อาการในสมาธิต่างๆ ไม่ใช่สิ่งที่จะเอาไปเป็นหลักสอน
เอาการเห็นตรงนั้นมาเป็นบันทัดฐานไม่ได้
เพราะนิสัยวาสนาการสะสมมาไม่เหมือนกัน
อาการต่างๆที่อาจเกิดขึ้นจะแตกต่างกันไป
แต่หลักการต้องเหมือนกันคือ สติต้องอยู่กับลมตลอด
อย่าหลงลืมลม สอนเฉพาะเรื่องอานาปานสติก็พอ
การเห็นอาจไม่เหมือนกัน การเห็นต่างๆอาจเห็นจริง
แต่คนที่ไม่เคยเห็น เข้าไม่ถึง ก็จะปฏิเสธว่าไม่มี
แต่สำหรับหลวงตาไม่ปฏิเสธเพราะว่าสิ่งที่เราไม่รู้มันไม่ใช่ไม่มี
เห็นไม่เหมือนกันสักอย่าง แต่การเข้าถึงอานาแล้วก็จะเห็นเหมือนกัน
การเห็นต่างๆ จึงไม่ใช่สิ่งที่เอาไปสอนกัน ทำอานาแล้วจะเป็นไปเอง
เราบอกสอนแค่ให้ดูความคิดกับดูลม ส่วนการเข้าไปเห็นเป็นความสามารถเฉพาะตัว ลูกศิษย์แต่ละคนเห็นไม่เหมือนกันสักคน
ฝึกอานาเหมือนกัน แต่อย่าลืมลมเกาะลมเข้าไว้
ถ้าสอนการเห็นมันจะเกินคัมภีร์ ลมคือกาย
ถ้ากายละเอียด ลมก็ละเอียดตาม หรือละเอียด
ลมหายไป การก็หายไปด้วย
ถ้าเอาการเห็นมาสอน เป็นการเห็นพิเศษ เป็นฟังก์ชั่น
ถ้าเอาไปสอน ก็อาจไม่เห็นตาม ก็จะหนีจากคัมภีร์
ว่าไม่ได้ผล
ขันธ์5 ย่อลงเป็น นามรูป
รูป คือ กาย ธาตุ4
นามทั้ง 4 จะเรียกว่า นาม จะเรียกว่า จิตก็ได้ หรือ ใจ หรือ มโน
แท้จริงเเป็นเพียงแค่อาการ แล้วจิตอยู่ไหนล่ะ ในรูปนาม
ถ้าบอกมีแค่ 2 คือ รูปกับนาม นามมี 4 ขันธ์
จิตที่แท้จริงมันมาจากไหน รูปกับนาม สติอยู่ไหน เอามาจากไหน
เมื่อย่อลงมาเป็นนามรูป จิตเอามาจากไหน สติเอามาจากไหน
การภาวนา คือ การอบรมจิต แล้วจิตที่แท้คืออะไรล่ะทีนี้
ต้องมาทำความเข้าใจ มันมาจากไหน อยู่ดีๆ รูปกับนาม เนี่ย
จิตมากจากไหน เอาสติมาจากไหน รูป ก็ธาตุ4 เนี่ย
จิตมาจากไหน สติมาจากไหน
นาม มี 4 อาการนี้ เราจะเรียกว่าจิตก็ได้ สมมติเรียกว่าจิต ก็ได้
เมื่อเอาความรู้สึกมาไว้ในลม คือ กาย (อานาปานสติ)
(ตามความเข้าใจ น่าจะหมายถึงเอาวิญญาณขันธ์มาจับที่ลม(กาย)
ก็น่าจำทำให้เกิด นามรูปปริเฉทญาณ ตามนัยอภิธรรม )
ทำให้นาม 4 เป็นอิสระจากกัน
ภาษาธรรม จิตสังขาร เมื่อก่อน จิต สังขาร ความคิด มันเป็นตัวเดียวกัน
เมื่อเราแยกจิต(วิญญาณ)ออกจากความคิดออกจากกัน
มันจึงเหลือแต่สังขาร
(ตามความเข้าใจ เมื่อทำอานาฯ การแยกจิตออกจากความคิดหมายถึง การตั้งจิตไว้ในกาย จะทำให้สติรู้ชัดว่านี่กายคือลม
นี่จิตสังขาร(ความคิด / เวทนา สัญญา สังขาร / จิตสังขาร) คือบัญญัติว่าการแยกจิตออกจากความคิดในภาษาหลวงตา )
พอเราแยกจิตออกจากความคิด มันจึงเหลือแต่สังขาร
