คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 10
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2565
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0tv9iP5zseRX3NNrpcNbqCuidKGCNDoJ7oxnvXPr6ye2M9VHtWznNwkhyVsa7kKDMl
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 4 ก.ย. 2565)
รวม 142,850,396 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 4 กันยายน 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 9,920 โดส
เข็มที่ 1 : 1,016 ราย
เข็มที่ 2 : 1,893 ราย
เข็มที่ 3 : 7,011 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 57,270,511 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 53,743,238 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 31,836,647 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02rVvZPe26Bj3pnkb4uKhosCeNm9mRQ8K3Q1hHRSgQhsyqWGmxfWdGY5BEfjYZMJqql
How to...ทิ้งหน้ากากอนามัย ปลอดภัย ลดโอกาสแพร่เชื้อ
1. ล้างมือให้สะอาดก่อนถอดหน้ากากอนามัย
2. จับสายรัด 2 ข้าง แล้วถอดออก โดยไม่ใช้มือสัมผัสกับตัวหน้ากาก
3. นำหน้ากากอนามัยใส่ถุงแยกจากขยะทั่วไป แล้วรัดปากถุงให้แน่น ป้องกันการกระจายของเชื้อ
4. ทิ้งลงถังขยะติดเชื้อ เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี
5. ล้างมือให้สะอาดหลังทิ้งหน้ากากอนามัย
ที่มา : สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) : ThaiHealth
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0sEWx9uGMgawibYm5nyYPj71fNzW4tHAmy3xVVRFL4qorQ7DPswkAWS4sr369SFZCl
รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2565 จำนวน 22 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02iWev6go2CjevoKMN79JJwyKLebkAzVmrGvmwcv94jM34vB2crnHB1xYQHdcreBTtl
รัฐบาลย้ำ!! ประชาชนต้องรับวัคซีนเข็มกระตุ้น โดยเฉพาะกลุ่ม 608 ลดโอกาสป่วยหนักและเสียชีวิต
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แม้สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยจะทรงตัวและปรับตัวลดลง แต่ยังมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประชาชนต้องเข้ารับวัคซีนป้องกันโควิด-19 โดยเฉพาะในกลุ่ม 608 ที่ความเสี่ยงสูง
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ระบุถึงความจำเป็นที่ประชาชนต้องเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นเนื่องจากไวรัสโควิด-19 ยังคงมีการกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอนที่ขณะนี้มีการจับตาสายพันธุ์ BA.2.75 มีการพบครั้งแรกในอินเดีย และได้กระจายไปในหลายประเทศ คาดการณ์ว่าอาจมาแทนที่สายพันธุ์ BA.5 เนื่องจากการดื้อต่อภูมิต้านทานและแพร่ระบาดที่รวดเร็ว ทั้งในผู้ที่เคยติดเชื้อโควิดมาก่อนและผู้ไม่เคยติดเชื้อ
รัฐบาล ขอให้ประชาชนเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อลดการติดเชื้อ ลดอัตราการนอนโรงพยาบาล และอัตราการเสียชีวิต จากข้อมูลของ ศบค. ล่าสุด พบว่า จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่ม 608 เสียชีวิตด้วยอาการปอดอักเสบรุนแรง ตั้งแต่เดือนม.ค. - ก.ค. 2565 ทั้งหมด 9,373 ราย เป็นผู้ไม่ได้รับวัคซีนถึง 5,260 ราย
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid02k1FvfQJJQFSsYiGt5r7gZtXBrZQ1dnansYJmDpjBhRKTn2gh69iN56CUhCygjBpLl
“นพ.ยง” ชี้โควิด 19 แนวโน้มดีขึ้น หลังจากรับฉีดวัคซีน – ติดเชื้อจำนวนมาก (ร่างกายสร้างภูมิ) เดินหน้าสู่โรคประจำฤดูกาล
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หน.ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุ ภาพรวมของ covid 19 มีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้น ประชากรส่วนใหญ่ มีภูมิต้านทานเกิดขึ้น จากการฉีดวัคซีน ฉีดไปแล้วเกือบ 143 ล้านโดส แต่ฉีดครบ 2 เข็ม อยู่ประมาณเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ และการฉีด 3 เข็ม ประมาณเกือบ 40 เปอร์เซ็นต์ อยากให้มีการฉีดวัคซีนให้มากกว่านี้ โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง ขณะเดียวกันประชากรส่วนใหญ่ มีภูมิต้านทานเกิดขึ้นจากการติดเชื้อโดยธรรมชาติ ยอดการติดเชื้อที่มีการแจ้งให้ทราบ เป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าความเป็นจริงมาก ในความเป็นจริงประชากรไทยติดเชื้อไปแล้วมากกว่าครึ่งหนึ่ง
