ธาริต น้ำตาคลอ เปิดเบื้องหลังสลายชุมนุมปี 53 คดี 99 ศพ แฉ ทหารยศสูง มีเอี่ยว
https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_7754974
ธาริต น้ำตาคลอ เปิดเบื้องหลังสลายชุมนุมปี 53 แฉ ทหารยศสูง มีเอี่ยว ขอนายกฯ ใหม่ คืนความยุติธรรม คดี 99 ศพ ลั่นพร้อมติดคุก
เมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2566 นาย
ธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีดีเอสไอ นาย
ธนากร แหวกวารี หัวหน้าทีมทนายความของนายธาริต นาง
พะเยาว์ อัคฮาด หรือ แม่น้องเกด พร้อมญาติผู้เสียชีวิตและตัวแทนญาติคนตาย 99 ศพ ได้แถลงข่าว ร้องขอศาลฎีกาให้คืนความยุติธรรมให้ผู้เสียชีวิต 99 ศพ และครอบครัวผู้ตายกับผู้บาดเจ็บอีกกว่า 2,000 คน ในเหตุการณ์เม.ย.-พ.ค. 2553 “
99 ศพ สมควรได้รับคืนความยุติธรรมและพ้นจากตราบาปว่าเป็นผู้ผิด” ใน 4 ประเด็นสำคัญๆ
นาย
ธาริต กล่าวว่า ประเด็นที่ 1 สืบเนื่องจากเหตุการณ์ชุมนุมของ นปช. เมื่อช่วงเม.ย.-พ.ค. 2553 ศูนย์ ศอฉ. โดยนาย
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนาย
สุเทพ เทือกสุบรรณ ได้ออกคำสั่งให้สลายการชุมนุม โดยทหารใช้อาวุธปืนสงครามเอ็ม 16 ทำให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 2,000 คน และเสียชีวิต 99 ศพ จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้กรมสอบสวนคดีพิเศษซึ่งมีข้าพเจ้า นาย
ธาริต ฯ เป็นอธิบดีในขณะนั้น จำเป็นต้องทำหน้าที่เพื่อรักษาความยุติธรรม ด้วยการดำเนินคดีต่อผู้ออกคำสั่ง ในข้อหาตามมาตรา ป.อาญา มาตรา 288-289
นาย
ธาริต กล่าวว่า จากการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวของตน ในนามอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษในขณะนั้น ส่งผลให้ผู้ต้องหาในคดี คือ นาย
อภิสิทธิ์ และนาย
สุเทพ ยื่นฟ้องพนักงานสอบสวนในคดี ตามมาตรา 157 มาตรา 200 โดยกล่าวหาว่าพนักงานสอบสวนกลั่นแกล้งพวกตนให้ถูกดำเนินคดีเพื่อรักษาความยุติธรรม ทั้งต่อพนักงานสอบสวน รวมถึงผู้เสียชีวิต 99 ศพ และผู้บาดเจ็บอีกกว่า 2,000 คน
นาย
ธาริต กล่าวว่า ตนเห็นว่าหากเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้ทำหน้าที่ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดแล้วถูกฟ้องกลับ และถูกดำเนินคดีตาม ป.อาญา มาตรา 157 มาตรา 200 อาจก่อให้เกิดลัทธิเอาอย่างด้วยการใช้ช่องโหว่ของกฎหมาย มาตรา 157 มาตรา 200 ฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐก็จะกลายเป็นแบบอย่างที่กระทำความผิดแล้วไม่ต้องรับผิด เพราะเจ้าหน้าที่ของรัฐกลัวที่อาจจะต้องได้รับโทษอาญาเสียเอง
นาย
ธาริต กล่าวต่อว่า ตนจึงได้ยื่นคำร้องต่อศาล ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ป.อาญา มาตรา 157 และมาตรา 200 นั้น ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยยื่นคำร้องผ่านศาลฎีกา ซึ่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ศาลยุติธรรมจะต้องส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ซึ่งหมายความว่าศาลอาญาและศาลฎีกาจะวินิจฉัยเสียเองไม่ได้
นาย
