การรบในกาซายังดุเดือดขณะฮามาสว่าอิสราเอลทิ้งระเบิดค่ายผู้อพยพ
https://tna.mcot.net/world-1267324
อิสราเอล 4 พ.ย. – อิสราเอลเดินหน้าทำสงครามเพื่อกวาดล้างกลุ่มติดอาวุธฮามาสอย่างดุเดือดในฉนวนกาซา ในขณะที่ฮามาสกล่าวว่า อิสราเอลทิ้งระเบิดโจมตีค่ายผู้อพยพในกาซา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 30 ราย
การสู้รบยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในฉนวนกาซา ซึ่งมีประชากรชาวปาเลสไตน์อาศัยอยู่อย่างหนานแน่นแม้จะมีเสียงเรียกร้องให้หยุดยิงจากประเทศอาหรับและพลเรือนที่มีความรู้สึกสิ้นหวังหลังจากสงครามดำเนินมาได้เกือบจะครบ 30 วันแล้ว
กระทรวงสาธารณสุขของกลุ่มฮามาสในฉนวนกาซากล่าวว่า อิสราเอลได้ทิ้งระเบิดโจมตีค่ายผู้อพยพอัล-มากาห์ซี ในภาคกลางของฉนวนกาซาเมื่อวานนี้ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 30 ราย ซึ่งผู้เห็นเหตุการณ์รายงานวา มีเด็กเสียชีวิตหลายคนและบ้านเรือนพังเสียหาย โฆษกกองทัพอิสราอลกล่าวว่า จะตรวจสอบดูว่า ทหารของอิสราเอลปฎิบัติงานในพื้นที่ในช่วงเวลาที่มีการโจมตีท่างอากาสครั้งนี้หรือไม่
ในขณะที่สงครามกำลังเข้าสู่สัปดาห์ที่ 5 นาย
แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐยังคงตระเวณเยือนหลายประเทศในตะวันออกกลางในวันนี้ โดยมีกำหนดจะเดินทางไปเยือนตุรกีเป็นลำดับต่อไป หลังจากที่รัฐบาลตุรกีมีท่าทีแข็งกร้าวต่อการกระทำของอิสราเอลและชาติตะวันตกที่สนับสนุนอิสราเอลในขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อวานนี้ นายบลิงเคน เผชิญกับการแสดงความไม่พอใจของรัฐมนตรึต่างประเทศของขาติอาหรับในระหว่างที่มีการประชุมหารือกันที่ประเทศจอร์แดน นาย
บลิงเคน ยังคงยืนยันว่าสหรัฐสนับสนุนให้มีการหยุดพักรบชั่วคราวเพื่อมนุษยธรรม เพื่อให้พลเรือนได้รับความช่วยเหลือแม้ว่าก่อนหน้านั้น 1 วัน นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮุ ของอิสราเองจะเมินเสียงเรียกร้องให้หยุดยิงในกาซา.-สำนักข่าวไทย
เซเลนสกีตัดพ้อ “โลกลืมยูเครน” ลั่นการสู้รบกับรัสเซีย “ยังไม่ถึงทางตัน”
https://www.dailynews.co.th/news/2869823/
ผู้นำยูเครนกล่าวว่า การสู้รบกับรัสเซีย "ยังไม่ถึงทางตัน" แต่สงครามระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส ทำให้โลกเลิกสนใจยูเครน
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงเคียฟ ประเทศยูเครน เมื่อวันที่ 5 พ.ย.ว่าประธานาธิบดี
โวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครน กล่าวถึงการทำสงครามกับรัสเซีย ว่าแน่นอนว่าการสู้รบ ซึ่งยืดเยื้อตั้งแต่วันที่ 24 ก.พ. 2565 ทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความเหนื่อยล้า แต่ไม่ได้หมายความว่า “
สถานการณ์มาถึงทางตัน”
อย่างไรก็ตาม
เซเลนสกีกล่าวว่า สงครามระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส ซึ่งสู้รบกันอย่างดุเดือดในฉนวนกาซา ตั้งแต่วันที่ 7 ต.ค. ที่ผ่านมา เบี่ยงเบนความสนใจของชาวโลกออกจากยูเครน “
อย่างสิ้นเขิง” สถานการณ์ที่เกิดขึ้นสอดคล้องกับความต้องการของรัสเซีย
ทั้งนี้ทั้งนั้น ผู้นำยูเครนยังคงยืนยัน “
