ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง
“6 พรรคกับโอกาส ได้เป็นรัฐบาล” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 7-9 ธันวาคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับ 6 พรรคกับโอกาสได้เป็นรัฐบาล การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อให้ประชาชนวิเคราะห์ถึงโอกาสที่พรรคการเมือง ทั้ง 6 พรรค ซึ่งกำลังมีกระแสข่าวการไหลเข้า-ออก ของนักการเมืองจะได้เป็นรัฐบาล ภายหลังการเลือกตั้งสมัยหน้า พบว่า
พรรคเพื่อไทย (นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว/น.ส.แพทองธาร ชินวัตร) ตัวอย่าง ร้อยละ 40.38 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก รองลงมา ร้อยละ 32.44 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน ร้อยละ 16.88 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย ร้อยละ 8.24 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน และร้อยละ 2.06 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
พรรคก้าวไกล (นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์) ตัวอย่าง ร้อยละ 31.45 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย รองลงมา ร้อยละ 30.23 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก ร้อยละ 23.66 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน ร้อยละ 11.00 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน และร้อยละ 3.66 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
พรรคพลังประชารัฐ (พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ) ตัวอย่าง ร้อยละ 33.51 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน รองลงมา ร้อยละ 32.60 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย ร้อยละ 20.38 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก ร้อยละ 10.76 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน และร้อยละ 2.75 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
พรรครวมไทยสร้างชาติ (นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค/พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) ตัวอย่าง ร้อยละ 43.12 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน รองลงมา ร้อยละ 31.45 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย ร้อยละ 15.73 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก ร้อยละ 5.73 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน และร้อยละ 3.97 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
พรรคภูมิใจไทย (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) ตัวอย่าง ร้อยละ 39.16 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย รองลงมา ร้อยละ 30.84 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน ร้อยละ 21.60 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก ร้อยละ 4.96 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน และร้อยละ 3.44 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
พรรคประชาธิปัตย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ตัวอย่าง ร้อยละ 40.69 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย รองลงมา ร้อยละ 38.93 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน ร้อยละ 13.20 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก ร้อยละ 4.58 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอนและร้อยละ 2.60 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถาม
ความคิดเห็นของประชาชนต่อกระแสข่าวข้อตกลงการจัดตั้งรัฐบาลร่วมกันระหว่างพรรคพลังประชารัฐกับพรรคเพื่อไทย ภายหลังการเลือกตั้งสมัยหน้า พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 45.65 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย เพราะ เป็นเพียงแค่กระแสข่าวลือ โอกาสเป็นไปได้ยาก เนื่องจากอุดมการณ์ทางการเมืองแตกต่างกัน รองลงมา ร้อยละ 29.24 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ เพราะ ทั้งสองพรรคต่างต้องการจัดตั้งรัฐบาลภายใต้การนำของตนเองจึงไม่น่าจะร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลได้ ร้อยละ 16.64 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ เพราะ การเมืองเป็นเรื่องของการหาผลประโยชน์จึงมีความเป็นไปได้ที่ทั้งสองพรรคจะตกลงจัดตั้งรัฐบาลร่วมกัน ร้อยละ 5.19 ระบุว่า เชื่อมาก เพราะ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐกับพรรคเพื่อไทยเคยมีความสัมพันธ์กันในอดีต จึงอาจมีการหารือเพื่อตกลงเรื่องผลประโยชน์หากได้เป็นรัฐบาลร่วมกัน และร้อยละ 3.28 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 18.01 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 33.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 7.71 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก และร้อยละ 13.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 12.90 มีอายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.79 มีอายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.93 มีอายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 มีอายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.74 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.27 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.74 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.84 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.15 ไม่ระบุศาสนา
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.67 สถานภาพโสด ร้อยละ 64.12 สมรส และร้อยละ 3.21 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 25.42 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 35.42 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.34 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 28.55 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.27 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 10.84 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.59 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 23.66ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.44 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.12 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.01 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 5.19 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 0.15 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 20.84 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 21.07 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 26.87 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 10.84 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 5.11 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 3.51 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 11.76 ไม่ระบุรายได้
