หอบ 2 แสนชื่อให้ ชลน่าน จี้ เศรษฐา เร่งแก้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนทันที
https://www.khaosod.co.th/politics/news_7837098
ตัวแทนกลุ่มภาคประชาชน หอบ 2 แสนรายชื่อให้ ชลน่าน จี้ เศรษฐา เร่งแก้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนทันที ก่อนประชุมคณะรัฐมนตรีนัดแรก
28 ส.ค. 2566 – ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) นพ.
ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรค พร้อมด้วย นาย
ชูศักดิ์ ศิรินิล รองหัวหน้าพรรค เดินทางมารับหนังสือจากกลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ นำโดย น.ส.
จีรนุช เปรมชัยพร ตัวแทนกลุ่มฯ โดยเรียกร้องไปยัง นาย
เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ขอให้จัดทำประชามติรัฐธรรมนูญด้วยคำถามที่ไม่มีเงื่อนไข
น.ส.
จีรนุช อ่านแถลงการณ์ระบุว่า ตามที่พรรคเพื่อไทยเคยออกแถลงการณ์ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 2 ส.ค. 2566 และครั้งที่ 2 ร่วมกับพรรคภูมิใจไทย (ภท.) เมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2566 เรื่องการประกาศเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล มีสาระสำคัญตรงกันที่จะเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยจะมีมติให้ทำประชามติเพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตั้งแต่การประชุมคณะรัฐมนตรีนัดแรก
ทางกลุ่มเห็นเป็นนิมิตหมายอันดี และเห็นความตั้งใจดีของพรรคการเมือง ที่เป็นแกนนำของรัฐบาลที่กำลังจะเกิดขึ้น แต่มีความกังวลว่าในการทำประชามตินั้น ครม.ออกแบบคำถามการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ให้มีเงื่อนไข หรือให้บุคคลที่จะยกร่างรัฐธรรมนูญมาจากกระบวนการที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วม จะทำให้ประชาชนที่ไปออกเสียงประชามติไม่มีทางเลือก หรือผลการทำประชามติไม่มีความหมาย ไม่สะท้อนเจตจำนงของประชาชน ไม่นำไปสู่กระบวนการเขียนรัฐธรรมนูญของประชาชนอย่างแท้จริง
ทางกลุ่ม เห็นความสำคัญของการตั้งคำถามในการทำประชามติตั้งแต่เริ่มต้น จึงประสงค์ที่จะเสนอคำถามที่ครอบคลุมชัดเจนว่าการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ต้องเขียนใหม่ได้ทั้งฉบับ หากจะมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งหมด โดยได้ใช้สิทธิตามมาตรา 9 (5) พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2564 รวบรวมรายชื่อประชาชนอย่างน้อย 50,000 รายชื่อ เพื่อเสนอคำถามดังกล่าว โดยกิจกรรมนี้มีประชาชนที่เห็นด้วยจำนวนมาก และช่วยกันรวบรวมรายชื่อได้มากกว่า 205,739 รายชื่อ
ด้วยจำนวนรายชื่อที่มากเช่นนี้ กลุ่มไม่มั่นใจว่า กกต.จะตรวจสอบรายชื่อด้วยความรวดเร็วและเสนอไปยังสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ทันการประชุมเริ่มครม.ใหม่นัดแรก จึงนำคำถามประชามติที่ประชาชนร่วมกันเข้าชื่อเพื่อเสนอนี้มายื่นต่อพรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาลและนายกฯคนใหม่ เพื่อให้นำคำถามนี้เข้าสู่การพิจารณาในการประชุมครม.นัดแรก และตัดสินใจให้มีการทำประชามติเพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยมีสาระสำคัญและมาตรฐานไม่ต่ำกว่าที่ประชาชนต้องการจะเห็น โดยไม่ต้องรอขั้นตอนการเสนอเรื่องของหน่วยงานราชการ
นพ.
