🇹🇭💙มาลาริน💙🇹🇭สธ.เผยโควิดไทยเริ่มชะลอ ย้ำวัคซีน"4 เข็ม 4 เดือน"ขอ กทม.ฉีดสูงวัย/หมอ ยง”เผยการกลายพันธุ์ไม่มีผลต่อยา

สธ.เผย "โควิด" ไทยเริ่มชะลอ คาดปีหน้าไม่แตกต่างมาก ย้ำวัคซีน "4 เข็ม 4 เดือน" ขอ กทม.เน้นฉีดสูงวัย



ปลัด สธ.เผยสถานการณ์ "โควิด" ไทยเพิ่มขึ้น แต่เริ่มชะลอตัวลง ไม่กระทบระบบสาธารณสุข ยังห่วงผู้เสียชีวิตยังเป็นกลุ่ม 608 ไม่ฉีดวัคซีน ฉีดไม่ครบ ทิ้งช่วงนาน ยังเสียชีวิตเป็น ย้ำ "4 เข็ม 4 เดือน" เพิ่มภูมิคุ้มกัน อย่ารอวัคซีนรุ่นใหม่ ให้ฉีดครบตามกำหนด ขอ กทม.ลุยฉีดสูงอายุให้ครบ คาดปี 66 สถานการณ์ไม่แตกต่าง ใช้ชีวิตตามปกติได้

เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์โรคโควิด 19 ว่า สถานการณ์ทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ไม่ได้น่ากลัวเหมือนที่ผ่านมา ผู้คนกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ ลักษณะก็เข้าใกล้เหมือนโรคไข้หวัดใหญ่ทุกที คือ มีการกลายพันธุ์ย่อยๆ หลากหลายจำนวนมาก ต่างจากช่วงระบาดแรกๆ ที่ระบาดเป็นสายพันธุ์เดียวกันเหมือนกันทั่วโลก จะเห็นว่าปีที่แล้วมีการกลายพันธุ์เกิดเป็นเชื้อใหม่เร็ว ส่วนปีนี้จะเห็นว่าเป็นสายพันธุ์โอมิครอนมาตลอด ไม่ได้เปลี่ยนเป็นตัวอื่น แต่มีการกลายพันธุ์ย่อยๆ จำนวนมาก ส่วนสถานการณ์ของประเทศไทยถือว่าเพิ่มขึ้น แต่แนวโน้มขณะนี้เริ่มชะลอตัวลง ผู้เสียชีวิตและป่วยหนักไม่ได้เพิ่มขึ้นมากจนกระทบต่อระบบสาธารณสุข แต่พบว่าผู้เสียชีวิตหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นกลุ่ม 608 ทั้ง 100% และเกือบทั้งหมดไม่ได้รับวัคซีน รับวัคซีนไม่ครบ หรือรับเข็มกระตุ้นนานเกิน 3 เดือน

"มาตรการในช่วงนี้จึงยังต้องเร่งรัดเชิญชวนกลุ่ม 608 หรือผู้ที่รับวัคซีนหรือติดเชื้อมาแล้วเกิน 3-4 เดือนให้มารับวัคซีนเข็มกระตุ้น ตามหลัก "4 เข็ม 4 เดือน" คือรับให้ครบ 4 เข็ม หากเข็มล่าสุดห่างมาแล้ว 4 เดือนก็ให้มารับวัคซีน เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน" นพ.โอภาสกล่าว

นพ.โอภาสกล่าวว่า มาตรการป้องกันตนเองอย่างสวมหน้ากากยังมีประโยชน์ โดยเฉพาะเมื่อมีอาการทางเดินหายใจหรือการอยู่ในที่มีคนจำนวนมากหรือแออัด นอกจากนี้ เรายังเฝ้าระวังกลุ่มต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อติดตามและดูแนวโน้มสถานการณ์ เช่น ใน รพ. ตลาด กลุ่มแรงงานต่างด้าว ชุมชนแออัด เป็นต้น ย้ำว่าไม่จำเป็นที่จะต้องไล่ดูว่าติดเชื้อกี่คน ซึ่งไม่มีประโยชน์ในสถานการณ์เช่นนี้ ทั้งนี้ เมื่อมีเหตุการณ์สำคัญต่างๆ สธ.จะออกประกาศแจ้งเตือน ดังนั้น หากยังไม่มีประกาศแจ้งเตือนอะไรก็ไม่ต้องวิตกกังวล

