‘ก้าวไกล’ เชื่อ งูเห่าบิ๊กล็อตหารูใหม่ ไม่สะเทือนพรรค เย้ย ‘วิปรัฐบาล’ มัวหาเสียง จนสภาล่ม
https://www.matichon.co.th/politics/news_3729879
‘ก้าวไกล’ เชื่อ งูเห่าบิ๊กล็อตหารูใหม่ ไม่สะเทือนพรรค เย้ย ‘วิปรัฐบาล’ มัวหาเสียง จนสภาล่ม เชื่อ ส.ส.แห่ไขก๊อก ไม่กระทบงานสภา แนะถามคนอยากสืบทอดอำนาจ เรื่อง ‘ยุบสภา’
เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม นาย
ณัฐวุฒิ บัวประทุม ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่พรรคภูมิใจไทย (ภท.) เปิดตัวต้อนรับสมาชิกใหม่เข้าพรรคจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นส.ส.ที่ลาออกจากพรรคอื่น มองว่าจะสร้างแรงกระเพื่อมต่อการเลือกตั้งในอนาคตของพรรคหรือไม่ ว่า ส.ส.ของพรรค ก.ก. ที่ย้ายไปอยู่พรรค ภท. เป็นรายชื่อเดิมที่ไม่ได้ร่วมกิจกรรมกับพรรคมาระยะหนึ่งแล้ว และแสดงความประสงค์ที่จะย้ายไปอยู่กับพรรค ภท. อย่างชัดเจน
ดังนั้น จึงไม่มีผลกระทบพรรค ก.ก. เพราะประชาชนจะเป็นผู้พิจารณาว่าคนเหล่านั้นจะได้รับการเลือกตั้งในครั้งหน้าหรือไม่ เราเชื่อมั่นว่าสมาชิกของพรรค ส.ส.ที่มีอยู่ และว่าที่ผู้สมัครส.ส.ของพรรคที่วางตัวไว้ก็จะไม่ย้ายไปอยู่กับพรรค ภท. เพิ่มอีก เราไม่มีความกังวลเพราะมีจุดยืนว่าในทุกเขตเลือกตั้งคือโอกาสของพรรค ก.ก. ที่จะขายนโยบายและความคิดให้กับพี่น้องประชาชน
เมื่อถามถึงการที่ ส.ส. แห่ลาออก และเตรียมย้ายพรรคกันช่วงปลายสมัยเป็นจำนวนมากเช่นนี้จะเร่งบีบให้ พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รีบยุบสภาหรือไม่ เพราะท่าทีของพล.อ.
ประยุทธ์อยากจะขอลากยาวเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับตัวเอง นาย
ณัฐวุฒิ กล่าวว่า คิดว่าก็อาจจะมีส่วน แต่ขณะนี้สภายังสามารถเดินต่อได้โดยเฉพาะยังมีกฎหมายสำคัญหลายฉบับ สมาชิกที่มีอยู่จะสามารถทำให้สภาเดินหน้าต่อไปได้
ปัญหาเรื่องการยุบสภามักจะเกิดขึ้นกรณีที่มีความขัดแย้งระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ แต่จนถึงปัจจุบันไม่ได้มีความขัดแย้งในลักษณะดังกล่าว ดังนั้นเงื่อนไขของการยุบสภาจึงไม่ได้อยู่ที่สภา แต่ความพร้อมของกลุ่มอำนาจเดิมที่จะลงเลือกตั้งในครั้งหน้า น่าจะเป็นปัจจัยที่จะนำไปสู่การยุบสภามากกว่า จึงต้องไปถามผู้ที่จะลงเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีที่อยากสืบทอดอำนาจในครั้งหน้ามากกว่า
เมื่อถามถึงกรณี นาย
นิโรธ สุนทรเลขา ส.ส.นครสวรรค์ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) ออกมาระบุว่า วิปรัฐบาลไม่ได้มีหน้าที่คุมองค์ประชุมทั่วไป แต่มีหน้าที่ควบคุมองค์ประชุมและการโหวตกฎหมายที่สำคัญ ทั้งย้ำว่าไม่ได้ผิดพลาดจนทำให้สภาล่ม แต่โทษว่ามีการเล่นเกมการเมือง นาย
ณัฐวุฒิ กล่าวว่า ฝ่ายค้านทั้งหมดมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าจะเดินหน้าทำงานสภาอย่างเต็มที่ ที่ผ่านมาฝ่ายค้านแบกสภา และเข้าประชุมสม่ำเสมอ จุดที่สภาล่ม3-4 ครั้งหลัง ไม่ใช่ประเด็นเรื่องจำนวนองค์ประชุม
