“พริษฐ์” หวัง รบ.ใหม่ ทบทวนคำถามประชามติปม รธน.
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_766351/
“พริษฐ์” หวังรัฐบาลใหม่ทบทวนคำถามประชามติเรื่องรัฐธรรมนูญอีกครั้ง หลังสภาฯ เห็นชอบร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติแล้ว ย้ำคำถามที่เปิดกว้าง จะเพิ่มโอกาสให้การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่สำเร็จ
นาย
พริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน เปิดเผยสำนักข่าว INN หลังที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีมติเห็นชอบร่างแก้ไข พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติในวาระที่ 3 ว่า ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 คณะรัฐมนตรีมีมติว่า จะเดินหน้าสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วยการทำประชามติทั้งหมด 3 ครั้ง
โดยจะไม่เดินหน้าจัดทำประชามติครั้งแรกและประกาศคำถามประชามติอย่างเป็นทางการ จนกว่าการแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติจะแล้วเสร็จ ซึ่งในวันนี้สภาฯ ก็ได้มีมติเห็นชอบร่างแก้ไขในวาระที่ 3 แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการส่งร่างดังกล่าวเข้าสู่การกลั่นกรองของวุฒิสภา และคาดว่าจะใช้เวลาไม่นานก่อนประกาศใช้เป็นกฎหมาย
ดังนั้น โจทย์สำคัญที่สุดเฉพาะหน้าในขณะนี้ จึงหนีไม่พ้นเรื่องการกำหนด “
คำถามประชามติ” สำหรับประชามติครั้งแรก ซึ่งคณะรัฐมนตรีในยุคนายกฯ เศรษฐา ทวีสิน เคยเสนอให้ใช้คำถามว่า “
ท่านเห็นชอบหรือไม่ ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่แก้ไขหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 พระมหากษัตริย์”
โดยพรรคประชาชนมีความกังวลว่า การตั้งคำถามในลักษณะดังกล่าวอาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่สะดุดลงและไม่ประสบความสำเร็จ
ดังนั้น ในเมื่อประเทศเรากำลังจะมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ภายใต้การนำของนายกฯ
แพทองธาร ชินวัตร ตนและพรรคประชาชน จึงหวังว่า คณะรัฐมนตรีในยุคนายกฯ
แพทองธารจะเห็นด้วยกับข้อกังวลดังกล่าว และทบทวนคำถามประชามติ โดยหันมาใช้คำถามที่มีลักษณะเปิดกว้างว่า “
ท่านเห็นชอบหรือไม่ ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (โดยไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ)
นอกจากการหวังให้รัฐบาลพิจารณาข้อเสนอดังกล่าวแล้ว พรรคประชาชนยังมีญัตติเรื่องคำถามประชามติที่เสนอโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2564 มาตรา 9(4) ค้างอยู่ในระเบียบวาระการประชุม ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรสามารถเลื่อนขึ้นมาพิจารณาได้ทันที หากเห็นว่ามีความเร่งด่วน ในเมื่อรัฐบาลใหม่จะต้องตัดสินใจเรื่องคำถามประชามติในเร็วๆ นี้
'กัณวีร์' จี้รัฐบาลแสดงเจตจำนงทางการเมือง ต่อการสร้างสันติภาพชายแดนใต้
https://www.matichon.co.th/politics/news_4755847
‘กัณวีร์’ จี้รัฐบาลใหม่ แสดงเจตจำนงทางการเมืองต่อการสร้างสันติภาพชายแดนใต้ อยากเห็นจำเลย 7 คน คดีตากใบ เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และต้องเปิดพื้นที่เสรีภาพให้ประชาชน หยุดคดีปิดปาก
วันที่ 26 สิงหาคม นาย
กัณวีร์ สืบแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม เปิดเผยถึงผลการเปิดวงสนทนาฉันท์มิตร เปิดพื้นที่การเมืองและสันติภาพ ที่ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ Deepsouth Watch อ.เมือง จ.ปัตตานี ซึ่งมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนสถานการณ์กับ ผศ.ดร.
ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ นาย
อานัส พงศ์ประเสริฐ ประธาน The Looker นายอายุบ เจ๊ะนะ ผู้อำนวยการสมัชชาประชาสังคมเพื่อสันติภาพ CAP ดร.