ศักยภาพและประสิทธิภาพ” ของกองทัพ พร้อมทั้งปฏิเสธกระแสข่าวจากหลายแหล่ง ว่ารัฐบาลเคียฟเผชิญกับแรงกดดันมากขึ้นจากหลายประเทศในยุโรป ให้เข้าสู่กระบวนการเจรจากับรัสเซีย โดยยืนยันว่า ยูเครนเดินทางมาไกลเกินกว่าจะถอยแล้ว
อีกด้านหนึ่ง กองทัพอากาศยูเครนอ้างการโจมตีอู่ต่อเรือของกองทัพรัสเซีย ที่ตั้งอยู่บนช่องแคบเคิร์ช ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคาบสมุทรไครเมีย โดยข้อมูลของกองทัพยูเครนระบุด้วยว่า อู่ต่อเรือแห่งนี้เป็นสถานที่จอดเทียบท่าของเรือรบล้ำสมัยหลายลำของรัสเซีย และเป็นคลังเก็บขีปนาวุธเร็วเหนือเสียง “คาลิเบอร์” ด้วย
ขณะที่กระทรวงกลาโหมรัสเซียยังปฏิเสธให้ความเห็นอย่างเป็นทางการ ส่วนนาย
เซอร์เก อักซิโอนอฟ ผู้ว่าการคาบสมุทรไครเมีย ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยรัสเซีย กล่าวว่า มีการยิงขีปนาวุธออกมาจากฝั่งยูเครนจริง แต่ระบบป้องกันของรัสเซียสามารถสกัดไว้ได้ และต้องมีการปิดการสัญจรบนสะพานนานระยะหนึ่ง เพื่อความปลอดภัยด้วย
เลขา ครป. เรียกร้องรัฐบาลเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 256 ตั้ง ส.ส.ร.
https://prachatai.com/journal/2023/11/106655
เลขา ครป. เรียกร้องรัฐบาลเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 256 ตั้ง ส.ส.ร. ไม่ต้องรอประชามติ พิสูจน์ตนเองไม่ต้องการสืบทอดอำนาจระบอบเดิม
เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2566 ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) มีการจัดเวทีอภิปรายเรื่อง "
กระบวนการขับเคลื่อนรัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตย แก้ไข-ร่างใหม่-ประชามติ?" นาย
เมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) กล่าวว่า 50 ปี 14 ตุลาผ่านไป คนไทยยังเรียกร้องรัฐธรรมนูญอยู่เหมือนเดิม
ตนเห็นว่าส่วนประกอบสำคัญในการขับเคลื่อนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยของประชาชนมีอยู่ 5 ส่วนในขณะนี้คือ
1. คณะกรรมการศึกษาแนวทางทำประชามติ ประกอบด้วยทุกพรรคการเมืองยกเว้นพรรคก้าวไกลเข้าร่วม คณะกรรมการแต่งตั้งอนุกรรมรับฟังความคิดเห็น และอนุกรรมการกำหนดจำนวนการประชามติ ซึ่งวันนี้มีการนำเสนอ 1 ครั้ง 2 ครั้ง หรือ 3 ครั้ง ซึ่งตนเห็นว่าประชามติแค่ครั้งเดียวเท่านั้นเพื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 256 วรรค 8 หลังจากมีคณะ ส.ส.ร.ร่างฉบับใหม่เรียบร้อยแล้วจะประชามติอีกรอบก็ได้
2. การประชามติ ตามคำพิพากษาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั้น ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีมติเสียงข้างมากวินิจฉัยว่ารัฐสภามีอำนาจและหน้าที่จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ แต่ต้องจัดทำประชามติ 2 ครั้ง ครั้งแรกให้ประชาชนลงมติว่าต้องการให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ เพราะรัฐธรรมนูญเก่าผ่านประชามติมาในสมัยคสช. และครั้งที่ 2 เมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ต้องจัดให้มีการลงประชามติว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่นั่นคือการพิจารณาการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในระบบกฎหมายมหาชน ในระหว่างนั้น ไม่เกี่ยวกับการเสนอร่างกฏหมายแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 256 (8) ซึ่งรัฐบาลสามารถเสนอกฎหมายนี้ได้เลยตามที่หาเสียงไว้ จะสนอคำถามพ่วงยกเลิก ส.ว.แต่งตั้งที่ค้ำบัลลังก์อำนาจหลังจากการเลือกตั้งร่วมด้วยเลยก็ได้
