ชื่นมื่น 'ปู' ควง 'แม้ว' ฉลองวันเกิดที่เยอรมัน บอกคิดถึงอาหารไทยที่สุด (คลิป)
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7730387
ชื่นมื่น ‘ปู’ ควง ‘แม้ว’ เที่ยวเยอรมัน เข้าร้านอาหารไทย บอกคิดถึงอาหารไทยที่สุด ก่อนเป่าเค้กฝอยทองฉลองวันเกิด ครบ 56 ปี
วันที่ 23 มิ.ย. 2566 น.ส.
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์คลิปวิดีโอลงในติ๊กต็อก ขณะไปรับประทานอาหาร กับนาย
ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ร้านอาหารไทยแห่งหนึ่ง ในประเทศเยอรมนี พร้อมเขียนข้อความระบุว่า
“
มาทานข้าววันเกิดย้อนหลัง เพราะที่คิดถึงที่สุดคืออาหารไทย ร้านทักษิณา ที่เยอรมัน รสชาติเหมือนบ้านเราเลยค่ะ”
โดย น.ส.
ยิ่งลักษณ์ บอกว่าอร่อยมาก พร้อมแนะนำเมนูที่รับประทาน ได้แก่ ผัดไทย สะเต๊ะไก่ ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า ปลาลุยสวน ส้มตำ จากนั้น น.ส.
ยิ่งลักษณ์ ได้เป่าเค้กฉลองวันเกิด อายุครบ 56 ปี ซึ่งเป็นเค้กฝอยทอง
https://www.tiktok.com/@yingluck.shinawatra/video/7247827462489476358
เพื่อไทย-ก้าวไกล นัดถกเก้าอี้ประธานสภา 28 มิ.ย. จ่อประชุมพรรค หาข้อยุติ
https://www.khaosod.co.th/election-2023/news_7730480
“ประเสริฐ” เผย เพื่อไทย-ก้าวไกล นัดถกเก้าอี้ประธานสภาฯ 28 มิ.ย. เตรียมประชุม ส.ส.-กก.บห. หาข้อยุติ ย้ำ ถ้าพท.ได้รองประธานสภาฯ ต้องได้ 2 เก้าอี้
เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 23 มิ.ย. 2566 ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) นาย
ประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์กรณี ส.ส. พรรคส่วนใหญ่ต้องการให้พรรคเพื่อไทยได้ตำแหน่งประธานสภาฯ ทางคณะเจรจาจะยึดตามเสียงส่วนใหญ่หรือตามหลักการ ว่า เรื่องนี้อยากแยกประเด็นก่อน โดยก่อนหน้าที่จะมีการสัมมนา ส.ส. พรรคมีจุดยืนคือให้พรรคที่มีเสียงข้างมากทำหน้าที่ประธานสภาฯ
นาย
ประเสริฐ กล่าวต่อว่า ส่วนพรรคที่ได้อันดับสอง ได้รองประธานสภาฯ ทั้ง 2 คน อย่างไรก็ตาม พรรคได้รับเรื่องที่ ส.ส. แสดงความคิดเห็นแล้ว และขณะนี้คณะกรรมการบริหารพรรค (กก.บห.) จะนำเข้าสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็น โดยจะมีการประชุมกันในวันที่ 27 มิ.ย.นี้
เมื่อถามว่าจะได้ข้อสรุปเรื่องประธานสภาฯ เมื่อไหร่ นาย
ประเสริฐ กล่าวว่า ได้คุยกับนาย
ชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล (ก.ก.) แล้ว โดยได้นัดหมายพูดคุยกันระหว่างพรรคก้าวไกลกับพรรคเพื่อไทย ที่พรรคเพื่อไทย วันที่ 28 มิ.ย. เวลา 10.00 น. เพราะตั้งแต่ที่มีการคุยกันเรื่องจุดยืนของพรรคเพื่อไทย ทางพรรคก้าวไกลยังไม่ได้มีการตอบรับหรือปฏิเสธเรื่องนี้แต่อย่างใด คิดว่าระยะเวลาในการเลือกประธานสภาฯ ใกล้เข้ามาแล้วจึงควรต้องมีการพูดคุยกัน เพื่อทำความเข้าใจและทำให้เกิดความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว
เมื่อถามว่าเสียงส่วนใหญ่ของ ส.ส. ต้องการให้ได้ตำแหน่งประธานสภาฯ จะต้องยึดมตินี้ไปคุยกับพรรคก้าวไกลหรือไม่ นาย
ประเสริฐ กล่าวว่า วันที่ 27 มิ.ย. เวลา 15.00 น. จะมีการประชุมพรรค หลังจากการประชุม กก.บห. เพื่อรับฟังความคิดเห็นของส.ส.ใหม่อีกครั้ง เรารับฟังความเห็นของส.ส. รวมถึงสิ่งที่ กก.บห. ได้ประชุมมาก็จะได้มีการนำมาพูดคุยแลกเปลี่ยนเพื่อหาข้อสรุป ก่อนจะนำไปคุยกับทางพรรคก้าวไกล
'กัณวีร์' ไม่หวั่นโดนฟ้องยุบพรรค เหตุจำลองประชามติ-ยันเสนอความคิดเห็นเชิงวิชาการ
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7730059