ธาริต กล่าวว่า ประเด็นที่ 2 ตามที่มีข่าวเมื่อเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมาว่า ตนได้เลื่อนการฟังคำพิพากษาศาลฎีกาหลายๆ ครั้ง โดยอาจเป็นการหลบเลี่ยงอย่างน่าสงสัยนั้น ตนได้ชี้แจงว่า มีการขอศาลอาญาเลื่อนคดีหลายๆ ครั้งจริง แต่มีสาเหตุมาจากเหตุสำคัญถึง 4 ประการ ได้แก่
1. การส่งหมายศาลในครั้งแรกไม่ตรงกับภูมิลำเนาจำเลย
2. จำเลยเจ็บป่วยเป็นโควิดสองครั้ง เส้นเลือดในสมองตีบ และเข้ารับการผ่าตัดไตทั้ง 2 ข้าง ที่โรงพยาบาลพญาไท 2 และโรงพยาบาลศิริราช
3. มีญาติผู้ตายของ 99 ศพยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามในคดีนี้หลายรายหลายครั้ง
และ 4. จำเลยยื่นขอให้ศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า กฎหมายที่ใช้บังคับกับคดีขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
นาย
ธาริต กล่าวต่อว่า ซึ่งเหตุจำเป็นทั้ง 4 ประการ ดังกล่าว ศาลอาญาต้องเลื่อนการอ่านคำพิพากษา เพราะต้องส่งให้ศาลฎีกาเป็นผู้สั่งคำร้อง ด้วยเหตุคดีอยู่ในอำนาจของศาลฎีกานั้นเอง การเลื่อนอ่านคำพิพากษาคดีนี้หลายๆ ครั้ง จึงมีเหตุสำคัญและจำเป็นทั้ง 4 ประการ ดังกล่าว ซึ่งเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่ได้เกิดจากความผิดของนายธาริต ที่จะหลบเลี่ยงไม่ฟังคำพิพากษา
นาย
ธาริต กล่าวว่า ประเด็นที่ 3 ตนและญาติของผู้ตายจำนวนมาก มีความกังวลและไม่สบายใจต่อคำพิพากษาศาลฎีกาที่จะได้มีการอ่านโดยศาลชั้นต้น (ศาลอาญา) จึงมีการร้องขอโดยญาติผู้ตาย เข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามจำนวนมากหลายราย ส่วนตนก็ได้ร้องขอให้ศาลฎีกาส่งคดีไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามาตรา 157 มาตรา 200 แห่ง ป.อาญา ที่จะใช้บังคับคดีนั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ขณะนี้คำร้องต่างๆ ที่กล่าวมายังไม่ทราบผลว่าศาลฎีกาได้สั่งคำร้องอย่างไร โดยเฉพาะได้สั่งให้ส่ง มาตรา 157 และมาตรา 200 ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความหรือไม่
นาย
ธาริต กล่าวว่า ประเด็นที่ 4 ข้อกังวลและไม่สบายใจของตน และญาติผู้ตายเป็นอย่างยิ่งคือ ด้วยความเคารพต่อศาลฎีกา แม้ว่าศาลอาญาซึ่งเป็นศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องตนกับพวก เพราะเหตุว่าได้กระทำการตามหน้าที่และผู้ตายทั้ง 99 ศพ ไม่ได้กระทำความผิดใดๆ แต่หากศาลฎีกาจะได้พิพากษากลับไม่เป็นไปตามศาลชั้นต้น โดยลงโทษตนกับพวก ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่รักษากฎหมายตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วย่อมเกิดผลอย่างใหญ่หลวงมาก อาจเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงทำนองนี้ได้อีกในประเทศไทย เพราะได้แบบอย่างว่าทำแล้วไม่ต้องรับผิดและเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งดีเอสไอและหน่วยงานอื่นๆ จะไม่กล้าดำเนินคดีเพราะอาจต้องติดคุกเสียเอง คำพิพากษาของศาลฎีกาซึ่งถือเป็นบรรทัดฐานในคดีนี้ จึงสำคัญอย่างที่สุด
“