จากข้อมูลชัดในการศึกษาของศูนย์ เด็ก 5-6 ปี (เป็นวัยที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีน) ติดเชื้อไปแล้ว 47% จากการตรวจเลือด เพียงครึ่งเดียวที่ทราบว่าติดเชื้อ อีกครึ่งหนึ่งเป็นการติดเชื้อแบบมีอาการน้อย - ไม่มีอาการ แต่ตรวจพบภูมิต้านทานบ่งบอกถึงการติดเชื้อมาแล้ว และจากการศึกษา Covovax ร่วมกับทางจังหวัดชลบุรี ในอาสาสมัคร 215 คน มีข้อบ่งต้องไม่เคยติดเชื้อมาก่อน แต่พบว่า เมื่อตรวจเลือดมีการติดเชื้อมาแล้วถึง 1 ใน 3 และถ้ารวมคนที่ติด จำนวนเกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือมากกว่าแน่นอน แสดงว่าส่วนใหญ่มีการติดเชื้อเกิดขึ้นแล้ว และภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ ร่วมกับการฉีดวัคซีน จะเป็นภูมิต้านทานแบบลูกผสม ที่สามารถป้องกันและลดความรุนแรงได้เป็นอย่างดี
“ข้อมูลทั้งหมดจึงแสดงให้เห็นว่า ขณะนี้ประชากรส่วนใหญ่ มีภูมิต้านทานเกิดขึ้น จากการฉีดวัคซีนและจากการติดเชื้อมาแล้วเป็นจำนวนมาก และการติดเชื้อซ้ำจะทำให้อาการต่างๆ น้อยลง โรคจะดำเนินต่อไป เป็นประจำฤดูกาล ภาพรวมความรุนแรงของโรคจะน้อยลง เพราะส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานเกิดขึ้น ถึงแม้ว่าจะไม่ตรงกับสายพันธุ์”
ที่มา : https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid02W6rJ2uLTKc7aVwi1zu3yQ8yxadGCsNVuFi1Dr8noM2MdKshvEzHSeqvx13GdtpC8l&id=100000978797641&m_entstream_source=timeline
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid02hgVYHJxQo2xxAndRBuq9Wcnc5pJgQseUpx8NtTgFfKpegtpnaGgW8W5nAvQGcPQNl
กระทรวงสาธารณสุข แถลงสถานการณ์ฝีดาษวานร ประจำวันที่ 5 กันยายน 2565 เวลา 11.00 น.
https://web.facebook.com/DMScNews/videos/1197294991001255/ (มีคลิป)
แถลงความคืบหน้าสถานการณ์โรคฝีดาษวานร
ณ กระทรวงสาธารณสุข
5 กันยายน 2565
ผลทดสอบวัคซีนฝีดาษลิง 40 ปีก่อน – ปลูกฝี ไร้ภูมิฯ ป้องกันแล้ว เล็งจัดหาวัคซีนรุ่น 3 ประมาณ 1 พันโดส จัดสรร 2 กลุ่ม เร่งต่อยอดผลิตได้เองราคาถูก
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยผลการทดสอบภูมิคุ้มกันต่อโรคฝีดาษลิง" ในคน ที่เคยปลูกฝี (ได้รับวัคซีนฝีดาษมานานกว่า 40 ปี และทดสอบภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อในไทย) ซึ่งวัคซีนฝีดาษคนในไทย หยุดการฉีด ตั้งแต่ปี 2523 จากการทดสอบอาสาสมัคร 28 คน (ช่วงอายุ 45-54 ปี ช่วงอายุ 55-64 ปี ช่วงอายุ 65-74 ปี) พบว่าไม่มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสฝีดาษลิงทั้ง 2 สายพันธุ์ (มี 2 คน ระดับภูมิคุ้มขึ้นเล็กน้อย 1 คน มีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ A.2, อีก 1คน มีภูมิคุ้มกันต่อทั้ง 2 สายพันธุ์ สำหรับผลการทดสอบน้ำเลือดคนติดเชื้อฝีดาษลิง มีภูมิธรรมชาติสามารถป้องกันเชื้อสายพันธุ์ A.2 ได้มากกว่าสายพันธุ์ B.1
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนฝีดาษลิงโดยตรง แต่ที่นำมาใช้คือวัคซีนฝีดาษคน ได้ผลป้องกันเชื้อฝีดาษลิงร้อยละ 85 ขณะนี้มีวัคซีนรุ่น 3 (ไม่ต้องปลูกฝี) สหรัฐและยุโรปได้อนุมัติการใช้ โดยฉีดเข้าชั้นผิวหนัง เป็นตุ่มเม็ดถั่วเขียว ปริมาณ 0.1 มิลลิลิตร และชั้นใต้ผิวหนัง ปริมาณ 0.5 มิลลิลิตร กรมควบคุมโรคเป็นผู้จัดหา เบื้องต้นอยู่ประมาณ 1,000 โดส ราคายังค่อนข้างสูง แบ่ง 2 กลุ่มรับวัคซีน กลุ่มแรกเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการที่อาจมีความเสี่ยง และกลุ่มบุคคลทั่วไปที่มีประวัติเสี่ยง มีอาการ และสัมผัสผู้ติดเชื้อ ซึ่งสถานการณ์ขณะนี้ ยังไม่มีความจำเป็นที่ทุกคนต้องได้รับวัคซีนโรคฝีดาษเพราะอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างต่ำ
ล่าสุด สถาบันวัคซีนแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ขอเชื้อไวรัสฝีดาษลิงที่กรมฯ ได้ทำการเพาะขึ้นมา เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอด ผลิตวัคซีนโรคฝีดาษลิง หากผลิตได้จะทำให้วัคซีนมีราคาถูก
