‘ม็อบเสื้อดำ’ รำลึก..สลายชุมนุม ‘เสื้อแดง’ จี้ 8 พรรคร่วมจับมือกันให้แน่น
https://www.dailynews.co.th/news/2572594/
บรรยากาศช่วงค่ำ การชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมฝ่ายประชาธิปไตย โดยสวมใส่ "ชุดดำ" เรียกร้อง "สว." ลาออก พบว่ามีมวลชนมารวมกลุ่มนับพัน พร้อมชมการปราศรับทำกิจกรรมรำลึก "เสื้อแดง" ที่ถูกสลายการชุมนุม จนมีผู้เสียชีวิต พร้อมเรียกร้อง 3 ข้อให้ 8 พรรคร่วมรัฐบาล จับมือกันต่อไป ขณะที่สว.ต้องลาออกจากตำแหน่งเท่านั้น
เมื่อวันที่ 27 ก.ค. ที่แยกราชประสงค์ ผู้สื่อข่าวรายงาน บรรยากาศการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมฝ่ายประชาธิปไตยโดยมีการสวมใส่ “ชุดดำ” เพื่อเรียกร้องให้ สว. ลาออกว่า ช่วงค่ำที่ผ่านมาจำนวนผู้ชุมนุมเริ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ หลายพันคน โดยมีการตั้งเวทีพร้อมเครื่องขยายเสียง ปิดพื้นที่ 3 ช่องการจารจร ขณะเดียวกัน กลุ่มผู้ชุมนุมได้มีการพ่นสี และทาสีแดง เขียนข้อความว่า “
สว.หัวX” อีกด้วย
ต่อมาเวลา 17.40 น. นาย
ธัชพงศ์ แกดำ หรือ “บอย” แกนนำคณะราษฎร ได้ประกาศบนเวทีว่า มีการเลื่อนเวลาเริ่มกิจกรรมจากเดิม 17.00 น. ไปเป็นเวลา 18.00 น. โดยการชุมนุมวันนี้มาในหัวข้อ “
เห็นหัวกูบ้าง” ด้าน น.ส.
ธนพร วิจันทร์ หรือ “ไหม” ตัวแทนเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน กล่าวว่า วันนี้ เรามีการปราศรัย กิจกรรมตั้งไว้จะยุติไม่เกิน 22.00 น.
โดยการปราศรัยจะมีความหลากหลายมากขึ้น รวมทั้งเน้นการจัดตั้งรัฐบาลที่มีอุปสรรคต่าง ๆ มากมาย ซึ่งจะปราศรัยส่งเสียงถึง 8 พรรคการเมือง และขั้วอำนาจที่จะดำเนินการจัดตั้งรัฐบาล ที่ไม่ฟังเสียงประชาชน ขอให้เห็นหัวประชาชนบ้าง เพราะเราเลือกตั้งมา 2 เดือนกว่า ๆ แล้ว แต่ยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ แต่ปัญหาของพวกเรามีอยู่ทุกกลุ่ม การแก้ไขปัญหายังไม่มีรัฐบาลเข้ามาดูแล
สำหรับที่มาของการจัดกิจกรรมในวันนี้ (27ก.ค.) เราเห็นการเมืองตั้งแต่การประชุม 8 พรรคการเมืองครั้งล่าสุด และจะมีการโหวตนายกฯ วันที่ 27 ก.ค. แต่สุดท้ายพรรคเพื่อไทยก็ออกมาแถลงว่าไม่มีการประชุม จึงทำให้เกิดคำถามกับประชาชน ว่าพรรคการเมืองกำลังเล่นเกมอะไรกันอยู่ ตกลงปัญหาเกิดจากอะไร อย่างไรก็ตาม การชุมนุมในวันนี้มีข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อ คือ
1. ให้ 8 พรรคร่วมรัฐบาล ยืนหยัดว่าจะจับมือกันต่อไป,
2. สว.ต้องลาออก เพื่อให้กลไกสภาเดินไปได้ในการโหวตนายกฯ
และ 3. หากต้องมีการฉีก MOU ต้องฟังเสียงประชาชน ต้องเห็นหัวประชาชนด้วย
สำหรับสถานการปัจจุบันที่การโหวตอาจยืดเยื้อไปนานถึง 10 เดือนนั้น ประชาชนรอไม่ได้ อยากให้จัดตั้งรัฐบาลให้เร็วที่สุด ไม่ต้องรอถึง 10 เดือน เพราะปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนรอไม่ได้แล้ว ทั้งนี้ เราคิดว่าการจัดชุมนุมทุกครั้ง มีผลต่อท่าทีของ สว. เพราะหลายครั้งท่าทีการจัดตั้งรัฐบาล ก็มีการเปลี่ยนแปลงไม่มากก็น้อย
