ดัชนีเชื่อมั่นอุตสาหกรรม ร่วงสุดในรอบ 10 เดือน สภาอุตฯ วอนเร่งจัดตั้งรัฐบาล แก้เศรษฐกิจเร่งด่วน
https://ch3plus.com/news/economy/morning/362188
นาย
เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคม 2566 อยู่ที่ระดับ 92.3 ปรับตัวลดลง จาก 94.1 ในเดือนมิถุนายน และค่าดัชนีฯต่ำสุดในรอบ 10 เดือน
เมื่อพิจารณาองค์ประกอบของค่าดัชนีฯ พบว่าปรับตัวลดลงทุกองค์ประกอบ ทั้งดัชนีฯ คำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ เนื่องจากภาคการผลิตและอุปสงค์สินค้าชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า
โดยมีปัจจัยเสี่ยงในประเทศมาจากปัญหาหนี้ครัวเรือนที่และค่าครองชีพที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้กำลังซื้อของครัวเรือนอ่อนแอลง ส่งผลต่อความต้องการบริโภคสินค้าอุตสาหกรรมลดลง
ขณะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในทิศทางขาขึ้น ทำให้ต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น นอกจากนี้สถานการณ์ทางการเมืองยังมีความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาล ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของภาคเอกชน
สำหรับปัจจัยเสี่ยงนอกประเทศมาจากเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความเปราะบางจากอุปสงค์ในตลาดโลกลดลง ทำให้การส่งออกส่งสัญญาณชะลอตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 ขณะที่เศรษฐกิจจีนที่ขยายตัวต่ำกว่าคาด อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวที่ช่วยพยุงการบริโภคและการใช้จ่ายในประเทศ
สำหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 100.2 ปรับตัวลดลง จาก 102.1 ในเดือนมิถุนายน เนื่องจากผู้ประกอบการกังวลต่อความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการจัดทำงบประมาณภาครัฐ ตลอดจนขาดความต่อเนื่องในการดำเนินนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามต้นทุนการผลิตมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น อาทิ ราคาพลังงาน ค่าไฟฟ้าและค่าจ้างแรงงาน เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกิจการ ขณะที่สภาวะเศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนสูง
โดยมีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ คือ เร่งจัดตั้งรัฐบาลโดยเร็วและออกนโยบายฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาปากท้องประชาชน รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและกระตุ้นกำลังซื้อในประเทศ
เร่งออกมาตรการบรรเทาผลกระทบจากภาระต้นทุนดอกเบี้ยเงินกู้ที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินและลดความเสี่ยงการเป็นหนี้เสีย (NPL)
ขอให้ใช้กลไกของทูตพาณิชย์ในการเจรจาเร่งจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) และลดปัญหาทั้งอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers: NTBs) และมาตรการทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Measures: NTMs) รวมทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าแบบมุ่งเป้าไปยังกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพ เช่น กลุ่ม GCC, ลาตินอเมริกา, เอเชียใต้ เป็นต้น เพื่อช่วยขยายโอกาสทางการค้าและสนับสนุนภาคการส่งออก
และขอให้ภาครัฐเร่งดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยเฉพาะโครงการลงทุนต่างๆ ที่ยังค้างท่อ เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ
อ.รัฐศาสตร์ ชี้ สเปก รมต.ก็แค่ทฤษฎี สู้โควต้าไม่ได้ แนะสร้างกลไกให้ปชช.ช่วยตัดเกรด
https://www.matichon.co.th/politics/news_4131763
อ.รัฐศาสตร์ ชี้แบ่งเค้ก รมต. สเปกก็แค่ทฤษฎี สู้ ‘โควต้า’ ไม่ได้ แนะสร้างระบบให้ ปชช.ช่วยตัดเกรด
เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ผศ.