นพ.โอภาสกล่าวอีกว่า ช่วงก่อนหน้านี้คนฉีดวัคซีนน้อย เนื่องจากมีการฉีดไปจำนวนมากแล้ว โดยฉีดวันละพันกว่าคน แต่ตอนนี้ฉีดเป็นวันละหมื่นกว่าคน หรือเพิ่มขึ้น 3-4 เท่า แนวโน้มคนยังต้องการอยู่ ทั้งนี้ ได้เน้นย้ำสถานพยาบาลในสังกัด สธ.ว่า หากมีประชาชนมาขอรับบริการต้องให้บริการทุกคน อย่าไปกังวลเรื่องการสูญเสียวัคซีนมากนัก ให้หน้างานพิจารณาตามความเหมาะสม เรายอมเสียวัคซีนดีกว่ายอมให้คนเสียชีวิต หรือหากยังให้บริการไม่ได้ก็ต้องมีการนัดอย่างชัดเจน รวมถึงให้จัดบริการเพิ่มขึ้นและหน่วยฉีดเชิงรุกด้วย
 
"ส่วนพื้นที่ กทม. ก็ได้ประสานคณะกรรมการโรคติดต่อ กทม.ให้ช่วยเร่งรัดการฉีดวัคซีนให้ผู้สูงอายุในพื้นที่ให้ครบถ้วน และไม่ใช่การดูเฉพาะ รพ.สังกัด กทม.เท่านั้น แต่ต้องดูแลทั้งหมด อย่างเรื่องการเปิดพื้นที่จัดบริการฉีดวัคซีนต่างๆ ก็เป็นหน้าที่ของประธานคณะกรรมการโรคติดต่อ กทม.ที่มีกฎหมายโรคติดต่อในมือไปจัดการเรือ่งเหล่านี้" นพ.โอภาสกล่าว

ส่วนวัคซีนรุ่นใหม่ที่เป็น Bivalent สองสายพันธุ์อู่ฮั่นและ BA.2 ถ้านำมาฉีดกระตุ้นก็ไม่ได้ดีไปกว่าการฉีดวัคซีนรุ่นเก่ามากนัก จึงไม่ควรรอ เพราะสิ่งสำคัญคือการฉีดให้ตรงตามกำหนด หรือแม้กระทั่งกรณีวัคซีนเด็กที่รบุว่าพัฒนาจากสายพันธุ์ BA.4/BA.5 ขณะนี้เด็กเล็กในไทยยังฉีดไม่ครบ 3 เข็มเลย และแม้จะเป็นสายพันธุ์ BA.4/BA.5 แต่ก็ไม่น่าจะทันกับการระบาดในปัจจุบัน เพราะเชื้อโควิดในประเทศไทยขณะนี้แทบไม่มี BA.4/BA.5 แล้ว แต่ถูกแทนที่ด้วย BA.2.75 ก็ย้ำเตือนว่าอย่าไปรอรุ่นใหม่ สายพันธุ์ย่อยๆ ยังมีโอกาสเปลี่ยนอีกหลายรอบ

นพ.โอภาสกล่าวว่า ส่วนการคาดการณ์โรคโควิด 19 ในปี 2566 เราดูจาก 3 ปัจจัย คือ...👇

1.เชื้อโรค มองว่าคงกลายพันธุ์ตามธรรมชาติ แต่เป็นการกลายพันธุ์แบบย่อยๆ เล็กน้อย เราอยู่กับโอมิครอนมา 1 ปีแล้วก็ยังไม่เปลี่ยนเป็นตัวอื่น อย่างไรก็ตาม เรามีการติดตาม หากมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญก็จะประกาศให้ทราบ

2.คน ขณะนี้คนมีภูมิคุ้มกันมากขึ้น ก็จะช่วยลดความรุนแรงและการเสียชีวิต การฉีดเข็มกระตุ้นจึงสำคัญ เพราะขณะนี้วัคซีนทุกยี่ห้อป้องกันอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้เหมือนกัน แต่ป้องกันการติดเชื้อไม่ค่อยได้ และภูมิคุ้มกันอยู่ได้ไม่นาน ก็ต้องเน้นกลุ่ม 608 คนที่มีโอกาสสัมผัสผู้คนจำนวนมาก บุคลากรสาธารณสุข บุคลากรด่านหน้า คนทำงานภาคบริการ