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid0TKsngdPvB3CKtq8a9y5qKrXarUtx5qeXYq2X3qHxnBPxL2wr83BMw1t7g5DbS2Z3l
“ไข้เลือดออก” ยังระบาดแรง โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง “เด็ก-เด็กเล็ก” กรมการแพทย์แนะวิธีสร้างเกราะภูมิคุ้มกัน 4 ชั้น ป้องกัน
นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เผยสภาพอากาศค่อนข้างร้อนชื้นของไทย จะเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสเดงกี บวกกับมีฝนตกและมีความเสี่ยงสูงขึ้นทำให้เกิดแหล่งน้ำขังหลายพื้นที่ ทำให้ลูกน้ำยุงลายมีปริมาณมากเติบโตได้ดี โอกาสที่จะแพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้น กลุ่มเด็กอายุระหว่าง 10-14 ปี เป็นกลุ่มที่พบมาก กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเสียชีวิตสูงเมื่อป่วย คือ กลุ่มเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี
นายแพทย์อดิศัย ภัตตาตั้ง ผอ.สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ระบุ การป้องกันโรคไข้เลือดออกสามารถทำได้ 4 ขั้นตอน (เปรียบเสมือนสร้างเกราะภูมิคุ้มกัน)
● เกราะคุ้มกันชั้นที่ 1 การป้องกันตัวเองและบุตรหลานไม่ให้ยุงกัด ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ (สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ทายากันยุง ติดมุ้งลวด นอนในมุ้ง)
● เกราะคุ้มกันชั้นที่ 2 ช่วยกันกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ปิดฝาอุปกรณ์เก็บกักน้ำ (โอ่ง ไม่ให้ยุงลายวางไข่)
● เกราะคุ้มกันชั้นที่ 3 พบแพทย์เมื่อป่วยเป็นไข้ ควรติดตามอาการ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
● เกราะคุ้มกันเสริม แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก ในเด็กอายุตั้งแต่ 6 - ผู้ใหญ่อายุ 45 ปี ที่เคยป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกแล้วเท่านั้น
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid02ocBFQLkGDEvQbidYnyB56vnK3H8Qx7SKcow27TjaoxSJJbuLDLZMRBEkYPMrXFQ5l
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2565
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0tv9iP5zseRX3NNrpcNbqCuidKGCNDoJ7oxnvXPr6ye2M9VHtWznNwkhyVsa7kKDMl
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 4 ก.ย. 2565)
รวม 142,850,396 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 4 กันยายน 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 9,920 โดส
เข็มที่ 1 : 1,016 ราย
เข็มที่ 2 : 1,893 ราย
เข็มที่ 3 : 7,011 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 57,270,511 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 53,743,238 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 31,836,647 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02rVvZPe26Bj3pnkb4uKhosCeNm9mRQ8K3Q1hHRSgQhsyqWGmxfWdGY5BEfjYZMJqql
How to...ทิ้งหน้ากากอนามัย ปลอดภัย ลดโอกาสแพร่เชื้อ
1. ล้างมือให้สะอาดก่อนถอดหน้ากากอนามัย
2. จับสายรัด 2 ข้าง แล้วถอดออก โดยไม่ใช้มือสัมผัสกับตัวหน้ากาก
3. นำหน้ากากอนามัยใส่ถุงแยกจากขยะทั่วไป แล้วรัดปากถุงให้แน่น ป้องกันการกระจายของเชื้อ
4. ทิ้งลงถังขยะติดเชื้อ เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี
5. ล้างมือให้สะอาดหลังทิ้งหน้ากากอนามัย
ที่มา : สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) : ThaiHealth
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0sEWx9uGMgawibYm5nyYPj71fNzW4tHAmy3xVVRFL4qorQ7DPswkAWS4sr369SFZCl
รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2565 จำนวน 22 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02iWev6go2CjevoKMN79JJwyKLebkAzVmrGvmwcv94jM34vB2crnHB1xYQHdcreBTtl
รัฐบาลย้ำ!! ประชาชนต้องรับวัคซีนเข็มกระตุ้น โดยเฉพาะกลุ่ม 608 ลดโอกาสป่วยหนักและเสียชีวิต