สมัชชา นิลปัทม์ อาจารย์คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และนาย
รอมฎอน ปันจอร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ดำเนินรายการโดย นาย
ซาฮารี เจ๊ะหลง
นาย
กัณวีร์ กล่าวว่า วงสนทนาชวนพูดคุยถึงคดีตากใบ ที่ศาลจังหวัดนราธิวาส มีคำสั่งรับฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐ 7 คน ที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของประชาชนจากเหตุสลายการชุมนุมที่หน้า สภ.ตากใบ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 หรือเมื่อ 20 ปีก่อน
นาย
กัณวีร์ กล่าวว่า การพูดคุยเปิดอกในพื้นที่ที่มีเสรีภาพ ต้องทำได้ทั่วไป โดยเฉพาะ เรื่องอ่อนไหว จำเป็นต้องมาพูดคุยบนโต๊ะ โดยเฉพาะคดีปิดปาก และคดีตากใบ
“
ขอแสดงความเสียใจอีกครั้งหนึ่งกับญาติคดีตากใบเมื่อ 20 ปีที่แล้ว วันนี้ทำให้เห็นได้ชัดว่า ความยุติธรรมที่ล่าช้าคือความไม่ยุติธรรม แต่อย่างน้อยความยุติธรรมได้บังเกิดขึ้นแล้ว จำเลย 7 คน ต้องมาแสดงตัวว่าเกิดอะไรขึ้น ผมก็ยินดีกับญาติที่ได้ความยุติธรรมมาบ้าง อย่างน้อยต้องมีคนที่รับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองตัดสินใจและกระทำ สังคมไทยต้องตระหนักรู้กับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต เพราะจะกระทบถึงเวทีระหว่างประเทศ”
นาย
กัณวีร์ กล่าวว่า ตนเองอาจเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย หลังจากทำงานด้านมนุษยธรรมมาเป็นนักการเมือง การที่จำเลยมาเผชิญหน้ากับความยุติธรรม ควรเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้น แต่ 20 ปีที่ผ่านมาเป็นสัญลักษณ์ว่าวันนี้สิ่งต่างๆที่ได้กลบเกลื่อนไว้ในอดีตจะถูกเปิดโปง วันนี้จะเป็นวันหนึ่งที่ทำให้ทุกคนที่เคยกระทำต้องพึงสังวรณ์ไว้ว่าต่อไปนี้ หนีความจริงไม่ได้ ความยุติธรรมต้องเกิดขึ้น เราจำเป็นต้องพูดคุยอย่างสร้างสรรค์ ไม่สามารถสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืนได้ในปาตานี
นาย
กัณวีร์ กล่าวว่า รัฐบาลจำเป็นต้องมีเจตจำนงทางการเมือง Political Will ที่ชัดเจน ต่อการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ น่าเสียดายว่าเรามี ส.ส.ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ถึง 13 คน เป็นฝ่ายรัฐบาล แต่ทำไมการผลักดันนโยบายการแก้ปัญหาถึงยังทำไม่ได้ เพราะเราใช้กรอบแนวคิดความมั่นคงอย่างเดียว ไม่ว่ารัฐบาลจากการเลือกตั้ง รัฐบาลจากการยึดอำนาจ พยายามจะปรับปรุงแก้ไขไปหลายช่วงหลายสมัย แต่กลับย้อนไปที่เดิม เพราะรัฐคิดว่าทุกอย่างเป็นปัญหาความมั่นคง ไม่เคยเอาคนที่ได้รับผลกระทบมาบอกว่า ต้องการให้แก้ปัญหาอย่างไร ไม่เคยมีสมการนั้น
“เราต้องยอมรับความเป็นจริง ว่าเรายังใช้สมการเดิม ใช้กรอบความมั่นคงเชิงอนุรักษ์นิยม ไม่ว่าจะเป็นคดีตากใบ ที่แม้มีความยุติธรรมเกิดขึ้น แต่ยังอยู่ในกรอบความคิดเดิม ผมจึงอยากเห็น ส.ส.ที่คุมอำนาจการจัดการ จะต้องทำให้ได้ นักกิจกรรมที่จะถูกดำเนินคดีชุดมลายู ก็เป็นคดีที่ต้องจับตา ถ้ายังมองว่ารากเหง้าปัญหา คือการปิดกั้นเสรีภาพ ของประชาชน ถ้าคุณไม่สามารถเป็นผู้แทนของประชาชนในพื้นที่ได้ ผมอาจเป็นคนนอก ผมมาลงพื้นที่ พยายามทำให้ทราบปัญหา แต่คนที่อยู่ตรงนี้ ยังไม่รู้ปัญหาตรงนี้ ทุกคนควรพิจารณาตัวใหม่ ทั้งฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายนิติบัญญัติ ถ้าไม่เข้าใจ สันติภาพ ถ้าไม่มี Political Will จะละลายกรอบน้ำแข็งที่เป็นปัญหาไม่ได้” นายกัณวีร์ กล่าวย้ำ
ด้าน ผศ.ดร.
ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี กล่าวว่า ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นความยืดเยื้อของความขัดแย้งที่รุนแรง ยาวนานที่สุด ยาวกว่าการต่อสู้ของพรรคคอมมิวนิสต์ 7 สิงหาคม 2508 มาสิ้นสุดลงในปี 2523 จากนโยบาย 66/23 และกระบวนการพูดคุยสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ริเริ่มมาก 10 กว่าปี ยังไม่ยุติหรือเห็นผลเป็นรูปธรรม และสถิติความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 20 กว่าปีที่ผ่านมา จาก 2547-2567 มีเหตุการณ์กว่า 20,000 เหตุการณ์ เสียชีวิต กว่า 7,600 คน จึงรุนแรงสุดในประวัติศาสตร์
“
กรณีตากใบเป็นปฎิบัติการของเจ้าหน้าที่ มี 85 คน เสียชีวิต เป็นความรุนแรงสูงสุด เหมือนกรณีอื่นๆ ในประเทศไทย การหาตัวผู้กระทำผิด ไม่สามารถดำเนินการได้ กระบวนการยุติธรรม มาลงโทษ ในแง่ความรับผิดชอบระดับสูง” ผศ.ดร.
ศรีสมภพ กล่าว
ผศ.ดร.
ศรีสมภพ กล่าวว่า ในคดีตากใบ น่ายินดีที่เรามีกระบวนการที่ฟ้องร้องเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อฟ้องร้องคดีประวัติศาสตร์ จึงอยากให้เป็นตัวอย่างของสังคมไทย หนึ่งในกระบวนการหาทางออกอย่างสันติคือความยุติธรรม ที่เรายังจัดการไม่ได้ เป็นจุดหนึ่งที่เป็นมิติที่น่าจะเป็นโอกาสในการแก้ปัญหา ด้วยกระบวนการยุติธรรม
ขณะที่นาย
อานัส พงศ์ประเสริฐ กล่าวว่า คดีชุดมลายู นักกิจกรรม 9 คน ซึ่งถูกดำเนินคดี อังยี่ซ่องโจร และอัยการกำลังจะพิจารณาสั่งฟ้องหรือไม่ ในวันที่ 28 สิงหาคม นี้ แต่มีเรื่องน่าตกใจที่มีการระบุความผิดถึงการแบ่งแยกดินแดนตามมาตรา 1 ไว้ด้วย ทั้งๆที่กิจกรรมนี้เพื่อแสดงถึงการแสดงออกทางอัตลักษณ์มลายู
นาย
กัณวีร์ กล่าวว่า สันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะไม่เกิดหากประชาชนยังถูกปิดกั้นเสรีภาพทางการเมือง ตนเองจึงจะจัดวงพูดคุยแบบนี้ต่อไป เพื่อให้เกิดแรงผลักดันต่อการเปิดพื้นที่เสรีภาพจากประชาชน
ผู้ว่า ธปท.พร้อมปรับลดดอกเบี้ย หากแนวโน้มเปลี่ยน
https://siamrath.co.th/n/561181
เมื่อวันที่ 26 ส.ค.67 นาย
เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงมติคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ล่าสุด (21 ส.ค.) ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50% ต่อปีว่า การพิจารณาดำเนินนโยบายการเงินจะดู 3 ปัจจัยสำคัญคือ การเติบโตทางเศรษฐกิจ ภาวะเงินเฟ้อ และเสถียรภาพทางการเงิน ซึ่งธปท.พูดมาตลอดว่า การพิจารณาจะยึดหลัก Outlook Dependent หากเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ธปท.พร้อมจะปรับเปลี่ยนดอกเบี้ยนโยบายจากสถานการณ์เศรษฐกิจมีการเติบโตเข้าสู่ระดับศักยภาพราวๆ 3% หย่อนๆ แต่สัญญาณความเสี่ยงด้านต่ำ ตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 2 ที่ผ่านมา การลงทุนของภาคเอกชนที่ต่ำกว่าคาดการณ์ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเริ่มกลับเข้าสู่กรอบล่าง 1-3% และยังไม่เห็นสัญญาณเกิดภาวะเงินฝืด แต่สิ่งที่กังวลคือ เสถียรภาพทางการเงิน ซึ่งสถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากกว่าความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจริง แต่ยังไม่ถึงขั้นเกิดภาวะตึงตัวในระบบการเงิน ซึ่งจะติดตามกันต่อไป และพร้อมปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินให้มีความเหมาะสมตามสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไป หากมีความตึงตัวมากกว่าที่ควรจะเป็น