ที่นี้กายก็คือลมนี้ เราก็เอาจิตหรือสตินี้มาเป็นตัวเดียวกัน
เนื้อแท้สติหรือจิตเป็นตัวเดียวกัน
ตัวนี้อยู่ในลมมากก็กลายเป็นพุทธะเสียเองตัวรู้
เมื่อบัญญัติว่า นาม4 ว่าจิต แต่ในสติปัฏฐานกลับมีจิตเห็นจิตก็อาจงง
จิตในจิต จิตเห็นจิต มี 2 อย่างนี้ อาจจะสับสนถ้าไม่รู้
จิตตัวหนึ่งคือสติในลม จิตตัวหนึ่งคือจิตสังขาร ความคิด นั่นเอง
ทำไง เราจะแยกออกจากมันได้ พอเราอยู่ในลมมากๆ
ความคิดก็เกิดดับๆใช่ไหม เราจะแยกธาตุแยกขันธ์ได้
การแยกจิตออกจากจิตสังขาร คือใช้ อานาฯ
เมื่อจิตอยู่กับกาย(ลม)มากๆ ก็จะเป็นอันเดียวกันที่นี้
จิตสังขารทำงานไม่ได้ ในปฏิจจสมุปบาท จึงดับลง
ส่วนการเห็นการรู้อื่นๆ นอกจากนี้เป็นฟังก์ชั่น เป็นของแถม
ไม่เกี่ยวกับการหลุดพ้น
เพราะฉะนั้นธรรมะน่ะ จะเอาการเห็นมาเป็นธรรมะไม่ได้
อามาสอนกันไม่ได้ แต่สอนอานาเพื่อการพ้นทุกข์ อยู่ในลมให้ได้
อื่นๆ มันจะไปต่อของมันเอง
เห็นผี เห็นเทวดา อั้นนั้นเรียกฟังก์ชั่น ไม่เกี่ยวกับการพ้นทุกข์เลย
ฟังก์ชั่นต่างๆ มันจะเป็นเอง เหมือนโทรศัพท์หลักคือโทรออกได้
แต่ฟังก์ชั่นต่างๆ เป็นของเสริม ของแถม อรหันต์จึงมีหลายจำพวก
อาการในสมาธิต่างๆ ไม่ใช่สิ่งที่จะเอาไปเป็นหลักสอน / นามรูป ขันธ์5 แล้วจิตมาจากไหน สติมาจากไหน
อาการในสมาธิต่างๆ ไม่ใช่สิ่งที่จะเอาไปเป็นหลักสอน
เอาการเห็นตรงนั้นมาเป็นบันทัดฐานไม่ได้
เพราะนิสัยวาสนาการสะสมมาไม่เหมือนกัน
อาการต่างๆที่อาจเกิดขึ้นจะแตกต่างกันไป
แต่หลักการต้องเหมือนกันคือ สติต้องอยู่กับลมตลอด
อย่าหลงลืมลม สอนเฉพาะเรื่องอานาปานสติก็พอ
การเห็นอาจไม่เหมือนกัน การเห็นต่างๆอาจเห็นจริง
แต่คนที่ไม่เคยเห็น เข้าไม่ถึง ก็จะปฏิเสธว่าไม่มี
แต่สำหรับหลวงตาไม่ปฏิเสธเพราะว่าสิ่งที่เราไม่รู้มันไม่ใช่ไม่มี
เห็นไม่เหมือนกันสักอย่าง แต่การเข้าถึงอานาแล้วก็จะเห็นเหมือนกัน
การเห็นต่างๆ จึงไม่ใช่สิ่งที่เอาไปสอนกัน ทำอานาแล้วจะเป็นไปเอง
เราบอกสอนแค่ให้ดูความคิดกับดูลม ส่วนการเข้าไปเห็นเป็นความสามารถเฉพาะตัว ลูกศิษย์แต่ละคนเห็นไม่เหมือนกันสักคน
ฝึกอานาเหมือนกัน แต่อย่าลืมลมเกาะลมเข้าไว้
ถ้าสอนการเห็นมันจะเกินคัมภีร์ ลมคือกาย
ถ้ากายละเอียด ลมก็ละเอียดตาม หรือละเอียด
ลมหายไป การก็หายไปด้วย
ถ้าเอาการเห็นมาสอน เป็นการเห็นพิเศษ เป็นฟังก์ชั่น
ถ้าเอาไปสอน ก็อาจไม่เห็นตาม ก็จะหนีจากคัมภีร์
ว่าไม่ได้ผล
ขันธ์5 ย่อลงเป็น นามรูป
รูป คือ กาย ธาตุ4
