ทำไม นายกฯ ใช้งบกว่า 30 ล้านบาท ไปนิวยอร์ก อเมริกา ไม่มาชี้แจงการใช้จ่ายแบบ รองฯ อ๋อง บ้าง?

โปร่งใส แบบ หมออ๋อง มั้ย? ใช้จ่ายอะไรบ้าง นั่นคือ ภาษี ประชาชน นะ

.......



‘หมออ๋อง’ แจงผลดูงานสิงคโปร์ ใช้งบต่ำกว่าที่ตั้งไว้-ส่งคืนคลัง หวังผลักดันประสิทธิภาพงานสภา ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เป็น Open Parliament เร็วที่สุด

วันที่ 27 กันยายน 2566 ปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 แถลงข่าวผลการศึกษาดูงาน ณ ประเทศสิงคโปร์ 

ระบุว่า จากงบประมาณที่ตั้งไว้ 1,493,800 บาท ใช้จริง 917,009.51 บาท ต่ำกว่างบที่ตั้งไว้ประมาณ 500,000 บาท 

ส่วนกรณีงบรับรอง 200,000 บาท ใช้จริง 61,742 บาท ส่งคืนคลัง 138,257 บาท 

โดยใช้ในการเลี้ยงรับรองนักศึกษาและแรงงานไทยในสิงคโปร์ รวมถึงในมื้อรับรองที่ทางคณะพบกับ สส.สิงคโปร์ นอกจากนั้นใช้ไปกับค่าคนขับรถและค่าใช้จ่ายจิปาถะ



ปดิพัทธ์ กล่าวว่า ส่วนการศึกษาดูงาน สิ่งที่พบมี 3 ประเด็น ประเด็นที่ 1 ตนได้เดินทางไปพบผู้ประกอบการแบตเตอรี่สำหรับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในสิงคโปร์ ได้รายละเอียดว่า 

หากประเทศไทยไม่สามารถเตรียมโครงสร้างทางกฎหมายมารองรับ การพัฒนาอุตสาหกรรม EV ในประเทศจะเป็นไปไม่ได้ โดยตนจะส่งผลการศึกษานี้ไปยังพรรคการเมืองต่างๆ รวมถึงรัฐบาลเพื่อพิจารณา

ประเด็นที่ 2 คือเหตุผลที่คนไทยที่ทำงานในบริษัทระดับโลกที่สิงคโปร์ ไม่สามารถกลับประเทศไทยได้ เช่น ระบบนิเวศ (ecosystem) หรือมาตรการภาษี ที่ไม่ดึงดูดผู้มีศักยภาพเข้ามาทำงาน 

รวมถึงเรื่องข้อมูลเปิด (Open data) ที่ประเทศไทยยังมีไม่เพียงพอให้บริษัทเทคโนโลยีเข้ามาลงทุนได้  ซึ่งตนจะส่งเรื่องไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาให้ดีขึ้น 



ส่วนแรงงานไทยในสิงคโปร์ ไม่พบปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชน และเป็นกลุ่มที่ต้องการการสนับสนุนเพื่อใช้ภาษาอังกฤษและทักษะช่างที่ดีขึ้น เนื่องจากเป็นแรงงานทักษะสูง

ประเด็นที่ 3 การพัฒนาระบบรัฐสภาของสิงคโปร์ แม้ระบบสภาฯ ของสิงคโปร์แตกต่างจากประเทศไทยมาก 

แต่สิงคโปร์ลงทุนเกี่ยวกับประสิทธิภาพของสภาฯ สูงมาก มีการประชุมสภาฯ เดือนละครั้ง ครั้งละ 3-4 วัน ประชาชนเข้าร่วมได้เสมือนเป็นพยานในการตัดสินใจ



 ดังนั้น ในการอภิปรายงบประมาณและการอภิปรายไม่ไว้วางใจของสภาชุดนี้ ตนจะผลักดันให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมได้เช่นกัน 

ปดิพัทธ์ ยังกล่าวถึงนโยบาย Cloud First Policy โดยระบุว่าปัจจุบันเอกสารข้อมูลต่างๆ ของสภาฯ ยังไม่สามารถทำให้เป็นระบบดิจิทัลได้

หลังจากนี้ตนจะนำเรื่องเข้าสู่กรรมการ ICT ของรัฐสภา เพื่อลงทุนในระบบ Cloud เพื่อความคุ้มค่าในอนาคต ทำให้การทำงานของสมาชิกสภาฯ ทันสมัยและทำให้พี่น้องประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้อย่างไร้รอยต่อที่สุด นี่คือความตั้งใจที่จะทำให้เกิดเป็น Open Parliament เร็วที่สุด
.
ปดิพัทธ์​ ยังกล่าวถึง สส. ที่ร่วมติดตามไปประชุม ได้แก่ วรภพ วิริยะโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ที่เดินทางไปสมทบหลังหายจากอาการโควิด เพื่อศึกษาเรื่องการบริหารจัดการน้ำและศึกษาเรื่อง Cloud service 

นอกจากนี้มี สส. อีก 2 คนที่เดินทางกลับก่อน ได้แก่ ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล และ ศรัณย์ ทิมสุวรรณ สส.เลย พรรคเพื่อไทย เนื่องจากเดิมการวางแผนในตอนแรก ทั้ง 2 คนยังไม่ติดภารกิจ แต่ต่อมาเมื่อมีภารกิจ จึงได้เลือกเรื่องศึกษาดูงานในประเด็นที่ทั้ง 2 คนสนใจมาก



ที่สุด ได้แก่ Open Parliament และ Green Parliament ไปอยู่ในโปรแกรมวันศุกร์และวันเสาร์ เมื่อเสร็จแล้วจึงเดินทางกลับประเทศไทยก่อนกำหนดเพื่อทำภารกิจ ยืนยันว่าไม่ใช่การหนีกลับแต่อย่างใด
.
ปดิพัทธ์ ย้ำอีกว่า กรณีความเข้าใจคลาดเคลื่อนและเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าตนเดินทางไปประเทศสิงคโปร์ เพื่อไปเทศกาลคราฟต์เบียร์นั้น ต้องชี้แจงว่า มีการเดินทางไปเยี่ยมคนงานในไซต์ ซึ่งทำให้คนเหล่านั้นกล้าพูดคุยกับตนมากขึ้น และเกิดบรรยากาศการแลกเปลี่ยนหลังการประชุม 

โดยหลังจากนี้ หากเขียนรายงานสมบูรณ์เสร็จสิ้น จะรีบนำรายงานแจกแก่สื่อมวลชน

 #ปดิพัทธ์สันติภาดา #รองประธานสภาคนที่1

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่