‘กัณวีร์’ ไม่หวั่นโดนฟ้องยุบพรรคเป็นธรรม เหตุจำลองประชามติ แบ่งแยกปาตานี ยันเป็นเพียงการเสนอความคิดเห็นเชิงวิชาการ ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ
23 มิ.ย. 66 – ที่รัฐสภา นาย
กัณวีร์ สืบแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม (ปธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีทำประชามติ ในสถานการณ์ วันที่ 7 มิ.ย. 66 ที่ผ่านมาว่า
ไม่ใช่การทำประชามติ เป็นเพียงการทำแบบสอบถาม ที่ว่าจะไปทำประชามติดีหรือไม่ ที่จะทำ RSD การกำหนดชะตากรรมชีวิตตนเอง เพราะฉะนั้นต้องแยกให้ออก ไม่ใช่การทำประชามติเพื่อไปแบ่งแยกดินแดน ต้องให้เครดิตนักศึกษาด้วย เพราะปัญหาของเราในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ คือการปิดกั้น เราต่อสู้กับการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน เราจึงกำหนดการแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยที่เราต้องเปิดพื้นที่สาธารณะ ให้ประชาชนสามารถแสดงสิทธิเสรีภาพ ในการแสดงออก แต่ทุกอย่างต้องอยู่ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ ตรงนี้คือจุดยืน
เพราะฉะนั้นเราไม่กังวลที่จะมีการฟ้องร้องยุบพรรค หากเราดูจริงๆ เราทำงานภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ น้องๆ ทำภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ ในวันนั้นเป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นในเชิงวิชาการเท่านั้น
และพื้นที่ที่แสดงความคิดเห็นเป็นพื้นที่สาธารณะในมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยควรเป็นพื้นที่สาธารณะโดยเฉพาะกับนักศึกษา ผู้ใหญ่ทุกท่านควรให้คำแนะนำว่าสิ่งใดควรทำหรือไม่ควรทำ เป็นเพียงแบบสอบถาม-ตอบเท่านั้นเอง
นาย
กัณวีร์ กล่าวต่อว่า ไม่ใช่การทำประชามติแบ่งแยกดินแดน พื้นที่ปาตานีต่อสู้กับการแสดงออกของสิทธิประชาชน ต้องเปิดพื้นที่ในการแสดงสิทธิเสรีภาพ แต่ต้องอยู่ภายใต้กรอบรธน. เราไม่กังวลว่าจะมีการฟ้องร้องน้องๆ ถกคนทำงานภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ ในทางวิชาการเท่านั้น ผู้ใหญ่ที่ควรแนะนำว่าสิ่งใดทำได้หรือไม่ได้
เมื่อถามว่า ทางคณะทำงานสันติภาพชายแดนใต้ จะมีการหารือปรับความเข้าใจกับหน่วยงานความมั่นคงที่มีความกังวลในเรื่องนี้หรือไม่ นายกัณวีร์กล่าวว่า มีแน่นอน อย่างไรก็ตามการทำนโยบายในเรื่อง 3 จังหวัดชายแดนใต้ หรือการสร้างกระบวนการสรรค์สร้างสันติภาพอย่างยั่งยืน เราต้องทำงานกับทุกฝ่าย ไม่ว่าความมั่นคง ประชาสังคม โดยเฉพาะการเจรจาสันติภาพจำเป็นที่จะต้องเจรจากับทุกฝ่าย การพูดคุยหารือสร้างสันติภาพ จำเป็นต้องรวมทุกคนเข้าร่วม ทุกองคาพยพจะต้องอยู่ด้วยกัน
เมื่อถามว่า ล่าสุดมติของพรรค ปธ. ขับ 2 สมาชิกพรรคออก ได้มีการคุยถึงเหตุผลกันหรือไม่ นาย
กัณวีร์ กล่าวว่า ไม่ใช่การขับออก แค่ออกจากตำแหน่งเท่านั้น ยังเป็นสมาชิกพรรค นาย
ฮากิม-ยามารุดดิน อดีตรองเลขาธิการพรรค ยังคงเป็นกรรมการบริหารพรรคอยู่ ที่ออกไปเพราะช่วงนั้น เพราะมีคุณสมบัติไม่เหมาะสม
ไทยเหลื่อมล้ำ สูงกว่า ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ 10 ปี คนจนไม่ลดลง ‘เกษตรกร’ 11% อยู่ใต้เส้นยากจน
https://www.matichon.co.th/economy/news_4044884
สนค.ชี้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ กดทับเศรษฐกิจไทยเติบโต เผยคนจนคงที่ 6-8% ภาคเกษตรนำกลุ่ม กาง 4 ปัจจัยท้าทาย “เศรษฐกิจดิจิทัล สังคมสูงอายุ ฟื้นฟู ศก.หลังโควิด สภาพอากาศ”
เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน นาย
พูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สนค.ได้ทำการวิเคราะห์การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย พบว่า ความเหลื่อมล้ำยังคงเป็นประเด็นท้าทายของประเทศ แม้ว่าเศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือ GDP ปรับเพิ่มจาก 7.7 ล้านล้านบาท ในปี 2551 เป็น 10.2 ล้านล้านบาท ในปี 2563 แต่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจยังคงมีอยู่ และเป็นปัญหาสั่งสมที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมมือกันลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อให้สังคมและเศรษฐกิจไทยพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ขององค์การสหประชาชาติ อันเป็นความพยายามร่วมกันในการลดความเหลื่อมล้ำในหลายมิติ
ทั้งนี้ หากพิจารณาสถานะความเหลื่อมล้ำของไทยในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา สัดส่วนของคนจนลดลงจากร้อยละ 65 ในปี 2531 เหลือเพียงร้อยละ 6.3 ในปี 2564 แต่หากมองเฉพาะช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2554-2564) พบว่าสัดส่วนคนจนมิได้ลดลงมากนัก แต่กลับคงตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 6-8 โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคเกษตร ซึ่งครัวเรือนที่มีรายได้หลักจากเกษตรกรรมจำนวนกว่าร้อยละ 11 ยังอยู่ใต้เส้นความยากจนและหากเปรียบเทียบระหว่างประเทศในกลุ่มทวีปเอเชียด้วยกัน ความเหลื่อมล้ำที่วัดด้วยค่าสัมประสิทธิ์จีนีของไทย ซึ่งเป็นการวัดค่าความแตกต่างของรายได้ครัวเรือน อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับประเทศในอาเซียน เช่น อินโดนีเซีย และเวียดนาม แต่มีความเหลื่อมล้ำสูงกว่าประเทศพัฒนาแล้วในเอเชียตะวันออก เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้
นายพูนพงษ์กล่าวว่า สนค.ได้วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเหลื่อมล้ำของประเทศ พบว่า มีทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ โดยการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจดิจิทัล การขยายตัวของเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม การใช้เทคโนโลยีทดแทนแรงงาน และการพัฒนาประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวสามารถ เป็นได้ทั้งโอกาสสำหรับผู้ที่สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในขณะเดียวกันเป็นประเด็นท้าทายสำหรับกลุ่มที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยี และไม่สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในการเพิ่มความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ที่องค์การสหประชาชาติคาดการณ์ว่า ปี 2562–2593 ทวีปเอเชียจะมีประชากรสูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปมากที่สุดในโลก โดยประเทศไทย สัดส่วนผู้สูงวัยเฉลี่ยต่อประชากรทั้งประเทศในช่วงเวลาดังกล่าวเท่ากับร้อยละ 17.2 เป็นอันดับที่ 5 ของเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้รองจากเกาหลีใต้ สิงคโปร์ ไต้หวัน และมาเก๊า ทั้งนี้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุ
ว่า ในปี 2564 ประเทศไทยมีผู้สูงวัยจำนวน 13.8 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 20% และเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี 2565 โดยคาดการณ์ว่าในปี 2583 สัดส่วนประชากรสูงวัยจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 31.3 ของประชากรทั้งประเทศ การเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุยังหมายถึงสัดส่วนกำลังแรงงานเมื่อเทียบกับผู้สูงอายุและเด็กจะลดลงซึ่งจะทำให้อัตราการพึ่งพิงประชากรวัยแรงงานเพิ่มสูงขึ้น