3. พรรคการเมือง ตอนนี้ประชาชนมีความหวังกับพรรครัฐบาล 2 พรรคที่มีนโยบายแก้ไขรัฐธรรมนูญ คือพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาชาติ พรรคเพื่อไทยมีนโยบายให้มี ส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้ง และผ่านประชามติประชาชน รวมถึงออกกฎหมายให้รัฐประหารเป็นความผิดฐานกบฎ พรรคเคยชูจุดเด่นแก้รัฐธรรมนูญ ผลักดันให้ประเทศเป็นประชาธิปไตย ขจัดการสืบทอดอำนาจเผด็จการ สร้างความเป็นธรรมให้ประชาชน และแก้ปมแรกของทุกปัญหา ด้วยการแก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งต้องทวงถามความจริงใจจากพรรคเพื่อไทยในเรื่องดังกล่าว ซึ่งตนอยากให้เวลารัฐบาลได้ทำงานก่อน 3 เดือน แต่วันนี้มีคนพูด
ว่า "Pheuthai will not do now they think that they will replace Prayuth and will inherit everything from the present system" พรรคเพื่อไทยต้องพิสูจน์ข้อกล่าวหานี้ให้ได้
ส่วนพรรคประชาชาติมีนโยบายให้ทำประชามติการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนด้วยเช่นกัน โดยให้ประชามติเรื่องจังหวัดจัดการตัวเองหรือเลือกตั้งผู้ว่าราชการด้วย
4. โจทย์ในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยนั้น ปัจจุบันตั้งอยู่บนวิกฤตการเมืองที่มีข้อเสนอว่า
1) ต้องจัดวางความสัมพันธ์ทางอำนาจ ความสัมพันธ์ของรัฐท้องถิ่นกับรัฐบาลกลางใหม่ ความเป็นราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐเดียวแบ่งแยกมิได้ แต่มีการแบ่งเขตการปกครองและการบริหารเป็นจังหวัด ที่มาด้วยการกระจายอำนาจ
2) การได้มาซึ่งรัฐบาล หลายคนเสนอให้มีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีโดยตรง ให้มีการเลือกตั้งรอบสอง เพื่อแยกฝ่ายบริหารออกจากฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายรัฐสภา เพื่อป้องกันมิให้พรรคการเมืองมีความเป็นเผด็จการเสียงข้างมาก โดยคุมทั้งฝ่ายคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา และแก้ปัญหานายทุนครอบพรรคด้วย รวมถึงที่มาของฝ่ายตุลาการต้องยึดโยงประชาชนผ่านระบบรัฐสภา แก้ ระบบการเลือกตั้ง และกฎหมายพรรคการเมืองให้สอดคล้อง
3) สิทธิเสรีภาพของประชาชน และชุมชน การศึกษา การปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่ล้าหลัง การปฏิรูปตำรวจและกองทัพ เป็นต้น
4) ที่มาและอำนาจหน้าที่องค์กรอิสระ ต้องยึดโยงกับประชาชนผ่านกลไกรัฐสภาที่เป็นประชาธิปไตย
และ 5) การจัดการเศรษฐกิจทุนนิยมผูกขาด การจัดการทรัพยากรสาธารณะของรัฐและประชาชน ต้องสร้างประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและรัฐสวัสดิการ
5. การนิรโทษกรรมประชาชนในคดีการเมือง เป็นเรื่องที่ต้องเกิดขึ้นเป็นคู่ขนานของการผลักดันรัฐธรรมนูญเนื่องจากภายหลังพล.อ.ประยุทธ์ ยึดอำนาจฉีกรัฐธรรมนูญก็มีการนิรโทษกรรมตนเองด้วย การปรองดองและความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ควรจะต้องเกิดขึ้นในรัฐบาลเพื่อไทย