ปฐวี โชติอนันต์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ให้สัมภาษณ์มติชน ถึงสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน ไว้น่าสนใจในหลายมิติ โดยเฉพาะเรื่องการแบ่งเก้าอี้รัฐมนตรี ความว่า
“ผมคิดว่าหลักการหนึ่งที่สำคัญในการบริหารงานคือ ใช้คนให้ถูกกับงาน หรือ “Put the right man in the right job” การจัดสรรเก้าอี้รัฐมนตรีผู้ที่เป็นผู้บริหารกระทรวงต่างๆ ของประเทศก็เช่นเดียวกันคือควรได้คนที่สามารถและมีความเชี่ยวชาญในตำแหน่งรัฐมนตรีนั้นๆ
การได้คนที่มีความสามารถและความเชี่ยวชาญผ่านการพิสูจน์การทำผลงานในสายงานที่มีความเกี่ยวข้องจะช่วยให้การทำงานในระดับนโยบายในแก้ไขปัญหามีความชัดเจนมากขึ้น เพราะเขาเหล่านั้นรู้ปัญหาการทำงานที่เกิดขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานควรได้คนที่เคยทำงานในสหภาพแรงงาน คนเหล่านี้จะรู้ถึงปัญหาของแรงงานว่าต้องการอะไร และต้องพัฒนาไปทางไหน หรือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพานิชย์ควรได้นักบริหารงานธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมากนั่งเป็นเจ้ากระทรวง เพราะเขารู้วิธีการบริหารงานตลาดและราคาสินค้า เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่รัฐมนตรีต้องมีเหมือนกันนอกจากความความสามารถและความเชี่ยวชาญในสายงานแล้ว คือ การทำเพื่อผลประโยชน์ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่ใช่ผลประโยชน์ของพวกพ้อง หรือ ฐานเสียงของตนอย่างเดียว ทั้งนี้ เขาเหล่านั้นอย่าลืมว่าการที่เขาได้เป็นรัฐมนตรีแล้วเขาเป็นหนึ่งในทีมคณะรัฐมนตรีในการบริหารงานของประเทศไม่ใช่ตัวแทนหรือผู้ปกป้องผลประโยชน์ของพรรคใดของพรรคหนึ่งอีกต่อไป แต่เขาคือทีมบริหารที่ต้องดูแลคนทั้งประเทศ
ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงทฤษฎี ในความเป็นจริง สังคมไทยการแบ่งเก้าอี้รัฐมนตรียังคงแบ่งตามสัดส่วนจำนวน ส.ส.ที่พรรคการเมืองที่เข้าร่วมรัฐบาล
มากกว่านั้น นักการเมืองจากพรรคร่วมรัฐบาลต้องการที่ได้จะได้เป็นกระทรวง “เกรดเอ” หรือ “เกรดบี” เพื่อที่จะได้เร่งทำงานผลงานและนำงบประมาณลงไปในพื้นที่และธุรกิจที่มีสัมพันธ์อันดีกับพรรคของตน ดังนั้น การแบ่งเก้าอี้รัฐมนตรีจึงแบ่งไปตามโควตาของพรรคที่จะได้ พรรคที่มี ส.ส.มากมีอำนาจต่อรองมากก็มีโอกาสได้เก้าอี้รัฐมนตรีมากรวมถึงการได้กระทรวงเกรดเอ หรือ บีไว้ในครอบครองมาก ส่วนพรรคที่สส.น้อยอำนาจในการต่อรองน้อยก็จะได้ตำแหน่งรัฐมนตรี หรือ รัฐมนตรีช่วยในกระทรวงเกรดรองลงไป
เราจะเห็นว่าที่ผ่านมาการแต่งตั้งรัฐมนตรีแต่ละครั้งบางกระทรวงตั้งรัฐมนตรีซึ่งเป็นที่ขัดใจของประชาชนมีข้อกังขาถึงความสามารถและผลงานที่ผ่าน แต่ยังได้การแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีเนื่องจากเป็นผู้มีอิทธิพลในพรรคนั้น ผลที่ตามมาคือ ยิ่งเป็นรัฐบาลผสมหลายพรรคการเมือง การทำงานใน ครม.มีปัญหาเนื่องจาก นายกรัฐมนตรีไม่สามารถคุมรัฐมนตรีได้ บางครั้งรัฐมนตรีที่มาจากพรรคการเมืองต่างกันมีความขัดแย้งในเรื่องนโยบาย เมื่อมีการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจโดยฝ่ายค้าน พรรคร่วมรัฐบาลด้วยกันก็ไม่ยกมือสนับสนุนเพื่อไว้วางใจให้ สิ่งเหล่านี้เป็นรอยร้าวใน ครม.ในช่วงที่ผ่านและทำให้การทำงานนั้นไม่เป็นเอกภาพ คือต่างคนต่างทำงาน ที่สำคัญการทำงานเน้นไปที่กลุ่มผลประโยชน์และฐานเสียงของตนมากกว่าผลประโยชน์ส่วนใหญ่ของคนในประเทศ
• สิ่งที่ทำได้ ก่อนจัดตั้ง ครม.
อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าสิ่งที่เราทำได้คือ ก่อนที่จะมีการตั้ง ครม.ให้พรรคการเมืองเปิดเผยชื่อคนที่จะเป็นรัฐมนตรีของแต่ละพรรค ให้มีการแถลงนโยบายก่อนเข้าปฏิบัติงานให้ประชาชนได้รับทราบว่า ใน 100 วันแรก รัฐมนตรีจะทำผลงานอะไร เมื่อครบ 2 ปีจะทำอะไรเป็นรูปธรรม และ เมื่อครบวาระ 4 ปี มีผลงานอะไรที่ออกมามีผลสำเร็จอะไรบ้าง สิ่งเรานี้จะเป็นสัญญาประชาคมที่รัฐมนตรีท่านนั้นได้พูดกับประชาชนก่อนเข้ารับตำแหน่ง
มากกว่านั้นประชาชนยังตรวจสอบได้ว่ารัฐมนตรีท่านนั้นได้ทำตามที่พูดไหม มีผลงานอะไรไหม นอกจากรัฐมนตรีเหล่านั้นจะถูกตรวจสอบโดยฝ่ายค้านแล้วยังเป็นการเพิ่มให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงานของรัฐมนตรีด้วย
นอกจากนี้ผมคิดว่าสื่อมีความสำคัญมาก สื่อควรทำหน้าที่ถามความเห็นจากประชาชนให้คะแนนการทำงานกับรัฐมนตรีแต่ละท่านว่าได้คะแนนเท่าไร เอาผลงานของรัฐมนตรีแต่ละท่านมาเปิดเผยให้ประชาชนทราบว่าแต่ละท่านได้ดำเนินงานอะไรไปแล้วบ้าง อะไรที่ยังไม่ได้ทำ อะไรที่ยังทำไม่สำเร็จตามที่หาเสียงไว้เพราะอะไร สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้สังคมตื่นตัวและจับตามองการทำงานของรัฐมนตรีและอาจจะรวมถึงการทำงานของนายกรัฐมนตรีมากขึ้นด้วย
• แนะเปลี่ยนวิธีคิด สร้างระบบตรวจสอบ ‘รัฐมนตรี’ ที่ประชาชนมีส่วนร่วม
จากที่กล่าวมา ผมคิดว่าเราต้องเปลี่ยนวิธีคิดใหม่คือ เราต้องช่วยกันสร้างระบบในการตรวจสอบให้รัฐมนตรีที่มาจากต่างพรรคการเมืองทำงานให้กับประชาชนส่วนร่วม นอกจากจะมีการอภิปรายในสภาจากฝ่ายค้านแล้ว ควรที่จะสร้างกลไกทางสังคมให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมการตรวจสอบการทำงานของรัฐมนตรีให้ได้มากที่สุด
ถ้าพรรคการเมืองเสนอนักการเมืองที่ไม่มีความสามารถ ทำงานไม่เก่งมาเป็นรัฐมนตรีตามโควตาพรรคที่ได้รับ หรือ รัฐมนตรีท่านไหนไม่ทำงานปล่อยเกียร์วางหรือทำแต่เพื่อผลประโยชน์กลุ่มตน ผลงานเหล่านี้จะต้องให้ประชาชนได้รับทราบมากที่สุดเพื่อที่การเลือกตั้งครั้งหน้าจะได้ไม่เลือกคนของพรรคนี้เข้ามาอีก
สิ่งเหล่านี้เป็นการสร้างกลไกประชาธิปไตยทางตรงให้กับประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารประเทศควบคู่ไปกับกลไกลในระบบรัฐสภา ที่สำคัญเราต้องไม่ปล่อยให้อำนาจไปอยู่กับนักการเมืองในสภาทั้งหมดหลังจากการเลือกตั้งไปแล้ว แต่เราต้องสร้างอำนาจและพื้นที่ทางการเมืองเพื่อการต่อรองและควบคุมนักการเมืองเหล่านั้นด้วย”
‘กัณวีร์’ ลั่น ต้องปรับ ‘จุดยืนการทูตไทย’ ย่ำอยู่ในยุคสงครามเย็น ชงเปิด ‘ระเบียงมนุษยธรรม’ ช่วยผู้ลี้ภัยเมียนมา
https://www.matichon.co.th/politics/news_4131814
‘กัณวีร์’ ลั่น ต้องปรับใหม่ ‘จุดยืนการทูตไทย’ ยังย่ำอยู่ในยุคสงครามเย็น ชง รบ.ใหม่ ‘เปิดระเบียงมนุษยธรรม’ ช่วยผู้พลัดถิ่นเมียนมา ใช้โอกาสแสดงบทบาทผู้นำ
เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 16 สิงหาคม ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เนื่องในวาระ 78 ปี วันสันติภาพไทย สถาบันปรีดี พนมยงค์ จัดกิจกรรม PRIDI Talks #22 เสวนา “บทบาทอาเซียนในการเสริมสร้างสันติภาพในเมียนมา”
บรรยากาศภายในงาน มีการเสวนาในหัวข้อ “