ขณะเดียวกัน การฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังจากการระบาดของโควิด-19 ปัจจุบันไทยยังอยู่ในเส้นทางการฟื้นตัวจากการระบาดของโควิด-19 เศรษฐกิจไทยยังไม่สามารถเติบโตได้ดีนับตั้งแต่เกิดการหดตัวในช่วงการระบาด กลุ่มที่ได้รับผลกระทบรุนแรงและยาวนาน เช่น ผู้ค้ารายย่อยที่สูญเสียรายได้จากการปิดกิจการช่วงโควิด-19 กลุ่มที่ประกอบอาชีพรับจ้าง กลุ่มเปราะบาง เป็นต้น ซึ่งเป็นกลุ่มที่ภาครัฐควรมีนโยบายช่วยเหลือให้กลุ่มดังกล่าวฟื้นตัวโดยเร็ว เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในระยะยาว
สำหรับปัจจัยอื่นๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับโลกที่แม้จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ แต่ส่งผลกระทบในวงกว้าง การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศส่งผลให้โลกมีอุณหภูมิเฉลี่ยและระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เกิดภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง บ่อยครั้งขึ้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีแนวโน้มจะส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำของไทยเพิ่มขึ้น เนื่องจากประชาชนกลุ่มยากจน และด้อยโอกาสจำนวนมากยังอยู่ในภาคเกษตร
“
จากประเด็นความท้าทายข้างต้น หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ดังกล่าว โดย สนค.เห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้ดำเนินโครงการศึกษาการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ปี 2566 ภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ที่ยังคงเป็นปัญหาของประเทศ และเพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศพัฒนาได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน” นาย
พูนพงษ์กล่าว
JJNY : 5in1 ชื่นมื่น'ปู'ควง'แม้ว'│เพื่อไทย-ก้าวไกลนัดถก│'กัณวีร์'ไม่หวั่นยุบพรรค│ไทยเหลื่อมล้ำสูง│ยูเอ็นขึ้นบัญชีรัสเซีย
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7730387
ชื่นมื่น ‘ปู’ ควง ‘แม้ว’ เที่ยวเยอรมัน เข้าร้านอาหารไทย บอกคิดถึงอาหารไทยที่สุด ก่อนเป่าเค้กฝอยทองฉลองวันเกิด ครบ 56 ปี
วันที่ 23 มิ.ย. 2566 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์คลิปวิดีโอลงในติ๊กต็อก ขณะไปรับประทานอาหาร กับนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ร้านอาหารไทยแห่งหนึ่ง ในประเทศเยอรมนี พร้อมเขียนข้อความระบุว่า
“มาทานข้าววันเกิดย้อนหลัง เพราะที่คิดถึงที่สุดคืออาหารไทย ร้านทักษิณา ที่เยอรมัน รสชาติเหมือนบ้านเราเลยค่ะ”
โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ บอกว่าอร่อยมาก พร้อมแนะนำเมนูที่รับประทาน ได้แก่ ผัดไทย สะเต๊ะไก่ ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า ปลาลุยสวน ส้มตำ จากนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เป่าเค้กฉลองวันเกิด อายุครบ 56 ปี ซึ่งเป็นเค้กฝอยทอง
https://www.tiktok.com/@yingluck.shinawatra/video/7247827462489476358
เพื่อไทย-ก้าวไกล นัดถกเก้าอี้ประธานสภา 28 มิ.ย. จ่อประชุมพรรค หาข้อยุติ
https://www.khaosod.co.th/election-2023/news_7730480
“ประเสริฐ” เผย เพื่อไทย-ก้าวไกล นัดถกเก้าอี้ประธานสภาฯ 28 มิ.ย. เตรียมประชุม ส.ส.-กก.บห. หาข้อยุติ ย้ำ ถ้าพท.ได้รองประธานสภาฯ ต้องได้ 2 เก้าอี้
เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 23 มิ.ย. 2566 ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์กรณี ส.ส. พรรคส่วนใหญ่ต้องการให้พรรคเพื่อไทยได้ตำแหน่งประธานสภาฯ ทางคณะเจรจาจะยึดตามเสียงส่วนใหญ่หรือตามหลักการ ว่า เรื่องนี้อยากแยกประเด็นก่อน โดยก่อนหน้าที่จะมีการสัมมนา ส.ส. พรรคมีจุดยืนคือให้พรรคที่มีเสียงข้างมากทำหน้าที่ประธานสภาฯ