ชลน่าน กล่าวว่า ในนามพรรคเพื่อไทย และ นาย
เศรษฐา ทวีสิน ต้องขอขอบคุณกลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ ที่ได้ส่งหนังสือมายังพรรค แสดงเจตจำนงเรื่องการเขียนรัฐธรรมนูญผ่านการทำประชามติ ซึ่งข้อคำถามที่เสนอจะเป็นประโยชน์ต่อครม.มาก และครม.จะนำไปกำหนดเป็นนโยบายร่วมกับพรรคร่วมรัฐบาลที่เสนอต่อรัฐสภา ในฐานะพรรคแกนนำ เราได้บอกกับพรรคร่วมรัฐบาลแล้ว ว่าขอใช้นโยบายของเราเป็นหลัก สำหรับการประชุมครม.นัดแรก หากทุกอย่างเสร็จเรียบร้อย เราจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาและมีมติออกมา ในส่วนคำถามที่กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญได้เขียนมา ถือว่าใกล้เคียงกับของเราที่ได้คิดไว้
‘อ.ธำรงศักดิ์โพล’ เปิดผลสำรวจประชาชน 55% หนุนยกเลิก สว.แต่งตั้ง
https://www.dailynews.co.th/news/2664168/
"อาจารย์ธำรงศักดิ์โพล" เปิดผลสำรวจประชาชนส่วนใหญ่ 55.24% หนุนยกเลิกสมาชิกวุฒิสภาแต่งตั้ง เนื่องจากไม่ได้เป็นผู้แทนของประชาชน และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตย
เมื่อวันที่ 28 ส.ค. รศ.ดร.
ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ “
อาจารย์ธำรงศักดิ์โพล”มีรายละเอียดดังนี้
งานวิจัยส่วนบุคคลของ รองศาสตราจารย์ ดร.
ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต เก็บข้อมูลแบบสอบถามจากคนทั้งประเทศ (ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 52.32 ล้านคน) จำนวน 4,588 คน ใน 57 จังหวัด เรื่อง ทัศนคติของประชาชนต่อการเลือกตั้งและสังคมการเมืองไทย 2566
ข้อคำถาม “
ท่านคิดว่าระบอบประชาธิปไตยไทย ต้องมี หรือ ต้องยกเลิก สมาชิกวุฒิสภาแต่งตั้ง”ผลการวิจัยพบว่า
1. ผู้ที่เห็นว่าต้องยกเลิก สว. ร้อยละ 55.24 (2,516 คน) ผู้ที่เห็นว่ายังต้องมี สว. ร้อยละ 18.29 (833 คน) ไม่แสดงความเห็น ร้อยละ 26.47 (1,206 คน)
ภาคที่มีทัศนคติว่า ต้องยกเลิก สว. แต่งตั้ง มากที่สุดคือ ภาคอีสาน ร้อยละ 64.83 ตามด้วย ภาคเหนือ ร้อยละ 59.45 ภาคกลางและกรุงเทพฯ ร้อยละ57.65 ท้ายสุดเป็นภาคใต้ ร้อยละ 51.10
ภาคที่มีทัศนคติว่า ยังต้องมี สว. แต่งตั้ง มากที่สุดคือ ภาคเหนือ ร้อยละ 20.3 รองลงมาเป็น ภาคใต้ ร้อยละ 19.75 ตามด้วย ภาคอีสาน ร้อยละ 13.75 ภาคกลางและกรุงเทพฯ ร้อยละ11.68