บทบาทอาเซียนในการเสริมสร้างสันติภาพในเมียนมา” โดยมีนักการเมือง นักวิชาการร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง ได้แก่ นาย
กัณวีร์ สืบแสง เลขาธิการพรรคเป็นธรรม ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านสันติภาพ มนุษยธรรม สิทธิมนุษยชน ผู้ลี้ภัย ความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, รศ.ดร.ม.ล.
พินิตพันธุ์ บริพัตร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, รศ.ดร.
ดุลยภาค ปรีชารัชช รองผู้อำนวยการสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, นาย
สุนัย ผาสุก ที่ปรึกษา Human Rights Watch ประจำประเทศไทย และนาง
อังคณา นีละไพจิตร ผู้เชี่ยวชาญสหประชาชาติ และกรรมการบริหารสถาบันปรีดี พนมยงค์
เมื่อพิธีกรถามว่า คิดว่าบทบาทของรัฐบาลไทยต่อการสร้างสันติภาพในเมียนมาจะเป็นอย่างไร ?
นาย
กัณวีร์กล่าวว่า สำหรับตน ขอพูดในฐานะคนที่เคยไปอยู่ประเทศเมียนมาตั้งแต่ก่อนเกิดการรัฐประหาร และภายหลังเกิดรัฐประหารว่ามองอย่างไรกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ได้รับผลกระทบ และในฐานะ ส.ส.ที่ยังไม่สามารถพูดได้ว่าเป็นฝ่ายค้านหรือรัฐบาล ซึ่งเวลาตนมองสถานการณ์ฉุกเฉิน ณ ปัจจุบัน บทบาทของรัฐบาลไทยที่ควรทำมี 2 ด้านคือ 1.ด้านมนุษยธรรม 2. ด้านความมั่นคง
“
ด้านมนุษยธรรม” หลังจากรัฐประหารเกิดขึ้นทหารเมียนมา ทหารได้ดึงอำนาจของประชาชนกลับมาใส่มือของตัวเอง มีการเรียกร้องเคลื่อนไหวเชิงอสิงหา ประชาชนออกมาเรียกร้องทวงอำนาจคืน มีการลิดรอนสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง ทำให้มีผู้พลัดถิ่นมากมาย
“
ตอนที่ผมอยู่ ปลายปี 2564 มีผู้พลัดถิ่นประมาณ 1 ล้านกว่าคนเรียบร้อยแล้ว 3 แสนกว่าคนอยู่ติดกับชายแดนไทย ผมอยู่บริเวณชายแดนไทยเมียนมา ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา น่าจะมีผู้พลัดถิ่นในประเทศมากกว่านี้ แล้วเราเห็นว่ามีผู้ลี้ภัยข้ามเขตแดนมาอยู่ในไทย ในศูนย์พักพิงชั่วคราว 900 กว่าคน แต่ตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการมากกว่านั้น หลักหมื่นแน่นอน ฉะนั้นบทบาทของไทยที่จำเป็นต้องดูแล ชัดเจนตรงที่ว่าไทยจำเป็นต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางด้านจุดยืนทางการทูตของไทยเสียก่อน เพราะไม่อย่างนั้นสิ่งที่ผมเสนอไปจะไม่สามารถทำได้เลย”
JJNY : ดัชนีเชื่อมั่นอุตสาหกรรมร่วง│สเปกรมต.ก็แค่ทฤษฎี│‘กัณวีร์’ลั่นต้องปรับ‘จุดยืนการทูตไทย’│จีนรับฟื้นตัวทางศก.ไม่ง่าย
https://ch3plus.com/news/economy/morning/362188
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคม 2566 อยู่ที่ระดับ 92.3 ปรับตัวลดลง จาก 94.1 ในเดือนมิถุนายน และค่าดัชนีฯต่ำสุดในรอบ 10 เดือน
เมื่อพิจารณาองค์ประกอบของค่าดัชนีฯ พบว่าปรับตัวลดลงทุกองค์ประกอบ ทั้งดัชนีฯ คำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ เนื่องจากภาคการผลิตและอุปสงค์สินค้าชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า
โดยมีปัจจัยเสี่ยงในประเทศมาจากปัญหาหนี้ครัวเรือนที่และค่าครองชีพที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้กำลังซื้อของครัวเรือนอ่อนแอลง ส่งผลต่อความต้องการบริโภคสินค้าอุตสาหกรรมลดลง
ขณะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในทิศทางขาขึ้น ทำให้ต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น นอกจากนี้สถานการณ์ทางการเมืองยังมีความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาล ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของภาคเอกชน
สำหรับปัจจัยเสี่ยงนอกประเทศมาจากเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความเปราะบางจากอุปสงค์ในตลาดโลกลดลง ทำให้การส่งออกส่งสัญญาณชะลอตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 ขณะที่เศรษฐกิจจีนที่ขยายตัวต่ำกว่าคาด อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวที่ช่วยพยุงการบริโภคและการใช้จ่ายในประเทศ
สำหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 100.2 ปรับตัวลดลง จาก 102.1 ในเดือนมิถุนายน เนื่องจากผู้ประกอบการกังวลต่อความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการจัดทำงบประมาณภาครัฐ ตลอดจนขาดความต่อเนื่องในการดำเนินนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามต้นทุนการผลิตมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น อาทิ ราคาพลังงาน ค่าไฟฟ้าและค่าจ้างแรงงาน เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกิจการ ขณะที่สภาวะเศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนสูง
โดยมีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ คือ เร่งจัดตั้งรัฐบาลโดยเร็วและออกนโยบายฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาปากท้องประชาชน รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและกระตุ้นกำลังซื้อในประเทศ
เร่งออกมาตรการบรรเทาผลกระทบจากภาระต้นทุนดอกเบี้ยเงินกู้ที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินและลดความเสี่ยงการเป็นหนี้เสีย (NPL)
ขอให้ใช้กลไกของทูตพาณิชย์ในการเจรจาเร่งจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) และลดปัญหาทั้งอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers: NTBs) และมาตรการทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Measures: NTMs) รวมทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าแบบมุ่งเป้าไปยังกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพ เช่น กลุ่ม GCC, ลาตินอเมริกา, เอเชียใต้ เป็นต้น เพื่อช่วยขยายโอกาสทางการค้าและสนับสนุนภาคการส่งออก
และขอให้ภาครัฐเร่งดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยเฉพาะโครงการลงทุนต่างๆ ที่ยังค้างท่อ เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ
อ.รัฐศาสตร์ ชี้ สเปก รมต.ก็แค่ทฤษฎี สู้โควต้าไม่ได้ แนะสร้างกลไกให้ปชช.ช่วยตัดเกรด
https://www.matichon.co.th/politics/news_4131763
อ.รัฐศาสตร์ ชี้แบ่งเค้ก รมต. สเปกก็แค่ทฤษฎี สู้ ‘โควต้า’ ไม่ได้ แนะสร้างระบบให้ ปชช.ช่วยตัดเกรด
เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ผศ.ปฐวี โชติอนันต์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ให้สัมภาษณ์มติชน ถึงสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน ไว้น่าสนใจในหลายมิติ โดยเฉพาะเรื่องการแบ่งเก้าอี้รัฐมนตรี ความว่า
