รองโฆษกปชน. ย้อนพท. ใครกันแน่ทำไอโอ? งัดอภิปรายเก่า บอกถ้าไม่ชัด รอฟังเลย ซักฟอกรอบหน้า https://www.matichon.co.th/politics/news_4942911
รองโฆษกปชน. ย้อนพท. ใครกันแน่ทำไอโอ ? ย้อนอภิปราย บอกถ้าไม่ชัด รอฟังเลย ซักฟอกรอบหน้า
จากกรณี นาย
นพดล ปัทมะ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย มองกรณีที่ฝ่ายค้าน เตรียมยื่นอภิปรายรัฐบาลช่วงต้นปี2568 ระบุว่า “
เป็นเรื่องธรรมดา ถ้าฝ่ายค้านจะยื่นรัฐบาลก็พร้อมตอบคำถาม และการใช้กลไกสภาสอบถามรัฐบาลย่อมดีกว่าไปทำไอโอในโลกโซเชียล ตนเห็นด้วยกับหยิบยกปัญหาต่างๆมาพูดในสภา” นั้น
ล่าสุด ( 7 ธ.ค.) น.ส.
ภคมน หนุนอนันต์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองโฆษกพรรคประชาชน ได้ทวิตผ่านแอปพลิเคชั่น X แชร์ข่าวดังกล่าว พร้อมแสดงความคิดเห็นว่า
“
พรรคประชาชนให้ความสำคัญกับสภา เราใช้กลไกสภาตลอดในการถามรัฐบาล แต่ที่ผ่านมาเป็นรัฐบาลที่มาตอบบ้างไม่มาตอบบ้าง ก็หวังว่าอภิปรายครั้งนี้จะตอบให้เคลียร์ๆ ทุกคน โดยเฉพาะบอกว่าฝ่ายค้านใช้ IO อันนี้ท่านมีหลักฐานหรือท่านพูดไปเรื่อย เพียงเพื่อจะกลบจุดอ่อนของตัวเองที่สื่อสารในโลกออนไลน์ไม่มีประสิทธิภาพ ประชาชนไม่เชื่อถือ
“
ก็อย่างที่ดิฉันเคยบอก ความสามารถในการสื่อสารก็เรื่องหนึ่ง แต่สิ่งสำคัญคือความสง่างามทางการเมืองของรัฐบาลที่ต้องมี แนะนำลองดูที่ดิฉันอภิปราย 152 ครั้งที่ผ่านมาก็ได้ ว่าใครกันแน่ใช้ IO หรือถ้ายังไม่ชัดพอเตรียมตัวได้เลยค่ะ ”
https://x.com/SaPukkamon/status/1865371620854132924
โพลเผยกว่าครึ่งเห็นด้วยอย่างมาก เกณฑ์การผ่านประชามติต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4943065
นิด้าโพลเผย กว่าครึ่งเห็นด้วยอย่างมากกับเกณฑ์การผ่านประชามติโดยต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “
ประชามติและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2-3 ธันวาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านกระบวนการประชามติ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเกณฑ์การผ่านประชามติโดยต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิเกินกึ่งหนึ่ง (เกินกว่า 50%) ของผู้มีสิทธิ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 51.37 ระบุว่า เห็นด้วยมาก รองลงมา ร้อยละ 21.83 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 15.50 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย ร้อยละ 10.46 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 0.84 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการกำหนดเกณฑ์การผ่านประชามติ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 59.54 ระบุว่า เสียงเห็นชอบต้องเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ (ต้องได้มากกว่า 50%) รองลงมา ร้อยละ 26.57 ระบุว่า เสียงเห็นชอบต้องเป็นเสียงส่วนใหญ่ (แต่ไม่จำเป็นต้องถึง 50%) ร้อยละ 12.52 ระบุว่า เสียงเห็นชอบต้องเป็นเสียงส่วนใหญ่ (ไม่จำเป็นต้องถึง 50%) แต่ต้องมากกว่าผู้ลงคะแนนช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน และร้อยละ 1.37 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านความต้องการของประชาชนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 27.63 ระบุว่า ต้องการมากรองลงมา ร้อยละ 27.02 ระบุว่า ไม่ต้องการเลย ร้อยละ 25.34 ระบุว่า ค่อนข้างต้องการ ร้อยละ 19.08 ระบุว่า ไม่ค่อยต้องการ และร้อยละ 0.93 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อสอบความคิดเห็นของผู้ที่ระบุว่าต้องการมากและค่อนข้างต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (จำนวน 694 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับรูปแบบการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ประชาชนต้องการ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 78.97 ระบุว่า ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา รองลงมา ร้อยละ 19.16 ระบุว่า ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ และร้อยละ 1.87 ระบุว่า ไม่ตอบ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.63 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 17.86 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.35 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.82 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.79 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 12.37 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.94 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.24 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 24.81 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.80 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.21 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.99 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ
ตัวอย่าง ร้อยละ 35.88 สถานภาพโสด ร้อยละ 61.98 สมรส และร้อยละ 2.14 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่างร้อยละ 0.38 ไม่ได้รับการศึกษา ร้อยละ 20.08 จบการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 34.96 จบการศึกษามัธยมศึกษา หรือเทียบเท่า ร้อยละ 10.61 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 30.38 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 3.59 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.85 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 17.10 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.44 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 11.37 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.66 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.54 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 5.04 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ตัวอย่าง ร้อยละ 21.15 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 3.51 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 14.66 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 30.76 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 11.22 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.35 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 2.60 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001-50,000 บาท ร้อยละ 1.45 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 50,001-60,000 บาท ร้อยละ 0.23 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 60,001-70,000 บาท ร้อยละ 0.07 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 70,001-80,000 บาท ร้อยละ 0.46 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 80,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.54 ไม่ระบุรายได้
ภาคเอกชนใต้ เผย น้ำท่วมกระทบ ห้องพักถูกเลิก 40% วอนรัฐสร้างความเชื่อมั่น หวั่นกระทบความท่องเที่ยว
https://www.matichon.co.th/region/news_4942055
ภาคเอกชนใต้ เผย น้ำท่วมกระทบ ห้องพักถูกเลิก 40% วอนรัฐสร้างความเชื่อมั่น หวั่นกระทบความท่องเที่ยว
เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม รายงานว่าสถานการณ์อุทกภัยใน จ.สงขลาตั้งแต่วันที่ 25 พ.ย.- 6 ธ.ค.67 ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนใน 16 อำเภอ 125 ตำบล 949 หมู่บ้าน โดยมีผู้ได้รับผลกระทบรวม 735,126 คน เสียชีวิต 10 ราย ยังคงมีน้ำท่วมขังใน 4 อำเภอของคาบสมุทรสทิงพระ ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนกว่า 19,054 คน
รายงานจากศูนย์อุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่าวันที่ 13-17 ธันวาคม 2567 จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ของภาคใต้ อันเนื่องมาจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่อาจพัฒนาเป็นพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันได้ จังหวัดสงขลาจึงขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมพร้อมรับมือและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
นาย
สมพล ชีววัฒนพงศ์ ประธานสภาธุรกิจท่องเที่ยว จ.สงขลา เปิดเผยว่า สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในระยะสั้นๆขณะนี้นักท่องเที่ยวยกเลิกจองห้องพัก 30-40% หากปลายปีซึ่งมีกิจกรรมหลายกิจกรรมหนุนการท่องเที่ยวสงขลา สถานการณ์อุทกภัยยังไม่คลี่คลาย จะกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยว ห้องพักที่มีการจองห้องพักไว้แล้วประมาณ 70% จะถูกยกเลิกไปประมาณครึ่ง ขอให้ภาครัฐสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นในตลาดต่างประเทศ
