วัตถุประสงค์ของการเจริญสมถกรรมฐานและวิปัสนากรรมฐาน
การเจริญสมถกรรมฐาน ด้วยการเจริญอานาปานสติหรือบริกรรมพุทโธ เพื่อปลุก ผู้รู้ หรือ จิต ให้ตื่นขึ้น เรารู้ลมหายใจเข้า-ออกที่ไหน หรือคำบริกรรม พุทโธ ที่ไหน ผู้รู้ หรือ จิต ก็อยู่ที่นั่น ยิ่งมีสติรู้ลมหายใจเข้า-ออกที่ไหน หรือคำบริกรรม พุทโธ ผู้รู้ หรือ จิต จะยิ่งตื่นรู้ขึ้นเรื่อยๆ เมื่อ ผู้รู้ หรือ จิต ตื่นรู้ จิตจะดำดิ่งลงสู่ความสงบ ละคลายออกจากขันธ์ 5 ลงเรื่อยๆ
เมื่อจิตสงบในช่วงเริ่มต้นจะเกิดอาการ ปีติ คือ ขนลุกขนพอง น้ำตาไหล ตัวโยกเหมือนครูบาบุญชุ่ม ตัวขยายใหญ่ ตัวลอยได้ ซาบซ่านไปทั้งกายขั้นนี้จิตจะทิ้งคำบริกรรมอยู่กับลมหายใจเข้า-ออก
เมื่อจิตสงบมากยิ่งขึ้นจิตจะทิ้งปีติทางกาย เกิดเป็นสุขทางใจ เป็นสุขที่ไม่เคยเกิดขึ้นในชีวิต สุขแบบเอาสุขใดๆในโลกมาเทียบก็ไม่มี เอาสุขทั้งชีวิตรวมกันก็ไม่เท่าสุขในสมาธิ ลมหายใจจะละเอียด แผ่วเบา กายจะตั้งตรงเหมือนไม้บรรทัด
เมื่อสงบยิ่งไปอีก ลมหายใจจะดับสนิทเหมือนไม่มีลมหายใจ ความรู้สึกทางกายจะดับหายไป เหลือแต่จิตตั้งมั่นในฐานของกาย ไม่มีความรู้สึกสุขและทุกข์ เป็นอุเบกขาอย่างยิ่ง นิ่งสงบ จิตตั้งมั่น
เมื่อสงบยิ่งไปอีก จิตที่ตั้งมั่นจะหดรวมเล็กเหมือนเส้นด้ายสว่างไสว พุ่งเข้าสู่รูเข็ม เข้าสู่สภาพเดิมแท้ของจิต คือ ผ่องใส ส่องสว่างเป็นประภัสสร เพราะจิตที่ปราศจากอวิชชาห่อหุ้มแต่ยังมีเชื่ออวิชชาอยู่ จิตตั้งมั่นส่องสว่างท่ามกลางความว่างไร้สมมุติบัญญัติ ไร้กว้าง ไร้ยาว ไร้สูง ไร้กาลเวลา ไร้ความรู้สึกทางกาย ลมหายใจ เวทนา ความคิดปรุงแต่ง ความทรงจำและความรู้สึกรู้ทางกายไม่มีในสภาวะนี้ จิตแยกจากออกจากขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณแบบ 100% จิตหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะและขันธ์ 5
เมื่อเห็นจิตเด่นชัดอย่างชัดเจน ให้หมุนเข้าขั้นปัญญาโดยการวิปัสสนากรรมฐานพิจารณาว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นไม่เที่ยงเป็นไปตามกฏไตรลักษณ์ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ในสภาวะนี้จิตที่ปราศจากอวิชชาครอบงำจะมีความเป็นกลาง เมื่อพิจารณากฏไตรลักษณ์ จิตจะเกิดปัญญาตื่นรู้ว่ารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้นไม่ใช่จิต จิตเกิดความเบื่อหน่ายในขันธ์ 5 ข้ามเข้าสู่ภูมิอริยบุคคลขั้นโสดาบัน หรือที่เรียกว่าข้าม “โครตภูญาณ” นั่นเอง
ปล.ผมเขียนจากประสบการณ์ปฏิบัติตอนบวชที่วัดถ้ำสหายปี 59 ไม่เกี่ยวข้องใดๆกับคำสอนองค์พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่จันทร์เรียน
