สมาธิ 3 (ความตั้งมั่นแห่งจิต หมายถึงสมาธิในวิปัสสนา หรือตัววิปัสสนานั่นเอง แยกประเภทตามลักษณะการกำหนดพิจารณาไตรลักษณ์ ข้อที่ให้สำเร็จความหลุดพ้น )
1. สุญญตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาเห็นความว่าง ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนัตตลักษณะ )
2. อนิมิตตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนิจจลักษณะ )
3. อัปปณิหิตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีความตั้งปรารถนา ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดทุกขลักษณะ )
ทำให้เกิดความหลุดพ้น3คือ
วิโมกข์ 3 (ความหลุดพ้น, ประเภทของความหลุดพ้น จัดตามลักษณะการเห็นไตรลักษณ์ ข้อที่ให้ถึงความหลุดพ้น )
1. สุญญตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยเห็นความว่างหมดความยึดมั่น ได้แก่ ความหลุดพ้น ที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นอนัตตา คือ หลุดพ้นด้วยเห็นอนัตตา แล้วถอนความยึดมั่นเสียได้ ) = อาศัยอนัตตานุปัสสนา ถอนอัตตาภินิเวส.
2. อนิมิตตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยไม่ถือนิมิต ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นอนิจจัง คือ หลุดพ้นด้วยเห็นอนิจจตา แล้วถอนนิมิตเสียได้ ) = อาศัยอนิจจานุปัสสนา ถอนวิปัลลาสนิมิต.
3. อัปปณิหิตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยไม่ทำความปรารถนา ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นทุกข์ คือ หลุดพ้นด้วยเห็นทุกขตาแล้วถอนความปรารถนาเสียได้ ) = อาศัยทุกขานุปัสสนา ถอนตัณหาปณิธิ.
อรรถกถา ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
สังคีติสูตร
กถาในสุญญตะเป็นต้น มี ๓ อย่างคือ โดยความสำเร็จ โดยคุณของตน โดยอารมณ์.
ภิกษุรูปหนึ่ง ยึดถือโดยความเป็นอนัตตา เห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมออกไป (คือหลุดพ้น) โดยความเป็นอนัตตา ชื่อว่า (สุญญตะ) โดยความสำเร็จ. วิปัสสนาของท่าน ชื่อว่าเป็นสุญญตะ.
เพราะเหตุไร.
เพราะกิเลสตัวกระทำไม่ให้เป็นสุญญตะไม่มี. มรรคสมาธิชื่อว่าเป็นสุญญตะ เพราะสำเร็จด้วยวิปัสสนา ผลสมาธิชื่อว่าเป็นสุญญตะ เพราะสำเร็จด้วยมรรค.
รูปอื่นอีก ยึดถือโดยความเป็นของไม่เที่ยง เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง แล้วออกไปโดยความเป็นของไม่เที่ยง. วิปัสสนาของท่าน ชื่อว่าเป็นอนิมิตตะ.
เพราะเหตุไร.
เพราะไม่มีกิเลสที่กระทำนิมิต. มรรคสมาธิชื่อว่าเป็นอนิมิตตะ เพราะสำเร็จโดยวิปัสสนา. ผลชื่อว่าอนิมิตตะ เพราะสำเร็จโดยมรรค.
รูปอื่นอีก ยึดมั่นโดยความเป็นทุกข์ เห็นโดยความเป็นทุกข์ แล้วออกไป (หลุดพ้น) โดยความเป็นทุกข์. วิปัสสนาของท่าน ชื่อว่าเป็นอัปปณิหิตะหาที่ตั้งมิได้.
เพราะเหตุไร.
เพราะไม่มีกิเลสตัวที่กระทำปณิธิที่ปรารถนา. มรรคสมาธิชื่อว่าเป็นอัปปณิหิตะ เพราะสำเร็จโดยวิปัสสนา. ผลชื่อว่าเป็นอัปปณิหิตะ เพราะสำเร็จโดยมรรค.
กถาโดยความสำเร็จมีเท่าที่พรรณนามานี้แล.
ก็มรรคสมาธิ ชื่อว่าสุญญตะ เพราะว่างเปล่าจากราคะเป็นต้น ชื่อว่าอนิมิตตะ เพราะไม่มีราคะเป็นนิมิตเป็นต้น. ชื่อว่าอัปปณิหิตะ เพราะไม่มีราคะเป็นที่ตั้งอาศัยเป็นต้น.
กถาโดยคุณของตนมีเท่าที่พรรณนามานี้แล.
พระนิพพาน ชื่อว่าสุญญตะ อนิมิตตะและอัปปณิหิตะ เพราะว่างเปล่าจากราคะเป็นต้น และเพราะไม่มีราคะเป็นต้นเป็นเครื่องหมายและเป็นที่ตั้งอาศัย. มรรคสมาธิซึ่งมีนิพพานนั้นเป็นอารมณ์ จึงเป็นสุญญตะ อนิมิตตะ อัปปณิหิตะ.
