Watch,
ชานันท์ ยอดหงษ์ นักประวัติศาสตร์และนักเคลื่อนไหวเพื่อความหลากหลายทางเพศ, น.ส.
ลลิตา เพ็ชรพวง โครงการนักนวัตกรรมสร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพ มูลนิธิโกมลคีมทอง และ นาย
อธิพันธ์ ว่องไว ผู้พิการ ตัวแทนโครงการกาลพลิก มูลนิธิกระจกเงา
บรรยากาศเวลา 17.15 น. น.ส.
พรชิตา ฟ้าประทานไพร กล่าวตอนหนึ่งถึงบ้านเกิดของตน เป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโปว์ ที่อาศัยอยู่ใน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ เป็นที่อยู่ของหลายเผ่า และคนเมือง เติบโตท่ามกลางความเหลื่อมล้ำ ตอนเด็กๆ ไม่มีไฟใช้ ไม่มีทีวี น้ำไม่ไหลตลอดปี หน้าฝนน้ำเป็นสีส้ม ถูกจำกัดการเข้าถึงถนนที่ดี น้ำประปาที่สะอาดและไฟฟ้าที่สว่างไสว
“
ฉันเติบโตท่ามกลางมายาคติที่ว่า คนกลุ่มนี้เป็นพวกค้ายา สกปรก พูดไม่ชัด โง่ และตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ไม่มั่นใจในการดำรงชีวิตประชาจำวัน หรือบางคนไม่กล้าพูดว่าเป็น ‘ชาติพันธุ์’ ไปโรงเรียนก็ถูกล้อเลียนจากเพื่อนอยู่บ่อยๆ ชาติพันธุ์ในความหมายของคุณคืออะไร
“รู้หรือไม่ แผ่นดินไทย มีชาติพันธุ์ทั้งหมด 40 กลุ่ม 6,100,000 คน หรือร้อยละ 9.68 ซี่งใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันทุกคนในประเทศนี้ เป็นประชากรที่พัฒนาประเทศนี้ด้วยซ้ำ เหตุใดจึงถูกจำกัดสิทธิ เข้าไม่ถึงการรักษาพยาบาล ถูกเอาเปรียบ”
น.ส.
พรชิตาชี้ว่า
นโยบายจัดการที่ดินของรัฐ ทำให้ไม่สามารถหาเห็ด หาหน่อไม้ในป่าได้ รวมถึงการสัมปทานโครงการต่างๆ เช่น เหมือง เขื่อนที่หมู่บ้านฉันกำลังต่อสู้อยู่ ทำให้นึกถึงกฎหมายที่จะทำให้ชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ดีขึ้น คุ้มครองชาติพันธุ์ในทุกด้าน ด้วยการมีโอกาสร่วมกันเขียนรัฐธรรมนูญ ท้ายที่สุด ฉันไม่อยากถูกเลือกปฏิบัติ และเป็นประชากรชั้น 2 เท่านั้นเอง รัฐธรรมนูญใหม่จะทำให้กำหนดชีวิตตัวเองได้ คุณภาพชีวิตดีขึ้น และต้องเขียนว่า คนเท่ากัน” น.ส.
พรชิตากล่าว
ต่อมาเวลา 17.45 น. น.ส.
ปนัสยา หรือ
รุ้ง กล่าวว่า ทุกคนคิดว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนจริงหรือไม่ เราคิดว่าจะมีความหวังมากกว่านี้ในรัฐบาลชุดใหม่ที่ไม่ใช่รัฐบาลทหาร แต่ความหวังดูจะลดน้อยลงกว่าเดิมเสียอีก น้อยกว่าวันเลือกตั้ง ไม่เช่นนั้น 200,000 กว่ารายชื่อที่ยื่นไป คงได้รับการสนองไปแล้ว เขียนใหม่ทั้งฉบับ เลือกตั้ง สสร. 100 เปอร์เซ็นต์ ไม่ใช่มัวแต่มานั่งเถียงกันอยู่ได้ว่า แก้หมวด 1 หมวด 2 ไม่ได้ หรืออ้างอยู่ได้ว่าไม่แก้เพราะหลัง ส.ว.จะไม่ให้ผ่าน สิ่งที่ควรจะเป็นคือต้องไม่มีเสียงใครใหญ่กว่าประชาชนไม่ใช่หรือ
“
พูดกันตรงๆ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ประชาธิปไตยขึ้นลงๆ มาตลอด รัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ฉีกๆ ร่างมาแล้ว 20 กว่าฉบับ แต่ไม่มีสักหนเดียวที่จะห้ามการเปลี่ยนแปลงหมวด 1 หมวด 2 แม่แต่ในช่วงเวลาของเผด็จการ ทุกหมวดทุกมาตราถูกเปลี่ยนแปลงมาตลอด เป็นเรื่องธรรมดามาก
“
อย่างฉบับที่ใช้ในปัจจุบันก็มีการแก้หมวด 2 ที่สำคัญเป็นการแก้หลังการทำประชาด้วย ถ้าเรายอมรับกันว่า อำนาจสูงสุดในการสถาปนารัฐธรรมนูญเป็นของประชาชน ก็น่าสังเกตว่าทำไมถึงมีการแก้หมวด 2 หลังการทำประชามติได้”
ในตอนหนึ่ง น.ส.
