“ดุสิตโพล”มองเลือกนายกฯขัดแย้งทำแย่ฉะสว.เป็นเหตุ
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_587659/
“ดุสิตโพล”เผยขัดแย้งเลือกนายกฯทำบ้านเมืองแย่ กระทบเศรษฐกิจปากท้องประชาชน ชี้สาเหตุมาจากมุ่งอำนาจแย่งชิงผลประโยชน์ พร้อมฉะสว.วอนเคารพเสียงเลือกตั้ง
“
สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,809 คน เรื่อง “
ความขัดแย้งกรณีการเลือกนายกรัฐมนตรี” โดยสำรวจทางออนไลน์ ระหว่างวันที่ 20-22 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา โดยถามว่า ประชาชนคิดอย่างไรกับกรณีความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการเลือกนายกรัฐมนตรี พบว่า ร้อยละ 17.73 ทำให้เกิดความขัดแย้งของคนในสังคมร้อยละ 67.90 ทำให้เบื่อการเมือง การเมืองล้าหลังไม่พัฒนา และร้อยละ 62.23 กระทบต่อภาคเศรษฐกิจ ปากท้อง ความเป็นอยู่ของประชาชน
ส่วนประชาชนคิดว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งกันหลังนี้คืออะไร พบว่า ร้อยละ 74.21 การมุ่งแต่อำนาจจนเกินขอบเขตแย่งชิงผลประโยชน์ ร้อยละ 63.76 การปฎิบัติหน้าที่ของ สว. และร้อยละ 62.42 การไม่ยอมรับเสียงของประชาชน ไม่ยอมรับความพ่ายแพ้
เมื่อถามถึงแนวทางการยุติความขัดแย้งกรณีการเลือกนายกรัฐมนตรี พบว่า ประชาชน ร้อยละ 77.39 ให้เคารพเสียงจากการเลือกตั้ง ร้อยละ 57.97 แสวงหาแนวทางร่วมกันอย่างสันติร่วมมือและไว้วางใจกัน และร้อยละ 47.10 ให้ทุกฝ่ายถอยคนละก้าว คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชน
ขณะที่บทเรียนจากความขัดแย้งกรณีการเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งนี้คืออะไรบ้างพบว่าประชาชนร้อยละ 64.13 ระบุ ทุกคนมีความเห็นทางการเมืองที่ต่างกันได้ แต่ควรเคารพซึ่งกันและกัน ร้อยละ 59.17 ระบุ ความแตกต่างระหว่างวัยส่งผลต่อความคิดทัศนคติทางการเมือง และร้อยละ 55.16 ระบุ ประชาธิปไตยยังคงมีปัญหา แก้ไขได้ยาก
สุดท้ายเมื่อถามความเห็นประชาชนคิดว่ากรณีการเลือกนายกรัฐมนตรีจะทำให้การเมืองเป็นอย่างไร นั้น พบว่า ประชาชน ร้อยละ 40.63 ระบุ แย่ลง ร้อยละ 33.72 ระบุ หมือนเดิม และร้อยละ 25.65 ระบุ ดีขึ้น
“นิด้าโพล”37.10%เชื่อเลือกนายกฯทำสังคมแตกแยก
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_587636/
“นิด้าโพล” 37.10%เชื่อเลือกนายกรัฐมนตรี ทำสังคมแตกแยก ขณะที่ 60.53%อยู่กันจนครบเทอม 4 ปี
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “
นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “
เลือกนายกรัฐมนตรี สังคมแตกแยก” โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 11-12 กรกฎาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง ถึงความเชื่อของประชาชนว่าจะเกิดความแตกแยกขึ้นในสังคมไทย จากการจัดตั้งรัฐบาลในครั้งนี้ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 37.10 ระบุว่า เชื่อมาก รองลงมา ร้อยละ 26.64 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 20.15 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย และร้อยละ 16.03 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ
และเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับระยะเวลาที่รัฐบาลใหม่จะสามารถอยู่ได้ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 60.53 ระบุว่า อยู่กันจนครบเทอม 4 ปี รองลงมา ร้อยละ 15.34 ระบุว่า ประมาณ 2 ปี ร้อยละ 11.91 ระบุว่า ประมาณ 1 ปี ร้อยละ 6.95 ระบุว่า ไม่เกิน 6 เดือน และร้อยละ 3.28 ระบุว่า ประมาณ 3 ปี
“จาตุรนต์”มองไร้ประโยชน์ร่วมรัฐบาล “พปชร.-รทสช.”
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_587665/
“จาตุรนต์” มองคุยหรือร่วมรัฐบาลกับ “พปชร.-รทสช.’” ไม่จำเป็นไร้ประโยชน์ ชี้เป็นพรรคสืบทอดอำนาจเผด็จการ
นาย
จาตุรนต์ ฉายแสง สส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ทวีตข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว ถึงการหารือพรรคการเมืองต่างๆ เป็นสิ่งที่พึงกระทำ แต่การหารือกับพรรครวมไทยสร้างชาติและพรรคพลังประชารัฐ หรือการพัฒนาไปถึงขั้นร่วมรัฐบาล เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นและไม่อาจมีประโยชน์ เพราะทั้งสองพรรคนี้ คือ เครื่องมือสืบทอดอำนาจเผด็จการมาแต่ต้น และยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง รวมถึงประชาชนได้แสดงออกผ่านการเลือกตั้งแล้ว ว่า ต้องการปฏิเสธสองพรรคดังกล่าวและต้องการรัฐบาลประชาธิปไตย โดยมีเน้นดังนี้
“
การหารือกับพรรคการเมืองต่างๆ โดยหลักการก็เป็นสิ่งที่พึงกระทำ แต่การหารือกับพรรครวมไทยสร้างชาติและพรรคพลังประชารัฐ(ถ้าจะทำ)เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นและไม่อาจมีประโยชน์ได้เลย
ยิ่งถ้าจะพัฒนาไปถึงขั้นร่วมรัฐบาลกับสองพรรคนี้ ยิ่งเป็นเรื่องที่ไม่ควรแม้แต่จะคิด เนื่องจากพรรคการเมืองส่วนใหญ่ใน 8 พรรค ต่างก็ได้ประกาศไว้ชัดเจนในระหว่างหาเสียงเลือกตั้งว่าจะไม่ร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับสองพรรคนี้
มาถึงวันนี้จะอ้างว่าเหตุการณ์เปลี่ยนไปก็ไม่เป็นเหตุเป็นผล สองพรรคนี้คือเครื่องมือสืบทอดอำนาจเผด็จการมาแต่ต้นและยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย
ประชาชนปฏิเสธสองพรรคนี้อย่างชัดเจนในการเลือกตั้งที่ผ่านมาและประชาชนต้องการให้มีรัฐบาลประชาธิปไตย รัฐบาลอันเป็นที่ยอมรับของประชาชน
#จัดตั้งรัฐบาล #เพื่อไทย #ก้าวไกล #รวมไทยสร้างชาติ
https://twitter.com/chaturon/status/1682780967164080128
JJNY : ฉะสว.เป็นเหตุ│เชื่อเลือกนายกฯทำสังคมแตกแยก│“จาตุรนต์”มองไร้ประโยชน์ร่วม“พปชร.-รทสช.”│‘เอกชน’ ลุ้นพท.จับขั้ว รบ.
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_587659/
“ดุสิตโพล”เผยขัดแย้งเลือกนายกฯทำบ้านเมืองแย่ กระทบเศรษฐกิจปากท้องประชาชน ชี้สาเหตุมาจากมุ่งอำนาจแย่งชิงผลประโยชน์ พร้อมฉะสว.วอนเคารพเสียงเลือกตั้ง
“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,809 คน เรื่อง “ความขัดแย้งกรณีการเลือกนายกรัฐมนตรี” โดยสำรวจทางออนไลน์ ระหว่างวันที่ 20-22 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา โดยถามว่า ประชาชนคิดอย่างไรกับกรณีความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการเลือกนายกรัฐมนตรี พบว่า ร้อยละ 17.73 ทำให้เกิดความขัดแย้งของคนในสังคมร้อยละ 67.90 ทำให้เบื่อการเมือง การเมืองล้าหลังไม่พัฒนา และร้อยละ 62.23 กระทบต่อภาคเศรษฐกิจ ปากท้อง ความเป็นอยู่ของประชาชน
ส่วนประชาชนคิดว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งกันหลังนี้คืออะไร พบว่า ร้อยละ 74.21 การมุ่งแต่อำนาจจนเกินขอบเขตแย่งชิงผลประโยชน์ ร้อยละ 63.76 การปฎิบัติหน้าที่ของ สว. และร้อยละ 62.42 การไม่ยอมรับเสียงของประชาชน ไม่ยอมรับความพ่ายแพ้
เมื่อถามถึงแนวทางการยุติความขัดแย้งกรณีการเลือกนายกรัฐมนตรี พบว่า ประชาชน ร้อยละ 77.39 ให้เคารพเสียงจากการเลือกตั้ง ร้อยละ 57.97 แสวงหาแนวทางร่วมกันอย่างสันติร่วมมือและไว้วางใจกัน และร้อยละ 47.10 ให้ทุกฝ่ายถอยคนละก้าว คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชน
ขณะที่บทเรียนจากความขัดแย้งกรณีการเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งนี้คืออะไรบ้างพบว่าประชาชนร้อยละ 64.13 ระบุ ทุกคนมีความเห็นทางการเมืองที่ต่างกันได้ แต่ควรเคารพซึ่งกันและกัน ร้อยละ 59.17 ระบุ ความแตกต่างระหว่างวัยส่งผลต่อความคิดทัศนคติทางการเมือง และร้อยละ 55.16 ระบุ ประชาธิปไตยยังคงมีปัญหา แก้ไขได้ยาก
สุดท้ายเมื่อถามความเห็นประชาชนคิดว่ากรณีการเลือกนายกรัฐมนตรีจะทำให้การเมืองเป็นอย่างไร นั้น พบว่า ประชาชน ร้อยละ 40.63 ระบุ แย่ลง ร้อยละ 33.72 ระบุ หมือนเดิม และร้อยละ 25.65 ระบุ ดีขึ้น
“นิด้าโพล”37.10%เชื่อเลือกนายกฯทำสังคมแตกแยก
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_587636/
“นิด้าโพล” 37.10%เชื่อเลือกนายกรัฐมนตรี ทำสังคมแตกแยก ขณะที่ 60.53%อยู่กันจนครบเทอม 4 ปี
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “เลือกนายกรัฐมนตรี สังคมแตกแยก” โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 11-12 กรกฎาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง ถึงความเชื่อของประชาชนว่าจะเกิดความแตกแยกขึ้นในสังคมไทย จากการจัดตั้งรัฐบาลในครั้งนี้ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 37.10 ระบุว่า เชื่อมาก รองลงมา ร้อยละ 26.64 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 20.15 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย และร้อยละ 16.03 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ
และเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับระยะเวลาที่รัฐบาลใหม่จะสามารถอยู่ได้ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 60.53 ระบุว่า อยู่กันจนครบเทอม 4 ปี รองลงมา ร้อยละ 15.34 ระบุว่า ประมาณ 2 ปี ร้อยละ 11.91 ระบุว่า ประมาณ 1 ปี ร้อยละ 6.95 ระบุว่า ไม่เกิน 6 เดือน และร้อยละ 3.28 ระบุว่า ประมาณ 3 ปี
“จาตุรนต์”มองไร้ประโยชน์ร่วมรัฐบาล “พปชร.-รทสช.”
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_587665/
“จาตุรนต์” มองคุยหรือร่วมรัฐบาลกับ “พปชร.-รทสช.’” ไม่จำเป็นไร้ประโยชน์ ชี้เป็นพรรคสืบทอดอำนาจเผด็จการ
นายจาตุรนต์ ฉายแสง สส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ทวีตข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว ถึงการหารือพรรคการเมืองต่างๆ เป็นสิ่งที่พึงกระทำ แต่การหารือกับพรรครวมไทยสร้างชาติและพรรคพลังประชารัฐ หรือการพัฒนาไปถึงขั้นร่วมรัฐบาล เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นและไม่อาจมีประโยชน์ เพราะทั้งสองพรรคนี้ คือ เครื่องมือสืบทอดอำนาจเผด็จการมาแต่ต้น และยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง รวมถึงประชาชนได้แสดงออกผ่านการเลือกตั้งแล้ว ว่า ต้องการปฏิเสธสองพรรคดังกล่าวและต้องการรัฐบาลประชาธิปไตย โดยมีเน้นดังนี้
“การหารือกับพรรคการเมืองต่างๆ โดยหลักการก็เป็นสิ่งที่พึงกระทำ แต่การหารือกับพรรครวมไทยสร้างชาติและพรรคพลังประชารัฐ(ถ้าจะทำ)เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นและไม่อาจมีประโยชน์ได้เลย
ยิ่งถ้าจะพัฒนาไปถึงขั้นร่วมรัฐบาลกับสองพรรคนี้ ยิ่งเป็นเรื่องที่ไม่ควรแม้แต่จะคิด เนื่องจากพรรคการเมืองส่วนใหญ่ใน 8 พรรค ต่างก็ได้ประกาศไว้ชัดเจนในระหว่างหาเสียงเลือกตั้งว่าจะไม่ร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับสองพรรคนี้
มาถึงวันนี้จะอ้างว่าเหตุการณ์เปลี่ยนไปก็ไม่เป็นเหตุเป็นผล สองพรรคนี้คือเครื่องมือสืบทอดอำนาจเผด็จการมาแต่ต้นและยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย
ประชาชนปฏิเสธสองพรรคนี้อย่างชัดเจนในการเลือกตั้งที่ผ่านมาและประชาชนต้องการให้มีรัฐบาลประชาธิปไตย รัฐบาลอันเป็นที่ยอมรับของประชาชน
#จัดตั้งรัฐบาล #เพื่อไทย #ก้าวไกล #รวมไทยสร้างชาติ
https://twitter.com/chaturon/status/1682780967164080128