และ 3.สิ่งแวดล้อม ซึ่งช่วงที่ระบาดใหม่ๆ แรกๆ เราควบคุมไม่ให้คนมาพบกัน ลดความเสี่ยงปิดการเดินทาง เมื่อคนมีภูมิคุ้มกันเยอะขึ้น ก็ใช้ชีวิตใกล้เคียงปกติเหมือนกันทั่วโลก แม้จะมีการกลายพันธุ์เยอะคนก็ไม่ค่อยกังวลมาก และระบบเรารองรับได้ ถ้ามียาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็จะช่วยควบคุมสถานการณ์ดีขึ้น

"ดังนั้น การระบาดถ้าเทียบกับปีนี้คงไม่แตกต่างกันมาก คาดว่าเชื้อไม่น่าจะกลายพันธุ์ไปมากนัก ยังคงต้องเติมภูมิคุ้มกันให้กลุ่มเสี่ยง ยังสามารถใช้ชีวิตใกล้เคียงปกติมากที่สุด โดยใช้ชีวิตร่วมกับโควิด ส่วนคนที่ยังกังวลเรื่องการฉีดวัคซีนขอยืนยันว่า เรามีการฉีดมาแล้ว 2 ปี ฉีดกันมากกว่า 80-90% แล้ว ก็ไม่มีอะไรผิดสังเกต" นพ.โอภาสกล่าว

https://mgronline.com/qol/detail/9650000117126

หมอ ยง” เผยการกลายพันธุ์ของไวรัสยังไม่มีผลต่อประสิทธิภาพของยาต้านไวรัส



.นพ.ยง ภู่วรวรรณ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา ยันการกลายพันธุ์ของไวรัสในปัจจุบันยังไม่มีผลต่อประสิทธิภาพของการให้ยาต้านไวรัสในการรักษา เพราะยาจะมีผลต่อการแบ่งตัวของไวรัสและขัดขวาง enzyme protease

วันนี้ (9 ธ.ค.) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ข้อความในประเด็นเรื่อง “การกลายพันธุ์ของไวรัส ไม่มีผลต่อยาที่ใช้รักษา” ทั้งนี้ “หมอ ยง” ได้ระบุข้อความอธิบายไว้ว่า
 
“ไวรัส covid-19 มีการกลายพันธุ์เรื่อยมา ทุกคนทราบกันดี การกลายพันธุ์เปลี่ยนแปลงพันธุกรรมในส่วนของหนามแหลม ทำให้มีผลต่อวัคซีนที่ใช้ในการป้องกันมีประสิทธิภาพลดลง และยาในกลุ่มของแอนติบอดี รวมทั้งโมโนโคลนอลแอนติบอดีมีประสิทธิภาพลดลง

ส่วนยาที่ใช้รักษา ไม่ว่าจะเป็น remdicevir และ molnupiravir มีผลต่อการแบ่งตัวของไวรัสโดยขัดขวาง RNA dependence RNA polymerase ส่วนยา paxlovid ขัดขวาง enzyme protease ไม่ได้อยู่ในส่วนที่มีการกลายพันธุ์ของไวรัส

ดังนั้น การกลายพันธุ์ของไวรัสในปัจจุบันจึงยังไม่มีผลต่อประสิทธิภาพของการให้ยาต้านไวรัสในการรักษาดังกล่าว ยาต้านไวรัสที่กล่าวถึงจึงยังมีประสิทธิภาพในการรักษาเหมือนเดิมถึงแม้ว่าไวรัสจะกลายพันธุ์”

https://mgronline.com/onlinesection/detail/9650000117070

ติดตามข่าวโควิดกันต่อนะคะ.....
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 14

“นพ.ยง” เปิดผลวิจัยพบคนไทยติดเชื้อโควิด-19 แล้ว 60-70% แต่ติดเชื้อซ้ำได้ควรฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิ

วันที่ 7 ธ.ค. 65 นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊กเกี่ยวกับผลการศึกษาของศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก จุฬา 2 โครงการ
โดยโครงการแรกเป็นการศึกษาในเด็กที่อายุ 5-6 ขวบ ในปีที่ผ่านมาโดยมีการตรวจเลือด 2 ครั้งห่างกัน 1 ปี จำนวนประมาณ 190 คน พบว่าในช่วงปีที่แล้ว หรือยุคเดลตา ปรากฏเด็กในช่วงอายุ 5-6 ขวบ ในพื้นที่กรุงเทพฯ ติดเชื้อประมาณ 10% ใน 2564 แต่ปี 2565 กลับพบติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นระหว่าง 60-70% ของเด็กทั้งหมด และใน 35% เป็นการติดเชื้อแบบไม่มีอาการหรือไม่รู้ว่ามีการติดเชื้อ ซึ่งจากการปซักประวัติ ไม่ทราบมีการติดเชื้อ แต่จากการตรวจเลือดพบหลักฐานการติดเชื้อ แสดงให้เห็นว่ามีเด็กจำนวนมากที่เกิดการติดเชื้อไปแล้ว เป็นชนิดที่ไม่มีอาการ และไม่รู้ว่ามีการติดเชื้อไปแล้ว