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แม้สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยจะทรงตัวและปรับตัวลดลง แต่ยังมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประชาชนต้องเข้ารับวัคซีนป้องกันโควิด-19 โดยเฉพาะในกลุ่ม 608 ที่ความเสี่ยงสูง
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ระบุถึงความจำเป็นที่ประชาชนต้องเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นเนื่องจากไวรัสโควิด-19 ยังคงมีการกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอนที่ขณะนี้มีการจับตาสายพันธุ์ BA.2.75 มีการพบครั้งแรกในอินเดีย และได้กระจายไปในหลายประเทศ คาดการณ์ว่าอาจมาแทนที่สายพันธุ์ BA.5 เนื่องจากการดื้อต่อภูมิต้านทานและแพร่ระบาดที่รวดเร็ว ทั้งในผู้ที่เคยติดเชื้อโควิดมาก่อนและผู้ไม่เคยติดเชื้อ
รัฐบาล ขอให้ประชาชนเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อลดการติดเชื้อ ลดอัตราการนอนโรงพยาบาล และอัตราการเสียชีวิต จากข้อมูลของ ศบค. ล่าสุด พบว่า จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่ม 608 เสียชีวิตด้วยอาการปอดอักเสบรุนแรง ตั้งแต่เดือนม.ค. - ก.ค. 2565 ทั้งหมด 9,373 ราย เป็นผู้ไม่ได้รับวัคซีนถึง 5,260 ราย
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid02k1FvfQJJQFSsYiGt5r7gZtXBrZQ1dnansYJmDpjBhRKTn2gh69iN56CUhCygjBpLl
“นพ.ยง” ชี้โควิด 19 แนวโน้มดีขึ้น หลังจากรับฉีดวัคซีน – ติดเชื้อจำนวนมาก (ร่างกายสร้างภูมิ) เดินหน้าสู่โรคประจำฤดูกาล
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หน.ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุ ภาพรวมของ covid 19 มีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้น ประชากรส่วนใหญ่ มีภูมิต้านทานเกิดขึ้น จากการฉีดวัคซีน ฉีดไปแล้วเกือบ 143 ล้านโดส แต่ฉีดครบ 2 เข็ม อยู่ประมาณเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ และการฉีด 3 เข็ม ประมาณเกือบ 40 เปอร์เซ็นต์ อยากให้มีการฉีดวัคซีนให้มากกว่านี้ โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง ขณะเดียวกันประชากรส่วนใหญ่ มีภูมิต้านทานเกิดขึ้นจากการติดเชื้อโดยธรรมชาติ ยอดการติดเชื้อที่มีการแจ้งให้ทราบ เป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าความเป็นจริงมาก ในความเป็นจริงประชากรไทยติดเชื้อไปแล้วมากกว่าครึ่งหนึ่ง
จากข้อมูลชัดในการศึกษาของศูนย์ เด็ก 5-6 ปี (เป็นวัยที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีน) ติดเชื้อไปแล้ว 47% จากการตรวจเลือด เพียงครึ่งเดียวที่ทราบว่าติดเชื้อ อีกครึ่งหนึ่งเป็นการติดเชื้อแบบมีอาการน้อย - ไม่มีอาการ แต่ตรวจพบภูมิต้านทานบ่งบอกถึงการติดเชื้อมาแล้ว และจากการศึกษา Covovax ร่วมกับทางจังหวัดชลบุรี ในอาสาสมัคร 215 คน มีข้อบ่งต้องไม่เคยติดเชื้อมาก่อน แต่พบว่า เมื่อตรวจเลือดมีการติดเชื้อมาแล้วถึง 1 ใน 3 และถ้ารวมคนที่ติด จำนวนเกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือมากกว่าแน่นอน แสดงว่าส่วนใหญ่มีการติดเชื้อเกิดขึ้นแล้ว และภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ ร่วมกับการฉีดวัคซีน จะเป็นภูมิต้านทานแบบลูกผสม ที่สามารถป้องกันและลดความรุนแรงได้เป็นอย่างดี
“ข้อมูลทั้งหมดจึงแสดงให้เห็นว่า ขณะนี้ประชากรส่วนใหญ่ มีภูมิต้านทานเกิดขึ้น จากการฉีดวัคซีนและจากการติดเชื้อมาแล้วเป็นจำนวนมาก และการติดเชื้อซ้ำจะทำให้อาการต่างๆ น้อยลง โรคจะดำเนินต่อไป เป็นประจำฤดูกาล ภาพรวมความรุนแรงของโรคจะน้อยลง เพราะส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานเกิดขึ้น ถึงแม้ว่าจะไม่ตรงกับสายพันธุ์”
ที่มา : https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid02W6rJ2uLTKc7aVwi1zu3yQ8yxadGCsNVuFi1Dr8noM2MdKshvEzHSeqvx13GdtpC8l&id=100000978797641&m_entstream_source=timeline
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid02hgVYHJxQo2xxAndRBuq9Wcnc5pJgQseUpx8NtTgFfKpegtpnaGgW8W5nAvQGcPQNl
กระทรวงสาธารณสุข แถลงสถานการณ์ฝีดาษวานร ประจำวันที่ 5 กันยายน 2565 เวลา 11.00 น.