JJNY : การรบในกาซายังดุเดือด│เซเลนสกีพ้อ“โลกลืมยูเครน”│เลขาครป.ร้องรบ.เสนอร่างแก้ไขรธน.ม.256│จี้รัฐอุ้มบ้านสร้างเอง
https://tna.mcot.net/world-1267324
อิสราเอล 4 พ.ย. – อิสราเอลเดินหน้าทำสงครามเพื่อกวาดล้างกลุ่มติดอาวุธฮามาสอย่างดุเดือดในฉนวนกาซา ในขณะที่ฮามาสกล่าวว่า อิสราเอลทิ้งระเบิดโจมตีค่ายผู้อพยพในกาซา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 30 ราย
การสู้รบยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในฉนวนกาซา ซึ่งมีประชากรชาวปาเลสไตน์อาศัยอยู่อย่างหนานแน่นแม้จะมีเสียงเรียกร้องให้หยุดยิงจากประเทศอาหรับและพลเรือนที่มีความรู้สึกสิ้นหวังหลังจากสงครามดำเนินมาได้เกือบจะครบ 30 วันแล้ว
กระทรวงสาธารณสุขของกลุ่มฮามาสในฉนวนกาซากล่าวว่า อิสราเอลได้ทิ้งระเบิดโจมตีค่ายผู้อพยพอัล-มากาห์ซี ในภาคกลางของฉนวนกาซาเมื่อวานนี้ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 30 ราย ซึ่งผู้เห็นเหตุการณ์รายงานวา มีเด็กเสียชีวิตหลายคนและบ้านเรือนพังเสียหาย โฆษกกองทัพอิสราอลกล่าวว่า จะตรวจสอบดูว่า ทหารของอิสราเอลปฎิบัติงานในพื้นที่ในช่วงเวลาที่มีการโจมตีท่างอากาสครั้งนี้หรือไม่
ในขณะที่สงครามกำลังเข้าสู่สัปดาห์ที่ 5 นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐยังคงตระเวณเยือนหลายประเทศในตะวันออกกลางในวันนี้ โดยมีกำหนดจะเดินทางไปเยือนตุรกีเป็นลำดับต่อไป หลังจากที่รัฐบาลตุรกีมีท่าทีแข็งกร้าวต่อการกระทำของอิสราเอลและชาติตะวันตกที่สนับสนุนอิสราเอลในขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อวานนี้ นายบลิงเคน เผชิญกับการแสดงความไม่พอใจของรัฐมนตรึต่างประเทศของขาติอาหรับในระหว่างที่มีการประชุมหารือกันที่ประเทศจอร์แดน นายบลิงเคน ยังคงยืนยันว่าสหรัฐสนับสนุนให้มีการหยุดพักรบชั่วคราวเพื่อมนุษยธรรม เพื่อให้พลเรือนได้รับความช่วยเหลือแม้ว่าก่อนหน้านั้น 1 วัน นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮุ ของอิสราเองจะเมินเสียงเรียกร้องให้หยุดยิงในกาซา.-สำนักข่าวไทย
เซเลนสกีตัดพ้อ “โลกลืมยูเครน” ลั่นการสู้รบกับรัสเซีย “ยังไม่ถึงทางตัน”
https://www.dailynews.co.th/news/2869823/
ผู้นำยูเครนกล่าวว่า การสู้รบกับรัสเซีย "ยังไม่ถึงทางตัน" แต่สงครามระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส ทำให้โลกเลิกสนใจยูเครน
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงเคียฟ ประเทศยูเครน เมื่อวันที่ 5 พ.ย.ว่าประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครน กล่าวถึงการทำสงครามกับรัสเซีย ว่าแน่นอนว่าการสู้รบ ซึ่งยืดเยื้อตั้งแต่วันที่ 24 ก.พ. 2565 ทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความเหนื่อยล้า แต่ไม่ได้หมายความว่า “สถานการณ์มาถึงทางตัน”
อย่างไรก็ตาม เซเลนสกีกล่าวว่า สงครามระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส ซึ่งสู้รบกันอย่างดุเดือดในฉนวนกาซา ตั้งแต่วันที่ 7 ต.ค. ที่ผ่านมา เบี่ยงเบนความสนใจของชาวโลกออกจากยูเครน “อย่างสิ้นเขิง” สถานการณ์ที่เกิดขึ้นสอดคล้องกับความต้องการของรัสเซีย