ผมได้แถลงชี้แจงมาเป็นลำดับก็ด้วยผมมีความประสงค์จะร้องขอให้ศาลฎีกาได้โปรดเมตตาคืนความยุติธรรมให้แก่ประชาชนผู้บริสุทธิ์ ซึ่งถึงแก่ความตาย 99 ศพ พร้อมครอบครัวผู้สูญเสีย และผู้บาดเจ็บอีก 2,000 คน รวมถึงตัวผมกับพวกที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐผู้รักษากฎหมายด้วย ในสถานการณ์ของบ้านเมืองเช่นนี้คงมีแต่ศาลยุติธรรม โดยเฉพาะศาลฎีกาและศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้นที่จะผดุงความยุติธรรมตามความเป็นจริง และความยุติธรรมตามธรรมชาติที่สมควรจะพึงมีอยู่ต่อไป ด้วยความเคารพและคาดหวังเป็นอย่างสูง และในวันที่ 10 ก.ค.66 นี้จะเกิดอะไรขึ้น ผมบอกเลยว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจและมีผลต่อความยุติธรรม” นาย
ธาริต กล่าว
นาย
ธาริต กล่าวว่า
ครั้งหนึ่ง ตนถูกเรียกตัวไปในค่ายทหารแห่งหนึ่งในถนนราชดำเนิน เป็นนายทหารยศสูงซึ่งไม่ขอเอ่ยชื่อ เขาบอกว่า ธาริตอย่าดำเนินคดี 99 ศพ ถ้าไม่ ฟังกันพวกอั๊วปฏิวัติแล้วลื้อจะโดนย้ายคนแรก ตนถือว่านี่คือคำขู่ ดังนั้น เมื่อปฏิวัติไม่ถึง 24 ชั่วโมงก็ถูกย้ายจริงๆ
นาย
ธาริต กล่าวด้วยน้ำตาคลออีกว่า อย่างไรก็ตาม ตนขอเรียกร้องให้นายกฯ คนใหม่ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการอิสระ ซึ่งขอใช้คำว่า senior Super board เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดดึงความยุติธรรมให้ 99 ศพ ตนพร้อมไปศาลในวันจันทร์นี้ และพร้อมติดคุก ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่ไม่สูญเปล่า
อัดรธน.60 ลิดรอนสิทธิเสรีภาพ ขาดการยึดโยงปชช. เห็นพ้องต้องร่างฉบับใหม่
https://www.khaosod.co.th/politics/news_7755070
เวทีเสวนา “ออกจากกะลาไปหารธน.ใหม่” นักวิชาการ-นักเคลื่อนไหวการเมือง อัดรธน.60 ลิดรอนสิทธิเสรีภาพ ขาดการยึดโยงปชช. เห็นพ้องต้องร่างฉบับใหม่ ชี้หัวใจสำคัญสร้างความเปลี่ยนแปลง
8 ก.ค. 66 – ที่ห้องอเนกประสงค์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูญ จัดเสวนาหัวข้อ “
ออกจากกะลาไปหารัฐธรรมนูญใหม่”
วิทยากร ประกอบด้วย นาย
มุนินทร์ พงศาปาน อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นาย
สามชาย ศรีสันต์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยพัฒนศาสตร์
ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ น.ส.
ณัฐพร อาจหาญ คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ภาคอีสาน และนาย
จตุภัทร บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน นักกิจกรรม และนักเคลื่อนไหวทางการเมือง
นาย
มุนินทร์ กล่าวว่า วาระสำคัญที่สุดในการเลือกตั้งครั้งนี้ คือการแก้รัฐธรรมนูญ หากรัฐธรรมนูญไม่เปลี่ยนจะไม่เกิดการปฏิรูปใดๆ สิ่งนี้คือหัวใจสำคัญที่พรรคร่วมรัฐบาลฝ่ายประชาธิปไตยต้องทำให้สำเร็จ ขณะที่เราต้องพยายามเรียกร้องให้นักการเมืองที่เราเลือกได้ทำตามพันธสัญญา
ทั้งนี้ ปัญหารัฐธรรมนูญ 60 ที่ชัดเจนที่สุด คือ เราเลือกตั้งมีเสียงข้างมากเกินกึ่งหนึ่งจำนวนมาก แต่สุดท้ายประชาชนต้องมาลุ้นกันทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร และนายกรัฐมนตรี จนเกิดคำถามว่า ทำไมประชาชนที่ใช้สิทธิแสดงเจตจำนงชัดเจนแล้ว ยังไม่สามารถได้รัฐบาลมาง่ายๆ เพื่อบริหารราชการแผนดินในระบบแบบที่ควรจะเป็น ซึ่งกฎหมายต่อให้เขียนดีอย่างไร แต่หากขาดความชอบธรรมในที่มาก็จะทำให้กฎหมายนั้นขาดความชอบธรรม
“
