คนไทยชอบติเพื่อก่อจริงหรือไม่ ??? กับประเด็น"ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท"

กระแสฮอตช่วงนี้ต้องยกให้นโยบายที่ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศเฝ้ารอคอย "ดิจิทัลวอลเล็ต" แจก 10,000 บาท ของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แม้รายละเอียดนโยบายจะยังไม่ชัดเจน แต่ก็เริ่มมีกลุ่มนักวิชาการ และกลุ่มการเมืองที่เสียผลประโยชน์เริ่มออกมา แถ(ลง)การณ์ร่วมเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกนโยบายแจกเงินแก่ประชาชนคนฐานราก และคนชั้นกลางกว่า 50 ล้านคน แค่นโยบายก็โดนคัดด้านขนาดนี้แล้วโครงการต่างๆ ของรัฐจะขับเคลื่อนไปได้อย่างไรกัน

เมื่อปัญหาปากท้องของประชาชน ถือได้ว่าเป็นเรื่องใหญ่กว่าทุกปัญหาในประเทศ แต่ก็ยังนักการเมืองบางพรรคที่พยายามจะบอกว่า
"ปัญหาการเมือง และปากท้อง ต้องแก้ทั้ง 2 เรื่องไปพร้อมกัน"

ปัญหาต่างๆ ก็ต้องควรมองลำดับความสำคัญของแต่ละปัญหาด้วยว่า ปัญหาไหนสำคัญกว่า ก็ควรจะต้องเร่งลงมือแก้ปัญหาก่อน โดยเฉพาะเรื่องปากท้องของประชาชนถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรก เพราะคนเรายังต้องกินต้องใช้กันอยู่ อีกทั้งนโยบายเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทยที่ได้หาเสียงไว้ก่อนเลือกตั้ง แล้วพอมาเป็นรัฐบาลได้จริง จะพยายามเร่งขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ ให้เป็นรูปธรรมได้ก็ไม่แปลกใจ 

แต่ที่น่าแปลกใจ ก็คือ เสียงส่วนน้อยของประเทศ พยายามทำตัวให้ตัวเองดูใหญ่ ตัวเองดูมีบทบาท ตัวเองมีความสำคัญ เหมือนที่ 99 นักวิชาการส่งเสียงคัดค้านที่ดูเหมือนจะดังกว่าคนที่จะได้ประโยชน์จริงๆ จากเงินดิจิทัลวอลเล็ตที่แท้จริง ที่มีกว่า 50 ล้านคนทั่วประเทศไปซะงั้น

ทางอธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มองนโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท ว่า 
"นโยบาย เงินดิจิทัล 10,000 บาทที่รัฐบาลจะดำเนินการจะใช้ประมาณ 5 แสนล้านบาททำได้แน่นอน และยังสามารถหมุนเวียนเศรษฐกิจ 2-3 รอบ คิดเป็น 1-1.5 ล้านล้านบาท โดยรัฐอาจจะออกแบบการใช้ แบ่งเป็นลอตๆ ลอตละ 3,000 บาท เพื่อกระจายให้เกิดการ กระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นระยะเวลา และกำหนดเงื่อนไขให้ใช้ในการซื้อสินค้าไทย เพื่อให้เม็ดเงินกระจายในประเทศไทยจะทำให้เงินหมุนหลายรอบ หากไม่กำหนดก็เสี่ยงจะรั่วไหลออกไปกับสินค้าต่างประเทศได้"
ทั้งๆ ที่รัฐบาลชุดนี้ ที่มีนายกรัฐมนตรีชื่อ นายเศรษฐา ทวีสิน เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งไม่กี่เดือน แต่นักการเมืองฝ่ายแค้น ที่อดเป็นรัฐบาลก็พยายามออกมาโจมตีนโยบายรัฐบาลกันแล้ว โดยเฉพาะกับพวกนักวิชาการ นักวิชาเกินทั้งหลาย รวมไปถึงไปที่พวกชอบอ้างว่าเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่เก่งระดับประเทศทั้งหลายแหล่ 

หากมองย้อนกลับไปถึงปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นช่วงนี้ แต่สะสมมาตั้งแต่ช่วงระบาดของโควิด-19 แล้ว จากการที่ผู้บริโภคปรับพฤติกรรมในการบริโภค จนทำให้การทำมาค้าขายที่ว่ายากอยู่แล้ว ยิ่งยากกว่าเดิมขึ้นไปอีก จากสภาพคล่องที่ต่ำลง ประกอบกับจำนวนเงินในกระเป๋าของผู้บริโภคที่น้อยลงอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 อีกทั้งเศรษฐกิจของไทย และของประเทศทั่วโลกก็ยังไม่ฟื้นตัวดี