ต่อมา เวลา 19.00 น. นาย
สมยศ พฤกษาเกษมสุข ตัวแทนกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย ได้ขึ้นเวทีและ ได้ทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ชื่อชุด ‘
ประชาธิปไตยที่ถูกทำลายโดยเผด็จการ’ โดยมีมวลชน 2 คน ถูกห้อยตัวด้วยเชือกลงมาจากสะพานลอยถนนราชดำริ มีน้ำหมึกสีแดงราดตามร่างกาย เพื่อแสดงถึงการสูญเสียของมวลชนเสื้อแดง ในการสลายการชุมนุมเมื่อหลายปีก่อน พร้อมกันนั้นได้มีการโปรยใบปลิว ‘
ประกาศจับสว.’ ลงสู่กลุ่มผู้ชุมนุมที่อยู่ด้านล่าง
ในช่วงการทำกิจกรรม บรรดาแกนนำที่ปราศรัยบนเวที ได้กล่าวบรรยายถึงวิกฤตทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงเกือบ 20 ปี นับตั้งแต่การรัฐประหาร ‘
รัฐบาลทักษิณ’ ปี 2549 การสลายการชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดง ‘
นปช.’ ปี 2553 การรัฐประหาร ‘
รัฐบาลยิ่งลักษณ์’ ปี 2557 การ ‘
ยุบพรรคอนาคตใหม่’ ปี 2562 และ ล่าสุด ปี 2566 กรณีการใช้อำนาจของสมาชิกวุฒิสภา คณะกรรมการการเลือกตั้ง และศาลรัฐธรรมนูญ ที่ประชาชนมองว่า เป็นการขัดขวางกระบวนการตามระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะ กรณีที่ ‘
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ ต้องเผชิญ
ดังนั้น กลุ่มผู้ชุมนุมจึงขอเรียกร้องให้องค์กรทั้ง 3 หน่วยงาน มีส่วนเกี่ยวข้องกีดขวาง ‘
รัฐบาลประชาธิปไตย’ ได้เห็นภาพาพความสูญเสียของประชาธิปไตย ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา และขอร้องให้ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อให้ประชาธิปไตยได้เดินหน้าเติบโตต่อไป ทั้งนี้ คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน ได้อ่านจดหมายเปิดผนึก ถึงพรรคเพื่อไทย เรื่อง ขอให้ยึดมั่นฉันทามติของประชาชน จัดตั้งรัฐบาล 8 พรรคให้สำเร็จ
1) พรรคการเมืองและสมาชิกวุฒิสภา จะต้องหยุดสร้างเงื่อนไขและเบี่ยงเจตนาการเสนอนโยบายเรื่องการแก้ไขประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 112 ว่าเป็นแนวคิดที่ต้องการล้มล้างสถาบันพระมหกษัตริย์ เพราะเป็นที่ทราบกันดีกว่า นั่นเป็นเพียงข้อเสนอที่ต้องการใช้รัฐสภาเพื่อหาทางออกให้กับประเทศ และเป็นการรักษาไว้ซึ่งพระราชอำนาจและพระเกียรติของพระบรมวงศานุวงศ์ให้คงอยู่กับการเมืองไทยได้อย่างสง่างาม และไม่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ที่พวกท่านทั้งหลายกำลังใช้กันอยู่ในเวลานี้
2) ขอให้พรรคเพื่อไทย ยืนหยัดการจัดตั้งรัฐบาลร่วมทั้ง 8 พรรคเดิม ตามที่ได้ทำข้อตกลงกันไว้ และอย่าหวั่นไหวต่อแรงกดดันใด ๆ ในขณะนี้ ซึ่งเราเชื่อว่าหนทางนี้เท่านั้น ที่จะนำพาประเทศนี้ไปสู่ทางออกที่ดีกว่าได้
4 ส.ค. วันนอร์เคาะประชุม 2 สภาโหวตนายกฯ ส.ส.เพื่อไทยแซว ‘เศรษฐา’ นั่ง สร.1 สะพัดงัดสูตรไร้ ก.ก.-2ลุง ตั้งเป้า 2 ปีแก้ รธน.เสร็จล้างไพ่ทันที
https://www.matichon.co.th/politics/news_4102910