https://web.facebook.com/DMScNews/videos/1197294991001255/ (มีคลิป)
แถลงความคืบหน้าสถานการณ์โรคฝีดาษวานร
ณ กระทรวงสาธารณสุข
5 กันยายน 2565
ผลทดสอบวัคซีนฝีดาษลิง 40 ปีก่อน – ปลูกฝี ไร้ภูมิฯ ป้องกันแล้ว เล็งจัดหาวัคซีนรุ่น 3 ประมาณ 1 พันโดส จัดสรร 2 กลุ่ม เร่งต่อยอดผลิตได้เองราคาถูก
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยผลการทดสอบภูมิคุ้มกันต่อโรคฝีดาษลิง" ในคน ที่เคยปลูกฝี (ได้รับวัคซีนฝีดาษมานานกว่า 40 ปี และทดสอบภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อในไทย) ซึ่งวัคซีนฝีดาษคนในไทย หยุดการฉีด ตั้งแต่ปี 2523 จากการทดสอบอาสาสมัคร 28 คน (ช่วงอายุ 45-54 ปี ช่วงอายุ 55-64 ปี ช่วงอายุ 65-74 ปี) พบว่าไม่มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสฝีดาษลิงทั้ง 2 สายพันธุ์ (มี 2 คน ระดับภูมิคุ้มขึ้นเล็กน้อย 1 คน มีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ A.2, อีก 1คน มีภูมิคุ้มกันต่อทั้ง 2 สายพันธุ์ สำหรับผลการทดสอบน้ำเลือดคนติดเชื้อฝีดาษลิง มีภูมิธรรมชาติสามารถป้องกันเชื้อสายพันธุ์ A.2 ได้มากกว่าสายพันธุ์ B.1
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนฝีดาษลิงโดยตรง แต่ที่นำมาใช้คือวัคซีนฝีดาษคน ได้ผลป้องกันเชื้อฝีดาษลิงร้อยละ 85 ขณะนี้มีวัคซีนรุ่น 3 (ไม่ต้องปลูกฝี) สหรัฐและยุโรปได้อนุมัติการใช้ โดยฉีดเข้าชั้นผิวหนัง เป็นตุ่มเม็ดถั่วเขียว ปริมาณ 0.1 มิลลิลิตร และชั้นใต้ผิวหนัง ปริมาณ 0.5 มิลลิลิตร กรมควบคุมโรคเป็นผู้จัดหา เบื้องต้นอยู่ประมาณ 1,000 โดส ราคายังค่อนข้างสูง แบ่ง 2 กลุ่มรับวัคซีน กลุ่มแรกเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการที่อาจมีความเสี่ยง และกลุ่มบุคคลทั่วไปที่มีประวัติเสี่ยง มีอาการ และสัมผัสผู้ติดเชื้อ ซึ่งสถานการณ์ขณะนี้ ยังไม่มีความจำเป็นที่ทุกคนต้องได้รับวัคซีนโรคฝีดาษเพราะอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างต่ำ
ล่าสุด สถาบันวัคซีนแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ขอเชื้อไวรัสฝีดาษลิงที่กรมฯ ได้ทำการเพาะขึ้นมา เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอด ผลิตวัคซีนโรคฝีดาษลิง หากผลิตได้จะทำให้วัคซีนมีราคาถูก
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid0TKsngdPvB3CKtq8a9y5qKrXarUtx5qeXYq2X3qHxnBPxL2wr83BMw1t7g5DbS2Z3l
“ไข้เลือดออก” ยังระบาดแรง โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง “เด็ก-เด็กเล็ก” กรมการแพทย์แนะวิธีสร้างเกราะภูมิคุ้มกัน 4 ชั้น ป้องกัน
นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เผยสภาพอากาศค่อนข้างร้อนชื้นของไทย จะเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสเดงกี บวกกับมีฝนตกและมีความเสี่ยงสูงขึ้นทำให้เกิดแหล่งน้ำขังหลายพื้นที่ ทำให้ลูกน้ำยุงลายมีปริมาณมากเติบโตได้ดี โอกาสที่จะแพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้น กลุ่มเด็กอายุระหว่าง 10-14 ปี เป็นกลุ่มที่พบมาก กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเสียชีวิตสูงเมื่อป่วย คือ กลุ่มเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี
นายแพทย์อดิศัย ภัตตาตั้ง ผอ.สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ระบุ การป้องกันโรคไข้เลือดออกสามารถทำได้ 4 ขั้นตอน (เปรียบเสมือนสร้างเกราะภูมิคุ้มกัน)
● เกราะคุ้มกันชั้นที่ 1 การป้องกันตัวเองและบุตรหลานไม่ให้ยุงกัด ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ (สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ทายากันยุง ติดมุ้งลวด นอนในมุ้ง)
● เกราะคุ้มกันชั้นที่ 2 ช่วยกันกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ปิดฝาอุปกรณ์เก็บกักน้ำ (โอ่ง ไม่ให้ยุงลายวางไข่)
● เกราะคุ้มกันชั้นที่ 3 พบแพทย์เมื่อป่วยเป็นไข้ ควรติดตามอาการ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
● เกราะคุ้มกันเสริม แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก ในเด็กอายุตั้งแต่ 6 - ผู้ใหญ่อายุ 45 ปี ที่เคยป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกแล้วเท่านั้น
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid02ocBFQLkGDEvQbidYnyB56vnK3H8Qx7SKcow27TjaoxSJJbuLDLZMRBEkYPMrXFQ5l
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭💛มาลาริน💛🇹🇭5ก.ย.โควิดไทยอันดับ29โลก/ป่วย1,360คน หาย2,106คน ตาย22คน/ย้ำปชช.ฉีดวัคซีน/ยังเป็นBA.5/แนวโน้มไปในทางดี
https://www.bangkokbiznews.com/health/1024785
รัฐย้ำปชช.จำเป็นต้อง‘ฉีดวัคซีน’ เปิดอัตรา‘เสียชีวิต’กลุ่มไม่ฉีด-ไม่กระตุ้น
รัฐบาลย้ำประชาชนจำเป็นต้องรับวัคซีนเข็มกระตุ้น แม้สถานการณ์โควิด19 โดยรวมดีขึ้น โดยเฉพาะกลุ่ม 608 เพื่อลดโอกาสป่วยหนัก เสียชีวิต สาธารณสุขเผยกลุ่มเสี่ยงที่เสียชีวิตร้อยละ 56.12 เป็นผู้ยังไม่รับวัคซีน และอีกร้อยละ 35.5 ยังไม่รับวัคซีนเข็มกระตุ้น
5 กันยายน 2565 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แม้สถานการณ์ผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากโควิด-19 ในประเทศไทยจะทรงตัวและปรับตัวลดลง ขณะที่รัฐบาลทยอยประกาศผ่อนคลายมาตรการให้ประชาชนกลับมาใช้ชีวิตเกือบเป็นปกติ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แต่ยังมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประชาชนต้องเข้ารับวัคซีนป้องกันโควิด-19 โดยเฉพาะในกลุ่ม 608 ที่ความเสี่ยงสูงสูง ที่นอกจากรับวัคซีนครบตามเกณฑ์แล้วจะต้องเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นเข็มที่ 3 และ 4
ทั้งนี้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ระบุถึงความจำเป็นที่ประชาชนต้องเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นเนื่องจากไวรัสโควิด19 ยังคงมีการกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง เช่นกรณีขอสายพันธุ์โอมิครอนที่ขณะนี้มีการจับตาสายพันธุ์ BA.2.75 ซึ่งมีการพบครั้งแรกในอินเดียและขณะนี้ได้กระจายไปในหลายประเทศและได้มีการคาดการณ์ว่าอาจมาแทนที่สายพันธุ์ BA.5 เนื่องจากการดื้อต่อภูมิต้านทานและแพร่ระบาดที่รวดเร็ว ทั้งในผู้ที่เคยติดเชื้อโควิดมาก่อนและผู้ไม่เคยติดเชื้อ
