🇹🇭🔉มาลาริน🔉🇹🇭จีโนมฯ เผย'วัคซีนรุ่น 3'กับโควิดกลายพันธุ์ในอนาคต/'หมอ ยง'ชี้โควิดระบาดตามฤดูกาลแนะฉีดวัคซีนปีละครั้ง

ศูนย์จีโนมฯ เผย 'วัคซีนรุ่น 3' กับความหวังป้องโควิดกลายพันธุ์ในอนาคต
 

วันที่ 3 ก.พ.66 ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics  ระบุข้อความว่า ....👇

วัคซีนรุ่นที่ 3 (Third generation vaccine) กับความหวังในการป้องกันโควิด-19 กลายพันธุ์ที่จะระบาดในอนาคต

วัคซีนรุ่นที่ 1 (First generation vaccines) ที่ใช้หัวเชื้อเป็นโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิม “อู่ฮั่น” และวัคซีนรุ่นที่ 2 (COVID-19 Bivalent Vaccine Boosters) ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น ใช้หัวเชื้อเป็นไวรัสสองสายพันธุ์ ระหว่างโควิด-19

สายพันธุ์ดั้งเดิม “อู่ฮั่น” และ “โอมิครอน BA.4/BA.5” พบว่าการพัฒนาของวัคซีนไม่ทันกับการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19 (ที่สามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันจากวัคซีน)อยู่หนึ่งถึงสองก้าวเสมอ นักวิทยาศาสตร์จึงเร่งพัฒนาวัคซีนรุ่นที่ 3 ซึ่งป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ในวงกว้าง (broadly protective vaccines) ไม่ว่าจะเป็นเชื้อโควิดสายพันธุ์ปัจจุบัน หรือสายพันธุ์ในอนาคตที่โปรตีนส่วนหนามเปลี่ยนแปลงไปจนภูมิคุ้มกันที่ถูกสร้างขึ้นจากการกระตุ้นด้วยวัคซีนรุ่นที่ 1 หรือวัคซีนรุ่นที่ 2 ไม่สามารถเข้าจับและทำลายไวรัสกลายพันธุ์เหล่านั้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าสามารถป้องกันมิให้ผู้ได้รับวัคซีนเมื่อติดเชื้อโควิดมีอาการรุนแรงต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือเสียชีวิต

วัคซีนรุ่นที่ 3 จะใช้บางส่วนของโปรตีนหนามจากโควิดหลายสายพันธุ์ โดยเลือกบริเวณที่ไม่ค่อยมีการกลายพันธุ์ (conserved region) มาป้ายติดกับบน “อนุภาคนาโน (Nanoparticles)” บริเวณที่ว่าคือส่วน “โดเมนจับตัวรับบนผิวเซลล์มนุษย์ (the receptor-binding domain; RBD)” บนหนามของไวรัสโควิด-19 ซึ่งไวรัสจะใช้จับกับโปรตีนตัวรับ “ACE2” บนผิวเซลล์ของมนุษย์ ก่อนที่จะแทรกเข้าสู่เซลล์

ทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยวอชิงตันในซีแอตเติลและจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย (คาลเทค) ในเมืองพาซาดีนา กำลังเร่งผลิตวัคซีนรุ่นที่ 3 ที่เรียกว่า “วัคซีนโมเสก (mosaic vaccine)” ประกอบด้วย “อนุภาคนาโน” ที่ถูกแต้มด้วย ส่วน “RBD” ผลิตมาจากไวรัสโคโรนาหลายตระกูลที่แยกได้จากทั้งในมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่นค้างคาวเป็นต้น

วัคซีนรุ่นที่ 3 หรือ“วัคซีนโมเสก” แตกต่างจากวัคซีนรุ่นที่ 1 และ 2 ตรงที่จะไม่จำเพาะต่อโควิดใดสายพันธุ์หนึ่ง (broadly protective vaccine) เพราะวัคซีนโมเสกถูกสร้างจากการนำชิ้นส่วนของ “RBD” จากไวรัสโคโรนาหลากหลายสายพันธุ์มาเกาะรวมกันในอนุภาคเดียวเพื่อสามารถกระตุ้นให้สร้างแอนติบอดีหลากหลายชนิดในร่างกายมนุษย์พร้อมกันที่มีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่กว้างขึ้น