แต่อยู่ที่ ประเด็นการลงมติมาตรา 9/1 ของร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การเข้าชื่อเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. …. ซึ่งฝ่ายค้านยืนยันว่าไม่สามารถพิจารณาในมาตราดังกล่าวที่ฝ่ายค้านชนะโหวตไปแล้ว เรื่องนี้เป็นเรื่องหลักการไม่ใช่เกมการเมือง แต่ขณะนี้ได้เปลี่ยนวาระการประชุมโดยนำกฎหมายที่ค้างอยู่มาพิจารณาก่อน ฝ่ายค้านจึงกำชับทุกพรรคให้เข้าประชุมอย่างพร้อมเพรียง ความจริงก็เสียดายที่ส.ส.ฝ่ายค้านหลายคนชิงลาออกไปเสียก่อนจึงทำให้จำนวนส.ส.ลดลงไปบ้าง แต่เรายืนยันว่าจะทำหน้าที่ของเราให้เต็มที่ไม่ว่าสภาจะมีอายุอยู่กี่วัน
“
ผมตั้งคำถามกลับไปที่วิปรัฐบาล ซึ่งเป็นคำถามเดียวกับที่ประธานสภาถามว่า ก่อนหน้านี้บทบาทของวิปรัฐบาลจะค่อนข้างเด่นชัด มีการลงมาควบคุม หารือ และพบปะสมาชิกอย่างต่อเนื่อง แต่ปัจจุบันเรากลับไม่เห็นบทบาทนั้นจากตัวประธานวิปหรือแกนนำวิปรัฐบาล นอกจากนี้ ประชาชนควรจะต้องตั้งคำถามว่าแกนนำระดับวิปรัฐบาลหายไปไหน หรือไปเตรียมความพร้อมเลือกตั้งจนไม่ได้คิดถึงการทำงานของสภา” นาย
ณัฐวุฒิ กล่าว
"ก้าวไกล" กังขา "ป.ป.ช." ด่วนตัดชื่อ "ไตรรงค์" ชี้มูลความผิดคดีมันเส้น
https://www.nationtv.tv/news/politics/378896350
"ก้าวไกล" กังขา "ป.ป.ช." ด่วนตัดชื่อ "ไตรรงค์" ไม่กล่าวหาคดีมันเส้น จงใจละเว้นหน้าที่ ดักคอหวั่นซ้ำรอยคดีไม้ล้างป่าช้า GT-200 เล่นงานแค่ผู้ปฏิบัติงานแต่ปล่อยผู้มีอำนาจ ย้ำความจำเป็นเปลี่ยนที่มา ป.ป.ช. ควรยึดโยงปชช.
16 ธันวาคม 2565 นายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ ส.ส.ฉะเชิงเทรา พรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เลื่อนพิจารณาชี้มูลคดีการระบายมันสำปะหลังในสต็อกรัฐบาล หรือ “คดีมันเส้น” โดยยังไม่มีมติชี้มูลความผิดผู้ถูกกล่าวหารายใด
รายงานข่าว ระบุว่า ประเด็นที่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ คือการพิจารณาสำนวนกรณีกล่าวหา นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายมันสําปะหลัง เนื่องจากกรรมการ ป.ป.ช. บางรายทักท้วงว่า ในขั้นตอนการไต่สวน ไม่ได้มีการแจ้งข้อกล่าวหานายไตรรงค์ แต่กลับแจ้งข้อกล่าวหาผู้เกี่ยวข้องระดับสูงสุด แค่ปลัดกระทรวงเท่านั้น โดย ป.ป.ช. เลื่อนการลงมติชี้มูลออกไปเป็นวันที่ 19 ธ.ค.นี้
นาย
จิรัฏฐ์ กล่าวว่า การตัดผู้ต้องสงสัยออกด้วยการไม่กล่าวหาความผิด ไม่เป็นคุณแต่อาจเป็นโทษ เพราะการไม่กล่าวหา เป็นการสรุปไปก่อนการไต่สวนจริงแล้วว่า บุคคลนั้นบริสุทธิ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคล ที่มีส่วนสำคัญในการตัดสินใจจนนำไปสู่การทุจริตและสร้างความเสียหายแก่ประเทศ ไม่มีความจำเป็นต้องรีบตัดความเป็นไปได้นี้ออก อีกทั้งการกล่าวหาความผิด หรือแม้แต่การชี้มูลความผิดของ ป.ป.ช. ก็ไม่ได้ถือเป็นที่สิ้นสุด ยังมีกระบวนการต่อสู้คดีในชั้นอัยการและชั้นศาลอีกนาน กว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด
“