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า รัฐบาลจึงขอให้ประชาชนเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อที่ยังมีรายการการกลายพันธุ์ต่อเนื่อง หรือหากติดเชื้อไวรัสก็ลดความรุนแรงของโรค ลดอัตราการนอนโรงพยาบาล และอัตราการเสียชีวิตได้ เห็นได้จากข้อมูลที่กระทรวงสาธารณสุขรายงานต่อที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19 (ศบค.) ล่าสุด ได้พบว่า จากจำนวนผู้ป่วยโควิด19 กลุ่ม 608 ซึ่งเสียชีวิตด้วยอาการปอดอักเสบรุนแรง ตั้งแต่เดือนม.ค.-ก.ค. 2565 ทั้งหมด 9,373 รายนั้น เป็นผู้ไม่ได้รับวัคซีนถึง 5,260 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 56.12 เป็นผู้ยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น 3,327 คน หรือร้อยละ 35.5 ส่วนผู้ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น มีจำนวน 786 ราย หรือร้อยละ 8.38
“รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุข ได้เตรียมวัคซีนป้องกันโควิด19 เพื่อบริการประชาชนอย่างเพียงพอ โดยมีแผนบริหารการให้วัคซีนเข็มกระตุ้นในเดือน ก.ย. 2565 สำหรับผู้ได้รับวัคซีนเชื้อตายมาใน 2 เข็มแรก เข็มที่ 3และ4 จะเป็นวัคซีนแอสตราเซเนกาต่อเนื่องกัน หรือ ไฟเซอร์ต่อเนื่องกัน , ผู้ที่รับวัคซีนซิโนแวคเข็มแรกและเข็มที่2 เป็นวัคซีนแอสตราเซเนกา เข็มที่3 และ4 จะเป็นวัคซีนแอสตราเซเนกาต่อเนื่องกัน , ผู้ได้รับวัคซีนแอสตราเซเนกาใน 2 เข็มแรก เข็มที่3และ4 จะเป็นวัคซีนไฟเซอร์ต่อเนื่องกัน , ส่วนผู้มีอายุ 12-17 ปี จะได้รับเข็มกระตุ้นเป็นวัคซีนไฟเซอร์” น.ส.ไตรศุลี กล่าว
https://www.naewna.com/local/677879
สายพันธุ์ "โควิด" BA.5 ยังครองไทย ไม่มีตัวใหม่แทนที่ วัคซีน BA.1 ไม่ต่างจากเดิมมาก
กรมวิทย์เผยสายพันธุ์ "โควิด" ในไทยยังเป็น BA.5 ส่วน BA.2.75 ยังไม่พบแนวโน้มมาแทนที่ สถานการณ์ 2-3 เดือนที่ผ่านมายังไม่แตกต่าง ระบุวัคซีนรุ่น BA.1 ยังไม่คุ้มที่จะซื้อ เหตุยังติดซ้ำได้ ไม่แตกต่างจากของเดิมมาก
เมื่อวันที่ 5 ก.ย. นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด 19 ว่า ในส่วนของสายพันธุ์ BA.2.75 พบมี 13 ราย ขณะนี้ที่ระบาดเร็วที่สุดและมากที่สุดคือ BA.5 ซึ่งภาพรวมประเทศไทยตอนนี้เป็นสายพันธุ์ BA.4/BA.5 เกือบ 100% โดยเมื่อถอดรหัสพันธุกรรมแล้วเป็น BA.5 มากกว่า BA.4 ประมาณ 6 เท่า หรือประมาณ 10 ราย เป็น BA.5 ประมาณ 8 กว่าราย ส่วน BA.2.75 ยังไม่เห็นว่าจะมาเบียดหรือแทนที่ ยังพบประปราย ขณะที่ BA.4.6 ยังไม่เจอเลย ดังนั้น ขณะนี้น่าจะยังไม่เปลี่ยน คล้ายสภาพการณ์ทั่วโลก อย่างตนเพิ่งกลับจากญี่ปุ่นก็พบว่าที่นั่นติดวันละเป็นแสนราย ยังไม่เปิดประเทศ จำกัดคนเดินทางไป นักท่องเที่ยวไม่ให้เข้า ต้องมีผลตรวจ RT-PCR 72 ชั่วโมง ถือว่ามีมาตรการเยอะ ส่วนสถานการณ์ของประเทศไทยไม่น่ามีอะไรต่างจาก 2-3 เดือนที่ผ่านมา ยังมีคนติดเชื้อได้จำนวนหนึ่ง