รัฐธรรมนูญ 60 มีความซับซ้อนที่สุด เป็นความซับซ้อนในแง่ลบ เปรียบเป็นวรรณกรรมที่คนร่างสมควรได้รับรางวัลอย่างมาก ที่พยายามสร้างกลไกรักษาอำนาจได้ยาวนานที่สุด เช่น ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี การให้อำนาจ ส.ว.ที่มากเกินไป รวมถึงศาลรัฐธรรมนูญ ที่ถูกออกแบบมาให้เป็นอุปสรรค ต่อการแสดงเจตจำนงของประชาชนจากคนเพียงไม่กี่คน
แต่หลายครั้งกลไกที่เขาวางไว้ก็เกิดปัญหาเอง ฉะนั้น เราต้องสนับสนุนให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อทำลายกลไกเหล่านั้นให้สิ้นซาก ให้การเมืองเดินไปได้ด้วยเจตจำนงของประชาชนอย่างแท้จริง” นาย
มุนินทร์ กล่าว
นาย
มุนินทร์ กล่าวว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ตนไม่อยากเรียกว่า นิติสงคราม เพราะเป็นการกระทำจากฝ่ายเดียว โดยที่ประชาชนถูกกระทำอยู่ตลอด มีการใช้อาวุธทางกฎหมายทำลายเจตนารมณ์ของประชาชนทุกครั้ง ปัญหาที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญไม่เคยรับรู้ถึงความไม่พอใจของประชาชน
ส่วนเนติบริกรทั้งหลายตนไม่แน่ใจว่ารับรู้ถึงความรู้สึกประชาชนมากแค่ไหน สิ่งที่เขาทำหรือตัดสินดูเหมือนไม่สนใจความรู้สึกของคนในสังคมเลย แต่การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงเจตจำนงของประชาชนมากที่สุด ทำให้เชื่อว่าองคาพยพเหล่านั้นได้รับรู้ถึงเจตจำนงของประชาชนแล้ว
นาย
สามชาย กล่าวว่า รัฐธรรมนูญทั่วโลกมีปัญหาอย่างหนึ่งคือส่งเสริมให้อำนาจรัฐขยายตัวมากขึ้น แต่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งในประเทศไทยรัฐธรรมนูญ 60 มีปัญหาแบบนั้น มีกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากรัฐธรรมนูญ 60 จำนวนมาก อาทิ กลุ่มเกษตกรรายย่อย กลุ่มแรงงาน กลุ่มชาติพันธุ์ นักศึกษา ผู้มีความหลากหลายทางเพศ กลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบชายแดนภาคใต้ กลุ่มนักกิจกรรมต่างๆ และกลุ่มผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัด เป็นต้น
นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญ 60 ยังเป็นรัฐธรรมนูญปราบฝ่ายตรงข้าม กำกับควบคุมประชาชนที่เห็นต่างทางการเมือง
น.ส.
ณัฐพร กล่าวว่า รัฐธรรมนูญ 40 มีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน ทำให้มีคำว่า “
ประชาชน” อยู่ในรัฐธรรมนูญเต็มไปหมด มีความยึดโยงสิทธิเสรีภาพประชาชนสูงมาก จึงไม่แปลกที่รัฐธรรมนูญ 60 จะเต็มไปด้วยว่าคำว่าบทบาทอำนาจของรัฐ เพราะการร่างรัฐธรรมนูญในตอนนั้น มีแต่กลุ่มชนชั้นนำ และนายทุน ส่งต่อสิ่งต่างๆ มาอยู่ในรัฐธรรมนูญ 60 และยุทธศาสตร์ชาติเต็มไปหมด
ซึ่งมีผลต่อแนวนโยบายของรัฐทั้งหมด เพราะคนเขียนไม่ได้มาจากประชาชน เกิดการผูดขาดอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด นอกจากนี้ ยังเกิดการคุกคามของฝ่ายความมั่นคง และการเติบโตของกอ.รมน. ซึ่งมีบทบาทมากขึ้นในการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของประชาชนในทุกมิติ
เราจึงไม่สามารถปฏิเสธถึงที่มา และความไม่ชอบธรรมของรัฐธรรมนูญ 60 ได้ จึงเห็นว่าควรต้องมีการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ เพราะหลายมาตราปิดกั้นลิดรอนสิทธิเสรีภาพ และการดำรงชีวิตของประชาชน ทุกคนควรมีส่วนร่วมในการเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นเจ้าของรัฐธรรมนูญร่วมกัน