ปนัสยากล่าวถึง วันที่ 29 พฤศจิกายน ที่ผ่านมาว่ามีการแต่งตั้ง พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นองคมนตรี ซี่งปฏิเสธไม่ได้ มีทั้งคนชอบและไม่ชอบ และอาจจะทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ตามมาได้
น.ส.
ปนัสยาชี้ว่า ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหมวด 1 และหมวด 2 ผู้มีอำนาจพยายามทุกวิถีทางไม่ให้แตะหมวด 1 หมวด 2 โดยอธิบายความสำคัญ
แต่เราให้ความสำคัญกับหมวดนี้จริงหรือ เพราะการแต่งตั้งองคมนตรี กลับไม่มีผู้สนอง
“
พอมีการเสนอให้เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ทำไมถึงมีความพยายามไม่ให้เกิดการแก้ไข ขัดกระบวนการได้ขนาดนี้ ไม่ดูย้อนแย้งไปหน่อยหรอ ต้องพูดเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมาได้ เพราะรัฐธรรมนูญคือข้อตกลงของประชาชน รัฐจะละเลยความต้องการของประชาชนเพียงเพราะตัวเองไม่เห็นด้วย ไม่ได้ รัฐธรรมนูญระบุไว้ว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน จะร้อยกลุ่มพันกลุ่ม ก็ต้องฟัง เพราะได้รับอำนาจ ไม่ใช่บริษัท
ย้อนกลับไปที่คำถามแรก อำนาจอธิปไตย เป็นของประชาชนจริงหรือไม่ ถ้าใช่ รัฐจะไม่กีดกันเจตจำนงของประชาชน รัฐธรรมนูญต้องเขียนใหม่ได้ทั้งฉบับ” น.ส.
ปนัสยาชี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายในงานยังมีกิจกรรม อาทิ เขียนธงสนับสนุนข้อเสนอ Con for All และการติดสติ๊กเกอร์ทำโพลสำรวจความเห็น อาทิ ท่านเห็นชอบหรือไม่ จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่, ‘
จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ โดย สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน’ โดยส่วนมากเห็นชอบ, ‘
จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยยกเว้นหมด 1 และ 2′ ซึ่งเสียงส่วนมากไม่เห็นชอบ กับคำถามประชามติที่ประชาชนเสนอหรือไม่’ นอกจากนี้ ยังมีการออกบูธจากเครือข่ายต่างๆ อาทิ บูธไอลอว์ จำหน่ายหนังสือที่รวบรวมการณรงค์
เคลื่อนไหวเพื่อสิทธิเสรีภาพและรัฐธรรมนูญ ไปจนถึงบูธรณรงค์ทำแท้งปลอดภัย โดยให้ความรู้ประชาชนว่า ปัจจุบันการทำแท้งในประเทศไทย ถูกกฎหมายแล้ว
‘พายุ’ ลั่น ชะตาชีวิตขอขีดเอง สสร.ต้องมาจากการเลือกตั้ง ยกเคส ‘นาหนองบง’ สู้ 12 ปี
https://www.matichon.co.th/politics/news_4323743
‘พายุ’ ลั่น ชะตาชีวิตขอขีดเอง สสร.ต้องมาจากการเลือกตั้ง ยกเคส ‘นาหนองบง’ สู้ 12 ปี
เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา (แยกคอกวัว) เขตพระนคร กรุงเทพฯ กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ หรือ #ConforAll จัดงาน “