ทั้งนี้ทั้งนั้น ผู้นำยูเครนยังคงยืนยัน “ศักยภาพและประสิทธิภาพ” ของกองทัพ พร้อมทั้งปฏิเสธกระแสข่าวจากหลายแหล่ง ว่ารัฐบาลเคียฟเผชิญกับแรงกดดันมากขึ้นจากหลายประเทศในยุโรป ให้เข้าสู่กระบวนการเจรจากับรัสเซีย โดยยืนยันว่า ยูเครนเดินทางมาไกลเกินกว่าจะถอยแล้ว
อีกด้านหนึ่ง กองทัพอากาศยูเครนอ้างการโจมตีอู่ต่อเรือของกองทัพรัสเซีย ที่ตั้งอยู่บนช่องแคบเคิร์ช ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคาบสมุทรไครเมีย โดยข้อมูลของกองทัพยูเครนระบุด้วยว่า อู่ต่อเรือแห่งนี้เป็นสถานที่จอดเทียบท่าของเรือรบล้ำสมัยหลายลำของรัสเซีย และเป็นคลังเก็บขีปนาวุธเร็วเหนือเสียง “คาลิเบอร์” ด้วย
ขณะที่กระทรวงกลาโหมรัสเซียยังปฏิเสธให้ความเห็นอย่างเป็นทางการ ส่วนนายเซอร์เก อักซิโอนอฟ ผู้ว่าการคาบสมุทรไครเมีย ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยรัสเซีย กล่าวว่า มีการยิงขีปนาวุธออกมาจากฝั่งยูเครนจริง แต่ระบบป้องกันของรัสเซียสามารถสกัดไว้ได้ และต้องมีการปิดการสัญจรบนสะพานนานระยะหนึ่ง เพื่อความปลอดภัยด้วย
เลขา ครป. เรียกร้องรัฐบาลเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 256 ตั้ง ส.ส.ร.
https://prachatai.com/journal/2023/11/106655
เลขา ครป. เรียกร้องรัฐบาลเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 256 ตั้ง ส.ส.ร. ไม่ต้องรอประชามติ พิสูจน์ตนเองไม่ต้องการสืบทอดอำนาจระบอบเดิม
เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2566 ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) มีการจัดเวทีอภิปรายเรื่อง "กระบวนการขับเคลื่อนรัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตย แก้ไข-ร่างใหม่-ประชามติ?" นายเมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) กล่าวว่า 50 ปี 14 ตุลาผ่านไป คนไทยยังเรียกร้องรัฐธรรมนูญอยู่เหมือนเดิม
ตนเห็นว่าส่วนประกอบสำคัญในการขับเคลื่อนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยของประชาชนมีอยู่ 5 ส่วนในขณะนี้คือ
1. คณะกรรมการศึกษาแนวทางทำประชามติ ประกอบด้วยทุกพรรคการเมืองยกเว้นพรรคก้าวไกลเข้าร่วม คณะกรรมการแต่งตั้งอนุกรรมรับฟังความคิดเห็น และอนุกรรมการกำหนดจำนวนการประชามติ ซึ่งวันนี้มีการนำเสนอ 1 ครั้ง 2 ครั้ง หรือ 3 ครั้ง ซึ่งตนเห็นว่าประชามติแค่ครั้งเดียวเท่านั้นเพื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 256 วรรค 8 หลังจากมีคณะ ส.ส.ร.ร่างฉบับใหม่เรียบร้อยแล้วจะประชามติอีกรอบก็ได้
2. การประชามติ ตามคำพิพากษาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั้น ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีมติเสียงข้างมากวินิจฉัยว่ารัฐสภามีอำนาจและหน้าที่จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ แต่ต้องจัดทำประชามติ 2 ครั้ง ครั้งแรกให้ประชาชนลงมติว่าต้องการให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ เพราะรัฐธรรมนูญเก่าผ่านประชามติมาในสมัยคสช. และครั้งที่ 2 เมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ต้องจัดให้มีการลงประชามติว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่นั่นคือการพิจารณาการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในระบบกฎหมายมหาชน ในระหว่างนั้น ไม่เกี่ยวกับการเสนอร่างกฏหมายแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 256 (8) ซึ่งรัฐบาลสามารถเสนอกฎหมายนี้ได้เลยตามที่หาเสียงไว้ จะสนอคำถามพ่วงยกเลิก ส.ว.แต่งตั้งที่ค้ำบัลลังก์อำนาจหลังจากการเลือกตั้งร่วมด้วยเลยก็ได้