JJNY : 5in1 ธาริตแฉทหารยศสูงมีเอี่ยว│อัดรธน.60 ลิดรอน│‘จาตุรนต์’แนะผนึกกำลัง│พิธารุดคุยนักธุรกิจโคราช│วิกฤติ ‘อุณหภูมิ’
https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_7754974
ธาริต น้ำตาคลอ เปิดเบื้องหลังสลายชุมนุมปี 53 แฉ ทหารยศสูง มีเอี่ยว ขอนายกฯ ใหม่ คืนความยุติธรรม คดี 99 ศพ ลั่นพร้อมติดคุก
เมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2566 นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีดีเอสไอ นายธนากร แหวกวารี หัวหน้าทีมทนายความของนายธาริต นางพะเยาว์ อัคฮาด หรือ แม่น้องเกด พร้อมญาติผู้เสียชีวิตและตัวแทนญาติคนตาย 99 ศพ ได้แถลงข่าว ร้องขอศาลฎีกาให้คืนความยุติธรรมให้ผู้เสียชีวิต 99 ศพ และครอบครัวผู้ตายกับผู้บาดเจ็บอีกกว่า 2,000 คน ในเหตุการณ์เม.ย.-พ.ค. 2553 “99 ศพ สมควรได้รับคืนความยุติธรรมและพ้นจากตราบาปว่าเป็นผู้ผิด” ใน 4 ประเด็นสำคัญๆ
นายธาริต กล่าวว่า ประเด็นที่ 1 สืบเนื่องจากเหตุการณ์ชุมนุมของ นปช. เมื่อช่วงเม.ย.-พ.ค. 2553 ศูนย์ ศอฉ. โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ได้ออกคำสั่งให้สลายการชุมนุม โดยทหารใช้อาวุธปืนสงครามเอ็ม 16 ทำให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 2,000 คน และเสียชีวิต 99 ศพ จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้กรมสอบสวนคดีพิเศษซึ่งมีข้าพเจ้า นายธาริต ฯ เป็นอธิบดีในขณะนั้น จำเป็นต้องทำหน้าที่เพื่อรักษาความยุติธรรม ด้วยการดำเนินคดีต่อผู้ออกคำสั่ง ในข้อหาตามมาตรา ป.อาญา มาตรา 288-289
นายธาริต กล่าวว่า จากการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวของตน ในนามอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษในขณะนั้น ส่งผลให้ผู้ต้องหาในคดี คือ นายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ยื่นฟ้องพนักงานสอบสวนในคดี ตามมาตรา 157 มาตรา 200 โดยกล่าวหาว่าพนักงานสอบสวนกลั่นแกล้งพวกตนให้ถูกดำเนินคดีเพื่อรักษาความยุติธรรม ทั้งต่อพนักงานสอบสวน รวมถึงผู้เสียชีวิต 99 ศพ และผู้บาดเจ็บอีกกว่า 2,000 คน
นายธาริต กล่าวว่า ตนเห็นว่าหากเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้ทำหน้าที่ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดแล้วถูกฟ้องกลับ และถูกดำเนินคดีตาม ป.อาญา มาตรา 157 มาตรา 200 อาจก่อให้เกิดลัทธิเอาอย่างด้วยการใช้ช่องโหว่ของกฎหมาย มาตรา 157 มาตรา 200 ฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐก็จะกลายเป็นแบบอย่างที่กระทำความผิดแล้วไม่ต้องรับผิด เพราะเจ้าหน้าที่ของรัฐกลัวที่อาจจะต้องได้รับโทษอาญาเสียเอง
นายธาริต กล่าวต่อว่า ตนจึงได้ยื่นคำร้องต่อศาล ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ป.อาญา มาตรา 157 และมาตรา 200 นั้น ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยยื่นคำร้องผ่านศาลฎีกา ซึ่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ศาลยุติธรรมจะต้องส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ซึ่งหมายความว่าศาลอาญาและศาลฎีกาจะวินิจฉัยเสียเองไม่ได้