โพล ชี้ เลือกตั้งหน้า เพื่อไทย ได้เป็นรัฐบาล ไม่เชื่อ พปชร.-พท.จะจับมือกัน
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง“6 พรรคกับโอกาส ได้เป็นรัฐบาล” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 7-9 ธันวาคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับ 6 พรรคกับโอกาสได้เป็นรัฐบาล การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อให้ประชาชนวิเคราะห์ถึงโอกาสที่พรรคการเมือง ทั้ง 6 พรรค ซึ่งกำลังมีกระแสข่าวการไหลเข้า-ออก ของนักการเมืองจะได้เป็นรัฐบาล ภายหลังการเลือกตั้งสมัยหน้า พบว่า
พรรคเพื่อไทย (นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว/น.ส.แพทองธาร ชินวัตร) ตัวอย่าง ร้อยละ 40.38 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก รองลงมา ร้อยละ 32.44 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน ร้อยละ 16.88 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย ร้อยละ 8.24 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน และร้อยละ 2.06 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
พรรคก้าวไกล (นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์) ตัวอย่าง ร้อยละ 31.45 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย รองลงมา ร้อยละ 30.23 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก ร้อยละ 23.66 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน ร้อยละ 11.00 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน และร้อยละ 3.66 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
พรรคพลังประชารัฐ (พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ) ตัวอย่าง ร้อยละ 33.51 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน รองลงมา ร้อยละ 32.60 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย ร้อยละ 20.38 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก ร้อยละ 10.76 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน และร้อยละ 2.75 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
พรรครวมไทยสร้างชาติ (นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค/พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) ตัวอย่าง ร้อยละ 43.12 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน รองลงมา ร้อยละ 31.45 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย ร้อยละ 15.73 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก ร้อยละ 5.73 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน และร้อยละ 3.97 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
พรรคภูมิใจไทย (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) ตัวอย่าง ร้อยละ 39.16 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย รองลงมา ร้อยละ 30.84 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน ร้อยละ 21.60 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก ร้อยละ 4.96 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน และร้อยละ 3.44 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
พรรคประชาธิปัตย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ตัวอย่าง ร้อยละ 40.69 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย รองลงมา ร้อยละ 38.93 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน ร้อยละ 13.20 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก ร้อยละ 4.58 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอนและร้อยละ 2.60 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อกระแสข่าวข้อตกลงการจัดตั้งรัฐบาลร่วมกันระหว่างพรรคพลังประชารัฐกับพรรคเพื่อไทย ภายหลังการเลือกตั้งสมัยหน้า พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 45.65 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย เพราะ เป็นเพียงแค่กระแสข่าวลือ โอกาสเป็นไปได้ยาก เนื่องจากอุดมการณ์ทางการเมืองแตกต่างกัน รองลงมา ร้อยละ 29.24 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ เพราะ ทั้งสองพรรคต่างต้องการจัดตั้งรัฐบาลภายใต้การนำของตนเองจึงไม่น่าจะร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลได้ ร้อยละ 16.64 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ เพราะ การเมืองเป็นเรื่องของการหาผลประโยชน์จึงมีความเป็นไปได้ที่ทั้งสองพรรคจะตกลงจัดตั้งรัฐบาลร่วมกัน ร้อยละ 5.19 ระบุว่า เชื่อมาก เพราะ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐกับพรรคเพื่อไทยเคยมีความสัมพันธ์กันในอดีต จึงอาจมีการหารือเพื่อตกลงเรื่องผลประโยชน์หากได้เป็นรัฐบาลร่วมกัน และร้อยละ 3.28 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 18.01 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 33.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 7.71 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก และร้อยละ 13.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 12.90 มีอายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.79 มีอายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.93 มีอายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 มีอายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.74 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.27 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.74 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.84 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.15 ไม่ระบุศาสนา
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.67 สถานภาพโสด ร้อยละ 64.12 สมรส และร้อยละ 3.21 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 25.42 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 35.42 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.34 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 28.55 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.27 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 10.84 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.59 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 23.66ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.44 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.12 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.01 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 5.19 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 0.15 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 20.84 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 21.07 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 26.87 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 10.84 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 5.11 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 3.51 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 11.76 ไม่ระบุรายได้