ConforAll ปักธงส่งต่อ สสร.เลือกตั้ง” ส่งเสียงเรียกร้องไปยังรัฐบาล ผ่านคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเกี่ยวกับการจัดออกเสียงประชามติ เพื่อเปิดทางไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยประชาชน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายในงานมีกิจกรรม อาทิ เขียนธงสนับสนุนข้อเสนอ Con for All และการติดสติ๊กเกอร์ทำโพลสำรวจความเห็น อาทิ ท่านเห็นชอบหรือไม่ จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่, ‘
จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ โดย สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน’ โดยส่วนมากเห็นชอบ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการออกบูธจากเครือข่ายต่างๆ อาทิ บูธไอลอว์ จำหน่ายหนังสือที่รวบรวมการณรงค์ เคลื่อนไหวเพื่อสิทธิเสรีภาพและรัฐธรรมนูญ ไปจนถึงบูธรณรงค์ทำแท้งปลอดภัย โดยให้ความรู้ประชาชนว่า ปัจจุบันการทำแท้งในประเทศไทย ถูกกฎหมายแล้ว
บรรยากาศเวลา 16.30 น. มีวงเสวนา “
Con for All Talk: รัฐธรรมนูญในฝัน” โดยตัวแทนเครือข่ายต่างๆ ที่ร่วมกันขับเคลื่อนรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน แลกเปลี่ยนปัญหา
ในตอนหนึ่ง นาย
พายุ บุญโสภณ หรือ ’
พายุดาวดิน‘ กลุ่มราษฎร โขง ชี มูน และอีสานใหม่ อ่านบทกวีที่เปรียบเหมือน ‘
กำแพงใจ’ ในการต่อสู้ร่วมกับชาวบ้าน อ.นาหนองบง จ.เลย ก่อนลงลึงถึงปัญหาในชุมชน ซี่งเกิดจากการที่รัฐบาลให้สัมปทานทำอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำ
“
เมื่อท้องถิ่นไม่รับฟังปัญหา ไม่เห็นหัวชาวบ้าน มีเพียงวิธีเดียวที่จะสู้ได้ คือเข้าสู่ศูนย์กลางอำนาจ กรุงเทพมหานคร คือแหล่งศูนย์กลางที่กำหนดชะตาชีวิตของพี่น้อง แต่การมา กทม.แต่ละครั้ง สิ่งที่ชาวบ้านสูญเสียในการมาแค่ละครั้งเพื่อบอกปัญหาและผลกระทบของตัวเอง หลักๆ คือขาดงาน ขาดรายได้ เพื่อให้ผู้มีอำนาจส่วนกลางได้ยิน เข้าต้องเสียรายได้รายวัน ทิ้งพืชผลการเกษตรที่ต้องดูแล บางคนต้องพาลูกพาเมียมาด้วย ไม่รู้ต้องมาตะโกนกี่ครั้งถึงจะได้ยินเสียงพี่น้อง” นาย
พายุกล่าว
นาย
พายุ กล่าวต่อว่า อย่างการชุมนุมราษฎรเอเปค 2022 ตนโดนสลายชุมนุมสูญเสียดวงตา คือสิ่งที่ต้องแลกมา ไม่รู้ว่าปัญหาที่บ้านจะได้รับการแก้ไขไหม แค่อยากดำเนินชีวิตได้ดี ปกติสุขแค่นั้น เป็นข้อเรียกร้องง่ายๆ ที่รัฐบาลไม่สามารถให้ได้
“จ
ะดีกว่าไหม ถ้าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ พี่น้องช่วยกันส่งเสียงเรียกร้อง บอกกล่าว กำหนดสิทธิเล็กๆ น้อยๆ ที่ต้องมี ไว้ในรัฐธรรมนูญ และ สสร.จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน เราไม่ยอมให้ใครมาขีดเขียนชีวิตแบบที่ไม่ต้องการ