จึงทำให้รัฐบาลพยายามที่เข้ามาแก้ปัญหาเรื่องค่าครองชีพของประชาชนเป็นอันดับแรก แต่สิ่งนี้กลับเป็นสิ่งที่พรรคฝ่ายค้านกลัวที่สุด เพราะถ้ารัฐบาลสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องค่าครองชีพประชาชนได้สำเร็จ หมายถึงการเลือกตั้งในสมัยหน้า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งกว่า 50  ล้านคน ก็อาจจะไปเทคะแนนเสียงให้กับพรรคฝ่ายรัฐบาลมากยิ่งขึ้นไปอีก

การที่จะใช้เงินภาษีที่มาจากประชาชน เพื่อออกมาช่วยเหลือประชาชนในยามนี้ จึงถือได้ว่า ไม่เป็นสิ่งที่ผิดปกติแต่อย่างใด แต่การที่จะใช้เงินอย่างรอบคอบ และชาญฉลาดตะหาก ที่มาจะช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศได้ การใช้งบประมาณที่สมควรก่อน และชะลองบในส่วนอื่นที่สามารถรอได้ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจช่วงเวลานี้ ก็เป็นเหตุที่สมเหตุสมผลอย่างมาก

เพราะหน้าที่หลักของรัฐ และนักการเมือง คือ การแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชน ส่วนการแก้ไขปัญหาอื่นๆ เห็นสมควรว่า ควรจะต้องเป็นปัญหารองๆ ลงไป 

ดังนั้น ทางที่ดีที่สุด คือ รอรัฐบาลแถลงนโยบายที่มีรายละเอียดชัดเจน เพราะตอนนี้ทุกคนในประเทศกำลัง ตีตนไปก่อนไข้ หรือเปล่า ?

ทำไม "ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท" ถึงควรถึงประชาชนทุกกลุ่ม
• กลุ่มเกษตรกร
ในปัจจุบันนี้ มีเกษตรกรที่เป็นลูกหนี้ถึงร้อยละ 41 ที่มีศักยภาพในการชำระหนี้ต่ำ และยังมีเกษตรกรลูกหนี้ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) อีกเกือบ 1.4 ล้านราย และในจำนวนลูกหนี้สูงอายุดังกล่าว มีเกือบ 180,000 ราย ที่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (หรือ NPL) 

เมื่อหนี้สินเกษตรกรเพิ่มมากขึ้น จะมีผลกระทบ
- การจำกัดอำนาจซื้อของครัวเรือน 
- การจำกัดทางเลือกในการลงทุนปรับปรุงโครงสร้างการผลิตของเกษตรกร 
- การส่งต่อหนี้สินไปยังคนรุ่นลูกหลาน 
- การขยายความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจให้กว้างขึ้นอีกในระยะยาว

• กลุ่มนักเรียน นักศึกษา
ตามข้อมูลกลุ่มที่จะได้รับ "ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท" คือ กลุ่มคนตั้งแต่อายุ 16 ปีขึ้นไป ซึ่งกลุ่มนักเรียน นักศึกษาถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีแต่รายจ่าย รายรับเรียกว่าแทบจะไม่มีเลย การปลูกผังนโยบายให้หัดวางแผนทางการเงินกับคนกลุ่มนี้จึงสำคัญยิ่ง อีกทั้งยังจะสามารถช่วยลดภาระรายจ่ายของผู้ปกครองได้ด้วย เปิดเทอมทีผู้ปกครองก็มักจะกังวลเกี่ยวกับปัญหาสภาพคล่องทางการเงินในการใช้จ่ายเพื่อการศึกษา แต่ด้วยการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับบุตรหลาน ผู้ปกครองในกลุ่มที่ประสบปัญหาสภาพคล่องจำเป็นต้องก่อหนี้เพื่อนำมาใช้จ่าย