2. เปรียบเทียบกับการสำรวจทัศนคติของคนกรุงเทพฯ พบว่า มีลักษณะใกล้เคียงกัน คนกรุงเทพฯ ที่เห็นว่าต้องยกเลิก สว. แต่งตั้ง มีร้อยละ 58.75 ผู้ที่เห็นว่ายังต้องมี สว. แต่งตั้ง ร้อยละ 18.08 ไม่แสดงความเห็น ร้อยละ 23.17 (ธำรงศักดิ์โพล 15 มกราคม 2566)
3. เปรียบเทียบกับการสำรวจทัศนคติของคน Gen Z (18-26 ปี) พบว่า คน Gen Z เห็นว่าต้องยกเลิก สว. แต่งตั้ง มีมากถึงร้อยละ 85.50 ส่วนผู้ที่เห็นว่ายังต้องมี สว.แต่งตั้ง มีเพียงร้อยละ 5.10 ไม่แสดงความเห็น ร้อยละ 9.40 (ธำรงศักดิ์โพล 25 กันยายน 2565)
4. จากการเก็บข้อมูลเชิงลึก คนไทยที่เห็นว่า ต้องยกเลิก สว. แต่งตั้ง นั้นมีคำอธิบายในแนวทางเดียวกันกับของคน Gen Z และคนกรุงเทพฯ ได้แก่ สว. แต่งตั้งไม่ได้เป็นผู้แทนของประชาชน, ผู้แทนของประชาชนที่แท้จริงต้องมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน, สว. แต่งตั้งเป็นตัวแทนของฝ่ายเผด็จการ, สว. แต่งตั้งเป็นผู้แทนของคณะรัฐประหาร, สว.แต่งตั้งเป็นผู้รักษาสืบทอดอำนาจ คสช., สว.แต่งตั้งทำให้เราไม่ได้นายกรัฐมนตรีที่ประชาชนตั้งใจเลือก, สว. แต่งตั้งทำให้เราไม่ได้รัฐบาลของประชาชนเพื่อประชาชน
สว.แต่งตั้งเป็นผู้แทนทหาร, สว.แต่งตั้งนั้นทำหน้าที่พิทักษ์รัฐบาลทหารเป็นสำคัญ, สว.แต่งตั้งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตย, สว.แต่งตั้งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ, สว.แต่งตั้งเป็นตัวถ่วงความเจริญของชาติ, สว.แต่งตั้งทำให้ สส. และพรรคการเมืองไม่สามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการนี้ให้เป็นประชาธิปไตยได้ ซึ่งสอดคล้องกับทัศนคติของคนไทยส่วนใหญ่ที่เห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับ 2560 นี้เป็นฉบับเผด็จการ (ร้อยละ 56.80 ธำรงศักดิ์โพล 1 สิงหาคม 2566)
สำหรับคนไทยที่ยังให้มี สว.แต่งตั้ง ให้คำอธิบายว่า สว.แต่งตั้งเป็นผู้คอยปกป้องความพยายามเปลี่ยนแปลงระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข, ต้องมี สว.แต่งตั้งเพราะความจำเป็นของบ้านเมือง, ต้องมี สว.แต่งตั้งเพื่อให้รัฐบาลมีเสถียรภาพในการทำงาน, สว.แต่งตั้งเป็นผู้แทนประชาชนเช่นเดียวกับ สส., สว.แต่งตั้งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถความเชี่ยวชาญหลากหลายอาชีพ, สว.แต่งตั้งไม่ใช่นักการเมือง, สว.แต่งตั้งทำหน้าที่ช่วยกลั่นกรองกฎหมายของพวก สส., สว.แต่งตั้งทำหน้าที่ถ่วงดุลการทำงานของพวก สส.