พี่น้องนาหนองบง ต่อสู้มากว่า 12 ปี ปกป้องสิทธิชุมชน ไม่ต้องการเหมือง จนศาลพิพากษาว่า พี่น้องชาวบ้านเป็นฝ่ายที่ถูกต้อง เหมืองละเมิดสิทธิชุมชน และให้เหมืองรับผิดชอบชาวบ้านกว่า 165 คน และฟื้นฟูสภาพภูเขาลูกนั้นให้กลับมาเหมือนเดิม คือการต่อสู้ ตะโกนตั้งแต่วันแรก จน 10 กว่าปี ถึงได้ยิน”
สุดท้ายอยากฝากไว้ว่า การต่อสู้ของเรา โดยเฉพาะการกำหนดชะตาชีวิตตัวเอง ลูกหลาน ที่จะเกิดมาในอนาคต ต้องการอะไรกำหนดได้ ผมอยากเห็นการกระจายอำนาจเกิดขึ้นในท้องถิ่น ในบ้านผม รับฟังชุมชน ไม่ใช่ออกแบบจากส่วนกลาง กรุงเทพฯ หรือคนที่นั่งโต๊ะ โดยที่ไม่รู้ว่าบริบทคืออะไร อยากให้ช่วยกันออกมาสื่อสาร ปัญหา มาจากใครไม่รู้กำหนดชีวิตเรา สสร.ต้องมาจากประชาชน” นาย
พายุ เผย
ก้าวไกล ล็อกเป้าชำแหละงบ67 จ่อแจกงานรายกระทรวง ชี้ เป็นสิทธิปชป. กลับลำร่วมรัฐบาล
https://www.matichon.co.th/politics/news_4323419
‘ปกรณ์วุฒิ’ เผย ’ก้าวไกล‘ แจกการบ้าน ส.ส. ล็อกเป้าชําแหละ พ.ร.บ.งบ ปี’67 เมิน ‘ปชป.’ หากกลับลําร่วมรัฐบาล ชี้ ยังทํางานร่วมกันปกติ
เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม นาย
ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ให้สัมภาษณ์ถึงความพร้อมในการอภิปรายพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจําปี 2567 ว่า เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พรรค ก.ก.ได้มีการจัดเวิร์กช็อปเรื่องงบประมาณให้
แก่ ส.ส.เก่า และ ส.ส.ใหม่ ปูพื้นฐานตั้งแต่เริ่มว่า พ.ร.บ.มีลักษณะอย่างไร รวมถึงกระบวนการพิจารณา และสิ่งที่พรรค ก.ก.ควรจะผลักดันและศึกษา เพื่อให้ พ.ร.บ.งบประมาณ ปี’67 ออกมาดีที่สุด ในส่วนการแบ่งหัวข้อในการอภิปรายนั้น ขณะนี้ยังไม่ได้มอบหมาย แต่ให้ ส.ส.แต่ละคนไปดูแล้วว่าสนใจในประเด็นไหน หรือกระทรวงใดเป็นพิเศษ เมื่อได้รับเอกสารมาจะได้รู้ว่าควรไปอ่านในจุดใดบ้าง เพราะถ้าให้อ่านทุกเล่มคงเป็นไปไม่ได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้ยังไม่มีการตั้งวิปฝ่ายค้านอย่างเป็นทางการ เนื่องจากยังไม่มีการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้าน ทำให้การทำงานของพรรคร่วมฝ่ายค้านลําบากหรือไม่ นาย
ปกรณ์วุฒิกล่าวว่า ลําบากไม่มาก เพราะที่ผ่านมาเรามีการนัดประชุมออนไลน์กัน ไม่ได้ยากอะไร แต่ถ้าหากยังไม่มีการตั้งเป็นทางการและเป็นอุปสรรคในอนาคต ก็อาจจะต้องขอให้ทางรัฐสภาเปิดห้องเป็นพิเศษ และขอความร่วมมือจากหน่วยงาน เพราะเวลามีร่าง พ.ร.บ.จากคณะรัฐมนตรี (ครม.)