“
ในการประชุม กนง.ทุกครั้งจะพิจารณาจากภาวะเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และเสถียรภาพทางการเงิน ถ้าแนวโน้มออกมาใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้มองว่า ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปรับลดดอกเบี้ย แต่ถ้าแนวโน้มปรับเปลี่ยนไป เราก็ไม่ได้ปิดกั้นที่จะปรับเปลี่ยนนโยบาย ในการแถลง กนง.ล่าสุดคณะกรรมการแสดงความห่วงใยเรื่องเสถียรภาพทางการเงินมากขึ้น”
สำหรับประเด็นธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยนโยบายลงนั้นจะเป็นแรงกดดันให้ไทยต้องปรับลดดอกเบี้ยตามหรือไม่นั้น กรณีที่เฟดส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยมาอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว ซึ่งไม่ได้นอกเหนือไปจากที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม กนง.ดำเนินนโยบายการเงินจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์เศรษฐกิจไทยเป็นหลัก แต่ยังคำนึงถึงปัจจัยที่จะกระทบเช่น การดำเนินนโยบายการเงินของประเทศหลักที่จะกระทบต่อเงินทุนเคลื่อนย้ายและอัตราแลกเปลี่ยน
#ธปท #แบงก์ชาติ #ข่าววันนี้ #ลดดอกเบี้ย
JJNY : “พริษฐ์”หวังรบ.ใหม่ทบทวน│'กัณวีร์'จี้รัฐบาล│ผู้ว่าธปท.พร้อมปรับลดดอกเบี้ย│จีนเดินขบวนรถไฟติดตู้แช่เย็นส่งผักมาไทย
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_766351/
“พริษฐ์” หวังรัฐบาลใหม่ทบทวนคำถามประชามติเรื่องรัฐธรรมนูญอีกครั้ง หลังสภาฯ เห็นชอบร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติแล้ว ย้ำคำถามที่เปิดกว้าง จะเพิ่มโอกาสให้การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่สำเร็จ
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน เปิดเผยสำนักข่าว INN หลังที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีมติเห็นชอบร่างแก้ไข พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติในวาระที่ 3 ว่า ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 คณะรัฐมนตรีมีมติว่า จะเดินหน้าสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วยการทำประชามติทั้งหมด 3 ครั้ง
โดยจะไม่เดินหน้าจัดทำประชามติครั้งแรกและประกาศคำถามประชามติอย่างเป็นทางการ จนกว่าการแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติจะแล้วเสร็จ ซึ่งในวันนี้สภาฯ ก็ได้มีมติเห็นชอบร่างแก้ไขในวาระที่ 3 แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการส่งร่างดังกล่าวเข้าสู่การกลั่นกรองของวุฒิสภา และคาดว่าจะใช้เวลาไม่นานก่อนประกาศใช้เป็นกฎหมาย
ดังนั้น โจทย์สำคัญที่สุดเฉพาะหน้าในขณะนี้ จึงหนีไม่พ้นเรื่องการกำหนด “คำถามประชามติ” สำหรับประชามติครั้งแรก ซึ่งคณะรัฐมนตรีในยุคนายกฯ เศรษฐา ทวีสิน เคยเสนอให้ใช้คำถามว่า “ท่านเห็นชอบหรือไม่ ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่แก้ไขหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 พระมหากษัตริย์”
โดยพรรคประชาชนมีความกังวลว่า การตั้งคำถามในลักษณะดังกล่าวอาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่สะดุดลงและไม่ประสบความสำเร็จ