“ผมคิดว่าหลักการหนึ่งที่สำคัญในการบริหารงานคือ ใช้คนให้ถูกกับงาน หรือ “Put the right man in the right job” การจัดสรรเก้าอี้รัฐมนตรีผู้ที่เป็นผู้บริหารกระทรวงต่างๆ ของประเทศก็เช่นเดียวกันคือควรได้คนที่สามารถและมีความเชี่ยวชาญในตำแหน่งรัฐมนตรีนั้นๆ
การได้คนที่มีความสามารถและความเชี่ยวชาญผ่านการพิสูจน์การทำผลงานในสายงานที่มีความเกี่ยวข้องจะช่วยให้การทำงานในระดับนโยบายในแก้ไขปัญหามีความชัดเจนมากขึ้น เพราะเขาเหล่านั้นรู้ปัญหาการทำงานที่เกิดขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานควรได้คนที่เคยทำงานในสหภาพแรงงาน คนเหล่านี้จะรู้ถึงปัญหาของแรงงานว่าต้องการอะไร และต้องพัฒนาไปทางไหน หรือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพานิชย์ควรได้นักบริหารงานธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมากนั่งเป็นเจ้ากระทรวง เพราะเขารู้วิธีการบริหารงานตลาดและราคาสินค้า เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่รัฐมนตรีต้องมีเหมือนกันนอกจากความความสามารถและความเชี่ยวชาญในสายงานแล้ว คือ การทำเพื่อผลประโยชน์ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่ใช่ผลประโยชน์ของพวกพ้อง หรือ ฐานเสียงของตนอย่างเดียว ทั้งนี้ เขาเหล่านั้นอย่าลืมว่าการที่เขาได้เป็นรัฐมนตรีแล้วเขาเป็นหนึ่งในทีมคณะรัฐมนตรีในการบริหารงานของประเทศไม่ใช่ตัวแทนหรือผู้ปกป้องผลประโยชน์ของพรรคใดของพรรคหนึ่งอีกต่อไป แต่เขาคือทีมบริหารที่ต้องดูแลคนทั้งประเทศ
ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงทฤษฎี ในความเป็นจริง สังคมไทยการแบ่งเก้าอี้รัฐมนตรียังคงแบ่งตามสัดส่วนจำนวน ส.ส.ที่พรรคการเมืองที่เข้าร่วมรัฐบาล
มากกว่านั้น นักการเมืองจากพรรคร่วมรัฐบาลต้องการที่ได้จะได้เป็นกระทรวง “เกรดเอ” หรือ “เกรดบี” เพื่อที่จะได้เร่งทำงานผลงานและนำงบประมาณลงไปในพื้นที่และธุรกิจที่มีสัมพันธ์อันดีกับพรรคของตน ดังนั้น การแบ่งเก้าอี้รัฐมนตรีจึงแบ่งไปตามโควตาของพรรคที่จะได้ พรรคที่มี ส.ส.มากมีอำนาจต่อรองมากก็มีโอกาสได้เก้าอี้รัฐมนตรีมากรวมถึงการได้กระทรวงเกรดเอ หรือ บีไว้ในครอบครองมาก ส่วนพรรคที่สส.น้อยอำนาจในการต่อรองน้อยก็จะได้ตำแหน่งรัฐมนตรี หรือ รัฐมนตรีช่วยในกระทรวงเกรดรองลงไป
เราจะเห็นว่าที่ผ่านมาการแต่งตั้งรัฐมนตรีแต่ละครั้งบางกระทรวงตั้งรัฐมนตรีซึ่งเป็นที่ขัดใจของประชาชนมีข้อกังขาถึงความสามารถและผลงานที่ผ่าน แต่ยังได้การแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีเนื่องจากเป็นผู้มีอิทธิพลในพรรคนั้น ผลที่ตามมาคือ ยิ่งเป็นรัฐบาลผสมหลายพรรคการเมือง การทำงานใน ครม.มีปัญหาเนื่องจาก นายกรัฐมนตรีไม่สามารถคุมรัฐมนตรีได้ บางครั้งรัฐมนตรีที่มาจากพรรคการเมืองต่างกันมีความขัดแย้งในเรื่องนโยบาย เมื่อมีการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจโดยฝ่ายค้าน พรรคร่วมรัฐบาลด้วยกันก็ไม่ยกมือสนับสนุนเพื่อไว้วางใจให้ สิ่งเหล่านี้เป็นรอยร้าวใน ครม.ในช่วงที่ผ่านและทำให้การทำงานนั้นไม่เป็นเอกภาพ คือต่างคนต่างทำงาน ที่สำคัญการทำงานเน้นไปที่กลุ่มผลประโยชน์และฐานเสียงของตนมากกว่าผลประโยชน์ส่วนใหญ่ของคนในประเทศ
• สิ่งที่ทำได้ ก่อนจัดตั้ง ครม.
อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าสิ่งที่เราทำได้คือ ก่อนที่จะมีการตั้ง ครม.ให้พรรคการเมืองเปิดเผยชื่อคนที่จะเป็นรัฐมนตรีของแต่ละพรรค ให้มีการแถลงนโยบายก่อนเข้าปฏิบัติงานให้ประชาชนได้รับทราบว่า ใน 100 วันแรก รัฐมนตรีจะทำผลงานอะไร เมื่อครบ 2 ปีจะทำอะไรเป็นรูปธรรม และ เมื่อครบวาระ 4 ปี มีผลงานอะไรที่ออกมามีผลสำเร็จอะไรบ้าง สิ่งเรานี้จะเป็นสัญญาประชาคมที่รัฐมนตรีท่านนั้นได้พูดกับประชาชนก่อนเข้ารับตำแหน่ง
มากกว่านั้นประชาชนยังตรวจสอบได้ว่ารัฐมนตรีท่านนั้นได้ทำตามที่พูดไหม มีผลงานอะไรไหม นอกจากรัฐมนตรีเหล่านั้นจะถูกตรวจสอบโดยฝ่ายค้านแล้วยังเป็นการเพิ่มให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงานของรัฐมนตรีด้วย
นอกจากนี้ผมคิดว่าสื่อมีความสำคัญมาก สื่อควรทำหน้าที่ถามความเห็นจากประชาชนให้คะแนนการทำงานกับรัฐมนตรีแต่ละท่านว่าได้คะแนนเท่าไร เอาผลงานของรัฐมนตรีแต่ละท่านมาเปิดเผยให้ประชาชนทราบว่าแต่ละท่านได้ดำเนินงานอะไรไปแล้วบ้าง อะไรที่ยังไม่ได้ทำ อะไรที่ยังทำไม่สำเร็จตามที่หาเสียงไว้เพราะอะไร สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้สังคมตื่นตัวและจับตามองการทำงานของรัฐมนตรีและอาจจะรวมถึงการทำงานของนายกรัฐมนตรีมากขึ้นด้วย
• แนะเปลี่ยนวิธีคิด สร้างระบบตรวจสอบ ‘รัฐมนตรี’ ที่ประชาชนมีส่วนร่วม
จากที่กล่าวมา ผมคิดว่าเราต้องเปลี่ยนวิธีคิดใหม่คือ เราต้องช่วยกันสร้างระบบในการตรวจสอบให้รัฐมนตรีที่มาจากต่างพรรคการเมืองทำงานให้กับประชาชนส่วนร่วม นอกจากจะมีการอภิปรายในสภาจากฝ่ายค้านแล้ว ควรที่จะสร้างกลไกทางสังคมให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมการตรวจสอบการทำงานของรัฐมนตรีให้ได้มากที่สุด
ถ้าพรรคการเมืองเสนอนักการเมืองที่ไม่มีความสามารถ ทำงานไม่เก่งมาเป็นรัฐมนตรีตามโควตาพรรคที่ได้รับ หรือ รัฐมนตรีท่านไหนไม่ทำงานปล่อยเกียร์วางหรือทำแต่เพื่อผลประโยชน์กลุ่มตน ผลงานเหล่านี้จะต้องให้ประชาชนได้รับทราบมากที่สุดเพื่อที่การเลือกตั้งครั้งหน้าจะได้ไม่เลือกคนของพรรคนี้เข้ามาอีก
สิ่งเหล่านี้เป็นการสร้างกลไกประชาธิปไตยทางตรงให้กับประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารประเทศควบคู่ไปกับกลไกลในระบบรัฐสภา ที่สำคัญเราต้องไม่ปล่อยให้อำนาจไปอยู่กับนักการเมืองในสภาทั้งหมดหลังจากการเลือกตั้งไปแล้ว แต่เราต้องสร้างอำนาจและพื้นที่ทางการเมืองเพื่อการต่อรองและควบคุมนักการเมืองเหล่านั้นด้วย”
‘กัณวีร์’ ลั่น ต้องปรับ ‘จุดยืนการทูตไทย’ ย่ำอยู่ในยุคสงครามเย็น ชงเปิด ‘ระเบียงมนุษยธรรม’ ช่วยผู้ลี้ภัยเมียนมา
https://www.matichon.co.th/politics/news_4131814
‘กัณวีร์’ ลั่น ต้องปรับใหม่ ‘จุดยืนการทูตไทย’ ยังย่ำอยู่ในยุคสงครามเย็น ชง รบ.ใหม่ ‘เปิดระเบียงมนุษยธรรม’ ช่วยผู้พลัดถิ่นเมียนมา ใช้โอกาสแสดงบทบาทผู้นำ
เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 16 สิงหาคม ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เนื่องในวาระ 78 ปี วันสันติภาพไทย สถาบันปรีดี พนมยงค์ จัดกิจกรรม PRIDI Talks #22 เสวนา “บทบาทอาเซียนในการเสริมสร้างสันติภาพในเมียนมา”
บรรยากาศภายในงาน มีการเสวนาในหัวข้อ “บทบาทอาเซียนในการเสริมสร้างสันติภาพในเมียนมา” โดยมีนักการเมือง นักวิชาการร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง ได้แก่ นายกัณวีร์ สืบแสง เลขาธิการพรรคเป็นธรรม ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านสันติภาพ มนุษยธรรม สิทธิมนุษยชน ผู้ลี้ภัย ความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, รศ.ดร.ม.ล.พินิตพันธุ์ บริพัตร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, รศ.ดร.ดุลยภาค ปรีชารัชช รองผู้อำนวยการสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, นายสุนัย ผาสุก ที่ปรึกษา Human Rights Watch ประจำประเทศไทย และนางอังคณา นีละไพจิตร ผู้เชี่ยวชาญสหประชาชาติ และกรรมการบริหารสถาบันปรีดี พนมยงค์
เมื่อพิธีกรถามว่า คิดว่าบทบาทของรัฐบาลไทยต่อการสร้างสันติภาพในเมียนมาจะเป็นอย่างไร ?
นายกัณวีร์กล่าวว่า สำหรับตน ขอพูดในฐานะคนที่เคยไปอยู่ประเทศเมียนมาตั้งแต่ก่อนเกิดการรัฐประหาร และภายหลังเกิดรัฐประหารว่ามองอย่างไรกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ได้รับผลกระทบ และในฐานะ ส.ส.ที่ยังไม่สามารถพูดได้ว่าเป็นฝ่ายค้านหรือรัฐบาล ซึ่งเวลาตนมองสถานการณ์ฉุกเฉิน ณ ปัจจุบัน บทบาทของรัฐบาลไทยที่ควรทำมี 2 ด้านคือ 1.ด้านมนุษยธรรม 2. ด้านความมั่นคง
“ด้านมนุษยธรรม” หลังจากรัฐประหารเกิดขึ้นทหารเมียนมา ทหารได้ดึงอำนาจของประชาชนกลับมาใส่มือของตัวเอง มีการเรียกร้องเคลื่อนไหวเชิงอสิงหา ประชาชนออกมาเรียกร้องทวงอำนาจคืน มีการลิดรอนสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง ทำให้มีผู้พลัดถิ่นมากมาย
“ตอนที่ผมอยู่ ปลายปี 2564 มีผู้พลัดถิ่นประมาณ 1 ล้านกว่าคนเรียบร้อยแล้ว 3 แสนกว่าคนอยู่ติดกับชายแดนไทย ผมอยู่บริเวณชายแดนไทยเมียนมา ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา น่าจะมีผู้พลัดถิ่นในประเทศมากกว่านี้ แล้วเราเห็นว่ามีผู้ลี้ภัยข้ามเขตแดนมาอยู่ในไทย ในศูนย์พักพิงชั่วคราว 900 กว่าคน แต่ตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการมากกว่านั้น หลักหมื่นแน่นอน ฉะนั้นบทบาทของไทยที่จำเป็นต้องดูแล ชัดเจนตรงที่ว่าไทยจำเป็นต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางด้านจุดยืนทางการทูตของไทยเสียก่อน เพราะไม่อย่างนั้นสิ่งที่ผมเสนอไปจะไม่สามารถทำได้เลย”