4 ส.ค. วันนอร์เคาะประชุม 2 สภาโหวตนายกฯ ส.ส.เพื่อไทยแซว ‘เศรษฐา’ นั่ง สร.1 สะพัดงัดสูตรไร้ ก.ก.-2 ลุง ตั้งเป้า 2 ปีแก้ รธน.เสร็จล้างไพ่ทันที
เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ที่รัฐสภา นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา กล่าวถึงการนัดประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อพิจารณาลงมติเห็นชอบโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีว่า สำหรับการประชุมร่วมกันของรัฐสภา คงจะไม่เกี่ยวกับการประชุมรัฐสภาอาเซียน ที่ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 5-10 สิงหาคม ซึ่งมีตนเองและ ส.ส.บางคนไปเท่านั้น ส่วนการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประชุมวุฒิสภา หากมีวาระที่ประธานได้กำหนดไว้ก็สามารถประชุมตามปกติได้ ส่วนการประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีนั้น ได้เลื่อนจากวันที่ 27 กรกฎาคมออกไป เนื่องจากได้รับทราบว่าศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน ทางธุรการแล้ว ดังนั้นต้องรอว่าวันที่ 3 สิงหาคม ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณารับหรือไม่รับคำร้อง หากรับแล้วจะพิจารณาอย่างไร รวมทั้งสั่งให้สภาชะลอการเลือกนายกรัฐมนตรีออกไปหรือไม่ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเรื่องนี้ในวันที่ 3 สิงหาคม ดังนั้นสามารถที่จะประชุมร่วมกันของรัฐสภา ในวันที่ 4 สิงหาคม โดยมี 2 วาระคือ วาระแรก การเลือกนายกรัฐมนตรี และวาระที่ 2 การแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 272
ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า นาง
พรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการรัฐสภา ได้ออกหนังสือด่วนมาก ที่ สผ 0014/ร 5 เรื่องประชุมร่วมกันของรัฐสภา ถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เนื่องด้วยประธานรัฐสภาได้มีคำสั่งให้นัดร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 3 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) วันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม 2566 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชั้น 2 อาคารรัฐสภา ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กทม. โดยมีวาระเร่งด่วน 2 เรื่องคือ
1. พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และ 2. ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่…) พุทธศักราช … (ยกเลิกมาตรา 272) ที่นาย
ชัยธวัช ตุลาธน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) กับคณะเป็นผู้เสนอ
ผู้สื่อข่าวรายงานจากพรรคเพื่อไทย (พท.) ว่า บรรยากาศที่พรรค พท. วันที่ 27 กรกฎาคม ไม่คึกคักเหมือน 1 วันก่อนหน้านี้ที่เป็นวันเกิดของนาย
ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยวันนี้มีแกนนำเข้ามาเพียงบางส่วน อาทิ นาย
เศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ที่ถูกวางตัวเสนอชื่อโหวตนายกรัฐมนตรี ในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าการเดินทางเข้าพรรคของนาย
เศรษฐาวันนี้ไม่ได้เข้าประตูด้านหน้าพรรคเหมือนก่อนหน้านี้
แต่เข้าทางชั้น 1 ด้านหลังตึก เมื่อผู้สื่อข่าวพยายามดักรอที่รถเพื่อสัมภาษณ์ กลับถูกกันพื้นที่ไม่ให้อยู่ในบริเวณดังกล่าว นอกจากนี้ มี ส.ส.พรรค พท. ทยอยเดินทางเข้าพรรค อาทิ นาย
ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม ส.ส.สุรินทร์ โดยนาย
ครูมานิตย์ได้กล่าวทีเล่นทีจริงกับผู้สื่อข่าวว่า วันนี้มาพูดคุยงานกับว่าที่นายกฯ
รายงานข่าวแจ้งว่า สถานการณ์การจัดตั้งรัฐบาลของกลุ่ม 8 พรรคร่วมรัฐบาลล่าสุดที่มีพรรคเพื่อไทย (พท.) เป็นแกนนำ ภายหลังที่มีการนัดแกนนำพรรคภูมิใจไทย (ภท.) พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) พรรคชาติพัฒนากล้า (ชพก.) มาพูดคุยเพื่อร่วมกันหาทางออกให้กับประเทศ มีการวิพากษ์วิจารณ์พรรค พท.อาจจะใช้สูตรตั้งรัฐบาลข้ามขั้ว โดยจับมือกับกลุ่มพรรคร่วมรัฐบาลปัจจุบัน ขณะที่แกนนำพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ยืนยันมติที่ประชุม ส.ส.พรรคระบุว่า พรรค ก.ก.จะไม่ร่วมงานกับพรรค พปชร.และพรรค รทสช. ทำให้พรรค พท.เจอกับแรงกดดันของมวลชนภายนอก ล่าสุดแกนนำพรรค พท.จะใช้สูตรการจัดตั้งรัฐบาลใหม่โดยไม่มีพรรค ก.ก. รวมทั้งพรรค พปชร.และพรรค รทสช.ร่วมอยู่ด้วย แต่จะให้พรรค ก.ก.มาร่วมโหวตให้แคนดิเดตนายกฯของพรรค พท. โดยยกเหตุผลว่าเพื่อร่วมปิดสวิตช์ ส.ว. ซึ่งสูตรการตั้งรัฐบาลใหม่นี้จะช่วยลดแรงกดดันของมวลชนทั้งสองฝ่าย และน่าจะได้เสียงสนับสนุนจาก ส.ว.เพียงพอในการเลือกนายกฯ รวมทั้งมีเงื่อนไขของรัฐบาลใหม่ด้วยว่าจะเร่งยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายใน 2 ปี แล้วจะยุบสภาให้มีการเลือกตั้งใหม่
หวั่นโอเปกลดกำลังผลิต ทำราคาน้ำมันโลกพุ่งกว่า 1 เหรียญ ด้านสิงคโปร์เพิ่มเล็กน้อย
https://ch3plus.com/news/economy/morning/359565
ราคาน้ำมันโลกเพิ่มขึ้นกว่า 1 เหรียญ สาเหตุมาจาก นักลงทุนกังวลว่ากลุ่มโอเปกจะลดกำลังการผลิตน้ำมันลง ซึ่งจะทำให้น้ำมันในตลาดโลกไม่เพียงพอ และจีนก็กำลังมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งต้องใช้น้ำมันเยอะ ส่งผลให้ราคาน้ำมันโลก มีดังนี้
▪️ ตลาดไนเม็กซ์ นิวยอร์ก เพิ่มขึ้น 1.31 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ปิดที่ 80.09 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล
▪️ ตลาดเบรนท์ ลอนดอน เพิ่มขึ้น 1.32 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ปิดที่ 84.55 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล
▪️ น้ำมันกลั่นสำเร็จรูป สิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 0.08 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ปิดที่ 92.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล
JJNY : ‘ม็อบเสื้อดำ’รำลึก..สลายชุมนุม‘เสื้อแดง’│4ส.ค.วันนอร์เคาะประชุม│ราคาน้ำมันโลกพุ่ง│เตือนโลกเข้าสู่ 'ยุคโลกเดือด'
https://www.dailynews.co.th/news/2572594/
บรรยากาศช่วงค่ำ การชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมฝ่ายประชาธิปไตย โดยสวมใส่ "ชุดดำ" เรียกร้อง "สว." ลาออก พบว่ามีมวลชนมารวมกลุ่มนับพัน พร้อมชมการปราศรับทำกิจกรรมรำลึก "เสื้อแดง" ที่ถูกสลายการชุมนุม จนมีผู้เสียชีวิต พร้อมเรียกร้อง 3 ข้อให้ 8 พรรคร่วมรัฐบาล จับมือกันต่อไป ขณะที่สว.ต้องลาออกจากตำแหน่งเท่านั้น
เมื่อวันที่ 27 ก.ค. ที่แยกราชประสงค์ ผู้สื่อข่าวรายงาน บรรยากาศการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมฝ่ายประชาธิปไตยโดยมีการสวมใส่ “ชุดดำ” เพื่อเรียกร้องให้ สว. ลาออกว่า ช่วงค่ำที่ผ่านมาจำนวนผู้ชุมนุมเริ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ หลายพันคน โดยมีการตั้งเวทีพร้อมเครื่องขยายเสียง ปิดพื้นที่ 3 ช่องการจารจร ขณะเดียวกัน กลุ่มผู้ชุมนุมได้มีการพ่นสี และทาสีแดง เขียนข้อความว่า “สว.หัวX” อีกด้วย
ต่อมาเวลา 17.40 น. นายธัชพงศ์ แกดำ หรือ “บอย” แกนนำคณะราษฎร ได้ประกาศบนเวทีว่า มีการเลื่อนเวลาเริ่มกิจกรรมจากเดิม 17.00 น. ไปเป็นเวลา 18.00 น. โดยการชุมนุมวันนี้มาในหัวข้อ “เห็นหัวกูบ้าง” ด้าน น.ส.ธนพร วิจันทร์ หรือ “ไหม” ตัวแทนเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน กล่าวว่า วันนี้ เรามีการปราศรัย กิจกรรมตั้งไว้จะยุติไม่เกิน 22.00 น.
โดยการปราศรัยจะมีความหลากหลายมากขึ้น รวมทั้งเน้นการจัดตั้งรัฐบาลที่มีอุปสรรคต่าง ๆ มากมาย ซึ่งจะปราศรัยส่งเสียงถึง 8 พรรคการเมือง และขั้วอำนาจที่จะดำเนินการจัดตั้งรัฐบาล ที่ไม่ฟังเสียงประชาชน ขอให้เห็นหัวประชาชนบ้าง เพราะเราเลือกตั้งมา 2 เดือนกว่า ๆ แล้ว แต่ยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ แต่ปัญหาของพวกเรามีอยู่ทุกกลุ่ม การแก้ไขปัญหายังไม่มีรัฐบาลเข้ามาดูแล
สำหรับที่มาของการจัดกิจกรรมในวันนี้ (27ก.ค.) เราเห็นการเมืองตั้งแต่การประชุม 8 พรรคการเมืองครั้งล่าสุด และจะมีการโหวตนายกฯ วันที่ 27 ก.ค. แต่สุดท้ายพรรคเพื่อไทยก็ออกมาแถลงว่าไม่มีการประชุม จึงทำให้เกิดคำถามกับประชาชน ว่าพรรคการเมืองกำลังเล่นเกมอะไรกันอยู่ ตกลงปัญหาเกิดจากอะไร อย่างไรก็ตาม การชุมนุมในวันนี้มีข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อ คือ
1. ให้ 8 พรรคร่วมรัฐบาล ยืนหยัดว่าจะจับมือกันต่อไป,
2. สว.ต้องลาออก เพื่อให้กลไกสภาเดินไปได้ในการโหวตนายกฯ
และ 3. หากต้องมีการฉีก MOU ต้องฟังเสียงประชาชน ต้องเห็นหัวประชาชนด้วย
สำหรับสถานการปัจจุบันที่การโหวตอาจยืดเยื้อไปนานถึง 10 เดือนนั้น ประชาชนรอไม่ได้ อยากให้จัดตั้งรัฐบาลให้เร็วที่สุด ไม่ต้องรอถึง 10 เดือน เพราะปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนรอไม่ได้แล้ว ทั้งนี้ เราคิดว่าการจัดชุมนุมทุกครั้ง มีผลต่อท่าทีของ สว. เพราะหลายครั้งท่าทีการจัดตั้งรัฐบาล ก็มีการเปลี่ยนแปลงไม่มากก็น้อย