สมาธิ 3
1. สุญญตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาเห็นความว่าง ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนัตตลักษณะ )
2. อนิมิตตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนิจจลักษณะ )
3. อัปปณิหิตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีความตั้งปรารถนา ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดทุกขลักษณะ )
ทำให้เกิดความหลุดพ้น3คือ
วิโมกข์ 3 (ความหลุดพ้น, ประเภทของความหลุดพ้น จัดตามลักษณะการเห็นไตรลักษณ์ ข้อที่ให้ถึงความหลุดพ้น )
1. สุญญตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยเห็นความว่างหมดความยึดมั่น ได้แก่ ความหลุดพ้น ที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นอนัตตา คือ หลุดพ้นด้วยเห็นอนัตตา แล้วถอนความยึดมั่นเสียได้ ) = อาศัยอนัตตานุปัสสนา ถอนอัตตาภินิเวส.
2. อนิมิตตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยไม่ถือนิมิต ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นอนิจจัง คือ หลุดพ้นด้วยเห็นอนิจจตา แล้วถอนนิมิตเสียได้ ) = อาศัยอนิจจานุปัสสนา ถอนวิปัลลาสนิมิต.
3. อัปปณิหิตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยไม่ทำความปรารถนา ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นทุกข์ คือ หลุดพ้นด้วยเห็นทุกขตาแล้วถอนความปรารถนาเสียได้ ) = อาศัยทุกขานุปัสสนา ถอนตัณหาปณิธิ.
อรรถกถา ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
สังคีติสูตร
กถาในสุญญตะเป็นต้น มี ๓ อย่างคือ โดยความสำเร็จ โดยคุณของตน โดยอารมณ์.
ภิกษุรูปหนึ่ง ยึดถือโดยความเป็นอนัตตา เห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมออกไป (คือหลุดพ้น) โดยความเป็นอนัตตา ชื่อว่า (สุญญตะ) โดยความสำเร็จ. วิปัสสนาของท่าน ชื่อว่าเป็นสุญญตะ.
เพราะเหตุไร.
เพราะกิเลสตัวกระทำไม่ให้เป็นสุญญตะไม่มี. มรรคสมาธิชื่อว่าเป็นสุญญตะ เพราะสำเร็จด้วยวิปัสสนา ผลสมาธิชื่อว่าเป็นสุญญตะ เพราะสำเร็จด้วยมรรค.
รูปอื่นอีก ยึดถือโดยความเป็นของไม่เที่ยง เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง แล้วออกไปโดยความเป็นของไม่เที่ยง. วิปัสสนาของท่าน ชื่อว่าเป็นอนิมิตตะ.
เพราะเหตุไร.
เพราะไม่มีกิเลสที่กระทำนิมิต. มรรคสมาธิชื่อว่าเป็นอนิมิตตะ เพราะสำเร็จโดยวิปัสสนา. ผลชื่อว่าอนิมิตตะ เพราะสำเร็จโดยมรรค.
รูปอื่นอีก ยึดมั่นโดยความเป็นทุกข์ เห็นโดยความเป็นทุกข์ แล้วออกไป (หลุดพ้น) โดยความเป็นทุกข์. วิปัสสนาของท่าน ชื่อว่าเป็นอัปปณิหิตะหาที่ตั้งมิได้.
เพราะเหตุไร.
เพราะไม่มีกิเลสตัวที่กระทำปณิธิที่ปรารถนา. มรรคสมาธิชื่อว่าเป็นอัปปณิหิตะ เพราะสำเร็จโดยวิปัสสนา. ผลชื่อว่าเป็นอัปปณิหิตะ เพราะสำเร็จโดยมรรค.
กถาโดยความสำเร็จมีเท่าที่พรรณนามานี้แล.
ก็มรรคสมาธิ ชื่อว่าสุญญตะ เพราะว่างเปล่าจากราคะเป็นต้น ชื่อว่าอนิมิตตะ เพราะไม่มีราคะเป็นนิมิตเป็นต้น. ชื่อว่าอัปปณิหิตะ เพราะไม่มีราคะเป็นที่ตั้งอาศัยเป็นต้น.
กถาโดยคุณของตนมีเท่าที่พรรณนามานี้แล.
พระนิพพาน ชื่อว่าสุญญตะ อนิมิตตะและอัปปณิหิตะ เพราะว่างเปล่าจากราคะเป็นต้น และเพราะไม่มีราคะเป็นต้นเป็นเครื่องหมายและเป็นที่ตั้งอาศัย. มรรคสมาธิซึ่งมีนิพพานนั้นเป็นอารมณ์ จึงเป็นสุญญตะ อนิมิตตะ อัปปณิหิตะ.