นายธาริต กล่าวว่า ประเด็นที่ 2 ตามที่มีข่าวเมื่อเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมาว่า ตนได้เลื่อนการฟังคำพิพากษาศาลฎีกาหลายๆ ครั้ง โดยอาจเป็นการหลบเลี่ยงอย่างน่าสงสัยนั้น ตนได้ชี้แจงว่า มีการขอศาลอาญาเลื่อนคดีหลายๆ ครั้งจริง แต่มีสาเหตุมาจากเหตุสำคัญถึง 4 ประการ ได้แก่
1. การส่งหมายศาลในครั้งแรกไม่ตรงกับภูมิลำเนาจำเลย
2. จำเลยเจ็บป่วยเป็นโควิดสองครั้ง เส้นเลือดในสมองตีบ และเข้ารับการผ่าตัดไตทั้ง 2 ข้าง ที่โรงพยาบาลพญาไท 2 และโรงพยาบาลศิริราช
3. มีญาติผู้ตายของ 99 ศพยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามในคดีนี้หลายรายหลายครั้ง
และ 4. จำเลยยื่นขอให้ศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า กฎหมายที่ใช้บังคับกับคดีขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
นายธาริต กล่าวต่อว่า ซึ่งเหตุจำเป็นทั้ง 4 ประการ ดังกล่าว ศาลอาญาต้องเลื่อนการอ่านคำพิพากษา เพราะต้องส่งให้ศาลฎีกาเป็นผู้สั่งคำร้อง ด้วยเหตุคดีอยู่ในอำนาจของศาลฎีกานั้นเอง การเลื่อนอ่านคำพิพากษาคดีนี้หลายๆ ครั้ง จึงมีเหตุสำคัญและจำเป็นทั้ง 4 ประการ ดังกล่าว ซึ่งเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่ได้เกิดจากความผิดของนายธาริต ที่จะหลบเลี่ยงไม่ฟังคำพิพากษา
นายธาริต กล่าวว่า ประเด็นที่ 3 ตนและญาติของผู้ตายจำนวนมาก มีความกังวลและไม่สบายใจต่อคำพิพากษาศาลฎีกาที่จะได้มีการอ่านโดยศาลชั้นต้น (ศาลอาญา) จึงมีการร้องขอโดยญาติผู้ตาย เข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามจำนวนมากหลายราย ส่วนตนก็ได้ร้องขอให้ศาลฎีกาส่งคดีไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามาตรา 157 มาตรา 200 แห่ง ป.อาญา ที่จะใช้บังคับคดีนั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ขณะนี้คำร้องต่างๆ ที่กล่าวมายังไม่ทราบผลว่าศาลฎีกาได้สั่งคำร้องอย่างไร โดยเฉพาะได้สั่งให้ส่ง มาตรา 157 และมาตรา 200 ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความหรือไม่
นายธาริต กล่าวว่า ประเด็นที่ 4 ข้อกังวลและไม่สบายใจของตน และญาติผู้ตายเป็นอย่างยิ่งคือ ด้วยความเคารพต่อศาลฎีกา แม้ว่าศาลอาญาซึ่งเป็นศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องตนกับพวก เพราะเหตุว่าได้กระทำการตามหน้าที่และผู้ตายทั้ง 99 ศพ ไม่ได้กระทำความผิดใดๆ แต่หากศาลฎีกาจะได้พิพากษากลับไม่เป็นไปตามศาลชั้นต้น โดยลงโทษตนกับพวก ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่รักษากฎหมายตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วย่อมเกิดผลอย่างใหญ่หลวงมาก อาจเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงทำนองนี้ได้อีกในประเทศไทย เพราะได้แบบอย่างว่าทำแล้วไม่ต้องรับผิดและเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งดีเอสไอและหน่วยงานอื่นๆ จะไม่กล้าดำเนินคดีเพราะอาจต้องติดคุกเสียเอง คำพิพากษาของศาลฎีกาซึ่งถือเป็นบรรทัดฐานในคดีนี้ จึงสำคัญอย่างที่สุด
