***สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ สุดยอดสมาธิในสามโลกของพระพุทธองค์ ขอนอบน้อมสักการะเนื่องในวันวิสาขบูชา***

สมาธิ 3 (ความตั้งมั่นแห่งจิต หมายถึงสมาธิในวิปัสสนา หรือตัววิปัสสนานั่นเอง แยกประเภทตามลักษณะการกำหนดพิจารณาไตรลักษณ์ ข้อที่ให้สำเร็จความหลุดพ้น )
       1. สุญญตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาเห็นความว่าง ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนัตตลักษณะ )
       2. อนิมิตตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนิจจลักษณะ )
       3. อัปปณิหิตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีความตั้งปรารถนา ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดทุกขลักษณะ )
       
        ทำให้เกิดความหลุดพ้น3คือ

วิโมกข์ 3 (ความหลุดพ้น, ประเภทของความหลุดพ้น จัดตามลักษณะการเห็นไตรลักษณ์ ข้อที่ให้ถึงความหลุดพ้น )
       1. สุญญตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยเห็นความว่างหมดความยึดมั่น ได้แก่ ความหลุดพ้น ที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นอนัตตา คือ หลุดพ้นด้วยเห็นอนัตตา แล้วถอนความยึดมั่นเสียได้ ) = อาศัยอนัตตานุปัสสนา ถอนอัตตาภินิเวส.
       2. อนิมิตตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยไม่ถือนิมิต ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นอนิจจัง คือ หลุดพ้นด้วยเห็นอนิจจตา แล้วถอนนิมิตเสียได้ ) = อาศัยอนิจจานุปัสสนา ถอนวิปัลลาสนิมิต.
       3. อัปปณิหิตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยไม่ทำความปรารถนา ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นทุกข์ คือ หลุดพ้นด้วยเห็นทุกขตาแล้วถอนความปรารถนาเสียได้ ) = อาศัยทุกขานุปัสสนา ถอนตัณหาปณิธิ.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่