นามทั้ง 4 จะเรียกว่า นาม จะเรียกว่า จิตก็ได้ หรือ ใจ หรือ มโน
แท้จริงเเป็นเพียงแค่อาการ แล้วจิตอยู่ไหนล่ะ ในรูปนาม
ถ้าบอกมีแค่ 2 คือ รูปกับนาม นามมี 4 ขันธ์
จิตที่แท้จริงมันมาจากไหน รูปกับนาม สติอยู่ไหน เอามาจากไหน
เมื่อย่อลงมาเป็นนามรูป จิตเอามาจากไหน สติเอามาจากไหน
การภาวนา คือ การอบรมจิต แล้วจิตที่แท้คืออะไรล่ะทีนี้
ต้องมาทำความเข้าใจ มันมาจากไหน อยู่ดีๆ รูปกับนาม เนี่ย
จิตมากจากไหน เอาสติมาจากไหน รูป ก็ธาตุ4 เนี่ย
จิตมาจากไหน สติมาจากไหน
นาม มี 4 อาการนี้ เราจะเรียกว่าจิตก็ได้ สมมติเรียกว่าจิต ก็ได้
เมื่อเอาความรู้สึกมาไว้ในลม คือ กาย (อานาปานสติ)
(ตามความเข้าใจ น่าจะหมายถึงเอาวิญญาณขันธ์มาจับที่ลม(กาย)
ก็น่าจำทำให้เกิด นามรูปปริเฉทญาณ ตามนัยอภิธรรม )
ทำให้นาม 4 เป็นอิสระจากกัน
ภาษาธรรม จิตสังขาร เมื่อก่อน จิต สังขาร ความคิด มันเป็นตัวเดียวกัน
เมื่อเราแยกจิต(วิญญาณ)ออกจากความคิดออกจากกัน
มันจึงเหลือแต่สังขาร
(ตามความเข้าใจ เมื่อทำอานาฯ การแยกจิตออกจากความคิดหมายถึง การตั้งจิตไว้ในกาย จะทำให้สติรู้ชัดว่านี่กายคือลม
นี่จิตสังขาร(ความคิด / เวทนา สัญญา สังขาร / จิตสังขาร) คือบัญญัติว่าการแยกจิตออกจากความคิดในภาษาหลวงตา )
พอเราแยกจิตออกจากความคิด มันจึงเหลือแต่สังขาร
ที่นี้กายก็คือลมนี้ เราก็เอาจิตหรือสตินี้มาเป็นตัวเดียวกัน
เนื้อแท้สติหรือจิตเป็นตัวเดียวกัน
ตัวนี้อยู่ในลมมากก็กลายเป็นพุทธะเสียเองตัวรู้
เมื่อบัญญัติว่า นาม4 ว่าจิต แต่ในสติปัฏฐานกลับมีจิตเห็นจิตก็อาจงง
จิตในจิต จิตเห็นจิต มี 2 อย่างนี้ อาจจะสับสนถ้าไม่รู้
จิตตัวหนึ่งคือสติในลม จิตตัวหนึ่งคือจิตสังขาร ความคิด นั่นเอง
ทำไง เราจะแยกออกจากมันได้ พอเราอยู่ในลมมากๆ
ความคิดก็เกิดดับๆใช่ไหม เราจะแยกธาตุแยกขันธ์ได้
การแยกจิตออกจากจิตสังขาร คือใช้ อานาฯ
เมื่อจิตอยู่กับกาย(ลม)มากๆ ก็จะเป็นอันเดียวกันที่นี้
จิตสังขารทำงานไม่ได้ ในปฏิจจสมุปบาท จึงดับลง
ส่วนการเห็นการรู้อื่นๆ นอกจากนี้เป็นฟังก์ชั่น เป็นของแถม
ไม่เกี่ยวกับการหลุดพ้น
เพราะฉะนั้นธรรมะน่ะ จะเอาการเห็นมาเป็นธรรมะไม่ได้
อามาสอนกันไม่ได้ แต่สอนอานาเพื่อการพ้นทุกข์ อยู่ในลมให้ได้
อื่นๆ มันจะไปต่อของมันเอง
เห็นผี เห็นเทวดา อั้นนั้นเรียกฟังก์ชั่น ไม่เกี่ยวกับการพ้นทุกข์เลย
ฟังก์ชั่นต่างๆ มันจะเป็นเอง เหมือนโทรศัพท์หลักคือโทรออกได้
แต่ฟังก์ชั่นต่างๆ เป็นของเสริม ของแถม อรหันต์จึงมีหลายจำพวก