• กลุ่มพ่อค้าแม่ค้า
เป็นการสร้างโอกาส และรายได้ให้กับธุรกิจกลุ่มนี้ยืนหยัดได้ จะเห็นได้ชัดจากมาตรการกระตุ้นการบริโภคอย่างต่อเนื่องของรัฐบาลชุดที่แล้ว กับ โครงการ “คนละครึ่ง” ที่มีกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก และเสียงส่วนใหญ่ค่อนข้างที่จะเห็นด้วยว่าทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นได้จริง จาก 5 ปัจจัย คือ
- ทำให้เกิดการบริโภคทันที
- ลงไปถึงธุรกิจร้านแผงลอย 
- รัฐช่วยอุดหนุนค่าใช้จ่าย ได้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายในเวลาเดียวกันฃ
- กระตุ้นให้คนหันมาใช้จ่ายผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัลมากขึ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีความรู้ ความเข้าใจในเทคโนโลยีมากขึ้น
- กระจายการใช้สิทธิ์ได้ทั่วถึงทั้งธุรกิจเล็ก กลาง ใหญ่

• ภาคธุรกิจ
สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อภาคธุรกิจและประชาชนในวงกว้าง กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการจ้างงานต้องหยุดชะงัก ผู้ประกอบการและพนักงานได้รับผลกระทบมีรายได้ลดลงและไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามปกติ อีกทั้งความผันผวนในตลาดการเงินทั่วโลก สงคราม ส่งผลถึงสภาพคล่องของภาคธุรกิจเป็นลูกโซ่

การที่จะให้เศรษฐกิจของประเทศกลับมาได้ ภาคธุรกิจก็ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากภาครัฐ ทำให้ธุรกิจที่ฟื้นตัวแล้วสามารถกลับมาขยายการลงทุน ในขณะที่ธุรกิจที่กำลังฟื้น และยังไม่ฟื้น ก็ต้องได้รับมาตรการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที จากการที่พฤติกรรมของผู้บริโภคปรับเปลี่ยนไปก่อนช่วงโควิด-19 เพราะปัจจุบันไม่ใช่แค่เป็น New Normal แล้ว แต่เป็น No Normal คือ การทำธุรกิจต่อไปนี้ จะไม่มีสิ่งปกติอีกต่อไป ทุกธุรกิจต้องเริ่มคิดใหม่ วางแผนใหม่ ปรับรูปแบบใหม่ ทำใหม่ เพื่อที่จะสามารถมองหาโอกาสและความเป็นไปได้ให้ดำเนินธุรกิจต่อได้


ในปี 2565 รัฐบาลไทยมีรายรับสุทธิที่ 2.5 ล้านล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่ก็มาจากการเก็บภาษีอากร ถ้า นโยบาย "ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท" ใช้งบประมาณ 500,000 ล้านบาท  ถ้าคิดง่าย ๆ  ก็ประมาณ 20% ของรายรับสุทธิของรัฐในปีที่แล้ว ซึ่งถ้าถามว่าพอจะจ่ายได้ไหม ก็น่าจะทำได้ แต่รัฐจะต้องอยุ่ใต้เงื่อนไข ดังนี้
1. รัฐต้องมีรายได้มากขึ้น
2. รัฐต้องนำงบประมาณจากส่วนอื่นมาจ่าย
3. รัฐต้องกู้เงินเพิ่มเพื่อมาจ่าย ในกรณีที่รายได้ของรัฐไม่มากขึ้น และไม่ตัดงบประมาณส่วนอื่น

รัฐบาลสามารถหารายได้เพิ่ม เช่น การขึ้นอัตราภาษีได้ทั้งจากเงินได้บุคคลธรรมดา นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีสรรพสามิต ที่เก็บจาก น้ำมัน รถยนต์ เหล้า เบียร์ หรือรัฐสามารถลดงบประมาณกระทรวงอื่น ๆ เพื่อมาจ่าย เช่น ลดงบกระทรวงกลาโหม 500,000 ล้าน เพื่อมาแจกเงินให้ทุกคนคนละ 10,000 บาท (แค่ยกตัวอย่างเท่านั้น)

นอกจากนั้น รัฐบาลก็สามารถก่อหนี้เพิ่มได้ ตราบเท่าที่ยังต่ำกว่าเพดานหนี้ ปัจจุบันเพดานหนี้สาธารณะไทยถูกขยับขึ้นจาก 60% เป็น 70% ของ GDP ไปเมื่อ ปี 2021 เป็นการชั่วคราว 10 ปี ซึ่งตัวเลขหนี้สาธารณะล่าสุดของไทยอยู่ที่ 61% และ GDP ไทยอยุ่ 17.4 ล้านล้านบาท ถ้าให้คิดว่าไทยก่อหนี้เพิ่ม 5 แสนล้านบาทจากโครงการนี้ ก็จะทำให้ หนี้สาธารณะไทยขยับขึ้น 3% ของ GDP เป็น 64% ของ GDP ซึ่งก็ยังอยู่ต่ำกว่าเพดานหนี้