ต่อมา เวลา 19.00 น. นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ตัวแทนกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย ได้ขึ้นเวทีและ ได้ทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ชื่อชุด ‘ประชาธิปไตยที่ถูกทำลายโดยเผด็จการ’ โดยมีมวลชน 2 คน ถูกห้อยตัวด้วยเชือกลงมาจากสะพานลอยถนนราชดำริ มีน้ำหมึกสีแดงราดตามร่างกาย เพื่อแสดงถึงการสูญเสียของมวลชนเสื้อแดง ในการสลายการชุมนุมเมื่อหลายปีก่อน พร้อมกันนั้นได้มีการโปรยใบปลิว ‘ประกาศจับสว.’ ลงสู่กลุ่มผู้ชุมนุมที่อยู่ด้านล่าง
ในช่วงการทำกิจกรรม บรรดาแกนนำที่ปราศรัยบนเวที ได้กล่าวบรรยายถึงวิกฤตทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงเกือบ 20 ปี นับตั้งแต่การรัฐประหาร ‘รัฐบาลทักษิณ’ ปี 2549 การสลายการชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดง ‘นปช.’ ปี 2553 การรัฐประหาร ‘รัฐบาลยิ่งลักษณ์’ ปี 2557 การ ‘ยุบพรรคอนาคตใหม่’ ปี 2562 และ ล่าสุด ปี 2566 กรณีการใช้อำนาจของสมาชิกวุฒิสภา คณะกรรมการการเลือกตั้ง และศาลรัฐธรรมนูญ ที่ประชาชนมองว่า เป็นการขัดขวางกระบวนการตามระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะ กรณีที่ ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ ต้องเผชิญ
ดังนั้น กลุ่มผู้ชุมนุมจึงขอเรียกร้องให้องค์กรทั้ง 3 หน่วยงาน มีส่วนเกี่ยวข้องกีดขวาง ‘รัฐบาลประชาธิปไตย’ ได้เห็นภาพาพความสูญเสียของประชาธิปไตย ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา และขอร้องให้ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อให้ประชาธิปไตยได้เดินหน้าเติบโตต่อไป ทั้งนี้ คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน ได้อ่านจดหมายเปิดผนึก ถึงพรรคเพื่อไทย เรื่อง ขอให้ยึดมั่นฉันทามติของประชาชน จัดตั้งรัฐบาล 8 พรรคให้สำเร็จ
1) พรรคการเมืองและสมาชิกวุฒิสภา จะต้องหยุดสร้างเงื่อนไขและเบี่ยงเจตนาการเสนอนโยบายเรื่องการแก้ไขประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 112 ว่าเป็นแนวคิดที่ต้องการล้มล้างสถาบันพระมหกษัตริย์ เพราะเป็นที่ทราบกันดีกว่า นั่นเป็นเพียงข้อเสนอที่ต้องการใช้รัฐสภาเพื่อหาทางออกให้กับประเทศ และเป็นการรักษาไว้ซึ่งพระราชอำนาจและพระเกียรติของพระบรมวงศานุวงศ์ให้คงอยู่กับการเมืองไทยได้อย่างสง่างาม และไม่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ที่พวกท่านทั้งหลายกำลังใช้กันอยู่ในเวลานี้
2) ขอให้พรรคเพื่อไทย ยืนหยัดการจัดตั้งรัฐบาลร่วมทั้ง 8 พรรคเดิม ตามที่ได้ทำข้อตกลงกันไว้ และอย่าหวั่นไหวต่อแรงกดดันใด ๆ ในขณะนี้ ซึ่งเราเชื่อว่าหนทางนี้เท่านั้น ที่จะนำพาประเทศนี้ไปสู่ทางออกที่ดีกว่าได้
4 ส.ค. วันนอร์เคาะประชุม 2 สภาโหวตนายกฯ ส.ส.เพื่อไทยแซว ‘เศรษฐา’ นั่ง สร.1 สะพัดงัดสูตรไร้ ก.ก.-2ลุง ตั้งเป้า 2 ปีแก้ รธน.เสร็จล้างไพ่ทันที