นายประเสริฐ กล่าวต่อว่า ส่วนพรรคที่ได้อันดับสอง ได้รองประธานสภาฯ ทั้ง 2 คน อย่างไรก็ตาม พรรคได้รับเรื่องที่ ส.ส. แสดงความคิดเห็นแล้ว และขณะนี้คณะกรรมการบริหารพรรค (กก.บห.) จะนำเข้าสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็น โดยจะมีการประชุมกันในวันที่ 27 มิ.ย.นี้
เมื่อถามว่าจะได้ข้อสรุปเรื่องประธานสภาฯ เมื่อไหร่ นายประเสริฐ กล่าวว่า ได้คุยกับนายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล (ก.ก.) แล้ว โดยได้นัดหมายพูดคุยกันระหว่างพรรคก้าวไกลกับพรรคเพื่อไทย ที่พรรคเพื่อไทย วันที่ 28 มิ.ย. เวลา 10.00 น. เพราะตั้งแต่ที่มีการคุยกันเรื่องจุดยืนของพรรคเพื่อไทย ทางพรรคก้าวไกลยังไม่ได้มีการตอบรับหรือปฏิเสธเรื่องนี้แต่อย่างใด คิดว่าระยะเวลาในการเลือกประธานสภาฯ ใกล้เข้ามาแล้วจึงควรต้องมีการพูดคุยกัน เพื่อทำความเข้าใจและทำให้เกิดความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว
เมื่อถามว่าเสียงส่วนใหญ่ของ ส.ส. ต้องการให้ได้ตำแหน่งประธานสภาฯ จะต้องยึดมตินี้ไปคุยกับพรรคก้าวไกลหรือไม่ นายประเสริฐ กล่าวว่า วันที่ 27 มิ.ย. เวลา 15.00 น. จะมีการประชุมพรรค หลังจากการประชุม กก.บห. เพื่อรับฟังความคิดเห็นของส.ส.ใหม่อีกครั้ง เรารับฟังความเห็นของส.ส. รวมถึงสิ่งที่ กก.บห. ได้ประชุมมาก็จะได้มีการนำมาพูดคุยแลกเปลี่ยนเพื่อหาข้อสรุป ก่อนจะนำไปคุยกับทางพรรคก้าวไกล
'กัณวีร์' ไม่หวั่นโดนฟ้องยุบพรรค เหตุจำลองประชามติ-ยันเสนอความคิดเห็นเชิงวิชาการ
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7730059
‘กัณวีร์’ ไม่หวั่นโดนฟ้องยุบพรรคเป็นธรรม เหตุจำลองประชามติ แบ่งแยกปาตานี ยันเป็นเพียงการเสนอความคิดเห็นเชิงวิชาการ ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ
23 มิ.ย. 66 – ที่รัฐสภา นายกัณวีร์ สืบแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม (ปธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีทำประชามติ ในสถานการณ์ วันที่ 7 มิ.ย. 66 ที่ผ่านมาว่า
ไม่ใช่การทำประชามติ เป็นเพียงการทำแบบสอบถาม ที่ว่าจะไปทำประชามติดีหรือไม่ ที่จะทำ RSD การกำหนดชะตากรรมชีวิตตนเอง เพราะฉะนั้นต้องแยกให้ออก ไม่ใช่การทำประชามติเพื่อไปแบ่งแยกดินแดน ต้องให้เครดิตนักศึกษาด้วย เพราะปัญหาของเราในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ คือการปิดกั้น เราต่อสู้กับการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน เราจึงกำหนดการแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยที่เราต้องเปิดพื้นที่สาธารณะ ให้ประชาชนสามารถแสดงสิทธิเสรีภาพ ในการแสดงออก แต่ทุกอย่างต้องอยู่ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ ตรงนี้คือจุดยืน
เพราะฉะนั้นเราไม่กังวลที่จะมีการฟ้องร้องยุบพรรค หากเราดูจริงๆ เราทำงานภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ น้องๆ ทำภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ ในวันนั้นเป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นในเชิงวิชาการเท่านั้น
และพื้นที่ที่แสดงความคิดเห็นเป็นพื้นที่สาธารณะในมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยควรเป็นพื้นที่สาธารณะโดยเฉพาะกับนักศึกษา ผู้ใหญ่ทุกท่านควรให้คำแนะนำว่าสิ่งใดควรทำหรือไม่ควรทำ เป็นเพียงแบบสอบถาม-ตอบเท่านั้นเอง