5. ข้อเสนอแนะของผู้วิจัย จากเหตุการณ์ทางการเมืองในสามเดือนที่ผ่านมาหลังการเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 การที่ สว. แต่งตั้งเป็นอุปสรรคสำคัญที่สุดที่ทำให้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ไม่ได้รับการโหวตให้เป็นนายกรัฐมนตรี และพรรคก้าวไกลไม่ได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ทำให้นโยบายพรรคที่ได้คะแนนเสียงจากประชาชนมากเป็นลำดับที่ 1 ไม่สามารถแปรเปลี่ยนเป็นการดำเนินงานของรัฐบาลใหม่ได้ ดังนั้น ในประเด็นคำถามนี้ว่า “ท่านคิดว่าระบอบประชาธิปไตยไทย ต้องมี หรือ ต้องยกเลิก สมาชิกวุฒิสภาแต่งตั้ง” ควรได้ทำการสำรวจทัศนคติประชาชนทั้งประเทศอีกครั้ง เพื่อที่จะได้นำมาเป็นองค์ประกอบกำหนดทิศทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไป
ข้อมูลพื้นฐาน
งานวิจัยทัศนคติของประชาชนต่อการเลือกตั้งและสังคมการเมืองไทย 2566 มีผู้ตอบแบบสอบถามรวม 4,588 คน เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 6-17 เมษายน 2566
เพศของผู้ตอบแบบสอบถาม : หญิง 2,439 คน (53.16%) ชาย 2,023 คน (44.09%) เพศหลากหลาย 126 คน (2.75%)
อายุของผู้ตอบแบบสอบถาม Gen Z (18-26 ปี) 1,915 คน (41.74%) Gen Y (27-44 ปี) 1,016 คน (22.10%) Gen X (44-58 ปี) 1,046 คน (22.80%) Gen Baby Boomer ขึ้นไป (59 ปีขึ้นไป) 613 คน (13.36%)
การศึกษาของผู้ตอบแบบสอบถาม ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 492 คน (10.72%) มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า 971 คน (21.16%) อนุปริญญาหรือเทียบเท่า 542 คน (11.82%) ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 2,210 คน (48.17%) สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 373 คน (8.13%)
อาชีพหลักของผู้ตอบแบบสอบถาม: นักเรียนนักศึกษา 1,529 คน (33.33%) เกษตรกร 456 คน (9.94%) พนักงานเอกชน 431คน (9.39%) รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน 471 คน (10.27%) เจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ 602 คน (13.12%) ข้าราชการ/พนักงานของรัฐ/รัฐวิสาหกิจ 600 คน (13.08%) พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน 329 คน (7.17%) อื่นๆ 170 คน (3.70%)
รายได้ต่อเดือนของผู้ตอบแบบสอบถาม: ไม่มีรายได้ 939 คน (20.47%) รายได้ไม่เกิน 10,000 บาท 1,141 คน (24.87%) รายได้ 10,001-20,000 บาท 1,170 คน (25.50%) รายได้ 20,001-30,000 บาท 620 คน (13.51%) รายได้ 30,001- 40,000 บาท 302 คน (6.58%) รายได้ 40,001 บาทขึ้นไป 416 คน (9.07%)
หมายเหตุ :
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยส่วนบุคคล ทัศนะจากงานวิจัยไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันการศึกษาใดๆ ทั้งสิ้น และขอบคุณนักศึกษาปริญญาตรีและปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต ในวิชาการเมืองไทยเบื้องต้น วิชาการเมืองการปกครองท้องถิ่นไทย และวิชาสัมมนาการเมืองการปกครองท้องถิ่น รวมทั้งมิตรสหาย รวม 207 คน ที่ได้ร่วมเก็บแบบสอบถามใน 137 เขตเลือกตั้ง ใน 57 จังหวัดทั่วประเทศไทย.