วัตถุประสงค์ของการเจริญสมถกรรมฐานและวิปัสนากรรมฐาน
การเจริญสมถกรรมฐาน ด้วยการเจริญอานาปานสติหรือบริกรรมพุทโธ เพื่อปลุก ผู้รู้ หรือ จิต ให้ตื่นขึ้น เรารู้ลมหายใจเข้า-ออกที่ไหน หรือคำบริกรรม พุทโธ ที่ไหน ผู้รู้ หรือ จิต ก็อยู่ที่นั่น ยิ่งมีสติรู้ลมหายใจเข้า-ออกที่ไหน หรือคำบริกรรม พุทโธ ผู้รู้ หรือ จิต จะยิ่งตื่นรู้ขึ้นเรื่อยๆ เมื่อ ผู้รู้ หรือ จิต ตื่นรู้ จิตจะดำดิ่งลงสู่ความสงบ ละคลายออกจากขันธ์ 5 ลงเรื่อยๆ
เมื่อจิตสงบในช่วงเริ่มต้นจะเกิดอาการ ปีติ คือ ขนลุกขนพอง น้ำตาไหล ตัวโยกเหมือนครูบาบุญชุ่ม ตัวขยายใหญ่ ตัวลอยได้ ซาบซ่านไปทั้งกายขั้นนี้จิตจะทิ้งคำบริกรรมอยู่กับลมหายใจเข้า-ออก
เมื่อจิตสงบมากยิ่งขึ้นจิตจะทิ้งปีติทางกาย เกิดเป็นสุขทางใจ เป็นสุขที่ไม่เคยเกิดขึ้นในชีวิต สุขแบบเอาสุขใดๆในโลกมาเทียบก็ไม่มี เอาสุขทั้งชีวิตรวมกันก็ไม่เท่าสุขในสมาธิ ลมหายใจจะละเอียด แผ่วเบา กายจะตั้งตรงเหมือนไม้บรรทัด
เมื่อสงบยิ่งไปอีก ลมหายใจจะดับสนิทเหมือนไม่มีลมหายใจ ความรู้สึกทางกายจะดับหายไป เหลือแต่จิตตั้งมั่นในฐานของกาย ไม่มีความรู้สึกสุขและทุกข์ เป็นอุเบกขาอย่างยิ่ง นิ่งสงบ จิตตั้งมั่น
เมื่อสงบยิ่งไปอีก จิตที่ตั้งมั่นจะหดรวมเล็กเหมือนเส้นด้ายสว่างไสว พุ่งเข้าสู่รูเข็ม เข้าสู่สภาพเดิมแท้ของจิต คือ ผ่องใส ส่องสว่างเป็นประภัสสร เพราะจิตที่ปราศจากอวิชชาห่อหุ้มแต่ยังมีเชื่ออวิชชาอยู่ จิตตั้งมั่นส่องสว่างท่ามกลางความว่างไร้สมมุติบัญญัติ ไร้กว้าง ไร้ยาว ไร้สูง ไร้กาลเวลา ไร้ความรู้สึกทางกาย ลมหายใจ เวทนา ความคิดปรุงแต่ง ความทรงจำและความรู้สึกรู้ทางกายไม่มีในสภาวะนี้ จิตแยกจากออกจากขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณแบบ 100% จิตหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะและขันธ์ 5
เมื่อเห็นจิตเด่นชัดอย่างชัดเจน ให้หมุนเข้าขั้นปัญญาโดยการวิปัสสนากรรมฐานพิจารณาว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นไม่เที่ยงเป็นไปตามกฏไตรลักษณ์ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ในสภาวะนี้จิตที่ปราศจากอวิชชาครอบงำจะมีความเป็นกลาง เมื่อพิจารณากฏไตรลักษณ์ จิตจะเกิดปัญญาตื่นรู้ว่ารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้นไม่ใช่จิต จิตเกิดความเบื่อหน่ายในขันธ์ 5 ข้ามเข้าสู่ภูมิอริยบุคคลขั้นโสดาบัน หรือที่เรียกว่าข้าม “โครตภูญาณ” นั่นเอง
ปล.ผมเขียนจากประสบการณ์ปฏิบัติตอนบวชที่วัดถ้ำสหายปี 59 ไม่เกี่ยวข้องใดๆกับคำสอนองค์พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่จันทร์เรียน