นายกัณวีร์ กล่าวต่อว่า ไม่ใช่การทำประชามติแบ่งแยกดินแดน พื้นที่ปาตานีต่อสู้กับการแสดงออกของสิทธิประชาชน ต้องเปิดพื้นที่ในการแสดงสิทธิเสรีภาพ แต่ต้องอยู่ภายใต้กรอบรธน. เราไม่กังวลว่าจะมีการฟ้องร้องน้องๆ ถกคนทำงานภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ ในทางวิชาการเท่านั้น ผู้ใหญ่ที่ควรแนะนำว่าสิ่งใดทำได้หรือไม่ได้
เมื่อถามว่า ทางคณะทำงานสันติภาพชายแดนใต้ จะมีการหารือปรับความเข้าใจกับหน่วยงานความมั่นคงที่มีความกังวลในเรื่องนี้หรือไม่ นายกัณวีร์กล่าวว่า มีแน่นอน อย่างไรก็ตามการทำนโยบายในเรื่อง 3 จังหวัดชายแดนใต้ หรือการสร้างกระบวนการสรรค์สร้างสันติภาพอย่างยั่งยืน เราต้องทำงานกับทุกฝ่าย ไม่ว่าความมั่นคง ประชาสังคม โดยเฉพาะการเจรจาสันติภาพจำเป็นที่จะต้องเจรจากับทุกฝ่าย การพูดคุยหารือสร้างสันติภาพ จำเป็นต้องรวมทุกคนเข้าร่วม ทุกองคาพยพจะต้องอยู่ด้วยกัน
เมื่อถามว่า ล่าสุดมติของพรรค ปธ. ขับ 2 สมาชิกพรรคออก ได้มีการคุยถึงเหตุผลกันหรือไม่ นายกัณวีร์ กล่าวว่า ไม่ใช่การขับออก แค่ออกจากตำแหน่งเท่านั้น ยังเป็นสมาชิกพรรค นายฮากิม-ยามารุดดิน อดีตรองเลขาธิการพรรค ยังคงเป็นกรรมการบริหารพรรคอยู่ ที่ออกไปเพราะช่วงนั้น เพราะมีคุณสมบัติไม่เหมาะสม
ไทยเหลื่อมล้ำ สูงกว่า ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ 10 ปี คนจนไม่ลดลง ‘เกษตรกร’ 11% อยู่ใต้เส้นยากจน
https://www.matichon.co.th/economy/news_4044884
สนค.ชี้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ กดทับเศรษฐกิจไทยเติบโต เผยคนจนคงที่ 6-8% ภาคเกษตรนำกลุ่ม กาง 4 ปัจจัยท้าทาย “เศรษฐกิจดิจิทัล สังคมสูงอายุ ฟื้นฟู ศก.หลังโควิด สภาพอากาศ”
เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สนค.ได้ทำการวิเคราะห์การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย พบว่า ความเหลื่อมล้ำยังคงเป็นประเด็นท้าทายของประเทศ แม้ว่าเศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือ GDP ปรับเพิ่มจาก 7.7 ล้านล้านบาท ในปี 2551 เป็น 10.2 ล้านล้านบาท ในปี 2563 แต่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจยังคงมีอยู่ และเป็นปัญหาสั่งสมที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมมือกันลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อให้สังคมและเศรษฐกิจไทยพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ขององค์การสหประชาชาติ อันเป็นความพยายามร่วมกันในการลดความเหลื่อมล้ำในหลายมิติ
ทั้งนี้ หากพิจารณาสถานะความเหลื่อมล้ำของไทยในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา สัดส่วนของคนจนลดลงจากร้อยละ 65 ในปี 2531 เหลือเพียงร้อยละ 6.3 ในปี 2564 แต่หากมองเฉพาะช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2554-2564) พบว่าสัดส่วนคนจนมิได้ลดลงมากนัก แต่กลับคงตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 6-8 โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคเกษตร ซึ่งครัวเรือนที่มีรายได้หลักจากเกษตรกรรมจำนวนกว่าร้อยละ 11 ยังอยู่ใต้เส้นความยากจนและหากเปรียบเทียบระหว่างประเทศในกลุ่มทวีปเอเชียด้วยกัน ความเหลื่อมล้ำที่วัดด้วยค่าสัมประสิทธิ์จีนีของไทย ซึ่งเป็นการวัดค่าความแตกต่างของรายได้ครัวเรือน อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับประเทศในอาเซียน เช่น อินโดนีเซีย และเวียดนาม แต่มีความเหลื่อมล้ำสูงกว่าประเทศพัฒนาแล้วในเอเชียตะวันออก เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้