การประชุมในวันที่ 19 ธ.ค. หาก ป.ป.ช. เลือกที่จะละเว้นการเรียกไต่สวน ชี้มูล และกล่าวหานายไตรรงค์ ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการนโยบายมันสําปะหลัง ในขณะเกิดการทุจริตนั้น จะถือเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ไม่ให้รับโทษทางวินัยหรือทางอาญาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จงใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่และกระทำฐานจงใจฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 25 รวมถึงจงใจไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ พ.ศ.2561 ข้อที่ 13 หรือไม่” นาย
จิรัฏฐ์ กล่าว
นาย
จิรัฏฐ์ กล่าวอีกว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ต้องไม่ทำให้เรื่องนี้ซ้ำรอยคดีทุจริตจัดซื้อ GT200 ที่ ป.ป.ช. ใช้เวลากว่า 10 ปีสืบหาความจริง แต่กลับได้ข้อสรุปสั้น ๆ เพียงว่าความเสียหายจากการทุจริตจัดซื้อ GT200 เกิดจากความประมาทของเจ้าหน้าที่เท่านั้น โดยต้นปี 65 ที่ผ่านมา ป.ป.ช. ปิดคดีทุจริตจัดซื้อ GT200 โดยมีมติชี้มูลความผิดทั้งหมดแก่เจ้าหน้าที่ในระดับผู้ปฏิบัติงานไม่กี่คน ทั้งที่บุคคลเหล่านั้นเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา
ในขณะที่กระบวนการพิจารณาไม่มีการเรียกไต่สวนหรือกล่าวหา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในขณะนั้น พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เสนาธิการทหารบกในขณะนั้น ในฐานะผู้ลงนามอนุมัติหลักการ และอนุมัติจัดซื้อ GT200 เกือบทั้งหมด ทั้งที่ลายมือลงนามอนุมัติสั่งซื้อของทั้ง 3 คน ปรากฏชัดเจนอยู่ในเอกสารหลักฐานการจัดซื้อ GT200 แต่เมื่อมีมติชี้มูลความผิด ป.ป.ช. ไม่เอ่ยชื่อคนอนุมัติสั่งซื้อทั้ง 3 เลยแม้แต่คำเดียวในเอกสารสำนวนหลายร้อยหน้า
“
การประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในวันที่ 19 ธ.ค. หากผลเป็นไปตามแนวโน้มที่กล่าวมา จะเกิดคำถามตัวโต ๆ ในสังคมว่า การที่นายไตรรงค์ รอดจากการถูก คณะกรรมการ ป.ป.ช. กล่าวหาและไต่สวนคดีมันเส้นครั้งนี้ เป็นเพราะ พล.อ.ประยุทธ์ เพิ่งจะลงนามในคำสั่งแต่งตั้งนายไตรรงค์ ให้มาเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ใช่หรือไม่” นาย
จิรัฏฐ์ ระบุ
นายจิรัฏฐ์ กล่าวต่อว่า พรรคก้าวไกลเห็นปัญหาการทำงานของ ป.ป.ช. ในรูปแบบปัจจุบัน ที่กรรมการทุกคนถูกรับรองโดย ส.ว. ที่มาจากการแต่งตั้งของ คสช. ทำให้ประชาชนตั้งข้อสงสัยถึงความเป็นกลางและมาตรฐานในการทำงาน เราจึงเสนอนโยบายปรับกระบวนการสรรหา ให้กรรมการ ป.ป.ช. 9 คน มีที่มาที่หลากหลาย ยึดโยงประชาชน และได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย ผ่านการเสนอชื่อจากทั้งผู้แทนราษฎรฝ่ายรัฐบาล ผู้แทนราษฎรฝ่ายค้าน และจากที่ประชุมศาล
โดยทุกคนที่จะรับตำแหน่ง ต้องผ่านการรับรองโดยเสียงสนับสนุน 2 ใน 3 ของสภาผู้แทนราษฎร รวมถึงเพิ่มกลไกในรัฐธรรมนูญ ให้ประชาชนริเริ่มกระบวนการถอดถอน ป.ป.ช. ได้ ผ่านการเข้าชื่อ 20,000 รายชื่อ คล้ายกับกลไกที่เคยมีในรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 เพื่อเพิ่มความมั่นใจว่า ป.ป.ช. จะทำงานอย่างเข้มข้นในการตรวจสอบทุกรัฐบาล ทุกหน่วยงาน ทุกบุคคล อย่างไร้ข้อยกเว้น