ขณะเดียวกันการศึกษาร่วมกับทางจังหวัดชลบุรี ทำการตรวจเลือดผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือน จนถึง 80 ปี ขณะนี้ตรวจไปแล้ว ประมาณ 700 คน พบว่ามีการติดเชื้อไปแล้วจากหลักฐานของการตรวจเลือด และประวัติการติดเชื้อ อยู่ที่ประมาณ 60-70 % หลักฐานการตรวจเลือด ถ้าติดเชื้อมานานแล้ว โดยเฉพาะติดเชื้อเกินกว่าหนึ่งปี อาจให้ผลเป็นลบได้ การติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดขึ้นในปีนี้ ในช่วงของการระบาดด้วยสายพันธุ์ โอมิครอน

นพ.ยง ระบุว่าเมื่อตรวจหาภูมิต้านทาน แอนติบอดี ที่เกิดจากการติดเชื้อหรือจากวัคซีน จะพบว่าประชากรประมาณร้อยละ 95 มีภูมิต้านทานที่ตรวจพบได้ มากบ้างน้อยบ้าง โดยเฉพาะขณะนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่าระดับภูมิต้านทานสูงแค่ไหน จึงจะป้องกันหรือลดความรุนแรงของโรคได้ ประชากรส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดได้เคยสัมผัสหรือรู้จักไวรัสโควิด 19 จากการติดเชื้อ หรือวัคซีนมาแล้ว จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ความรุนแรงของโรคลดน้อยลง

การติดเชื้อมาแล้ว หรือได้รับวัคซีน ตรวจวัดภูมิต้านทานได้ ก็สามารถติดเชื้อซ้ำได้อีก จึงเห็นผู้ที่ติดเชื้อครั้งที่ 2 เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด โดยหลักการของระบบภูมิคุ้มกัน การติดเชื้อครั้งที่ 2 น่าจะทำให้ความรุนแรงของโรคลดลง ทั้งนี้ก็คงขึ้นอยู่กับสภาวะของร่างกายในขณะนั้นด้วย เมื่อมีการติดเชื้อซ้ำได้ จึงมีเหตุผลเพียงพอสำหรับผู้ที่เคยฉีดวัคซีนครบ 3 ครั้งแล้ว หรือมากกว่า และฉีดวัคซีนมานานแล้ว หรือเคยติดเชื้อมาแล้ว และเว้นช่วงมานานแล้ว เช่นนานเกิน 6 เดือน ก็สามารถรับวัคซีนเข็มกระตุ้นเพื่อฝึกให้ระบบภูมิต้านทาน รับรู้ในเรื่องของการป้องกันลดความรุนแรงของโรค

วัคซีนแต่ละชนิด ประสิทธิภาพในการลดความรุนแรงของโรคไม่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งในการให้ และการป้องกันลดความรุนแรง จะได้ดีหลังจากฉีดในเดือนแรกๆ และภูมิจะลดลงตามกาลเวลา

การให้เข็มกระตุ้น ควรเว้นระยะห่างจากครั้งสุดท้าย โดยหลักการแล้วยิ่งห่างยิ่งดี หรือรอให้ภูมิต้านทานลดลงก่อนแล้วค่อยกระตุ้น แต่ขณะเดียวกันถ้าเว้นนานเกินไป ก็จะเกิดการติดเชื้อเสียก่อน ระยะเวลาที่ผู้ได้รับครบ 3 หรือ 4 เข็มแล้ว หรือติดเชื้อ มารับการกระตุ้น ควรอยู่ที่ 6 เดือนหรือมากกว่า จะกระตุ้นระดับภูมิต้านทานได้ในระดับที่สูง ในกลุ่มเสี่ยงจะกระตุ้นเร็วกว่านี้สัก 1-2 เดือนก็มีสามารถทำได้
https://www.facebook.com/NBT2HDTV/posts/pfbid0HRV4WzSxtwrzo9SGcCLRWXuphy1WH7yHMGxoSK88qu7aSASo5a4UC8MBwZsvinrXl