3. พรรคการเมือง ตอนนี้ประชาชนมีความหวังกับพรรครัฐบาล 2 พรรคที่มีนโยบายแก้ไขรัฐธรรมนูญ คือพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาชาติ พรรคเพื่อไทยมีนโยบายให้มี ส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้ง และผ่านประชามติประชาชน รวมถึงออกกฎหมายให้รัฐประหารเป็นความผิดฐานกบฎ พรรคเคยชูจุดเด่นแก้รัฐธรรมนูญ ผลักดันให้ประเทศเป็นประชาธิปไตย ขจัดการสืบทอดอำนาจเผด็จการ สร้างความเป็นธรรมให้ประชาชน และแก้ปมแรกของทุกปัญหา ด้วยการแก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งต้องทวงถามความจริงใจจากพรรคเพื่อไทยในเรื่องดังกล่าว ซึ่งตนอยากให้เวลารัฐบาลได้ทำงานก่อน 3 เดือน แต่วันนี้มีคนพูด
ว่า "Pheuthai will not do now they think that they will replace Prayuth and will inherit everything from the present system" พรรคเพื่อไทยต้องพิสูจน์ข้อกล่าวหานี้ให้ได้
ส่วนพรรคประชาชาติมีนโยบายให้ทำประชามติการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนด้วยเช่นกัน โดยให้ประชามติเรื่องจังหวัดจัดการตัวเองหรือเลือกตั้งผู้ว่าราชการด้วย
4. โจทย์ในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยนั้น ปัจจุบันตั้งอยู่บนวิกฤตการเมืองที่มีข้อเสนอว่า
1) ต้องจัดวางความสัมพันธ์ทางอำนาจ ความสัมพันธ์ของรัฐท้องถิ่นกับรัฐบาลกลางใหม่ ความเป็นราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐเดียวแบ่งแยกมิได้ แต่มีการแบ่งเขตการปกครองและการบริหารเป็นจังหวัด ที่มาด้วยการกระจายอำนาจ
2) การได้มาซึ่งรัฐบาล หลายคนเสนอให้มีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีโดยตรง ให้มีการเลือกตั้งรอบสอง เพื่อแยกฝ่ายบริหารออกจากฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายรัฐสภา เพื่อป้องกันมิให้พรรคการเมืองมีความเป็นเผด็จการเสียงข้างมาก โดยคุมทั้งฝ่ายคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา และแก้ปัญหานายทุนครอบพรรคด้วย รวมถึงที่มาของฝ่ายตุลาการต้องยึดโยงประชาชนผ่านระบบรัฐสภา แก้ ระบบการเลือกตั้ง และกฎหมายพรรคการเมืองให้สอดคล้อง
3) สิทธิเสรีภาพของประชาชน และชุมชน การศึกษา การปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่ล้าหลัง การปฏิรูปตำรวจและกองทัพ เป็นต้น
4) ที่มาและอำนาจหน้าที่องค์กรอิสระ ต้องยึดโยงกับประชาชนผ่านกลไกรัฐสภาที่เป็นประชาธิปไตย
และ 5) การจัดการเศรษฐกิจทุนนิยมผูกขาด การจัดการทรัพยากรสาธารณะของรัฐและประชาชน ต้องสร้างประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและรัฐสวัสดิการ
5. การนิรโทษกรรมประชาชนในคดีการเมือง เป็นเรื่องที่ต้องเกิดขึ้นเป็นคู่ขนานของการผลักดันรัฐธรรมนูญเนื่องจากภายหลังพล.อ.ประยุทธ์ ยึดอำนาจฉีกรัฐธรรมนูญก็มีการนิรโทษกรรมตนเองด้วย การปรองดองและความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ควรจะต้องเกิดขึ้นในรัฐบาลเพื่อไทย