เพื่อไทย เสนอแก้ ม.272 เลิก ส.ว.เลือกนายกฯ ไม่ใช่เพื่อตัวเองแลนด์สไลด์
https://www.thairath.co.th/news/politic/2580160
นพดล ปัทมะ รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ พรรคเพื่อไทย ยัน พรรคเสนอแก้มาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญ บอก ไม่ใช่เพื่อให้ตัวเองแลนด์สไลด์ แต่เพื่อความศิวิไลซ์ และความเป็นธรรมในการโหวตตัวแคนดิเดตนายกฯ
วันที่ 17 ธ.ค. นาย
นพดล ปัทมะ รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ พรรคเพื่อไทยกล่าวถึงการที่พรรคเพื่อไทยได้ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ เพื่อแก้ไขมาตรา 272 ที่ตัดอำนาจ ส.ว. ในการโหวตตัวนายกรัฐมนตรีนั้น พรรคเคยยื่นเสนอแก้ประเด็นนี้มาแล้วแต่ยังไม่สำเร็จ การยื่นแก้ไขครั้งนี้น่าจะเป็นการยื่นครั้งสุดท้ายก่อนสภาครบวาระ ซึ่งจะสำเร็จหรือไม่อยู่ที่เสียงของสมาชิกรัฐสภา ทั้งนี้การยื่นแก้ไขเป็นไปตามอุดมการณ์ของพรรคที่เห็นว่ายิ่งกติกาสูงสุดเป็นประชาธิปไตยมากเพียงใด ประชาชนจะได้ประโยชน์มากเพียงนั้น และจะนำไปสู่การเมืองที่มั่นคงเข้มแข็ง ซึ่งจะเป็นรากฐานของความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจต่อไป
มีคนถามว่าการยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญทำไปเพื่อประโยชน์ของพรรคเพื่อไทยเพื่อให้ชนะแบบแลนด์สไลด์หรือไม่ นายนพดลเห็นว่าไม่เกี่ยวกัน พรรคจะชนะแลนด์สไลด์หรือไม่ขึ้นอยู่กับพี่น้องประชาชน แต่การยื่นแก้ไขมาตรา 272 ที่จะให้เฉพาะสภาผู้แทนฯซึ่งสมาชิกมาจากการเลือกตั้งเท่านั้นเป็นผู้ให้ความเห็นชอบตัวนายกฯนั้น คนไทยจะได้ประโยชน์อย่างน้อย 4 ประการคือ
1) เป็นการคืนอำนาจให้คนไทยสามารถมีส่วนในการสนับสนุนแคนดิเดตนายกฯ ที่ตนต้องการมากกว่าการให้ ส.ว.ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งมีอำนาจให้ความเห็นชอบตัวนายกฯ
2) ทำให้ตัวนายกฯ สะท้อนเจตจำนงของคนไทยมากขึ้น ความกลมเกลียวทางการเมืองจะมากขึ้น
3) ทำให้การเห็นชอบตัวนายกฯ เป็นประชาธิปไตยและมีความสง่างามมากขึ้น
4) เป็นการฟื้นฟูภาพลักษณ์ของประเทศว่ามีกติกาที่เป็นธรรมกับทุกพรรคการเมือง เป็นบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ดีไซน์เพื่อคนไทยทุกคน ไม่ใช่ดีไซน์เพื่อพวกเรา ตามที่มีคนเคยพูดไว้
“
วันนี้เราต้องก้าวข้ามตัวบุคคล และกติกาที่ไม่เป็นธรรมไปสู่หลักการที่ศิวิไลซ์ และเป็นธรรม การแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้จะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าคนไทยสามารถออกแบบกติกาที่เป็นประชาธิปไตยได้หรือไม่ ทุกพรรคการเมือง ทุกแคนดิเดตนายกฯ ถ้าต้องการมาทำงานให้บ้านเมืองก็มีสิทธิทำได้ แต่ควรอยู่ภายใต้กติกาที่เท่าเทียมเป็นธรรม แข่งกันอย่างมีศักดิ์ศรี แล้วให้ผลการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ ยุติธรรมเป็นตัวสะท้อนเจตจำนงของประชาชนว่าต้องการให้พรรคใดไปบริหารประเทศ ถ้าเป็นเช่นนี้ เศรษฐกิจจะรุ่งเรือง การเมืองจะมั่นคง” นาย
นพดล กล่าว