“แอนติบอดี” ที่สร้างจากเม็ดเลือดขาวประเภทเซลล์ B (B lymphocyte) ที่ถูกกระตุ้นด้วย “อนุภาคนาโน” ที่ถูกแต้มด้วยโปรตีน RBD จากโควิด-19 หลากหลายสายพันธุ์ จะเข้าจับยึดกับอนุภาคไวรัสได้อย่างแน่นหนามั่นคงกว่า
“อนุภาคนาโน” ที่ถูกแต้มด้วยโปรตีน RBD จะกระตุ้นให้ B เซลล์ เพิ่มจำนวนและผลิตแอนติบอดีมากขึ้น พร้อมกับการสร้างบีเซลล์ที่มีความจำ (memory B cell) เก็บไว้เพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อโควิด-19 ในอนาคต ที่มีการกลายพันธุ์ต่างไปจากโควิด-19 ในปัจจุบัน
 
https://siamrath.co.th/n/420221
  
'หมอ ยง' ชี้โควิดระบาดตามฤดูกาลแนะฉีดวัคซีนปีละครั้ง



วันที่ 20 ม.ค.65 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุข้อความว่า ...👇

โควิด 19 การระบาดจะเป็นแบบเข้าสู่ฤดูกาล ต่อไปจะฉีดวัคซีนปีละ 1 ครั้ง 

โน้มการระบาดของโรค ในประเทศไทยจะเข้าสู่ตามฤดูกาล
การระบาดจะเริ่มลดน้อยลงไปเรื่อยๆ และน้อยมากหลังกลางเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป จนถึงเดือนพฤษภาคม และจะมีการระบาดเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกลางกันยายน แต่ก็จะน้อยกว่าปีที่ผ่านมา เพราะประชากรส่วนใหญ่เคยติดเชื้อมาแล้ว ร่วมกับการได้รับวัคซีนไปเป็นจำนวนมาก

วัคซีนที่จะนำมาฉีด จะให้ปีละ 1 ครั้ง วัคซีนทุกชนิดจะไม่แตกต่างกัน เช่นไข้หวัดใหญ่ที่เราฉีดปีละ 1 ครั้ง เราก็ฉีดเชื้อตาย และกระตุ้นภูมิไม่สูงมาก มีความปลอดภัยสูง

ทำนองเดียวกันโรคโควิด 19 เมื่อเข้าสู่โรคประจำฤดูกาลแล้ว เราก็จะให้วัคซีนปีละ 1 ครั้ง ด้วยวัคซีนชนิดอะไรก็ได้ เหมือนเอาทหารกองหนุนมาฝึกซ้อมใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกัน เราจะไม่มีการฉีดวัคซีนกันทุก 4 เดือนแล้ว ได้มามากแล้ว

ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้น ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่เพราะโรคมีระยะฟักตัวสั้น เพียงแต่ลดความรุนแรงของโรค วัคซีนแต่ละชนิดมีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกัน จะเหลือให้ปีละ 1 ครั้ง

ต่อไปคงให้เฉพาะในกลุ่มเสี่ยง 608 เช่นเดียวกับการให้ใน ไข้หวัดใหญ่

https://siamrath.co.th/n/420203

ติดตามข่าวโควิดกันต่อนะคะ....
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 13

นพ.ยง คาด!!!
โควิดจะเป็นโรคประจำฤดูกาล ต่อไปต้องฉีดวัคซีนปีละครั้ง เพื่อลดความรุนแรงของโรค

แนวโน้มการระบาดของโรค ในประเทศไทยจะเข้าสู่ตามฤดูกาล การระบาดจะเริ่มลดน้อยลงไปเรื่อยๆ และน้อยมากหลังกลางเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป จนถึงเดือนพฤษภาคม และจะมีการระบาดเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกลางกันยายน แต่ก็จะน้อยกว่าปีที่ผ่านมา เพราะประชากรส่วนใหญ่เคยติดเชื้อมาแล้ว ร่วมกับการได้รับวัคซีนไปเป็นจำนวนมาก วัคซีนที่จะนำมาฉีด จะให้ปีละ 1 ครั้ง วัคซีนทุกชนิดจะไม่แตกต่างกัน เช่น ไข้หวัดใหญ่ที่เราฉีดปีละ 1 ครั้ง เราก็ฉีดเชื้อตาย และกระตุ้นภูมิไม่สูงมาก มีความปลอดภัยสูง