“ผมได้แถลงชี้แจงมาเป็นลำดับก็ด้วยผมมีความประสงค์จะร้องขอให้ศาลฎีกาได้โปรดเมตตาคืนความยุติธรรมให้แก่ประชาชนผู้บริสุทธิ์ ซึ่งถึงแก่ความตาย 99 ศพ พร้อมครอบครัวผู้สูญเสีย และผู้บาดเจ็บอีก 2,000 คน รวมถึงตัวผมกับพวกที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐผู้รักษากฎหมายด้วย ในสถานการณ์ของบ้านเมืองเช่นนี้คงมีแต่ศาลยุติธรรม โดยเฉพาะศาลฎีกาและศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้นที่จะผดุงความยุติธรรมตามความเป็นจริง และความยุติธรรมตามธรรมชาติที่สมควรจะพึงมีอยู่ต่อไป ด้วยความเคารพและคาดหวังเป็นอย่างสูง และในวันที่ 10 ก.ค.66 นี้จะเกิดอะไรขึ้น ผมบอกเลยว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจและมีผลต่อความยุติธรรม” นายธาริต กล่าว
นายธาริต กล่าวว่า ครั้งหนึ่ง ตนถูกเรียกตัวไปในค่ายทหารแห่งหนึ่งในถนนราชดำเนิน เป็นนายทหารยศสูงซึ่งไม่ขอเอ่ยชื่อ เขาบอกว่า ธาริตอย่าดำเนินคดี 99 ศพ ถ้าไม่ ฟังกันพวกอั๊วปฏิวัติแล้วลื้อจะโดนย้ายคนแรก ตนถือว่านี่คือคำขู่ ดังนั้น เมื่อปฏิวัติไม่ถึง 24 ชั่วโมงก็ถูกย้ายจริงๆ
นายธาริต กล่าวด้วยน้ำตาคลออีกว่า อย่างไรก็ตาม ตนขอเรียกร้องให้นายกฯ คนใหม่ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการอิสระ ซึ่งขอใช้คำว่า senior Super board เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดดึงความยุติธรรมให้ 99 ศพ ตนพร้อมไปศาลในวันจันทร์นี้ และพร้อมติดคุก ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่ไม่สูญเปล่า
อัดรธน.60 ลิดรอนสิทธิเสรีภาพ ขาดการยึดโยงปชช. เห็นพ้องต้องร่างฉบับใหม่
https://www.khaosod.co.th/politics/news_7755070
เวทีเสวนา “ออกจากกะลาไปหารธน.ใหม่” นักวิชาการ-นักเคลื่อนไหวการเมือง อัดรธน.60 ลิดรอนสิทธิเสรีภาพ ขาดการยึดโยงปชช. เห็นพ้องต้องร่างฉบับใหม่ ชี้หัวใจสำคัญสร้างความเปลี่ยนแปลง
8 ก.ค. 66 – ที่ห้องอเนกประสงค์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูญ จัดเสวนาหัวข้อ “ออกจากกะลาไปหารัฐธรรมนูญใหม่”
วิทยากร ประกอบด้วย นายมุนินทร์ พงศาปาน อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายสามชาย ศรีสันต์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ น.ส.ณัฐพร อาจหาญ คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ภาคอีสาน และนายจตุภัทร บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน นักกิจกรรม และนักเคลื่อนไหวทางการเมือง
นายมุนินทร์ กล่าวว่า วาระสำคัญที่สุดในการเลือกตั้งครั้งนี้ คือการแก้รัฐธรรมนูญ หากรัฐธรรมนูญไม่เปลี่ยนจะไม่เกิดการปฏิรูปใดๆ สิ่งนี้คือหัวใจสำคัญที่พรรคร่วมรัฐบาลฝ่ายประชาธิปไตยต้องทำให้สำเร็จ ขณะที่เราต้องพยายามเรียกร้องให้นักการเมืองที่เราเลือกได้ทำตามพันธสัญญา
ทั้งนี้ ปัญหารัฐธรรมนูญ 60 ที่ชัดเจนที่สุด คือ เราเลือกตั้งมีเสียงข้างมากเกินกึ่งหนึ่งจำนวนมาก แต่สุดท้ายประชาชนต้องมาลุ้นกันทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร และนายกรัฐมนตรี จนเกิดคำถามว่า ทำไมประชาชนที่ใช้สิทธิแสดงเจตจำนงชัดเจนแล้ว ยังไม่สามารถได้รัฐบาลมาง่ายๆ เพื่อบริหารราชการแผนดินในระบบแบบที่ควรจะเป็น ซึ่งกฎหมายต่อให้เขียนดีอย่างไร แต่หากขาดความชอบธรรมในที่มาก็จะทำให้กฎหมายนั้นขาดความชอบธรรม