JJNY : ‘ก้าวไกล’เชื่องูเห่าบิ๊กล็อตหารูใหม่| "ก้าวไกล"กังขา"ป.ป.ช." | เพื่อไทยเสนอแก้ ม.272| สภาอุตฯวอนรัฐทบทวนขึ้นค่าไฟ
https://www.matichon.co.th/politics/news_3729879
‘ก้าวไกล’ เชื่อ งูเห่าบิ๊กล็อตหารูใหม่ ไม่สะเทือนพรรค เย้ย ‘วิปรัฐบาล’ มัวหาเสียง จนสภาล่ม เชื่อ ส.ส.แห่ไขก๊อก ไม่กระทบงานสภา แนะถามคนอยากสืบทอดอำนาจ เรื่อง ‘ยุบสภา’
เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม นายณัฐวุฒิ บัวประทุม ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่พรรคภูมิใจไทย (ภท.) เปิดตัวต้อนรับสมาชิกใหม่เข้าพรรคจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นส.ส.ที่ลาออกจากพรรคอื่น มองว่าจะสร้างแรงกระเพื่อมต่อการเลือกตั้งในอนาคตของพรรคหรือไม่ ว่า ส.ส.ของพรรค ก.ก. ที่ย้ายไปอยู่พรรค ภท. เป็นรายชื่อเดิมที่ไม่ได้ร่วมกิจกรรมกับพรรคมาระยะหนึ่งแล้ว และแสดงความประสงค์ที่จะย้ายไปอยู่กับพรรค ภท. อย่างชัดเจน
ดังนั้น จึงไม่มีผลกระทบพรรค ก.ก. เพราะประชาชนจะเป็นผู้พิจารณาว่าคนเหล่านั้นจะได้รับการเลือกตั้งในครั้งหน้าหรือไม่ เราเชื่อมั่นว่าสมาชิกของพรรค ส.ส.ที่มีอยู่ และว่าที่ผู้สมัครส.ส.ของพรรคที่วางตัวไว้ก็จะไม่ย้ายไปอยู่กับพรรค ภท. เพิ่มอีก เราไม่มีความกังวลเพราะมีจุดยืนว่าในทุกเขตเลือกตั้งคือโอกาสของพรรค ก.ก. ที่จะขายนโยบายและความคิดให้กับพี่น้องประชาชน
เมื่อถามถึงการที่ ส.ส. แห่ลาออก และเตรียมย้ายพรรคกันช่วงปลายสมัยเป็นจำนวนมากเช่นนี้จะเร่งบีบให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รีบยุบสภาหรือไม่ เพราะท่าทีของพล.อ.ประยุทธ์อยากจะขอลากยาวเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับตัวเอง นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า คิดว่าก็อาจจะมีส่วน แต่ขณะนี้สภายังสามารถเดินต่อได้โดยเฉพาะยังมีกฎหมายสำคัญหลายฉบับ สมาชิกที่มีอยู่จะสามารถทำให้สภาเดินหน้าต่อไปได้
ปัญหาเรื่องการยุบสภามักจะเกิดขึ้นกรณีที่มีความขัดแย้งระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ แต่จนถึงปัจจุบันไม่ได้มีความขัดแย้งในลักษณะดังกล่าว ดังนั้นเงื่อนไขของการยุบสภาจึงไม่ได้อยู่ที่สภา แต่ความพร้อมของกลุ่มอำนาจเดิมที่จะลงเลือกตั้งในครั้งหน้า น่าจะเป็นปัจจัยที่จะนำไปสู่การยุบสภามากกว่า จึงต้องไปถามผู้ที่จะลงเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีที่อยากสืบทอดอำนาจในครั้งหน้ามากกว่า
เมื่อถามถึงกรณี นายนิโรธ สุนทรเลขา ส.ส.นครสวรรค์ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) ออกมาระบุว่า วิปรัฐบาลไม่ได้มีหน้าที่คุมองค์ประชุมทั่วไป แต่มีหน้าที่ควบคุมองค์ประชุมและการโหวตกฎหมายที่สำคัญ ทั้งย้ำว่าไม่ได้ผิดพลาดจนทำให้สภาล่ม แต่โทษว่ามีการเล่นเกมการเมือง นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า ฝ่ายค้านทั้งหมดมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าจะเดินหน้าทำงานสภาอย่างเต็มที่ ที่ผ่านมาฝ่ายค้านแบกสภา และเข้าประชุมสม่ำเสมอ จุดที่สภาล่ม3-4 ครั้งหลัง ไม่ใช่ประเด็นเรื่องจำนวนองค์ประชุม