"แม้โควิด 19 กลายพันธุ์ แต่ยาต้านไวรัสประสิทธิภาพรักษาเหมือนเดิม"

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่าน Facebook Yong Poovorawan ว่า ไวรัส covid 19 มีการกลายพันธุ์เรื่อยมา การกลายพันธุ์เปลี่ยนแปลงพันธุกรรมในส่วนของหนามแหลม ทำให้มีผลต่อวัคซีนที่ใช้ในการป้องกันมีประสิทธิภาพลดลง และยาในกลุ่มของแอนติบอดี รวมทั้งโมโนโคลนอลแอนติบอดี มีประสิทธิภาพลดลง

"ส่วนยาที่ใช้รักษา ไม่ว่าจะเป็น remdicevir และ molnupiravir มีผลต่อการแบ่งตัวของไวรัสโดยขัดขวาง RNA dependence RNA polymerase ส่วนยา paxlovid ขัดขวาง enzyme protease ไม่ได้อยู่ในส่วนที่มีการกลายพันธุ์ของไวรัส ดังนั้น การกลายพันธุ์ของไวรัสในปัจจุบันจึงยังไม่มีผลต่อประสิทธิภาพของการให้ยาต้านไวรัสในการรักษาดังกล่าว ยาต้านไวรัสที่กล่าวถึงจึงยังมีประสิทธิภาพในการรักษาเหมือนเดิมถึงแม้ว่าไวรัสจะกลายพันธุ์"
https://www.facebook.com/realnewsthailand/posts/pfbid025HBrmzuLFGxFPm1KWV57wKmP9mQoqMpphHb2zZtT5MHb7g9hedVkEc2qTm8Z1FFDl


สธ. ย้ำ!! มาตรการฉีดวัคซีน "4 เข็ม 4 เดือน" ฉีดให้ครบตามกำหนดเวลาช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง 608 คาดปี 66 สถานการณ์ไม่ต่างจากเดิมมาก ปชช. ยังสามารถใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติ

วันนี้ (9 ธ.ค. 65) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สถานการณ์โรคโควิด-19 ของประเทศไทยยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่เริ่มชะลอตัวลง ระบบสาธารณสุขยังรองรับได้ สำหรับผู้เสียชีวิตทุกรายยังอยู่ในกลุ่ม 608 และเกือบทั้งหมดไม่ได้รับวัคซีน ได้รับวัคซีนไม่ครบ หรือได้รับเข็มกระตุ้นนานเกินกว่า 3 เดือน มาตรการในช่วงนี้จึงยังต้องเร่งรัด เชิญชวนกลุ่ม 608 รวมถึงผู้ที่ได้รับวัคซีนหรือติดเชื้อมาแล้วเกิน 3-4 เดือน ให้มารับวัคซีนเข็มกระตุ้นตามหลัก "4 เข็ม 4 เดือน" คือ รับให้ครบ 4 เข็ม หากเข็มล่าสุดเกิน 4 เดือน ให้มารับวัคซีนเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน ซึ่งได้กำชับสถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขแล้วว่า ให้บริการประชาชนทุกคนที่เข้ามาขอรับบริการ อย่ากังวลเรื่องการสูญเสียวัคซีนจนเกินไป รวมถึงให้จัดจุดบริการเพิ่มขึ้นและหน่วยฉีดเชิงรุก ส่วนพื้นที่ กทม.ได้ประสานคณะกรรมการโรคติดต่อ กทม. ช่วยเร่งรัดการฉีดวัคซีนให้ผู้สูงอายุในพื้นที่ให้ครบถ้วน

"สิ่งสำคัญ คือ ขอให้มารับวัคซีนให้ครบ 4 เข็ม และฉีดตามกำหนดเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน ไม่ต้องห่วงว่าจะรอวัคซีนรุ่นใหม่ เนื่องจากการนำมาฉีดกระตุ้นไม่ได้ให้ผลแตกต่างกว่าการฉีดวัคซีนรุ่นเดิมมากนัก และเชื้อยังมีการกลายพันธุ์ย่อยๆ อย่างต่อเนื่อง วัคซีนที่ผลิตออกมาจึงไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเชื้อไวรัส" นพ.โอภาสกล่าว