JJNY : รองโฆษกปชน.ย้อนพท.│โพลเผยกว่าครึ่งเห็นด้วยอย่างมาก│เอกชนใต้เผยน้ำท่วมกระทบ│ด่วน! ผู้นำเกาหลีใต้พักปฏิบัติหน้าที่
รองโฆษกปชน. ย้อนพท. ใครกันแน่ทำไอโอ ? ย้อนอภิปราย บอกถ้าไม่ชัด รอฟังเลย ซักฟอกรอบหน้า
จากกรณี นายนพดล ปัทมะ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย มองกรณีที่ฝ่ายค้าน เตรียมยื่นอภิปรายรัฐบาลช่วงต้นปี2568 ระบุว่า “เป็นเรื่องธรรมดา ถ้าฝ่ายค้านจะยื่นรัฐบาลก็พร้อมตอบคำถาม และการใช้กลไกสภาสอบถามรัฐบาลย่อมดีกว่าไปทำไอโอในโลกโซเชียล ตนเห็นด้วยกับหยิบยกปัญหาต่างๆมาพูดในสภา” นั้น
ล่าสุด ( 7 ธ.ค.) น.ส.ภคมน หนุนอนันต์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองโฆษกพรรคประชาชน ได้ทวิตผ่านแอปพลิเคชั่น X แชร์ข่าวดังกล่าว พร้อมแสดงความคิดเห็นว่า
“พรรคประชาชนให้ความสำคัญกับสภา เราใช้กลไกสภาตลอดในการถามรัฐบาล แต่ที่ผ่านมาเป็นรัฐบาลที่มาตอบบ้างไม่มาตอบบ้าง ก็หวังว่าอภิปรายครั้งนี้จะตอบให้เคลียร์ๆ ทุกคน โดยเฉพาะบอกว่าฝ่ายค้านใช้ IO อันนี้ท่านมีหลักฐานหรือท่านพูดไปเรื่อย เพียงเพื่อจะกลบจุดอ่อนของตัวเองที่สื่อสารในโลกออนไลน์ไม่มีประสิทธิภาพ ประชาชนไม่เชื่อถือ
“ก็อย่างที่ดิฉันเคยบอก ความสามารถในการสื่อสารก็เรื่องหนึ่ง แต่สิ่งสำคัญคือความสง่างามทางการเมืองของรัฐบาลที่ต้องมี แนะนำลองดูที่ดิฉันอภิปราย 152 ครั้งที่ผ่านมาก็ได้ ว่าใครกันแน่ใช้ IO หรือถ้ายังไม่ชัดพอเตรียมตัวได้เลยค่ะ ”
https://x.com/SaPukkamon/status/1865371620854132924
โพลเผยกว่าครึ่งเห็นด้วยอย่างมาก เกณฑ์การผ่านประชามติต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4943065
นิด้าโพลเผย กว่าครึ่งเห็นด้วยอย่างมากกับเกณฑ์การผ่านประชามติโดยต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ประชามติและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2-3 ธันวาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านกระบวนการประชามติ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเกณฑ์การผ่านประชามติโดยต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิเกินกึ่งหนึ่ง (เกินกว่า 50%) ของผู้มีสิทธิ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 51.37 ระบุว่า เห็นด้วยมาก รองลงมา ร้อยละ 21.83 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 15.50 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย ร้อยละ 10.46 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 0.84 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการกำหนดเกณฑ์การผ่านประชามติ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 59.54 ระบุว่า เสียงเห็นชอบต้องเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ (ต้องได้มากกว่า 50%) รองลงมา ร้อยละ 26.57 ระบุว่า เสียงเห็นชอบต้องเป็นเสียงส่วนใหญ่ (แต่ไม่จำเป็นต้องถึง 50%) ร้อยละ 12.52 ระบุว่า เสียงเห็นชอบต้องเป็นเสียงส่วนใหญ่ (ไม่จำเป็นต้องถึง 50%) แต่ต้องมากกว่าผู้ลงคะแนนช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน และร้อยละ 1.37 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านความต้องการของประชาชนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 27.63 ระบุว่า ต้องการมากรองลงมา ร้อยละ 27.02 ระบุว่า ไม่ต้องการเลย ร้อยละ 25.34 ระบุว่า ค่อนข้างต้องการ ร้อยละ 19.08 ระบุว่า ไม่ค่อยต้องการ และร้อยละ 0.93 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อสอบความคิดเห็นของผู้ที่ระบุว่าต้องการมากและค่อนข้างต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (จำนวน 694 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับรูปแบบการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ประชาชนต้องการ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 78.97 ระบุว่า ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา รองลงมา ร้อยละ 19.16 ระบุว่า ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ และร้อยละ 1.87 ระบุว่า ไม่ตอบ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.63 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 17.86 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.35 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.82 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.79 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 12.37 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.94 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.24 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 24.81 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.80 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.21 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.99 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ
ตัวอย่าง ร้อยละ 35.88 สถานภาพโสด ร้อยละ 61.98 สมรส และร้อยละ 2.14 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่างร้อยละ 0.38 ไม่ได้รับการศึกษา ร้อยละ 20.08 จบการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 34.96 จบการศึกษามัธยมศึกษา หรือเทียบเท่า ร้อยละ 10.61 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 30.38 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 3.59 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.85 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 17.10 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.44 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 11.37 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.66 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.54 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 5.04 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ตัวอย่าง ร้อยละ 21.15 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 3.51 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 14.66 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 30.76 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 11.22 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.35 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 2.60 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001-50,000 บาท ร้อยละ 1.45 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 50,001-60,000 บาท ร้อยละ 0.23 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 60,001-70,000 บาท ร้อยละ 0.07 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 70,001-80,000 บาท ร้อยละ 0.46 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 80,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.54 ไม่ระบุรายได้
ภาคเอกชนใต้ เผย น้ำท่วมกระทบ ห้องพักถูกเลิก 40% วอนรัฐสร้างความเชื่อมั่น หวั่นกระทบความท่องเที่ยว
https://www.matichon.co.th/region/news_4942055
ภาคเอกชนใต้ เผย น้ำท่วมกระทบ ห้องพักถูกเลิก 40% วอนรัฐสร้างความเชื่อมั่น หวั่นกระทบความท่องเที่ยว
เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม รายงานว่าสถานการณ์อุทกภัยใน จ.สงขลาตั้งแต่วันที่ 25 พ.ย.- 6 ธ.ค.67 ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนใน 16 อำเภอ 125 ตำบล 949 หมู่บ้าน โดยมีผู้ได้รับผลกระทบรวม 735,126 คน เสียชีวิต 10 ราย ยังคงมีน้ำท่วมขังใน 4 อำเภอของคาบสมุทรสทิงพระ ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนกว่า 19,054 คน
รายงานจากศูนย์อุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่าวันที่ 13-17 ธันวาคม 2567 จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ของภาคใต้ อันเนื่องมาจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่อาจพัฒนาเป็นพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันได้ จังหวัดสงขลาจึงขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมพร้อมรับมือและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
นายสมพล ชีววัฒนพงศ์ ประธานสภาธุรกิจท่องเที่ยว จ.สงขลา เปิดเผยว่า สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในระยะสั้นๆขณะนี้นักท่องเที่ยวยกเลิกจองห้องพัก 30-40% หากปลายปีซึ่งมีกิจกรรมหลายกิจกรรมหนุนการท่องเที่ยวสงขลา สถานการณ์อุทกภัยยังไม่คลี่คลาย จะกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยว ห้องพักที่มีการจองห้องพักไว้แล้วประมาณ 70% จะถูกยกเลิกไปประมาณครึ่ง ขอให้ภาครัฐสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นในตลาดต่างประเทศ