แต่อยู่ที่ ประเด็นการลงมติมาตรา 9/1 ของร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การเข้าชื่อเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. …. ซึ่งฝ่ายค้านยืนยันว่าไม่สามารถพิจารณาในมาตราดังกล่าวที่ฝ่ายค้านชนะโหวตไปแล้ว เรื่องนี้เป็นเรื่องหลักการไม่ใช่เกมการเมือง แต่ขณะนี้ได้เปลี่ยนวาระการประชุมโดยนำกฎหมายที่ค้างอยู่มาพิจารณาก่อน ฝ่ายค้านจึงกำชับทุกพรรคให้เข้าประชุมอย่างพร้อมเพรียง ความจริงก็เสียดายที่ส.ส.ฝ่ายค้านหลายคนชิงลาออกไปเสียก่อนจึงทำให้จำนวนส.ส.ลดลงไปบ้าง แต่เรายืนยันว่าจะทำหน้าที่ของเราให้เต็มที่ไม่ว่าสภาจะมีอายุอยู่กี่วัน
“ผมตั้งคำถามกลับไปที่วิปรัฐบาล ซึ่งเป็นคำถามเดียวกับที่ประธานสภาถามว่า ก่อนหน้านี้บทบาทของวิปรัฐบาลจะค่อนข้างเด่นชัด มีการลงมาควบคุม หารือ และพบปะสมาชิกอย่างต่อเนื่อง แต่ปัจจุบันเรากลับไม่เห็นบทบาทนั้นจากตัวประธานวิปหรือแกนนำวิปรัฐบาล นอกจากนี้ ประชาชนควรจะต้องตั้งคำถามว่าแกนนำระดับวิปรัฐบาลหายไปไหน หรือไปเตรียมความพร้อมเลือกตั้งจนไม่ได้คิดถึงการทำงานของสภา” นายณัฐวุฒิ กล่าว
"ก้าวไกล" กังขา "ป.ป.ช." ด่วนตัดชื่อ "ไตรรงค์" ชี้มูลความผิดคดีมันเส้น
https://www.nationtv.tv/news/politics/378896350
"ก้าวไกล" กังขา "ป.ป.ช." ด่วนตัดชื่อ "ไตรรงค์" ไม่กล่าวหาคดีมันเส้น จงใจละเว้นหน้าที่ ดักคอหวั่นซ้ำรอยคดีไม้ล้างป่าช้า GT-200 เล่นงานแค่ผู้ปฏิบัติงานแต่ปล่อยผู้มีอำนาจ ย้ำความจำเป็นเปลี่ยนที่มา ป.ป.ช. ควรยึดโยงปชช.
16 ธันวาคม 2565 นายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ ส.ส.ฉะเชิงเทรา พรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เลื่อนพิจารณาชี้มูลคดีการระบายมันสำปะหลังในสต็อกรัฐบาล หรือ “คดีมันเส้น” โดยยังไม่มีมติชี้มูลความผิดผู้ถูกกล่าวหารายใด
รายงานข่าว ระบุว่า ประเด็นที่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ คือการพิจารณาสำนวนกรณีกล่าวหา นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายมันสําปะหลัง เนื่องจากกรรมการ ป.ป.ช. บางรายทักท้วงว่า ในขั้นตอนการไต่สวน ไม่ได้มีการแจ้งข้อกล่าวหานายไตรรงค์ แต่กลับแจ้งข้อกล่าวหาผู้เกี่ยวข้องระดับสูงสุด แค่ปลัดกระทรวงเท่านั้น โดย ป.ป.ช. เลื่อนการลงมติชี้มูลออกไปเป็นวันที่ 19 ธ.ค.นี้
นายจิรัฏฐ์ กล่าวว่า การตัดผู้ต้องสงสัยออกด้วยการไม่กล่าวหาความผิด ไม่เป็นคุณแต่อาจเป็นโทษ เพราะการไม่กล่าวหา เป็นการสรุปไปก่อนการไต่สวนจริงแล้วว่า บุคคลนั้นบริสุทธิ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคล ที่มีส่วนสำคัญในการตัดสินใจจนนำไปสู่การทุจริตและสร้างความเสียหายแก่ประเทศ ไม่มีความจำเป็นต้องรีบตัดความเป็นไปได้นี้ออก อีกทั้งการกล่าวหาความผิด หรือแม้แต่การชี้มูลความผิดของ ป.ป.ช. ก็ไม่ได้ถือเป็นที่สิ้นสุด ยังมีกระบวนการต่อสู้คดีในชั้นอัยการและชั้นศาลอีกนาน กว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด
“การประชุมในวันที่ 19 ธ.ค. หาก ป.ป.ช. เลือกที่จะละเว้นการเรียกไต่สวน ชี้มูล และกล่าวหานายไตรรงค์ ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการนโยบายมันสําปะหลัง ในขณะเกิดการทุจริตนั้น จะถือเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ไม่ให้รับโทษทางวินัยหรือทางอาญาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จงใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่และกระทำฐานจงใจฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 25 รวมถึงจงใจไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ พ.ศ.2561 ข้อที่ 13 หรือไม่” นายจิรัฏฐ์ กล่าว
นายจิรัฏฐ์ กล่าวอีกว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ต้องไม่ทำให้เรื่องนี้ซ้ำรอยคดีทุจริตจัดซื้อ GT200 ที่ ป.ป.ช. ใช้เวลากว่า 10 ปีสืบหาความจริง แต่กลับได้ข้อสรุปสั้น ๆ เพียงว่าความเสียหายจากการทุจริตจัดซื้อ GT200 เกิดจากความประมาทของเจ้าหน้าที่เท่านั้น โดยต้นปี 65 ที่ผ่านมา ป.ป.ช. ปิดคดีทุจริตจัดซื้อ GT200 โดยมีมติชี้มูลความผิดทั้งหมดแก่เจ้าหน้าที่ในระดับผู้ปฏิบัติงานไม่กี่คน ทั้งที่บุคคลเหล่านั้นเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา
ในขณะที่กระบวนการพิจารณาไม่มีการเรียกไต่สวนหรือกล่าวหา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในขณะนั้น พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เสนาธิการทหารบกในขณะนั้น ในฐานะผู้ลงนามอนุมัติหลักการ และอนุมัติจัดซื้อ GT200 เกือบทั้งหมด ทั้งที่ลายมือลงนามอนุมัติสั่งซื้อของทั้ง 3 คน ปรากฏชัดเจนอยู่ในเอกสารหลักฐานการจัดซื้อ GT200 แต่เมื่อมีมติชี้มูลความผิด ป.ป.ช. ไม่เอ่ยชื่อคนอนุมัติสั่งซื้อทั้ง 3 เลยแม้แต่คำเดียวในเอกสารสำนวนหลายร้อยหน้า
“การประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในวันที่ 19 ธ.ค. หากผลเป็นไปตามแนวโน้มที่กล่าวมา จะเกิดคำถามตัวโต ๆ ในสังคมว่า การที่นายไตรรงค์ รอดจากการถูก คณะกรรมการ ป.ป.ช. กล่าวหาและไต่สวนคดีมันเส้นครั้งนี้ เป็นเพราะ พล.อ.ประยุทธ์ เพิ่งจะลงนามในคำสั่งแต่งตั้งนายไตรรงค์ ให้มาเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ใช่หรือไม่” นายจิรัฏฐ์ ระบุ
นายจิรัฏฐ์ กล่าวต่อว่า พรรคก้าวไกลเห็นปัญหาการทำงานของ ป.ป.ช. ในรูปแบบปัจจุบัน ที่กรรมการทุกคนถูกรับรองโดย ส.ว. ที่มาจากการแต่งตั้งของ คสช. ทำให้ประชาชนตั้งข้อสงสัยถึงความเป็นกลางและมาตรฐานในการทำงาน เราจึงเสนอนโยบายปรับกระบวนการสรรหา ให้กรรมการ ป.ป.ช. 9 คน มีที่มาที่หลากหลาย ยึดโยงประชาชน และได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย ผ่านการเสนอชื่อจากทั้งผู้แทนราษฎรฝ่ายรัฐบาล ผู้แทนราษฎรฝ่ายค้าน และจากที่ประชุมศาล
โดยทุกคนที่จะรับตำแหน่ง ต้องผ่านการรับรองโดยเสียงสนับสนุน 2 ใน 3 ของสภาผู้แทนราษฎร รวมถึงเพิ่มกลไกในรัฐธรรมนูญ ให้ประชาชนริเริ่มกระบวนการถอดถอน ป.ป.ช. ได้ ผ่านการเข้าชื่อ 20,000 รายชื่อ คล้ายกับกลไกที่เคยมีในรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 เพื่อเพิ่มความมั่นใจว่า ป.ป.ช. จะทำงานอย่างเข้มข้นในการตรวจสอบทุกรัฐบาล ทุกหน่วยงาน ทุกบุคคล อย่างไร้ข้อยกเว้น