สำหรับมาตรการป้องกันตนเองยังมีความสำคัญ โดยเฉพาะการสวมหน้ากากเมื่อมีอาการในระบบทางเดินหายใจ หรืออยู่ในที่มีคนจำนวนมากหรือแออัด ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขยังเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ในกลุ่มต่างๆ ทั้งสถานพยาบาล ตลาด แรงงานต่างด้าว ชุมชนแออัด เป็นต้น หากมีสัญญาณการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญจะแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบ ส่วนในปี 2566 คาดว่าสถานการณ์ไม่น่าแตกต่างจากเดิม ยังจะพบการระบาดในลักษณะ Small Wave เชื้อโรคอาจมีการกลายพันธุ์ย่อยๆ เล็กน้อย ขณะที่คนมีภูมิคุ้มกันมากขึ้น แต่ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงยังคงต้องให้วัคซีนเพิ่มภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะทำให้ประชาชนยังสามารถใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติ
https://www.facebook.com/NBT2HDTV/posts/pfbid0XzE1wrxog6mynVEkPoXmRpxjtRkuNsTMDHKYTcWa88cQrBRpUdmV29sG7SvrUFT7l


ขอเชิญชวนผู้ปกครอง พาลูกหลานอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป
เข้ารับบริการฉีดวัคซีนโควิด 19 เพื่อป้องกันการป่วยหนัก ลดโอกาสเสียชีวิต

สามารถเข้ารับบริการฉีดวัคซีนที่โรงพยาบาลชุมชน หรือโรงพยาบาลศูนย์ใกล้บ้าน
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02e4eNnebN6DQKyzfYpUueyMDhPQZXQAbpZjvxjK3cben1MB4ZQqozUsmdFDJXm1N9l&id=100068069971811


กรมควบคุมโรค เผย !! การได้รับวัคซีนในเด็กเล็กลดลง อาจเกิดการระบาดของโรคหัด โรคคอตีบ โรคไอกรน
แนะผู้ปกครองรีบพาบุตรหลานเข้ารับวัคซีนตามกำหนด เริ่มฉีดเข็มแรกได้ตั้งแต่ อายุ 9 เดือนขึ้นไป
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 1422

นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้มีแผนเร่งรัดการฉีดวัคซีนตามแผนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค โรคหัด โรคคอตีบ โรคไอกรน โดยกรมควบคุมโรคได้มีการลงพื้นที่เพื่อหารือกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในเรื่องกลยุทธ์การเร่งรัดฉีดวัคซีนในกลุ่มเป้าหมายเด็ก จากการติดตามผลบริการฉีดวัคซีนภาพรวมได้ลดลงทุกวัคซีน เช่น ในเดือนตุลาคม 2565 พบความครอบคลุมการฉีดวัคซีนหัดเข็มที่ 1 เป็นร้อยละ 86 และเข็มที่ 2 เป็นร้อยละ 82 ซึ่งได้ลดลงจากปี 2562 ซึ่งพบความครอบคลุมการฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 ร้อยละ 92 และเข็มที่ 2 ร้อยละ 90 ตามลำดับ ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการเนื่องจากโรคหัดเป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจที่เกิดการแพร่เชื้อได้ง่ายมากและจะเกิดผลแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ หากมีการติดเชื้อในกลุ่มเด็กเล็กหรือผู้ใหญ่ โดยกระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมความพร้อมด้านวัคซีนป้องกันโรคหัดไว้แล้ว โดย สปสช. จะเป็นผู้สนับสนุนวัคซีนหัดในเด็กเล็ก ซึ่งสามารถรับวัคซีนเข็มที่ 1 ได้เมื่ออายุ 9 เดือน และรับวัคซีนเข็มที่ 2 ได้เมื่ออายุ 1 ปีครึ่ง และกรมควบคุมโรคจะเป็นผู้สนับสนุนวัคซีนหัดในผู้ใหญ่กลุ่มเสี่ยง ทั้งนี้ทุกกลุ่มเป้าหมายสามารถติดต่อขอรับบริการฉีดวัคซีนได้ที่โรงพยาบาลของรัฐใกล้บ้านโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ขอเชิญชวนให้พ่อแม่ผู้ปกครองนำบุตรหลานมารับวัคซีนให้ครบตามกำหนด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02xkzVDhiY2zULdyaQZ8GwAN7WDYtmsX4zbUtwztmq7Nb1KCHVzhKzXWNq5vRM4PWPl
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่