นายพูนพงษ์กล่าวว่า สนค.ได้วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเหลื่อมล้ำของประเทศ พบว่า มีทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ โดยการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจดิจิทัล การขยายตัวของเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม การใช้เทคโนโลยีทดแทนแรงงาน และการพัฒนาประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวสามารถ เป็นได้ทั้งโอกาสสำหรับผู้ที่สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในขณะเดียวกันเป็นประเด็นท้าทายสำหรับกลุ่มที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยี และไม่สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในการเพิ่มความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ที่องค์การสหประชาชาติคาดการณ์ว่า ปี 2562–2593 ทวีปเอเชียจะมีประชากรสูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปมากที่สุดในโลก โดยประเทศไทย สัดส่วนผู้สูงวัยเฉลี่ยต่อประชากรทั้งประเทศในช่วงเวลาดังกล่าวเท่ากับร้อยละ 17.2 เป็นอันดับที่ 5 ของเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้รองจากเกาหลีใต้ สิงคโปร์ ไต้หวัน และมาเก๊า ทั้งนี้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุ
ว่า ในปี 2564 ประเทศไทยมีผู้สูงวัยจำนวน 13.8 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 20% และเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี 2565 โดยคาดการณ์ว่าในปี 2583 สัดส่วนประชากรสูงวัยจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 31.3 ของประชากรทั้งประเทศ การเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุยังหมายถึงสัดส่วนกำลังแรงงานเมื่อเทียบกับผู้สูงอายุและเด็กจะลดลงซึ่งจะทำให้อัตราการพึ่งพิงประชากรวัยแรงงานเพิ่มสูงขึ้น
ขณะเดียวกัน การฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังจากการระบาดของโควิด-19 ปัจจุบันไทยยังอยู่ในเส้นทางการฟื้นตัวจากการระบาดของโควิด-19 เศรษฐกิจไทยยังไม่สามารถเติบโตได้ดีนับตั้งแต่เกิดการหดตัวในช่วงการระบาด กลุ่มที่ได้รับผลกระทบรุนแรงและยาวนาน เช่น ผู้ค้ารายย่อยที่สูญเสียรายได้จากการปิดกิจการช่วงโควิด-19 กลุ่มที่ประกอบอาชีพรับจ้าง กลุ่มเปราะบาง เป็นต้น ซึ่งเป็นกลุ่มที่ภาครัฐควรมีนโยบายช่วยเหลือให้กลุ่มดังกล่าวฟื้นตัวโดยเร็ว เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในระยะยาว
สำหรับปัจจัยอื่นๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับโลกที่แม้จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ แต่ส่งผลกระทบในวงกว้าง การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศส่งผลให้โลกมีอุณหภูมิเฉลี่ยและระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เกิดภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง บ่อยครั้งขึ้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีแนวโน้มจะส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำของไทยเพิ่มขึ้น เนื่องจากประชาชนกลุ่มยากจน และด้อยโอกาสจำนวนมากยังอยู่ในภาคเกษตร
“จากประเด็นความท้าทายข้างต้น หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ดังกล่าว โดย สนค.เห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้ดำเนินโครงการศึกษาการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ปี 2566 ภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ที่ยังคงเป็นปัญหาของประเทศ และเพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศพัฒนาได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน” นายพูนพงษ์กล่าว