ทำนองเดียวกันโรคโควิด 19 เมื่อเข้าสู่โรคประจำฤดูกาลแล้ว เราก็จะให้วัคซีนปีละ 1 ครั้ง ด้วยวัคซีนชนิดอะไรก็ได้ เหมือนเอาทหารกองหนุนมาฝึกซ้อมใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกัน เราจะไม่มีการฉีดวัคซีนกันทุก 4 เดือนแล้ว ได้มามากแล้ว ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้น ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่เพราะโรคมีระยะฟักตัวสั้น เพียงแต่ลดความรุนแรงของโรค วัคซีนแต่ละชนิดมีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกัน จะเหลือให้ปีละ 1 ครั้ง ต่อไปคงให้เฉพาะในกลุ่มเสี่ยง 608 เช่นเดียวกับการให้ใน ไข้หวัดใหญ่

ที่มา Facebook Page : Yong Poovorawan
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0ytzE6jp2L2LVddjxK5ythNgiXTixwoTZh6jRKDq32oWQdNZ75UyaRAuZUb66D44ol


สธ. ผลักดัน (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาระบบยาฯ ระยะ 5 ปี
เพิ่มศักยภาพวิจัยพัฒนายาเน้นโควิด เพื่อประเทศมีความมั่นคงด้านยาอย่างยั่งยืน

ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานการประชุมกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า คณะกรรมการฯ ได้เห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาระบบยาของประเทศไทย พ.ศ. 2566-2570 โดยมี 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1.ส่งเสริมอุตสาหกรรมยาโดยร่วมวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยา 2.พัฒนากลไกการเข้าถึงยาถ้วนหน้า ราคายาที่สมเหตุผล ทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน 3.พัฒนากลไกสู่ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผล โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และ 4.การจัดการสารสนเทศเพื่อจัดการระบบยาแบบบูรณาการ มุ่งหวังให้เกิดระบบยาที่มั่นคง บนพื้นฐานของการวิจัยและพัฒนายา ประชาชนเข้าถึงยาคุณภาพอย่างทั่วถึงและปลอดภัย

ทั้งนี้ การนำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านยาฯ ไปสู่การปฏิบัติ จะช่วยเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมยาในประเทศ โดยผลักดันให้เกิดการผลิตยานวัตกรรมได้อย่างรวดเร็วและเพิ่มมูลค่าการส่งออกกว่า 16,000 ล้านบาท อีกทั้งยังผลักดันให้มียาสามัญทดแทนยาต้นแบบ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงยาจำเป็นของประชาชน และปรับปรุงบัญชี ยาหลักแห่งชาติ เช่น ยาสำหรับรักษาโรคโควิด-19 กรณีผู้ป่วยที่มีอาการระดับรุนแรง ยาสำหรับโรคหายากที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ผลิตภัณฑ์จากกัญชาและสมุนไพรไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติ เป็นต้น เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงและการใช้ยาจากสมุนไพรในระบบบริการสุขภาพได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงควบคุมค่าใช้จ่ายจากการกำหนดราคากลางของยาที่มีราคาแพง ซึ่งส่งผลให้ภาครัฐประหยัดงบประมาณกว่า 148 ล้านบาทต่อปี อีกทั้งการขับเคลื่อนประเทศสู่การใช้ยาอย่างสมเหตุผลสอดคล้องตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก

ดร.สาธิต ปิตุเตชะ กล่าวย้ำว่า สธ. จะเร่งผลักดัน (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาระบบยาของประเทศไทย พ.ศ. 2566 - 2570 นี้ เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อประกาศใช้ พร้อมมอบหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนให้ระบบยามั่นคงด้วยการวิจัยพัฒนา ประเทศมีการจัดหายาจำเป็นไว้ใช้อย่างต่อเนื่องและทันท่วงที ทั้งในภาวะปกติและฉุกเฉิน

ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0iMMAEH5bsT5XyF7w74Fk4rgsU2pogcfRZAxEAEwPWgmAN4GoRHGgKKVw1C5DH2kpl


12 ข้อแนะนำเบื้องต้นในการดูแลสุขภาพ สำหรับผู้มีภาวะ Long Covid
สามารถดาวน์โหลดอินโฟกราฟิกได้ที่..
https://www.thaihealth.or.th/?p=326546

ที่มา : สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) : ThaiHealth
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid031Xft5zdMx8bh7iiQJf2sGes8fAyeghL8zSWjGD2cyofpJ3mtJtYynoAqDFPzWzAzl
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่