เพื่อไทย เสนอแก้ ม.272 เลิก ส.ว.เลือกนายกฯ ไม่ใช่เพื่อตัวเองแลนด์สไลด์
https://www.thairath.co.th/news/politic/2580160
นพดล ปัทมะ รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ พรรคเพื่อไทย ยัน พรรคเสนอแก้มาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญ บอก ไม่ใช่เพื่อให้ตัวเองแลนด์สไลด์ แต่เพื่อความศิวิไลซ์ และความเป็นธรรมในการโหวตตัวแคนดิเดตนายกฯ
วันที่ 17 ธ.ค. นายนพดล ปัทมะ รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ พรรคเพื่อไทยกล่าวถึงการที่พรรคเพื่อไทยได้ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ เพื่อแก้ไขมาตรา 272 ที่ตัดอำนาจ ส.ว. ในการโหวตตัวนายกรัฐมนตรีนั้น พรรคเคยยื่นเสนอแก้ประเด็นนี้มาแล้วแต่ยังไม่สำเร็จ การยื่นแก้ไขครั้งนี้น่าจะเป็นการยื่นครั้งสุดท้ายก่อนสภาครบวาระ ซึ่งจะสำเร็จหรือไม่อยู่ที่เสียงของสมาชิกรัฐสภา ทั้งนี้การยื่นแก้ไขเป็นไปตามอุดมการณ์ของพรรคที่เห็นว่ายิ่งกติกาสูงสุดเป็นประชาธิปไตยมากเพียงใด ประชาชนจะได้ประโยชน์มากเพียงนั้น และจะนำไปสู่การเมืองที่มั่นคงเข้มแข็ง ซึ่งจะเป็นรากฐานของความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจต่อไป
มีคนถามว่าการยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญทำไปเพื่อประโยชน์ของพรรคเพื่อไทยเพื่อให้ชนะแบบแลนด์สไลด์หรือไม่ นายนพดลเห็นว่าไม่เกี่ยวกัน พรรคจะชนะแลนด์สไลด์หรือไม่ขึ้นอยู่กับพี่น้องประชาชน แต่การยื่นแก้ไขมาตรา 272 ที่จะให้เฉพาะสภาผู้แทนฯซึ่งสมาชิกมาจากการเลือกตั้งเท่านั้นเป็นผู้ให้ความเห็นชอบตัวนายกฯนั้น คนไทยจะได้ประโยชน์อย่างน้อย 4 ประการคือ
1) เป็นการคืนอำนาจให้คนไทยสามารถมีส่วนในการสนับสนุนแคนดิเดตนายกฯ ที่ตนต้องการมากกว่าการให้ ส.ว.ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งมีอำนาจให้ความเห็นชอบตัวนายกฯ
2) ทำให้ตัวนายกฯ สะท้อนเจตจำนงของคนไทยมากขึ้น ความกลมเกลียวทางการเมืองจะมากขึ้น
3) ทำให้การเห็นชอบตัวนายกฯ เป็นประชาธิปไตยและมีความสง่างามมากขึ้น
4) เป็นการฟื้นฟูภาพลักษณ์ของประเทศว่ามีกติกาที่เป็นธรรมกับทุกพรรคการเมือง เป็นบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ดีไซน์เพื่อคนไทยทุกคน ไม่ใช่ดีไซน์เพื่อพวกเรา ตามที่มีคนเคยพูดไว้
“วันนี้เราต้องก้าวข้ามตัวบุคคล และกติกาที่ไม่เป็นธรรมไปสู่หลักการที่ศิวิไลซ์ และเป็นธรรม การแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้จะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าคนไทยสามารถออกแบบกติกาที่เป็นประชาธิปไตยได้หรือไม่ ทุกพรรคการเมือง ทุกแคนดิเดตนายกฯ ถ้าต้องการมาทำงานให้บ้านเมืองก็มีสิทธิทำได้ แต่ควรอยู่ภายใต้กติกาที่เท่าเทียมเป็นธรรม แข่งกันอย่างมีศักดิ์ศรี แล้วให้ผลการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ ยุติธรรมเป็นตัวสะท้อนเจตจำนงของประชาชนว่าต้องการให้พรรคใดไปบริหารประเทศ ถ้าเป็นเช่นนี้ เศรษฐกิจจะรุ่งเรือง การเมืองจะมั่นคง” นายนพดล กล่าว