เปิดสาเหตุ อัยการสั่งไม่ฟ้อง 2 บอสดารา ‘มิน-แซม’ แต่ ‘บอสกันต์’ ไม่รอด

เปิดสาเหตุ อัยการสั่งไม่ฟ้อง 2 บอสดารา ‘มิน-แซม’ แต่ ‘บอสกันต์’ ไม่รอด!... 

สำนักงานคดีพิเศษได้พิจารณามีคำสั่งฟ้อง “ไม่ฟ้อง” 2 บอสดารา ดิไอคอนกรุ๊ป คือ นายยุรนันท์ ภมรมนตรี หรือบอสแซม
และ น.ส.พีชญา วัฒนามนตรี หรือบอสมิน และสั่ง “ฟ้อง” นายกันต์ กันตถาวร หรือบอสกันต์ 

สาเหตุการสั่งไม่ฟ้อง เพราะคำให้การของผู้เกี่ยวข้องและพยานหลักฐานที่ได้ เชื่อได้ว่า บอสแซม ไม่ได้มีส่วนรู้เห็นว่า
มีการกระทำผิด ตามกฎหมายแชร์ลูกโซ่ เนื่องจากมีหลักฐานการทำสัญญาเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับดิไอคอนกรุ๊ป ในเดือนตุลาคม พ.ศ.2566

เช่นเดียวกับบอสมิน ที่ทำสัญญาว่าจ้างเป็นพรีเซ็นเตอร์ ในเดือนเมษายน พ.ศ.2566 ทว่าบริษัทดิไอคอนกรุ๊ป เริ่มจดทะเบียนก่อตั้งกิจการ
 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 อีกทั้งยังไม่มีข้อบ่งชี้หรือพยานหลักฐานอื่น พิสูจน์ได้ว่ามีส่วนรู้เห็นเกี่ยวกับการกระทำผิดเกี่ยวกับตามประมวลกฎหมายอาญา 
มาตรา 83 ร่วมกันประกอบธุรกิจขายตรงโดยไม่ได้รับอนุญาต” ซึ่งต่างจากกรณีของ บอสกันต์ ที่มีพยานหลักฐานชัดเจนว่ามีส่วนรู้เห็น
ตั้งแต่ช่วงก่อตั้งบริษัทดิไอคอนกรุ๊ป

สำหรับข้อกล่าวหา นายยุรนันท์ ภมรมนตรี หรือบอสแซม และ น.ส.พีชญา วัฒนามนตรี หรือบอสมิน คือ “ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน, ร่วมกัน
โดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์
อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน, ร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน, ร่วมกันประกอบธุรกิจขายตรง 
ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงดำเนินกิจการในลักษณะที่เป็นการชักชวนให้บุคคลเข้าร่วมเป็นเครือข่ายในการประกอบธุรกิจโดยตกลงว่า
จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนจากการหาผู้เข้าร่วมเครือข่ายดังกล่าว

ซึ่งคำนวณจากจำนวนผู้เข้าร่วมเครือข่ายที่เพิ่มขึ้นโดยผ่าฝืนต่อกฎหมาย, ร่วมกันประกอบธุรกิจขายตรงโดยไม่ได้รับอนุญาต” ตามพระราชบัญญัติ
ขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.2545 มาตรา 3, 19, 20, 38, 46, 47, 54, พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2560 
มาตรา 3, 6, 18, 23 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 83, 91, 341, 343 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) 
พ.ศ.2526 มาตรา 4 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ.2560 มาตรา 4 พระราชกำหนดการกู้ยืมเงิน
ที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 มาตรา 3, 4, 5, 9, 11/1, 12, 15

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2534 มาตรา 3 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
พระราชกำหนดการ กู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 มาตรา 3, 4, 5 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติ
แห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ.2560 พระราชบัญญัติวาด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ
คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 มาตรา 8

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.matichon.co.th/local/news_4989920
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่