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0oodPEXXPuNNugBhfzh1UfJSuRb7Ep272xjnS5FjmmrA5dzihXVHAfqN61bmptLuGl&id=100050549886530
เอ็กซ์อ๊อก talk ‘อ.ธเนศวร์ เจริญเมือง’ จากใจคนเลือกเพื่อไทย งานไม่ง่าย ต้องชัดเจนตรงไปตรงมา
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4150633
เอ็กซ์-อ๊อก talk ทุกเรื่อง สัปดาห์นี้ สนทนา ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะคนเลือกเพื่อไทย ตั้งแต่สมัยไทยรักไทย กับการเป็นรัฐบาลอีกครั้งของเพื่อไทย ภายใต้นายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน และการกลับมาประเทศไทยของ “ทักษิณ ชินวัตร” ติดตามชมรายละเอียดจากคลิปด้านล่าง
JJNY : 5in1 หอบชื่อแก้ รธน.│55%หนุนเลิกสว.แต่งตั้ง│จากใจคนเลือกเพื่อไทย│พรุ่งนี้น้ำมันขึ้น│รัสเซียจับคนให้ข่าวยูเครน
https://www.khaosod.co.th/politics/news_7837098
ตัวแทนกลุ่มภาคประชาชน หอบ 2 แสนรายชื่อให้ ชลน่าน จี้ เศรษฐา เร่งแก้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนทันที ก่อนประชุมคณะรัฐมนตรีนัดแรก
28 ส.ค. 2566 – ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรค พร้อมด้วย นายชูศักดิ์ ศิรินิล รองหัวหน้าพรรค เดินทางมารับหนังสือจากกลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ นำโดย น.ส.จีรนุช เปรมชัยพร ตัวแทนกลุ่มฯ โดยเรียกร้องไปยัง นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ขอให้จัดทำประชามติรัฐธรรมนูญด้วยคำถามที่ไม่มีเงื่อนไข
น.ส.จีรนุช อ่านแถลงการณ์ระบุว่า ตามที่พรรคเพื่อไทยเคยออกแถลงการณ์ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 2 ส.ค. 2566 และครั้งที่ 2 ร่วมกับพรรคภูมิใจไทย (ภท.) เมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2566 เรื่องการประกาศเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล มีสาระสำคัญตรงกันที่จะเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยจะมีมติให้ทำประชามติเพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตั้งแต่การประชุมคณะรัฐมนตรีนัดแรก
ทางกลุ่มเห็นเป็นนิมิตหมายอันดี และเห็นความตั้งใจดีของพรรคการเมือง ที่เป็นแกนนำของรัฐบาลที่กำลังจะเกิดขึ้น แต่มีความกังวลว่าในการทำประชามตินั้น ครม.ออกแบบคำถามการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ให้มีเงื่อนไข หรือให้บุคคลที่จะยกร่างรัฐธรรมนูญมาจากกระบวนการที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วม จะทำให้ประชาชนที่ไปออกเสียงประชามติไม่มีทางเลือก หรือผลการทำประชามติไม่มีความหมาย ไม่สะท้อนเจตจำนงของประชาชน ไม่นำไปสู่กระบวนการเขียนรัฐธรรมนูญของประชาชนอย่างแท้จริง