https://www.matichon.co.th/politics/news_4102910
4 ส.ค. วันนอร์เคาะประชุม 2 สภาโหวตนายกฯ ส.ส.เพื่อไทยแซว ‘เศรษฐา’ นั่ง สร.1 สะพัดงัดสูตรไร้ ก.ก.-2 ลุง ตั้งเป้า 2 ปีแก้ รธน.เสร็จล้างไพ่ทันที
เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ที่รัฐสภา นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา กล่าวถึงการนัดประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อพิจารณาลงมติเห็นชอบโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีว่า สำหรับการประชุมร่วมกันของรัฐสภา คงจะไม่เกี่ยวกับการประชุมรัฐสภาอาเซียน ที่ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 5-10 สิงหาคม ซึ่งมีตนเองและ ส.ส.บางคนไปเท่านั้น ส่วนการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประชุมวุฒิสภา หากมีวาระที่ประธานได้กำหนดไว้ก็สามารถประชุมตามปกติได้ ส่วนการประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีนั้น ได้เลื่อนจากวันที่ 27 กรกฎาคมออกไป เนื่องจากได้รับทราบว่าศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน ทางธุรการแล้ว ดังนั้นต้องรอว่าวันที่ 3 สิงหาคม ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณารับหรือไม่รับคำร้อง หากรับแล้วจะพิจารณาอย่างไร รวมทั้งสั่งให้สภาชะลอการเลือกนายกรัฐมนตรีออกไปหรือไม่ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเรื่องนี้ในวันที่ 3 สิงหาคม ดังนั้นสามารถที่จะประชุมร่วมกันของรัฐสภา ในวันที่ 4 สิงหาคม โดยมี 2 วาระคือ วาระแรก การเลือกนายกรัฐมนตรี และวาระที่ 2 การแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 272
ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการรัฐสภา ได้ออกหนังสือด่วนมาก ที่ สผ 0014/ร 5 เรื่องประชุมร่วมกันของรัฐสภา ถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เนื่องด้วยประธานรัฐสภาได้มีคำสั่งให้นัดร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 3 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) วันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม 2566 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชั้น 2 อาคารรัฐสภา ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กทม. โดยมีวาระเร่งด่วน 2 เรื่องคือ
1. พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และ 2. ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่…) พุทธศักราช … (ยกเลิกมาตรา 272) ที่นายชัยธวัช ตุลาธน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) กับคณะเป็นผู้เสนอ
ผู้สื่อข่าวรายงานจากพรรคเพื่อไทย (พท.) ว่า บรรยากาศที่พรรค พท. วันที่ 27 กรกฎาคม ไม่คึกคักเหมือน 1 วันก่อนหน้านี้ที่เป็นวันเกิดของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยวันนี้มีแกนนำเข้ามาเพียงบางส่วน อาทิ นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ที่ถูกวางตัวเสนอชื่อโหวตนายกรัฐมนตรี ในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าการเดินทางเข้าพรรคของนายเศรษฐาวันนี้ไม่ได้เข้าประตูด้านหน้าพรรคเหมือนก่อนหน้านี้