“รัฐธรรมนูญ 60 มีความซับซ้อนที่สุด เป็นความซับซ้อนในแง่ลบ เปรียบเป็นวรรณกรรมที่คนร่างสมควรได้รับรางวัลอย่างมาก ที่พยายามสร้างกลไกรักษาอำนาจได้ยาวนานที่สุด เช่น ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี การให้อำนาจ ส.ว.ที่มากเกินไป รวมถึงศาลรัฐธรรมนูญ ที่ถูกออกแบบมาให้เป็นอุปสรรค ต่อการแสดงเจตจำนงของประชาชนจากคนเพียงไม่กี่คน
แต่หลายครั้งกลไกที่เขาวางไว้ก็เกิดปัญหาเอง ฉะนั้น เราต้องสนับสนุนให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อทำลายกลไกเหล่านั้นให้สิ้นซาก ให้การเมืองเดินไปได้ด้วยเจตจำนงของประชาชนอย่างแท้จริง” นายมุนินทร์ กล่าว
นายมุนินทร์ กล่าวว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ตนไม่อยากเรียกว่า นิติสงคราม เพราะเป็นการกระทำจากฝ่ายเดียว โดยที่ประชาชนถูกกระทำอยู่ตลอด มีการใช้อาวุธทางกฎหมายทำลายเจตนารมณ์ของประชาชนทุกครั้ง ปัญหาที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญไม่เคยรับรู้ถึงความไม่พอใจของประชาชน
ส่วนเนติบริกรทั้งหลายตนไม่แน่ใจว่ารับรู้ถึงความรู้สึกประชาชนมากแค่ไหน สิ่งที่เขาทำหรือตัดสินดูเหมือนไม่สนใจความรู้สึกของคนในสังคมเลย แต่การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงเจตจำนงของประชาชนมากที่สุด ทำให้เชื่อว่าองคาพยพเหล่านั้นได้รับรู้ถึงเจตจำนงของประชาชนแล้ว
นายสามชาย กล่าวว่า รัฐธรรมนูญทั่วโลกมีปัญหาอย่างหนึ่งคือส่งเสริมให้อำนาจรัฐขยายตัวมากขึ้น แต่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งในประเทศไทยรัฐธรรมนูญ 60 มีปัญหาแบบนั้น มีกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากรัฐธรรมนูญ 60 จำนวนมาก อาทิ กลุ่มเกษตกรรายย่อย กลุ่มแรงงาน กลุ่มชาติพันธุ์ นักศึกษา ผู้มีความหลากหลายทางเพศ กลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบชายแดนภาคใต้ กลุ่มนักกิจกรรมต่างๆ และกลุ่มผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัด เป็นต้น
นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญ 60 ยังเป็นรัฐธรรมนูญปราบฝ่ายตรงข้าม กำกับควบคุมประชาชนที่เห็นต่างทางการเมือง
น.ส.ณัฐพร กล่าวว่า รัฐธรรมนูญ 40 มีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน ทำให้มีคำว่า “ประชาชน” อยู่ในรัฐธรรมนูญเต็มไปหมด มีความยึดโยงสิทธิเสรีภาพประชาชนสูงมาก จึงไม่แปลกที่รัฐธรรมนูญ 60 จะเต็มไปด้วยว่าคำว่าบทบาทอำนาจของรัฐ เพราะการร่างรัฐธรรมนูญในตอนนั้น มีแต่กลุ่มชนชั้นนำ และนายทุน ส่งต่อสิ่งต่างๆ มาอยู่ในรัฐธรรมนูญ 60 และยุทธศาสตร์ชาติเต็มไปหมด
ซึ่งมีผลต่อแนวนโยบายของรัฐทั้งหมด เพราะคนเขียนไม่ได้มาจากประชาชน เกิดการผูดขาดอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด นอกจากนี้ ยังเกิดการคุกคามของฝ่ายความมั่นคง และการเติบโตของกอ.รมน. ซึ่งมีบทบาทมากขึ้นในการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของประชาชนในทุกมิติ
เราจึงไม่สามารถปฏิเสธถึงที่มา และความไม่ชอบธรรมของรัฐธรรมนูญ 60 ได้ จึงเห็นว่าควรต้องมีการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ เพราะหลายมาตราปิดกั้นลิดรอนสิทธิเสรีภาพ และการดำรงชีวิตของประชาชน ทุกคนควรมีส่วนร่วมในการเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นเจ้าของรัฐธรรมนูญร่วมกัน