ทางกลุ่ม เห็นความสำคัญของการตั้งคำถามในการทำประชามติตั้งแต่เริ่มต้น จึงประสงค์ที่จะเสนอคำถามที่ครอบคลุมชัดเจนว่าการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ต้องเขียนใหม่ได้ทั้งฉบับ หากจะมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งหมด โดยได้ใช้สิทธิตามมาตรา 9 (5) พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2564 รวบรวมรายชื่อประชาชนอย่างน้อย 50,000 รายชื่อ เพื่อเสนอคำถามดังกล่าว โดยกิจกรรมนี้มีประชาชนที่เห็นด้วยจำนวนมาก และช่วยกันรวบรวมรายชื่อได้มากกว่า 205,739 รายชื่อ
ด้วยจำนวนรายชื่อที่มากเช่นนี้ กลุ่มไม่มั่นใจว่า กกต.จะตรวจสอบรายชื่อด้วยความรวดเร็วและเสนอไปยังสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ทันการประชุมเริ่มครม.ใหม่นัดแรก จึงนำคำถามประชามติที่ประชาชนร่วมกันเข้าชื่อเพื่อเสนอนี้มายื่นต่อพรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาลและนายกฯคนใหม่ เพื่อให้นำคำถามนี้เข้าสู่การพิจารณาในการประชุมครม.นัดแรก และตัดสินใจให้มีการทำประชามติเพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยมีสาระสำคัญและมาตรฐานไม่ต่ำกว่าที่ประชาชนต้องการจะเห็น โดยไม่ต้องรอขั้นตอนการเสนอเรื่องของหน่วยงานราชการ
นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ในนามพรรคเพื่อไทย และ นายเศรษฐา ทวีสิน ต้องขอขอบคุณกลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ ที่ได้ส่งหนังสือมายังพรรค แสดงเจตจำนงเรื่องการเขียนรัฐธรรมนูญผ่านการทำประชามติ ซึ่งข้อคำถามที่เสนอจะเป็นประโยชน์ต่อครม.มาก และครม.จะนำไปกำหนดเป็นนโยบายร่วมกับพรรคร่วมรัฐบาลที่เสนอต่อรัฐสภา ในฐานะพรรคแกนนำ เราได้บอกกับพรรคร่วมรัฐบาลแล้ว ว่าขอใช้นโยบายของเราเป็นหลัก สำหรับการประชุมครม.นัดแรก หากทุกอย่างเสร็จเรียบร้อย เราจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาและมีมติออกมา ในส่วนคำถามที่กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญได้เขียนมา ถือว่าใกล้เคียงกับของเราที่ได้คิดไว้
‘อ.ธำรงศักดิ์โพล’ เปิดผลสำรวจประชาชน 55% หนุนยกเลิก สว.แต่งตั้ง
https://www.dailynews.co.th/news/2664168/
"อาจารย์ธำรงศักดิ์โพล" เปิดผลสำรวจประชาชนส่วนใหญ่ 55.24% หนุนยกเลิกสมาชิกวุฒิสภาแต่งตั้ง เนื่องจากไม่ได้เป็นผู้แทนของประชาชน และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตย
เมื่อวันที่ 28 ส.ค. รศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ “อาจารย์ธำรงศักดิ์โพล”มีรายละเอียดดังนี้
งานวิจัยส่วนบุคคลของ รองศาสตราจารย์ ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต เก็บข้อมูลแบบสอบถามจากคนทั้งประเทศ (ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 52.32 ล้านคน) จำนวน 4,588 คน ใน 57 จังหวัด เรื่อง ทัศนคติของประชาชนต่อการเลือกตั้งและสังคมการเมืองไทย 2566
ข้อคำถาม “ท่านคิดว่าระบอบประชาธิปไตยไทย ต้องมี หรือ ต้องยกเลิก สมาชิกวุฒิสภาแต่งตั้ง”ผลการวิจัยพบว่า
1. ผู้ที่เห็นว่าต้องยกเลิก สว. ร้อยละ 55.24 (2,516 คน) ผู้ที่เห็นว่ายังต้องมี สว. ร้อยละ 18.29 (833 คน) ไม่แสดงความเห็น ร้อยละ 26.47 (1,206 คน)