เราก็จำเป็นต้องมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงเข้ามาชี้แจง
JJNY : 5in1 รุ้งพูดตรงๆ│สสร.ต้องมาจากการเลือกตั้ง│ก้าวไกลล็อกเป้าชำแหละงบ│ซิดนีย์เผชิญอากาศร้อนจัด│อิหร่านเตือนตอ.กลาง
https://www.matichon.co .th/politics/news_4323833
รุ้ง พูดตรงๆ ถึงประยุทธ์-รธน.ใหม่ ‘ชาติพันธุ์’ โอด 6.1 ล้านคน ขอแค่เป็นพลเมืองชั้น 2
เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา (แยกคอกวัว) เขตพระนคร กรุงเทพฯ กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ หรือ #ConforAll จัดงาน “ConforAll
ปักธงส่งต่อ สสร.เลือกตั้ง” ส่งเสียงเรียกร้องไปยังรัฐบาล ผ่านคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเกี่ยวกับการจัดออกเสียงประชามติ เพื่อเปิดทางไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยประชาชน
บรรยากาศเวลา 16.30 น. มีวงเสวนา “Con for All Talk: รัฐธรรมนูญในฝัน” โดยตัวแทนเครือข่ายต่างๆ ที่ร่วมกันขับเคลื่อนรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน อาทิ น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล อดีตกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม, นายพายุ บุญโสภณ หรือ ‘พายุดาวดิน’ กลุ่มราษฎร โขง ชี มูน และอีสานใหม่, น.ส.พรชิตา ฟ้าประทานไพร หรือ ดวง กลุ่มชาติพันธุ์ปลดแอก, นายฉัตรชัย พุ่มพวง หรือ แชมป์ สหภาพคนทำงาน, นายนนทวัฒน์ เหลาผา กลุ่ม We Watch, ชานันท์ ยอดหงษ์ นักประวัติศาสตร์และนักเคลื่อนไหวเพื่อความหลากหลายทางเพศ, น.ส.ลลิตา เพ็ชรพวง โครงการนักนวัตกรรมสร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพ มูลนิธิโกมลคีมทอง และ นายอธิพันธ์ ว่องไว ผู้พิการ ตัวแทนโครงการกาลพลิก มูลนิธิกระจกเงา
บรรยากาศเวลา 17.15 น. น.ส.พรชิตา ฟ้าประทานไพร กล่าวตอนหนึ่งถึงบ้านเกิดของตน เป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโปว์ ที่อาศัยอยู่ใน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ เป็นที่อยู่ของหลายเผ่า และคนเมือง เติบโตท่ามกลางความเหลื่อมล้ำ ตอนเด็กๆ ไม่มีไฟใช้ ไม่มีทีวี น้ำไม่ไหลตลอดปี หน้าฝนน้ำเป็นสีส้ม ถูกจำกัดการเข้าถึงถนนที่ดี น้ำประปาที่สะอาดและไฟฟ้าที่สว่างไสว
“ฉันเติบโตท่ามกลางมายาคติที่ว่า คนกลุ่มนี้เป็นพวกค้ายา สกปรก พูดไม่ชัด โง่ และตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ไม่มั่นใจในการดำรงชีวิตประชาจำวัน หรือบางคนไม่กล้าพูดว่าเป็น ‘ชาติพันธุ์’ ไปโรงเรียนก็ถูกล้อเลียนจากเพื่อนอยู่บ่อยๆ ชาติพันธุ์ในความหมายของคุณคืออะไร
“รู้หรือไม่ แผ่นดินไทย มีชาติพันธุ์ทั้งหมด 40 กลุ่ม 6,100,000 คน หรือร้อยละ 9.68 ซี่งใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันทุกคนในประเทศนี้ เป็นประชากรที่พัฒนาประเทศนี้ด้วยซ้ำ เหตุใดจึงถูกจำกัดสิทธิ เข้าไม่ถึงการรักษาพยาบาล ถูกเอาเปรียบ”
น.ส.พรชิตาชี้ว่า นโยบายจัดการที่ดินของรัฐ ทำให้ไม่สามารถหาเห็ด หาหน่อไม้ในป่าได้ รวมถึงการสัมปทานโครงการต่างๆ เช่น เหมือง เขื่อนที่หมู่บ้านฉันกำลังต่อสู้อยู่ ทำให้นึกถึงกฎหมายที่จะทำให้ชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ดีขึ้น คุ้มครองชาติพันธุ์ในทุกด้าน ด้วยการมีโอกาสร่วมกันเขียนรัฐธรรมนูญ ท้ายที่สุด ฉันไม่อยากถูกเลือกปฏิบัติ และเป็นประชากรชั้น 2 เท่านั้นเอง รัฐธรรมนูญใหม่จะทำให้กำหนดชีวิตตัวเองได้ คุณภาพชีวิตดีขึ้น และต้องเขียนว่า คนเท่ากัน” น.ส.พรชิตากล่าว
ต่อมาเวลา 17.45 น. น.ส.ปนัสยา หรือ รุ้ง กล่าวว่า ทุกคนคิดว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนจริงหรือไม่ เราคิดว่าจะมีความหวังมากกว่านี้ในรัฐบาลชุดใหม่ที่ไม่ใช่รัฐบาลทหาร แต่ความหวังดูจะลดน้อยลงกว่าเดิมเสียอีก น้อยกว่าวันเลือกตั้ง ไม่เช่นนั้น 200,000 กว่ารายชื่อที่ยื่นไป คงได้รับการสนองไปแล้ว เขียนใหม่ทั้งฉบับ เลือกตั้ง สสร. 100 เปอร์เซ็นต์ ไม่ใช่มัวแต่มานั่งเถียงกันอยู่ได้ว่า แก้หมวด 1 หมวด 2 ไม่ได้ หรืออ้างอยู่ได้ว่าไม่แก้เพราะหลัง ส.ว.จะไม่ให้ผ่าน สิ่งที่ควรจะเป็นคือต้องไม่มีเสียงใครใหญ่กว่าประชาชนไม่ใช่หรือ
“พูดกันตรงๆ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ประชาธิปไตยขึ้นลงๆ มาตลอด รัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ฉีกๆ ร่างมาแล้ว 20 กว่าฉบับ แต่ไม่มีสักหนเดียวที่จะห้ามการเปลี่ยนแปลงหมวด 1 หมวด 2 แม่แต่ในช่วงเวลาของเผด็จการ ทุกหมวดทุกมาตราถูกเปลี่ยนแปลงมาตลอด เป็นเรื่องธรรมดามาก
“อย่างฉบับที่ใช้ในปัจจุบันก็มีการแก้หมวด 2 ที่สำคัญเป็นการแก้หลังการทำประชาด้วย ถ้าเรายอมรับกันว่า อำนาจสูงสุดในการสถาปนารัฐธรรมนูญเป็นของประชาชน ก็น่าสังเกตว่าทำไมถึงมีการแก้หมวด 2 หลังการทำประชามติได้”
ในตอนหนึ่ง น.ส.ปนัสยากล่าวถึง วันที่ 29 พฤศจิกายน ที่ผ่านมาว่ามีการแต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นองคมนตรี ซี่งปฏิเสธไม่ได้ มีทั้งคนชอบและไม่ชอบ และอาจจะทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ตามมาได้
น.ส.ปนัสยาชี้ว่า ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหมวด 1 และหมวด 2 ผู้มีอำนาจพยายามทุกวิถีทางไม่ให้แตะหมวด 1 หมวด 2 โดยอธิบายความสำคัญ
แต่เราให้ความสำคัญกับหมวดนี้จริงหรือ เพราะการแต่งตั้งองคมนตรี กลับไม่มีผู้สนอง
“พอมีการเสนอให้เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ทำไมถึงมีความพยายามไม่ให้เกิดการแก้ไข ขัดกระบวนการได้ขนาดนี้ ไม่ดูย้อนแย้งไปหน่อยหรอ ต้องพูดเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมาได้ เพราะรัฐธรรมนูญคือข้อตกลงของประชาชน รัฐจะละเลยความต้องการของประชาชนเพียงเพราะตัวเองไม่เห็นด้วย ไม่ได้ รัฐธรรมนูญระบุไว้ว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน จะร้อยกลุ่มพันกลุ่ม ก็ต้องฟัง เพราะได้รับอำนาจ ไม่ใช่บริษัท
ย้อนกลับไปที่คำถามแรก อำนาจอธิปไตย เป็นของประชาชนจริงหรือไม่ ถ้าใช่ รัฐจะไม่กีดกันเจตจำนงของประชาชน รัฐธรรมนูญต้องเขียนใหม่ได้ทั้งฉบับ” น.ส.ปนัสยาชี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายในงานยังมีกิจกรรม อาทิ เขียนธงสนับสนุนข้อเสนอ Con for All และการติดสติ๊กเกอร์ทำโพลสำรวจความเห็น อาทิ ท่านเห็นชอบหรือไม่ จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่, ‘จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ โดย สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน’ โดยส่วนมากเห็นชอบ, ‘จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยยกเว้นหมด 1 และ 2′ ซึ่งเสียงส่วนมากไม่เห็นชอบ กับคำถามประชามติที่ประชาชนเสนอหรือไม่’ นอกจากนี้ ยังมีการออกบูธจากเครือข่ายต่างๆ อาทิ บูธไอลอว์ จำหน่ายหนังสือที่รวบรวมการณรงค์