สรุปแล้ว รัฐสามารถหาเงิน 500,000 ล้านบาทมาแจกประชาชนได้ ตัวเลขนี้ถึงแม้จะดูมากก็จริง แต่เป็นตัวเลขที่สามารถจัดการได้ เมื่อเทียบกับฐานะทางการเงินของรัฐบาลไทยในปัจจุบัน 

การแจกเงินจะได้ผลดีทางเศรษฐกิจแค่ไหน ?
เรื่องนี้คำตอบก็คือ ขึ้นอยู่กับคนที่ได้รับเงิน ว่าจะเอาเงินไปทำอะไร ?
แน่นอนว่าถ้าคนรับเงินนำเงินไปเก็บไว้ในธนาคารเฉย ๆ มันจะไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ต่อเศรษฐกิจ
ดังนั้นโดยทั่วไป รัฐก็มักกำหนดว่าต้องนำเงินที่ได้ไปใช้จ่ายเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจ
และถ้าถามว่าตัวชี้วัดเศรษฐกิจดีคืออะไร 
ตัวนั้นก็คือ GDP ซึ่งถ้าคนที่ได้รับเงินนำเงินไปทำสิ่งเหล่านี้ ก็จะส่งผลต่อ GDP ให้ปรับตัวขึ้นได้
1.นำเงินไปซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค (ตัว C ใน GDP)
2.นำเงินไปลงทุนเพื่อการผลิต (ตัว I ใน GDP)
3.นำเงินไปลดภาระรายจ่ายในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นจ่ายน้ำ ค่าไฟฟ้า หรือคืนหนี้ เพื่อให้มีเงินเหลือไปทำ 2 ข้อแรกมากขึ้น

ข้อมูลอ้างอิงจาก ลงทุนแมน - https://www.longtunman.com/45007


ล่าสุด ดร.ปิติ ศรีแสงนาม คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกรณีนักวิชาการร่วมลงชื่อคัดค้าน นโยบายดังกล่าว ว่า 
1. ข้อความในแถลงการณ์มีข้อคลาดเคลื่อนหลายจุด โดยเฉพาะในตัวเนื้อหา
2. ขาดการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
3. ขาดการนำข้อเสนอแนะเพื่อหาทางออกในการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพและมีความเป็นธรรม ผมคิดว่า นักเศรษฐศาสตร์ควรเสนอแนะแนวทางที่สร้างสรรค์ให้กับรัฐบาลด้วย


การกระตุ้นเศรษฐกิจให้ได้ผลดีต่อ GDP ของทั้งประเทศ และกลุ่มคนส่วนมากของประเทศที่เป็นฐานคนกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดได้ประโยชน์ จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลควรจะให้ความสนใจเป็นอันดับแรก หาใช่นโยบายเรื่องอื่นๆ แต่อย่างใด โดยเฉพาะการบริโภคทันที และการที่ประชาชนทุกคนล้วงเงินออกมาใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น ก็เป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศได้อีกเช่นกัน 

นี่แหละคือเหตุผลว่า ทำไมรัฐบาลใหม่ถึงจำเป็นต้องเคาะนโยบายออกมาเพื่อสนับสนุนให้เกิดมาตรการลดค่าครองชีพต่างๆ อย่างเร่งด่วน

"ประชานิยมจำเป็นจะต้องเป็นเศรษฐศาสตร์ที่แย่เสมอไปหรือไม่?"
ดานี รอดริก (Dani Rodrik) นักเศรษฐศาสตร์ ชาวตุรกีบอกว่า "ไม่เสมอไป"
 "นักเศรษฐศาสตร์ไม่ชอบประชานิยม และไม่ชอบด้วยเหตุผลที่ดีด้วย คำๆ นี้ทำให้นึกถึงความไม่รับผิดชอบ ความไม่ยั่งยืน และมักจะจบลงด้วยหายนะและทำให้คนธรรมดาต้องเจ็บปวดทั้งๆ ที่เป็นคนกลุ่มที่นโยบายนี้มีเป้าหมายที่จะช่วยเหลือ"
https://www.posttoday.com/international-news/646079
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่