ดังนั้น ในเมื่อประเทศเรากำลังจะมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ภายใต้การนำของนายกฯ แพทองธาร ชินวัตร ตนและพรรคประชาชน จึงหวังว่า คณะรัฐมนตรีในยุคนายกฯ แพทองธารจะเห็นด้วยกับข้อกังวลดังกล่าว และทบทวนคำถามประชามติ โดยหันมาใช้คำถามที่มีลักษณะเปิดกว้างว่า “ท่านเห็นชอบหรือไม่ ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (โดยไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ)
นอกจากการหวังให้รัฐบาลพิจารณาข้อเสนอดังกล่าวแล้ว พรรคประชาชนยังมีญัตติเรื่องคำถามประชามติที่เสนอโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2564 มาตรา 9(4) ค้างอยู่ในระเบียบวาระการประชุม ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรสามารถเลื่อนขึ้นมาพิจารณาได้ทันที หากเห็นว่ามีความเร่งด่วน ในเมื่อรัฐบาลใหม่จะต้องตัดสินใจเรื่องคำถามประชามติในเร็วๆ นี้
'กัณวีร์' จี้รัฐบาลแสดงเจตจำนงทางการเมือง ต่อการสร้างสันติภาพชายแดนใต้
https://www.matichon.co.th/politics/news_4755847
‘กัณวีร์’ จี้รัฐบาลใหม่ แสดงเจตจำนงทางการเมืองต่อการสร้างสันติภาพชายแดนใต้ อยากเห็นจำเลย 7 คน คดีตากใบ เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และต้องเปิดพื้นที่เสรีภาพให้ประชาชน หยุดคดีปิดปาก
วันที่ 26 สิงหาคม นายกัณวีร์ สืบแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม เปิดเผยถึงผลการเปิดวงสนทนาฉันท์มิตร เปิดพื้นที่การเมืองและสันติภาพ ที่ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ Deepsouth Watch อ.เมือง จ.ปัตตานี ซึ่งมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนสถานการณ์กับ ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ นายอานัส พงศ์ประเสริฐ ประธาน The Looker นายอายุบ เจ๊ะนะ ผู้อำนวยการสมัชชาประชาสังคมเพื่อสันติภาพ CAP ดร.สมัชชา นิลปัทม์ อาจารย์คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และนายรอมฎอน ปันจอร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ดำเนินรายการโดย นายซาฮารี เจ๊ะหลง
นายกัณวีร์ กล่าวว่า วงสนทนาชวนพูดคุยถึงคดีตากใบ ที่ศาลจังหวัดนราธิวาส มีคำสั่งรับฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐ 7 คน ที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของประชาชนจากเหตุสลายการชุมนุมที่หน้า สภ.ตากใบ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 หรือเมื่อ 20 ปีก่อน
นายกัณวีร์ กล่าวว่า การพูดคุยเปิดอกในพื้นที่ที่มีเสรีภาพ ต้องทำได้ทั่วไป โดยเฉพาะ เรื่องอ่อนไหว จำเป็นต้องมาพูดคุยบนโต๊ะ โดยเฉพาะคดีปิดปาก และคดีตากใบ
“ขอแสดงความเสียใจอีกครั้งหนึ่งกับญาติคดีตากใบเมื่อ 20 ปีที่แล้ว วันนี้ทำให้เห็นได้ชัดว่า ความยุติธรรมที่ล่าช้าคือความไม่ยุติธรรม แต่อย่างน้อยความยุติธรรมได้บังเกิดขึ้นแล้ว จำเลย 7 คน ต้องมาแสดงตัวว่าเกิดอะไรขึ้น ผมก็ยินดีกับญาติที่ได้ความยุติธรรมมาบ้าง อย่างน้อยต้องมีคนที่รับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองตัดสินใจและกระทำ สังคมไทยต้องตระหนักรู้กับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต เพราะจะกระทบถึงเวทีระหว่างประเทศ”
นายกัณวีร์ กล่าวว่า ตนเองอาจเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย หลังจากทำงานด้านมนุษยธรรมมาเป็นนักการเมือง การที่จำเลยมาเผชิญหน้ากับความยุติธรรม ควรเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้น แต่ 20 ปีที่ผ่านมาเป็นสัญลักษณ์ว่าวันนี้สิ่งต่างๆที่ได้กลบเกลื่อนไว้ในอดีตจะถูกเปิดโปง วันนี้จะเป็นวันหนึ่งที่ทำให้ทุกคนที่เคยกระทำต้องพึงสังวรณ์ไว้ว่าต่อไปนี้ หนีความจริงไม่ได้ ความยุติธรรมต้องเกิดขึ้น เราจำเป็นต้องพูดคุยอย่างสร้างสรรค์ ไม่สามารถสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืนได้ในปาตานี
นายกัณวีร์ กล่าวว่า รัฐบาลจำเป็นต้องมีเจตจำนงทางการเมือง Political Will ที่ชัดเจน ต่อการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ น่าเสียดายว่าเรามี ส.ส.ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ถึง 13 คน เป็นฝ่ายรัฐบาล แต่ทำไมการผลักดันนโยบายการแก้ปัญหาถึงยังทำไม่ได้ เพราะเราใช้กรอบแนวคิดความมั่นคงอย่างเดียว ไม่ว่ารัฐบาลจากการเลือกตั้ง รัฐบาลจากการยึดอำนาจ พยายามจะปรับปรุงแก้ไขไปหลายช่วงหลายสมัย แต่กลับย้อนไปที่เดิม เพราะรัฐคิดว่าทุกอย่างเป็นปัญหาความมั่นคง ไม่เคยเอาคนที่ได้รับผลกระทบมาบอกว่า ต้องการให้แก้ปัญหาอย่างไร ไม่เคยมีสมการนั้น
“เราต้องยอมรับความเป็นจริง ว่าเรายังใช้สมการเดิม ใช้กรอบความมั่นคงเชิงอนุรักษ์นิยม ไม่ว่าจะเป็นคดีตากใบ ที่แม้มีความยุติธรรมเกิดขึ้น แต่ยังอยู่ในกรอบความคิดเดิม ผมจึงอยากเห็น ส.ส.ที่คุมอำนาจการจัดการ จะต้องทำให้ได้ นักกิจกรรมที่จะถูกดำเนินคดีชุดมลายู ก็เป็นคดีที่ต้องจับตา ถ้ายังมองว่ารากเหง้าปัญหา คือการปิดกั้นเสรีภาพ ของประชาชน ถ้าคุณไม่สามารถเป็นผู้แทนของประชาชนในพื้นที่ได้ ผมอาจเป็นคนนอก ผมมาลงพื้นที่ พยายามทำให้ทราบปัญหา แต่คนที่อยู่ตรงนี้ ยังไม่รู้ปัญหาตรงนี้ ทุกคนควรพิจารณาตัวใหม่ ทั้งฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายนิติบัญญัติ ถ้าไม่เข้าใจ สันติภาพ ถ้าไม่มี Political Will จะละลายกรอบน้ำแข็งที่เป็นปัญหาไม่ได้” นายกัณวีร์ กล่าวย้ำ
ด้าน ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี กล่าวว่า ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นความยืดเยื้อของความขัดแย้งที่รุนแรง ยาวนานที่สุด ยาวกว่าการต่อสู้ของพรรคคอมมิวนิสต์ 7 สิงหาคม 2508 มาสิ้นสุดลงในปี 2523 จากนโยบาย 66/23 และกระบวนการพูดคุยสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ริเริ่มมาก 10 กว่าปี ยังไม่ยุติหรือเห็นผลเป็นรูปธรรม และสถิติความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 20 กว่าปีที่ผ่านมา จาก 2547-2567 มีเหตุการณ์กว่า 20,000 เหตุการณ์ เสียชีวิต กว่า 7,600 คน จึงรุนแรงสุดในประวัติศาสตร์
“กรณีตากใบเป็นปฎิบัติการของเจ้าหน้าที่ มี 85 คน เสียชีวิต เป็นความรุนแรงสูงสุด เหมือนกรณีอื่นๆ ในประเทศไทย การหาตัวผู้กระทำผิด ไม่สามารถดำเนินการได้ กระบวนการยุติธรรม มาลงโทษ ในแง่ความรับผิดชอบระดับสูง” ผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าว
ผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าวว่า ในคดีตากใบ น่ายินดีที่เรามีกระบวนการที่ฟ้องร้องเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อฟ้องร้องคดีประวัติศาสตร์ จึงอยากให้เป็นตัวอย่างของสังคมไทย หนึ่งในกระบวนการหาทางออกอย่างสันติคือความยุติธรรม ที่เรายังจัดการไม่ได้ เป็นจุดหนึ่งที่เป็นมิติที่น่าจะเป็นโอกาสในการแก้ปัญหา ด้วยกระบวนการยุติธรรม
ขณะที่นายอานัส พงศ์ประเสริฐ กล่าวว่า คดีชุดมลายู นักกิจกรรม 9 คน ซึ่งถูกดำเนินคดี อังยี่ซ่องโจร และอัยการกำลังจะพิจารณาสั่งฟ้องหรือไม่ ในวันที่ 28 สิงหาคม นี้ แต่มีเรื่องน่าตกใจที่มีการระบุความผิดถึงการแบ่งแยกดินแดนตามมาตรา 1 ไว้ด้วย ทั้งๆที่กิจกรรมนี้เพื่อแสดงถึงการแสดงออกทางอัตลักษณ์มลายู
นายกัณวีร์ กล่าวว่า สันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะไม่เกิดหากประชาชนยังถูกปิดกั้นเสรีภาพทางการเมือง ตนเองจึงจะจัดวงพูดคุยแบบนี้ต่อไป เพื่อให้เกิดแรงผลักดันต่อการเปิดพื้นที่เสรีภาพจากประชาชน
ผู้ว่า ธปท.พร้อมปรับลดดอกเบี้ย หากแนวโน้มเปลี่ยน
https://siamrath.co.th/n/561181
เมื่อวันที่ 26 ส.ค.67 นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงมติคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ล่าสุด (21 ส.ค.) ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50% ต่อปีว่า การพิจารณาดำเนินนโยบายการเงินจะดู 3 ปัจจัยสำคัญคือ การเติบโตทางเศรษฐกิจ ภาวะเงินเฟ้อ และเสถียรภาพทางการเงิน ซึ่งธปท.พูดมาตลอดว่า การพิจารณาจะยึดหลัก Outlook Dependent หากเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ธปท.พร้อมจะปรับเปลี่ยนดอกเบี้ยนโยบายจากสถานการณ์เศรษฐกิจมีการเติบโตเข้าสู่ระดับศักยภาพราวๆ 3% หย่อนๆ แต่สัญญาณความเสี่ยงด้านต่ำ ตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 2 ที่ผ่านมา การลงทุนของภาคเอกชนที่ต่ำกว่าคาดการณ์ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเริ่มกลับเข้าสู่กรอบล่าง 1-3% และยังไม่เห็นสัญญาณเกิดภาวะเงินฝืด แต่สิ่งที่กังวลคือ เสถียรภาพทางการเงิน ซึ่งสถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากกว่าความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจริง แต่ยังไม่ถึงขั้นเกิดภาวะตึงตัวในระบบการเงิน ซึ่งจะติดตามกันต่อไป และพร้อมปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินให้มีความเหมาะสมตามสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไป หากมีความตึงตัวมากกว่าที่ควรจะเป็น
“ในการประชุม กนง.ทุกครั้งจะพิจารณาจากภาวะเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และเสถียรภาพทางการเงิน ถ้าแนวโน้มออกมาใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้มองว่า ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปรับลดดอกเบี้ย แต่ถ้าแนวโน้มปรับเปลี่ยนไป เราก็ไม่ได้ปิดกั้นที่จะปรับเปลี่ยนนโยบาย ในการแถลง กนง.ล่าสุดคณะกรรมการแสดงความห่วงใยเรื่องเสถียรภาพทางการเงินมากขึ้น”
สำหรับประเด็นธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยนโยบายลงนั้นจะเป็นแรงกดดันให้ไทยต้องปรับลดดอกเบี้ยตามหรือไม่นั้น กรณีที่เฟดส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยมาอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว ซึ่งไม่ได้นอกเหนือไปจากที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม กนง.ดำเนินนโยบายการเงินจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์เศรษฐกิจไทยเป็นหลัก แต่ยังคำนึงถึงปัจจัยที่จะกระทบเช่น การดำเนินนโยบายการเงินของประเทศหลักที่จะกระทบต่อเงินทุนเคลื่อนย้ายและอัตราแลกเปลี่ยน
#ธปท #แบงก์ชาติ #ข่าววันนี้ #ลดดอกเบี้ย