เคลื่อนไหวเพื่อสิทธิเสรีภาพและรัฐธรรมนูญ ไปจนถึงบูธรณรงค์ทำแท้งปลอดภัย โดยให้ความรู้ประชาชนว่า ปัจจุบันการทำแท้งในประเทศไทย ถูกกฎหมายแล้ว
‘พายุ’ ลั่น ชะตาชีวิตขอขีดเอง สสร.ต้องมาจากการเลือกตั้ง ยกเคส ‘นาหนองบง’ สู้ 12 ปี
https://www.matichon.co.th/politics/news_4323743
‘พายุ’ ลั่น ชะตาชีวิตขอขีดเอง สสร.ต้องมาจากการเลือกตั้ง ยกเคส ‘นาหนองบง’ สู้ 12 ปี
เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา (แยกคอกวัว) เขตพระนคร กรุงเทพฯ กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ หรือ #ConforAll จัดงาน “ConforAll ปักธงส่งต่อ สสร.เลือกตั้ง” ส่งเสียงเรียกร้องไปยังรัฐบาล ผ่านคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเกี่ยวกับการจัดออกเสียงประชามติ เพื่อเปิดทางไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยประชาชน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายในงานมีกิจกรรม อาทิ เขียนธงสนับสนุนข้อเสนอ Con for All และการติดสติ๊กเกอร์ทำโพลสำรวจความเห็น อาทิ ท่านเห็นชอบหรือไม่ จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่, ‘จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ โดย สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน’ โดยส่วนมากเห็นชอบ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการออกบูธจากเครือข่ายต่างๆ อาทิ บูธไอลอว์ จำหน่ายหนังสือที่รวบรวมการณรงค์ เคลื่อนไหวเพื่อสิทธิเสรีภาพและรัฐธรรมนูญ ไปจนถึงบูธรณรงค์ทำแท้งปลอดภัย โดยให้ความรู้ประชาชนว่า ปัจจุบันการทำแท้งในประเทศไทย ถูกกฎหมายแล้ว
บรรยากาศเวลา 16.30 น. มีวงเสวนา “Con for All Talk: รัฐธรรมนูญในฝัน” โดยตัวแทนเครือข่ายต่างๆ ที่ร่วมกันขับเคลื่อนรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน แลกเปลี่ยนปัญหา
ในตอนหนึ่ง นายพายุ บุญโสภณ หรือ ’พายุดาวดิน‘ กลุ่มราษฎร โขง ชี มูน และอีสานใหม่ อ่านบทกวีที่เปรียบเหมือน ‘กำแพงใจ’ ในการต่อสู้ร่วมกับชาวบ้าน อ.นาหนองบง จ.เลย ก่อนลงลึงถึงปัญหาในชุมชน ซี่งเกิดจากการที่รัฐบาลให้สัมปทานทำอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำ
“เมื่อท้องถิ่นไม่รับฟังปัญหา ไม่เห็นหัวชาวบ้าน มีเพียงวิธีเดียวที่จะสู้ได้ คือเข้าสู่ศูนย์กลางอำนาจ กรุงเทพมหานคร คือแหล่งศูนย์กลางที่กำหนดชะตาชีวิตของพี่น้อง แต่การมา กทม.แต่ละครั้ง สิ่งที่ชาวบ้านสูญเสียในการมาแค่ละครั้งเพื่อบอกปัญหาและผลกระทบของตัวเอง หลักๆ คือขาดงาน ขาดรายได้ เพื่อให้ผู้มีอำนาจส่วนกลางได้ยิน เข้าต้องเสียรายได้รายวัน ทิ้งพืชผลการเกษตรที่ต้องดูแล บางคนต้องพาลูกพาเมียมาด้วย ไม่รู้ต้องมาตะโกนกี่ครั้งถึงจะได้ยินเสียงพี่น้อง” นายพายุกล่าว