ภาคที่มีทัศนคติว่า ต้องยกเลิก สว. แต่งตั้ง มากที่สุดคือ ภาคอีสาน ร้อยละ 64.83 ตามด้วย ภาคเหนือ ร้อยละ 59.45 ภาคกลางและกรุงเทพฯ ร้อยละ57.65 ท้ายสุดเป็นภาคใต้ ร้อยละ 51.10
ภาคที่มีทัศนคติว่า ยังต้องมี สว. แต่งตั้ง มากที่สุดคือ ภาคเหนือ ร้อยละ 20.3 รองลงมาเป็น ภาคใต้ ร้อยละ 19.75 ตามด้วย ภาคอีสาน ร้อยละ 13.75 ภาคกลางและกรุงเทพฯ ร้อยละ11.68
2. เปรียบเทียบกับการสำรวจทัศนคติของคนกรุงเทพฯ พบว่า มีลักษณะใกล้เคียงกัน คนกรุงเทพฯ ที่เห็นว่าต้องยกเลิก สว. แต่งตั้ง มีร้อยละ 58.75 ผู้ที่เห็นว่ายังต้องมี สว. แต่งตั้ง ร้อยละ 18.08 ไม่แสดงความเห็น ร้อยละ 23.17 (ธำรงศักดิ์โพล 15 มกราคม 2566)
3. เปรียบเทียบกับการสำรวจทัศนคติของคน Gen Z (18-26 ปี) พบว่า คน Gen Z เห็นว่าต้องยกเลิก สว. แต่งตั้ง มีมากถึงร้อยละ 85.50 ส่วนผู้ที่เห็นว่ายังต้องมี สว.แต่งตั้ง มีเพียงร้อยละ 5.10 ไม่แสดงความเห็น ร้อยละ 9.40 (ธำรงศักดิ์โพล 25 กันยายน 2565)
4. จากการเก็บข้อมูลเชิงลึก คนไทยที่เห็นว่า ต้องยกเลิก สว. แต่งตั้ง นั้นมีคำอธิบายในแนวทางเดียวกันกับของคน Gen Z และคนกรุงเทพฯ ได้แก่ สว. แต่งตั้งไม่ได้เป็นผู้แทนของประชาชน, ผู้แทนของประชาชนที่แท้จริงต้องมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน, สว. แต่งตั้งเป็นตัวแทนของฝ่ายเผด็จการ, สว. แต่งตั้งเป็นผู้แทนของคณะรัฐประหาร, สว.แต่งตั้งเป็นผู้รักษาสืบทอดอำนาจ คสช., สว.แต่งตั้งทำให้เราไม่ได้นายกรัฐมนตรีที่ประชาชนตั้งใจเลือก, สว. แต่งตั้งทำให้เราไม่ได้รัฐบาลของประชาชนเพื่อประชาชน
สว.แต่งตั้งเป็นผู้แทนทหาร, สว.แต่งตั้งนั้นทำหน้าที่พิทักษ์รัฐบาลทหารเป็นสำคัญ, สว.แต่งตั้งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตย, สว.แต่งตั้งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ, สว.แต่งตั้งเป็นตัวถ่วงความเจริญของชาติ, สว.แต่งตั้งทำให้ สส. และพรรคการเมืองไม่สามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการนี้ให้เป็นประชาธิปไตยได้ ซึ่งสอดคล้องกับทัศนคติของคนไทยส่วนใหญ่ที่เห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับ 2560 นี้เป็นฉบับเผด็จการ (ร้อยละ 56.80 ธำรงศักดิ์โพล 1 สิงหาคม 2566)
สำหรับคนไทยที่ยังให้มี สว.แต่งตั้ง ให้คำอธิบายว่า สว.แต่งตั้งเป็นผู้คอยปกป้องความพยายามเปลี่ยนแปลงระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข, ต้องมี สว.แต่งตั้งเพราะความจำเป็นของบ้านเมือง, ต้องมี สว.แต่งตั้งเพื่อให้รัฐบาลมีเสถียรภาพในการทำงาน, สว.แต่งตั้งเป็นผู้แทนประชาชนเช่นเดียวกับ สส., สว.แต่งตั้งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถความเชี่ยวชาญหลากหลายอาชีพ, สว.แต่งตั้งไม่ใช่นักการเมือง, สว.แต่งตั้งทำหน้าที่ช่วยกลั่นกรองกฎหมายของพวก สส., สว.แต่งตั้งทำหน้าที่ถ่วงดุลการทำงานของพวก สส.