แต่เข้าทางชั้น 1 ด้านหลังตึก เมื่อผู้สื่อข่าวพยายามดักรอที่รถเพื่อสัมภาษณ์ กลับถูกกันพื้นที่ไม่ให้อยู่ในบริเวณดังกล่าว นอกจากนี้ มี ส.ส.พรรค พท. ทยอยเดินทางเข้าพรรค อาทิ นายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม ส.ส.สุรินทร์ โดยนายครูมานิตย์ได้กล่าวทีเล่นทีจริงกับผู้สื่อข่าวว่า วันนี้มาพูดคุยงานกับว่าที่นายกฯ
รายงานข่าวแจ้งว่า สถานการณ์การจัดตั้งรัฐบาลของกลุ่ม 8 พรรคร่วมรัฐบาลล่าสุดที่มีพรรคเพื่อไทย (พท.) เป็นแกนนำ ภายหลังที่มีการนัดแกนนำพรรคภูมิใจไทย (ภท.) พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) พรรคชาติพัฒนากล้า (ชพก.) มาพูดคุยเพื่อร่วมกันหาทางออกให้กับประเทศ มีการวิพากษ์วิจารณ์พรรค พท.อาจจะใช้สูตรตั้งรัฐบาลข้ามขั้ว โดยจับมือกับกลุ่มพรรคร่วมรัฐบาลปัจจุบัน ขณะที่แกนนำพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ยืนยันมติที่ประชุม ส.ส.พรรคระบุว่า พรรค ก.ก.จะไม่ร่วมงานกับพรรค พปชร.และพรรค รทสช. ทำให้พรรค พท.เจอกับแรงกดดันของมวลชนภายนอก ล่าสุดแกนนำพรรค พท.จะใช้สูตรการจัดตั้งรัฐบาลใหม่โดยไม่มีพรรค ก.ก. รวมทั้งพรรค พปชร.และพรรค รทสช.ร่วมอยู่ด้วย แต่จะให้พรรค ก.ก.มาร่วมโหวตให้แคนดิเดตนายกฯของพรรค พท. โดยยกเหตุผลว่าเพื่อร่วมปิดสวิตช์ ส.ว. ซึ่งสูตรการตั้งรัฐบาลใหม่นี้จะช่วยลดแรงกดดันของมวลชนทั้งสองฝ่าย และน่าจะได้เสียงสนับสนุนจาก ส.ว.เพียงพอในการเลือกนายกฯ รวมทั้งมีเงื่อนไขของรัฐบาลใหม่ด้วยว่าจะเร่งยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายใน 2 ปี แล้วจะยุบสภาให้มีการเลือกตั้งใหม่
หวั่นโอเปกลดกำลังผลิต ทำราคาน้ำมันโลกพุ่งกว่า 1 เหรียญ ด้านสิงคโปร์เพิ่มเล็กน้อย
https://ch3plus.com/news/economy/morning/359565
ราคาน้ำมันโลกเพิ่มขึ้นกว่า 1 เหรียญ สาเหตุมาจาก นักลงทุนกังวลว่ากลุ่มโอเปกจะลดกำลังการผลิตน้ำมันลง ซึ่งจะทำให้น้ำมันในตลาดโลกไม่เพียงพอ และจีนก็กำลังมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งต้องใช้น้ำมันเยอะ ส่งผลให้ราคาน้ำมันโลก มีดังนี้
▪️ ตลาดไนเม็กซ์ นิวยอร์ก เพิ่มขึ้น 1.31 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ปิดที่ 80.09 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล
▪️ ตลาดเบรนท์ ลอนดอน เพิ่มขึ้น 1.32 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ปิดที่ 84.55 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล
▪️ น้ำมันกลั่นสำเร็จรูป สิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 0.08 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ปิดที่ 92.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล