“ก้าวไกล” เริ่มหารือตั้งรัฐบาลวันนี้ แง้มโน้มน้าว ส.ว. ร่วมโหวต “พิธา”
https://www.khaosod.co.th/election-2023/news_7666867
“ก้าวไกล” เริ่มหารือตั้งรัฐบาลวันนี้ “พิจารณ์” แง้ม พยายามโน้มน้าว ส.ว.ร่วมโหวตนายกฯ บอก ส.ส.หลายคนรู้จัก ส.ว. ดี หวัง “ปชป.-ภท.” ร่วมโหวต “พิธา”
วันที่ 16 พ.ค. 2566 ที่พรรคก้าวไกล นาย
พิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล เปิดเผยถึงผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการที่พรรคก้าวไกลได้คะแนนอย่างล้นหลามในพื้นที่ กทม. โดยกล่าวว่า ต้องขอบคุณคะแนนเสียงจากประชาชน เมื่อเทียบกับปี 2562 เก้าอี้ ส.ส.เพิ่มขึ้นมาประมาณเท่าตัว และในหลายเขตชนะขาด
นาย
พิจารณ์ กล่าวว่า คณะทำงานของ กทม. พรรคก้าวไกล กำลังหารือกับ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่าจะเสนอขอให้รวมคะแนนใหม่ เนื่องจากพบว่าคะแนนในเขตเลือกตั้งที่ 20 ซึ่ง กกต. ได้ประกาศ ไม่ตรงกับผลคะแนนที่พรรคได้รวบรวม ซึ่งวันนี้จะทบทวนเป็นครั้งสุดท้าย ให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน และดำเนินเสนอ กกต.ให้รวมคะแนนใหม่
สำหรับปัจจัยที่ทำให้กระแสก้าวไกลกวาดที่นั่งได้ทั่วกทม. นายพิจารณ์ ยอมรับว่าก่อนหน้านี้ พรรคก้าวไกลตั้งเป้าไว้ที่ 15 เขต ก่อน กกต. แบ่งเขตใหม่ จึงเกิดความได้เปรียบเสียเปรียบอยู่บ้าง แต่ยังเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ อย่างไรก็ตามเมื่อประชาชนให้ความสนใจ ครั้งนี้จะพิสูจน์และทำให้เห็นว่า นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะนายกที่อายุน้อยที่สุดในรอบ 70 ปีจะบริหารประเทศ และสร้างผลงานมาแทนคำขอบคุณ
นาย
พิจารณ์ ยังเผยถึงแนวทางของพรรคว่า หากมี ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อคนใด ได้รับตำแหน่งในฝ่ายบริหาร ส.ส.คนดังกล่าวควรจะลาออก เพื่อขยับลำดับบัญชีรายชื่อขึ้นมา แต่สำหรับบุคลากรที่เป็นแกนนำสำคัญ เช่น หัวหน้าพรรค รองหัวหน้าพรรคฝ่ายนโยบาย เลขาธิการพรรค อาจจะจำเป็นต้องดำรงตำแหน่ง ส.ส. ต่อไป
สำหรับการหารือจัดตั้งรัฐบาลนั้น นาย
พิจารณ์ เผยว่า วันนี้จะเริ่มมีการพูดคุยกันกับแต่ละพรรคถึงแนวทางในรายละเอียด หลังจากการแถลงข่าวของนายพิธา เมื่อวานนี้(15 พ.ค.) ภายในพรรคมีการประชุม จัดเตรียมข้อมูลเพื่อนำไปหารือกับพรรคต่างๆ
ส่วนจะต้องมีการพูดคุยกับ ส.ว. เรื่องการโหวตนายกรัฐมนตรีหรือไม่ นาย
พิจารณ์ กล่าวว่า ยังไม่ได้พูดคุยเป็นการภายในในเรื่องของทิศทางการโหวตนายกของ ส.ว. ซึ่งบุคลากรในพรรคก้าวไกลหลายคนก็มีความรู้จักมักคุ้นกับ ส.ว. บางท่านอยู่ผ่านการทำงานในรัฐสภา แต่ละท่านก็คงพยายามจะพูดคุยกันเป็นการส่วนตัว
ส่วนกรณี นาย
เศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกฯ พรรคเพื่อไทย ทวีตเรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคภูมิใจไทย โหวตนายกฯ ตามเสียงของประชาชน นายพิจารณ์ กล่าวว่า ในช่วงหาเสียงบางพรรคการเมือง เคยให้สัมภาษณ์ว่าจะยกมือให้กับแคนดิเดตฯ จากพรรคที่ได้คะแนนเสียงเป็นอันดับ 1 ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลหรือไม่ ต้องฝากพี่น้องสื่อมวลชนไปสอบถามดูอีกครั้ง ว่าจะทำตามคำที่พูดไว้หรือไม่ และจะเป็นความสวยงามของประชาธิปไตย และพลิกโฉมการเมืองไทย ถ้าพรรคการเมืองต่างๆ ยอมรับเสียงของประชาชนและร่วมกันปิดสวิตช์ ส.ว.
ได้พูดคุยแบบเป็นทางการกับพรรคประชาธิปัตย์และพรรคภูมิใจไทยหรือไม่ เรื่องการยกมือโหวตนายกฯ แม้จะไม่ได้ร่วมรัฐบาล นาย
พิจารณ์ ตอบว่า ถ้าแต่ละพรรคมีจุดยืนที่ไม่เคารพเสียงประชาชน ก็ไม่จำเป็นต้องคุยอะไรกันมาก
เพื่อไทย ยังไม่ได้เทียบเชิญ ก้าวไกล ชี้ ต้องประสานพรรคร่วมช่วยโหวตเอง
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7666876
เพื่อไทย ยังไม่ได้เทียบเชิญ ก้าวไกล ชี้ พรรคอันดับหนึ่งต้องประสานพรรคร่วมรัฐบาลช่วยโหวต “พิธา” นั่งนายกรัฐมนตรีเอง เผย ต้องให้เกียรติเขา
วันที่ 16 พ.ค.2566 นาย
ประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) ให้สัมภาษณ์กรณี พรรคก้าวไกล ประสานการร่วมรัฐบาลอย่างเป็นทางการเข้ามาแล้วหรือยัง ว่า ขณะนี้ตนยังไม่ได้รับการนัดหมายเข้ามา พรรคเพื่อไทยคงต้องรอดูท่าทีของพรรคก้าวไกลที่จะประสานเข้ามาก่อน เพราะถือว่า เขาเป็นพรรคอันดับหนึ่งก็ต้องเป็นฝ่ายที่เปิดท่าทีออกมา
นาย
ประเสริฐ กล่าวต่อว่า ส่วนแนวทางของพรรคเพื่อไทยจะเป็นอย่างไรหลังจากทราบท่าทีของพรรคก้าวไกลนั้น เรื่องนี้คงต้องรอให้กรรมการบริหารพรรคหารือกันก่อน เรายังไม่ได้มีเงื่อนไขอะไร และยังไม่ได้มีการพูดคุยอะไรกันในพรรค ส่วนข้อเสนอของหลายฝ่ายที่อยากให้พรรครัฐบาลปัจจุบันโหวตให้นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลเป็นนายกฯ นั้น ก็เป็นหน้าที่ของพรรคก้าวไกลที่ต้องประสาน เพราะเขาเป็นพรรคอันดับหนึ่ง เราต้องให้เกียรติเขา
‘ณัฏฐ บรรทัดฐาน’ จี้ ปชป.ยืนบนหลักการที่ถูกต้อง ออกมาสนับสนุนพรรคอันดับหนึ่ง อย่ากังวลเกมการเมือง
https://www.matichon.co.th/politics/news_3982893
‘ณัฏฐ บรรทัดฐาน’ จี้ ปชป.ยืนบนหลักการที่ถูกต้อง ออกมาสนับสนุนพรรคอันดับหนึ่ง อย่ากังวลเกมการเมือง
เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า “
นายณัฏฐ์ บรรทัดฐาน” บุตรชายของนาย
บัญญัติ บรรทัดฐาน อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก
ณัฏฐ์ บรรทัดฐาน ระบุว่า
“ย้อนไปในการเลือกตั้งปี 62 พรรคประชาธิปัตย์มีมติไปร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ หนุนคุณประยุทธ์เป็นนายกฯ โดยมีเหตุผลว่าทิศทางสังคมในเวลานั้นต้องการอย่างนั้น สถานการณ์การเมืองขณะนั้นเป็นทางตัน การมีรัฐบาลเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร การจัดตั้งรัฐบาลใหม่ต้องเกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อเป็นการยุติอำนาจของ คสช. ลง และลดแรงกดดันต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในอนาคตหรือการเผชิญหน้าระลอกใหม่ถือเป็นความจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ผมย้อนให้ดูตัวเลขซักนิดว่าเสียงในการvote เลือกนายกฯ ต้องได้ 375 (รวมสว.)
เพื่อไทย116+อนาคตใหม่81+เสรีรวมไทย10+เศรษฐกิจใหม่6+เพื่อชาติ5 = 218
เมื่อนำไปรวมกับพรรคที่สามารถเข้าร่วมรัฐบาลได้(ในทางคณิตศาสตร์)
ประชาธิปัตย์53+ภูมิใจไทย51+ชาติไทยพัฒนา10+ชาติพัฒนา2 = 116
จะได้เพียง 334
*หมายเหตุ พรรคเล็กที่เหลือผมไม่นับ เนื่องจากในทางทฤษฎี พรรคเหล่าเป็นตัวแปรที่เกิดจากการคำนวณนอกวิธีการ
จึงไม่มีทางเป็นไปได้ที่พรรคประชาธิปัตย์จะไปรวมตัวกับฝั่งที่เรียกตัวเองว่าเป็นประชาธิปไตยแล้วจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้
ท้ายที่สุดพรรคประชาธิปัตย์จึงตัดสินใจไปร่วมรัฐบาลด้วยเหตุผลข้างต้น
มาถึงการเลือกตั้งครั้งนี้ ผลการเลือกตั้งออกมาแล้ว และมีการประกาศจับขั้วรัฐบาลแล้ว
ก้าวไกล152+เพื่อไทย141+ประชาชาติ9+ไทยสร้างไทย6+เสรีรวมไทย1+เป็นธรรม1 = 310
ตัวเลขนี้ยังไม่เพียงพอให้ถึง 375 อยู่ดี
ดังนั้นบนตรรกะเดียวกับปี62 กระแสความต้องการของสังคมในขณะนี้ ถูกบ่งชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนจากผลคะแนนเลือกตั้ง 66 ว่าประชาชนต้องการให้ใคร พรรคการเมืองใดเข้าไปบริหารประเทศ
ในเมื่อกลไกประชาธิปไตยได้ทำงานโดยตัวของมันเองเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งถือเป็นพรรคการเมืองหนึ่งในระบอบนี้ กฎกติกานี้ จึงไม่ควรจะเป็นตัวแปรให้เกิดการรวมเสียงของพรรคการเมืองที่ไม่ได้ชนะเลือกตั้งเป็นอันดับหนึ่ง
การประกาศสนับสนุนพรรคที่ชนะเลือกตั้ง เป็นสิ่งที่ทำได้ เพื่อให้พรรคอันดับหนึ่งตัดสินใจทางการเมืองง่ายขึ้น ไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลังกับเกมการเมือง โดยพรรคประชาธิปัตย์ไม่ต้องไปร่วมรัฐบาลกับเขาเพราะ
ประการแรก เขาไม่ได้เชิญ และแม้ว่าเขาจะเชิญก็ไม่ควรไป เพราะประการที่สอง จำนวนสมาชิกที่เราได้รับความไว้วางใจได้รับเลือกตั้งเข้ามาถือว่าต่ำมาก ซึ่งสะท้อนว่าบุคลากร แนวทาง และนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ได้รับการยอมรับในระดับที่จะบอกใครได้ว่าเราได้รับความไว้วางใจให้เข้าไปบริหารประเทศได้
แต่การแสดงท่าทีดังกล่าว แม้จะไม่ได้ส่งผลให้เสียงสนับสนุนถึง 375 แต่จะสะท้อนวุฒิภาวะทางการเมืองของพรรคฯ และการยืนอยู่บนหลักการที่ถูกต้อง
พรรคประชาธิปัตย์เคยเป็นแกนหลักของสังคมมาเป็นเวลานาน จะหลักในแง่การเป็นผู้นำบริหารประเทศ หรือหลักในการเป็นฝ่ายตรวจสอบ เป็นผู้นำทางความคิดให้แก่สังคมก็ตาม ในเวลาที่ชนะเลือกตั้ง พรรคฯ จะเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลที่ยืนอยู่บนหลักเหตุผล เอาประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นที่ตั้ง ชูหัวหน้าพรรคฯ เป็นนายกฯ
บางครั้งชนะเลือกตั้งแล้ว เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลแล้ว ด้วยสถานการณ์และอุณหภูมิการเมือง พรรคฯตัดสินใจ ไม่รับเป็นผู้นำรัฐบาล ปฏิเสธตำแหน่งนายกฯ ก็เคยมี
ในเวลาที่แพ้เลือกตั้ง ประชาชนไม่เห็นเราเป็นทางเลือกหลักในการบริหารประเทศ เราก็ทำหน้าที่ในฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร คอยตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ทำหน้าที่กลั่นกรองกฎหมายที่ผ่านเข้าสู่สภา รวมทั้งใช้กลไกสภาแก้ปัญหาให้ชาวบ้านอย่างเข้มแข็ง นั่นคือนิสัยดั้งเดิมของพรรคประชาธิปัตย์
ยืนอยู่บนหลักการที่ถูกต้อง ส่วนใครจะรวมกับใครอย่างไร เล่นเกมชิงจังหวะกันอย่างไรก็ให้เขาว่ากันไป
หยิบยกนิสัยดั้งเดิมกลับมาใช้ ในขณะเดียวกันก็ถือโอกาสทบทวนปรับปรุงตัวเองน่าจะเป็นเรื่องที่ดี
https://www.facebook.com/nutt.bantadtan/posts/6458057274253938
JJNY : ก้าวไกลเริ่มหารือตั้งรบ.│เพื่อไทยยังไม่ได้เทียบเชิญ│‘ณัฏฐ บรรทัดฐาน’จี้ปชป.ยืนบนหลักการ│ตั้งศาลพิเศษไต่สวนรัสเซึย
https://www.khaosod.co.th/election-2023/news_7666867
“ก้าวไกล” เริ่มหารือตั้งรัฐบาลวันนี้ “พิจารณ์” แง้ม พยายามโน้มน้าว ส.ว.ร่วมโหวตนายกฯ บอก ส.ส.หลายคนรู้จัก ส.ว. ดี หวัง “ปชป.-ภท.” ร่วมโหวต “พิธา”
วันที่ 16 พ.ค. 2566 ที่พรรคก้าวไกล นายพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล เปิดเผยถึงผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการที่พรรคก้าวไกลได้คะแนนอย่างล้นหลามในพื้นที่ กทม. โดยกล่าวว่า ต้องขอบคุณคะแนนเสียงจากประชาชน เมื่อเทียบกับปี 2562 เก้าอี้ ส.ส.เพิ่มขึ้นมาประมาณเท่าตัว และในหลายเขตชนะขาด
นายพิจารณ์ กล่าวว่า คณะทำงานของ กทม. พรรคก้าวไกล กำลังหารือกับ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่าจะเสนอขอให้รวมคะแนนใหม่ เนื่องจากพบว่าคะแนนในเขตเลือกตั้งที่ 20 ซึ่ง กกต. ได้ประกาศ ไม่ตรงกับผลคะแนนที่พรรคได้รวบรวม ซึ่งวันนี้จะทบทวนเป็นครั้งสุดท้าย ให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน และดำเนินเสนอ กกต.ให้รวมคะแนนใหม่
สำหรับปัจจัยที่ทำให้กระแสก้าวไกลกวาดที่นั่งได้ทั่วกทม. นายพิจารณ์ ยอมรับว่าก่อนหน้านี้ พรรคก้าวไกลตั้งเป้าไว้ที่ 15 เขต ก่อน กกต. แบ่งเขตใหม่ จึงเกิดความได้เปรียบเสียเปรียบอยู่บ้าง แต่ยังเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ อย่างไรก็ตามเมื่อประชาชนให้ความสนใจ ครั้งนี้จะพิสูจน์และทำให้เห็นว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะนายกที่อายุน้อยที่สุดในรอบ 70 ปีจะบริหารประเทศ และสร้างผลงานมาแทนคำขอบคุณ
นายพิจารณ์ ยังเผยถึงแนวทางของพรรคว่า หากมี ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อคนใด ได้รับตำแหน่งในฝ่ายบริหาร ส.ส.คนดังกล่าวควรจะลาออก เพื่อขยับลำดับบัญชีรายชื่อขึ้นมา แต่สำหรับบุคลากรที่เป็นแกนนำสำคัญ เช่น หัวหน้าพรรค รองหัวหน้าพรรคฝ่ายนโยบาย เลขาธิการพรรค อาจจะจำเป็นต้องดำรงตำแหน่ง ส.ส. ต่อไป
สำหรับการหารือจัดตั้งรัฐบาลนั้น นายพิจารณ์ เผยว่า วันนี้จะเริ่มมีการพูดคุยกันกับแต่ละพรรคถึงแนวทางในรายละเอียด หลังจากการแถลงข่าวของนายพิธา เมื่อวานนี้(15 พ.ค.) ภายในพรรคมีการประชุม จัดเตรียมข้อมูลเพื่อนำไปหารือกับพรรคต่างๆ
ส่วนจะต้องมีการพูดคุยกับ ส.ว. เรื่องการโหวตนายกรัฐมนตรีหรือไม่ นายพิจารณ์ กล่าวว่า ยังไม่ได้พูดคุยเป็นการภายในในเรื่องของทิศทางการโหวตนายกของ ส.ว. ซึ่งบุคลากรในพรรคก้าวไกลหลายคนก็มีความรู้จักมักคุ้นกับ ส.ว. บางท่านอยู่ผ่านการทำงานในรัฐสภา แต่ละท่านก็คงพยายามจะพูดคุยกันเป็นการส่วนตัว
ส่วนกรณี นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกฯ พรรคเพื่อไทย ทวีตเรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคภูมิใจไทย โหวตนายกฯ ตามเสียงของประชาชน นายพิจารณ์ กล่าวว่า ในช่วงหาเสียงบางพรรคการเมือง เคยให้สัมภาษณ์ว่าจะยกมือให้กับแคนดิเดตฯ จากพรรคที่ได้คะแนนเสียงเป็นอันดับ 1 ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลหรือไม่ ต้องฝากพี่น้องสื่อมวลชนไปสอบถามดูอีกครั้ง ว่าจะทำตามคำที่พูดไว้หรือไม่ และจะเป็นความสวยงามของประชาธิปไตย และพลิกโฉมการเมืองไทย ถ้าพรรคการเมืองต่างๆ ยอมรับเสียงของประชาชนและร่วมกันปิดสวิตช์ ส.ว.
ได้พูดคุยแบบเป็นทางการกับพรรคประชาธิปัตย์และพรรคภูมิใจไทยหรือไม่ เรื่องการยกมือโหวตนายกฯ แม้จะไม่ได้ร่วมรัฐบาล นายพิจารณ์ ตอบว่า ถ้าแต่ละพรรคมีจุดยืนที่ไม่เคารพเสียงประชาชน ก็ไม่จำเป็นต้องคุยอะไรกันมาก
เพื่อไทย ยังไม่ได้เทียบเชิญ ก้าวไกล ชี้ ต้องประสานพรรคร่วมช่วยโหวตเอง
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7666876
เพื่อไทย ยังไม่ได้เทียบเชิญ ก้าวไกล ชี้ พรรคอันดับหนึ่งต้องประสานพรรคร่วมรัฐบาลช่วยโหวต “พิธา” นั่งนายกรัฐมนตรีเอง เผย ต้องให้เกียรติเขา
วันที่ 16 พ.ค.2566 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) ให้สัมภาษณ์กรณี พรรคก้าวไกล ประสานการร่วมรัฐบาลอย่างเป็นทางการเข้ามาแล้วหรือยัง ว่า ขณะนี้ตนยังไม่ได้รับการนัดหมายเข้ามา พรรคเพื่อไทยคงต้องรอดูท่าทีของพรรคก้าวไกลที่จะประสานเข้ามาก่อน เพราะถือว่า เขาเป็นพรรคอันดับหนึ่งก็ต้องเป็นฝ่ายที่เปิดท่าทีออกมา
นายประเสริฐ กล่าวต่อว่า ส่วนแนวทางของพรรคเพื่อไทยจะเป็นอย่างไรหลังจากทราบท่าทีของพรรคก้าวไกลนั้น เรื่องนี้คงต้องรอให้กรรมการบริหารพรรคหารือกันก่อน เรายังไม่ได้มีเงื่อนไขอะไร และยังไม่ได้มีการพูดคุยอะไรกันในพรรค ส่วนข้อเสนอของหลายฝ่ายที่อยากให้พรรครัฐบาลปัจจุบันโหวตให้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลเป็นนายกฯ นั้น ก็เป็นหน้าที่ของพรรคก้าวไกลที่ต้องประสาน เพราะเขาเป็นพรรคอันดับหนึ่ง เราต้องให้เกียรติเขา
‘ณัฏฐ บรรทัดฐาน’ จี้ ปชป.ยืนบนหลักการที่ถูกต้อง ออกมาสนับสนุนพรรคอันดับหนึ่ง อย่ากังวลเกมการเมือง
https://www.matichon.co.th/politics/news_3982893
‘ณัฏฐ บรรทัดฐาน’ จี้ ปชป.ยืนบนหลักการที่ถูกต้อง ออกมาสนับสนุนพรรคอันดับหนึ่ง อย่ากังวลเกมการเมือง
เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า “นายณัฏฐ์ บรรทัดฐาน” บุตรชายของนายบัญญัติ บรรทัดฐาน อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก ณัฏฐ์ บรรทัดฐาน ระบุว่า
“ย้อนไปในการเลือกตั้งปี 62 พรรคประชาธิปัตย์มีมติไปร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ หนุนคุณประยุทธ์เป็นนายกฯ โดยมีเหตุผลว่าทิศทางสังคมในเวลานั้นต้องการอย่างนั้น สถานการณ์การเมืองขณะนั้นเป็นทางตัน การมีรัฐบาลเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร การจัดตั้งรัฐบาลใหม่ต้องเกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อเป็นการยุติอำนาจของ คสช. ลง และลดแรงกดดันต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในอนาคตหรือการเผชิญหน้าระลอกใหม่ถือเป็นความจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ผมย้อนให้ดูตัวเลขซักนิดว่าเสียงในการvote เลือกนายกฯ ต้องได้ 375 (รวมสว.)
เพื่อไทย116+อนาคตใหม่81+เสรีรวมไทย10+เศรษฐกิจใหม่6+เพื่อชาติ5 = 218
เมื่อนำไปรวมกับพรรคที่สามารถเข้าร่วมรัฐบาลได้(ในทางคณิตศาสตร์)
ประชาธิปัตย์53+ภูมิใจไทย51+ชาติไทยพัฒนา10+ชาติพัฒนา2 = 116
จะได้เพียง 334
*หมายเหตุ พรรคเล็กที่เหลือผมไม่นับ เนื่องจากในทางทฤษฎี พรรคเหล่าเป็นตัวแปรที่เกิดจากการคำนวณนอกวิธีการ