นายพายุ กล่าวต่อว่า อย่างการชุมนุมราษฎรเอเปค 2022 ตนโดนสลายชุมนุมสูญเสียดวงตา คือสิ่งที่ต้องแลกมา ไม่รู้ว่าปัญหาที่บ้านจะได้รับการแก้ไขไหม แค่อยากดำเนินชีวิตได้ดี ปกติสุขแค่นั้น เป็นข้อเรียกร้องง่ายๆ ที่รัฐบาลไม่สามารถให้ได้
“จะดีกว่าไหม ถ้าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ พี่น้องช่วยกันส่งเสียงเรียกร้อง บอกกล่าว กำหนดสิทธิเล็กๆ น้อยๆ ที่ต้องมี ไว้ในรัฐธรรมนูญ และ สสร.จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน เราไม่ยอมให้ใครมาขีดเขียนชีวิตแบบที่ไม่ต้องการ
พี่น้องนาหนองบง ต่อสู้มากว่า 12 ปี ปกป้องสิทธิชุมชน ไม่ต้องการเหมือง จนศาลพิพากษาว่า พี่น้องชาวบ้านเป็นฝ่ายที่ถูกต้อง เหมืองละเมิดสิทธิชุมชน และให้เหมืองรับผิดชอบชาวบ้านกว่า 165 คน และฟื้นฟูสภาพภูเขาลูกนั้นให้กลับมาเหมือนเดิม คือการต่อสู้ ตะโกนตั้งแต่วันแรก จน 10 กว่าปี ถึงได้ยิน”
สุดท้ายอยากฝากไว้ว่า การต่อสู้ของเรา โดยเฉพาะการกำหนดชะตาชีวิตตัวเอง ลูกหลาน ที่จะเกิดมาในอนาคต ต้องการอะไรกำหนดได้ ผมอยากเห็นการกระจายอำนาจเกิดขึ้นในท้องถิ่น ในบ้านผม รับฟังชุมชน ไม่ใช่ออกแบบจากส่วนกลาง กรุงเทพฯ หรือคนที่นั่งโต๊ะ โดยที่ไม่รู้ว่าบริบทคืออะไร อยากให้ช่วยกันออกมาสื่อสาร ปัญหา มาจากใครไม่รู้กำหนดชีวิตเรา สสร.ต้องมาจากประชาชน” นายพายุ เผย
ก้าวไกล ล็อกเป้าชำแหละงบ67 จ่อแจกงานรายกระทรวง ชี้ เป็นสิทธิปชป. กลับลำร่วมรัฐบาล
https://www.matichon.co.th/politics/news_4323419
‘ปกรณ์วุฒิ’ เผย ’ก้าวไกล‘ แจกการบ้าน ส.ส. ล็อกเป้าชําแหละ พ.ร.บ.งบ ปี’67 เมิน ‘ปชป.’ หากกลับลําร่วมรัฐบาล ชี้ ยังทํางานร่วมกันปกติ
เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ให้สัมภาษณ์ถึงความพร้อมในการอภิปรายพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจําปี 2567 ว่า เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พรรค ก.ก.ได้มีการจัดเวิร์กช็อปเรื่องงบประมาณให้
แก่ ส.ส.เก่า และ ส.ส.ใหม่ ปูพื้นฐานตั้งแต่เริ่มว่า พ.ร.บ.มีลักษณะอย่างไร รวมถึงกระบวนการพิจารณา และสิ่งที่พรรค ก.ก.ควรจะผลักดันและศึกษา เพื่อให้ พ.ร.บ.งบประมาณ ปี’67 ออกมาดีที่สุด ในส่วนการแบ่งหัวข้อในการอภิปรายนั้น ขณะนี้ยังไม่ได้มอบหมาย แต่ให้ ส.ส.แต่ละคนไปดูแล้วว่าสนใจในประเด็นไหน หรือกระทรวงใดเป็นพิเศษ เมื่อได้รับเอกสารมาจะได้รู้ว่าควรไปอ่านในจุดใดบ้าง เพราะถ้าให้อ่านทุกเล่มคงเป็นไปไม่ได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้ยังไม่มีการตั้งวิปฝ่ายค้านอย่างเป็นทางการ เนื่องจากยังไม่มีการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้าน ทำให้การทำงานของพรรคร่วมฝ่ายค้านลําบากหรือไม่ นายปกรณ์วุฒิกล่าวว่า ลําบากไม่มาก เพราะที่ผ่านมาเรามีการนัดประชุมออนไลน์กัน ไม่ได้ยากอะไร แต่ถ้าหากยังไม่มีการตั้งเป็นทางการและเป็นอุปสรรคในอนาคต ก็อาจจะต้องขอให้ทางรัฐสภาเปิดห้องเป็นพิเศษ และขอความร่วมมือจากหน่วยงาน เพราะเวลามีร่าง พ.ร.บ.จากคณะรัฐมนตรี (ครม.)
เราก็จำเป็นต้องมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงเข้ามาชี้แจง