5. ข้อเสนอแนะของผู้วิจัย จากเหตุการณ์ทางการเมืองในสามเดือนที่ผ่านมาหลังการเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 การที่ สว. แต่งตั้งเป็นอุปสรรคสำคัญที่สุดที่ทำให้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ไม่ได้รับการโหวตให้เป็นนายกรัฐมนตรี และพรรคก้าวไกลไม่ได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ทำให้นโยบายพรรคที่ได้คะแนนเสียงจากประชาชนมากเป็นลำดับที่ 1 ไม่สามารถแปรเปลี่ยนเป็นการดำเนินงานของรัฐบาลใหม่ได้ ดังนั้น ในประเด็นคำถามนี้ว่า “ท่านคิดว่าระบอบประชาธิปไตยไทย ต้องมี หรือ ต้องยกเลิก สมาชิกวุฒิสภาแต่งตั้ง” ควรได้ทำการสำรวจทัศนคติประชาชนทั้งประเทศอีกครั้ง เพื่อที่จะได้นำมาเป็นองค์ประกอบกำหนดทิศทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไป
ข้อมูลพื้นฐาน
งานวิจัยทัศนคติของประชาชนต่อการเลือกตั้งและสังคมการเมืองไทย 2566 มีผู้ตอบแบบสอบถามรวม 4,588 คน เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 6-17 เมษายน 2566
เพศของผู้ตอบแบบสอบถาม : หญิง 2,439 คน (53.16%) ชาย 2,023 คน (44.09%) เพศหลากหลาย 126 คน (2.75%)
อายุของผู้ตอบแบบสอบถาม Gen Z (18-26 ปี) 1,915 คน (41.74%) Gen Y (27-44 ปี) 1,016 คน (22.10%) Gen X (44-58 ปี) 1,046 คน (22.80%) Gen Baby Boomer ขึ้นไป (59 ปีขึ้นไป) 613 คน (13.36%)
การศึกษาของผู้ตอบแบบสอบถาม ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 492 คน (10.72%) มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า 971 คน (21.16%) อนุปริญญาหรือเทียบเท่า 542 คน (11.82%) ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 2,210 คน (48.17%) สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 373 คน (8.13%)
อาชีพหลักของผู้ตอบแบบสอบถาม: นักเรียนนักศึกษา 1,529 คน (33.33%) เกษตรกร 456 คน (9.94%) พนักงานเอกชน 431คน (9.39%) รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน 471 คน (10.27%) เจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ 602 คน (13.12%) ข้าราชการ/พนักงานของรัฐ/รัฐวิสาหกิจ 600 คน (13.08%) พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน 329 คน (7.17%) อื่นๆ 170 คน (3.70%)
รายได้ต่อเดือนของผู้ตอบแบบสอบถาม: ไม่มีรายได้ 939 คน (20.47%) รายได้ไม่เกิน 10,000 บาท 1,141 คน (24.87%) รายได้ 10,001-20,000 บาท 1,170 คน (25.50%) รายได้ 20,001-30,000 บาท 620 คน (13.51%) รายได้ 30,001- 40,000 บาท 302 คน (6.58%) รายได้ 40,001 บาทขึ้นไป 416 คน (9.07%)
หมายเหตุ :
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยส่วนบุคคล ทัศนะจากงานวิจัยไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันการศึกษาใดๆ ทั้งสิ้น และขอบคุณนักศึกษาปริญญาตรีและปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต ในวิชาการเมืองไทยเบื้องต้น วิชาการเมืองการปกครองท้องถิ่นไทย และวิชาสัมมนาการเมืองการปกครองท้องถิ่น รวมทั้งมิตรสหาย รวม 207 คน ที่ได้ร่วมเก็บแบบสอบถามใน 137 เขตเลือกตั้ง ใน 57 จังหวัดทั่วประเทศไทย.
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0oodPEXXPuNNugBhfzh1UfJSuRb7Ep272xjnS5FjmmrA5dzihXVHAfqN61bmptLuGl&id=100050549886530
เอ็กซ์อ๊อก talk ‘อ.ธเนศวร์ เจริญเมือง’ จากใจคนเลือกเพื่อไทย งานไม่ง่าย ต้องชัดเจนตรงไปตรงมา
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4150633
เอ็กซ์-อ๊อก talk ทุกเรื่อง สัปดาห์นี้ สนทนา ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะคนเลือกเพื่อไทย ตั้งแต่สมัยไทยรักไทย กับการเป็นรัฐบาลอีกครั้งของเพื่อไทย ภายใต้นายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน และการกลับมาประเทศไทยของ “ทักษิณ ชินวัตร” ติดตามชมรายละเอียดจากคลิปด้านล่าง