จึงไม่มีทางเป็นไปได้ที่พรรคประชาธิปัตย์จะไปรวมตัวกับฝั่งที่เรียกตัวเองว่าเป็นประชาธิปไตยแล้วจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้
ท้ายที่สุดพรรคประชาธิปัตย์จึงตัดสินใจไปร่วมรัฐบาลด้วยเหตุผลข้างต้น
มาถึงการเลือกตั้งครั้งนี้ ผลการเลือกตั้งออกมาแล้ว และมีการประกาศจับขั้วรัฐบาลแล้ว
ก้าวไกล152+เพื่อไทย141+ประชาชาติ9+ไทยสร้างไทย6+เสรีรวมไทย1+เป็นธรรม1 = 310
ตัวเลขนี้ยังไม่เพียงพอให้ถึง 375 อยู่ดี
ดังนั้นบนตรรกะเดียวกับปี62 กระแสความต้องการของสังคมในขณะนี้ ถูกบ่งชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนจากผลคะแนนเลือกตั้ง 66 ว่าประชาชนต้องการให้ใคร พรรคการเมืองใดเข้าไปบริหารประเทศ
ในเมื่อกลไกประชาธิปไตยได้ทำงานโดยตัวของมันเองเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งถือเป็นพรรคการเมืองหนึ่งในระบอบนี้ กฎกติกานี้ จึงไม่ควรจะเป็นตัวแปรให้เกิดการรวมเสียงของพรรคการเมืองที่ไม่ได้ชนะเลือกตั้งเป็นอันดับหนึ่ง
การประกาศสนับสนุนพรรคที่ชนะเลือกตั้ง เป็นสิ่งที่ทำได้ เพื่อให้พรรคอันดับหนึ่งตัดสินใจทางการเมืองง่ายขึ้น ไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลังกับเกมการเมือง โดยพรรคประชาธิปัตย์ไม่ต้องไปร่วมรัฐบาลกับเขาเพราะ
ประการแรก เขาไม่ได้เชิญ และแม้ว่าเขาจะเชิญก็ไม่ควรไป เพราะประการที่สอง จำนวนสมาชิกที่เราได้รับความไว้วางใจได้รับเลือกตั้งเข้ามาถือว่าต่ำมาก ซึ่งสะท้อนว่าบุคลากร แนวทาง และนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ได้รับการยอมรับในระดับที่จะบอกใครได้ว่าเราได้รับความไว้วางใจให้เข้าไปบริหารประเทศได้
แต่การแสดงท่าทีดังกล่าว แม้จะไม่ได้ส่งผลให้เสียงสนับสนุนถึง 375 แต่จะสะท้อนวุฒิภาวะทางการเมืองของพรรคฯ และการยืนอยู่บนหลักการที่ถูกต้อง
พรรคประชาธิปัตย์เคยเป็นแกนหลักของสังคมมาเป็นเวลานาน จะหลักในแง่การเป็นผู้นำบริหารประเทศ หรือหลักในการเป็นฝ่ายตรวจสอบ เป็นผู้นำทางความคิดให้แก่สังคมก็ตาม ในเวลาที่ชนะเลือกตั้ง พรรคฯ จะเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลที่ยืนอยู่บนหลักเหตุผล เอาประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นที่ตั้ง ชูหัวหน้าพรรคฯ เป็นนายกฯ
บางครั้งชนะเลือกตั้งแล้ว เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลแล้ว ด้วยสถานการณ์และอุณหภูมิการเมือง พรรคฯตัดสินใจ ไม่รับเป็นผู้นำรัฐบาล ปฏิเสธตำแหน่งนายกฯ ก็เคยมี
ในเวลาที่แพ้เลือกตั้ง ประชาชนไม่เห็นเราเป็นทางเลือกหลักในการบริหารประเทศ เราก็ทำหน้าที่ในฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร คอยตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ทำหน้าที่กลั่นกรองกฎหมายที่ผ่านเข้าสู่สภา รวมทั้งใช้กลไกสภาแก้ปัญหาให้ชาวบ้านอย่างเข้มแข็ง นั่นคือนิสัยดั้งเดิมของพรรคประชาธิปัตย์
ยืนอยู่บนหลักการที่ถูกต้อง ส่วนใครจะรวมกับใครอย่างไร เล่นเกมชิงจังหวะกันอย่างไรก็ให้เขาว่ากันไป
หยิบยกนิสัยดั้งเดิมกลับมาใช้ ในขณะเดียวกันก็ถือโอกาสทบทวนปรับปรุงตัวเองน่าจะเป็นเรื่องที่ดี
https://www.facebook.com/nutt.bantadtan/posts/6458057274253938