เมื่อถามถึงการตรวจวัดภูมิคุ้มกันหมู่เพิ่มเติม และต้องฉีดกระตุ้นเข็ม 6 หรือไม่ นพ.ศุภกิจกล่าวว่า เราทำมาถึงเข็ม 3 ส่วนเข็ม 4 อยู่ในแนวทางที่จะทำ แม้จะมีข่าวว่า พยายามอนุมัติให้ฉีดวัคซีนสายพันธุ์ที่ทันสมัยขึ้น ส่วนใหญ่เป็นวัคซีน BA.1 แต่พวกเราก็เห็นสถานการณ์ว่า คนติดเชื้อ BA.1 ยังติด BA.5 ซ้ำ ถ้าเราไปเปลี่ยนวัคซีนเป็น BA.1 ก็ไม่ได้ช่วยอะไรมากมาย เราจึงไม่ได้รับร้อนกระโดดไปซื้อวัคซีน BA.1 ดังนั้น วัคซีนที่ผลิตรอบหลังต่างจากของเดิมมากแค่ไหน ก็ต่างกันนิดหน่อย ไม่คุ้มค่าที่จะไปซื้อมา เชื่อว่าวัคซีนไล่ไม่ทันสายพันธุ์ แม้กระทั่งวันนี้ใครทำ BA.5 มาขาย ไม่กี่เดือนก็อาจเปลี่ยนสายพันธุ์เป็นอย่างอื่นก็ลดประสิทธิภาพลงเช่นกัน แต่ก็ยังช่วยในหลักทั่วไป จากข้อมูลเยอะๆ พบว่า การปูพื้นด้วยวัคซีนเชื้อตายจำนวนหนึ่งไม่เสียเปล่า เพราะเอาทั้งตัวไปกระตุ้นเลยเป็นฐานที่ดี แล้วกระตุ้นด้วยรูปแบบอื่นให้ภูมิสูงขึ้นมา
https://mgronline.com/qol/detail/9650000085114
'ง' ชี้ 'โควิด' แนวโน้มไปในทางที่ดีขึ้น
5 ก.ย. 2565 – ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19 แนวโน้มไปในทางที่ดีขึ้น จากการฉีดวัคซีนและการติดเชื้อไปแล้วจำนวนมาก
ภาพรวมของ covid 19 มีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้น
ประชากรส่วนใหญ่ มีภูมิต้านทานเกิดขึ้น จากการฉีดวัคซีน มีการฉีดวัคซีนไปแล้วเกือบ 143 ล้านโดส แต่เมื่อดูการฉีดครบ 2 เข็ม ก็อยู่ประมาณเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ และการฉีด 3 เข็ม ประมาณเกือบ 40 เปอร์เซ็นต์ ทั้งที่เรามีวัคซีนเพียงพอ และอยากให้มีการฉีดวัคซีนให้มากกว่านี้ โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง
ในขณะเดียวกันประชากรส่วนใหญ่ มีภูมิต้านทานเกิดขึ้นจากการติดเชื้อโดยธรรมชาติ ยอดการติดเชื้อที่มีการแจ้งให้ทราบ เป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าความเป็นจริงมาก ในความเป็นจริงประชากรไทยติดเชื้อไปแล้วมากกว่าครึ่งหนึ่ง
จากข้อมูลที่เห็นได้ชัดในการศึกษาของศูนย์ ในเด็ก 5 – 6 ปี เป็นวัยที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีน มีการติดเชื้อไปแล้ว 47% จากการตรวจเลือด เพียงครึ่งเดียวที่ทราบว่าติดเชื้อ อีกครึ่งหนึ่งเป็นการติดเชื้อแบบมีอาการน้อย หรือไม่มีอาการ แต่ตรวจพบภูมิต้านทานบ่งบอกถึงการติดเชื้อมาแล้ว และจากการศึกษาของเรา ร่วมกับทางจังหวัดชลบุรี ในการศึกษาวัคซีน Covovax ในอาสาสมัคร 215 คน โดยมีข้อบ่งชี้ว่าจะต้องไม่เคยติดเชื้อมาก่อน แต่พบว่า เมื่อนำมาตรวจเลือด คนที่บอกว่าไม่เคยติดเชื้อมาก่อน แต่ผลเลือดแสดงว่ามีการติดเชื้อมาแล้วถึง 1 ใน 3 และถ้ารวมคนที่ติดเชื้อแบบที่ทราบและรู้แล้ว จำนวนการติดเชื้อมาแล้ว เกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือมากกว่าแน่นอน แสดงว่าคนไทยส่วนใหญ่มีการติดเชื้อเกิดขึ้นแล้ว และภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ ร่วมกับการฉีดวัคซีน จะเป็นภูมิต้านทานแบบลูกผสม ที่สามารถป้องกันและลดความรุนแรงของโรคได้เป็นอย่างดี
ข้อมูลทั้งหมดจึงแสดงให้เห็นว่า ขณะนี้ประชากรส่วนใหญ่ มีภูมิต้านทานเกิดขึ้น จากการฉีดวัคซีนและจากการติดเชื้อมาแล้วเป็นจำนวนมาก และการติดเชื้อซ้ำ จะทำให้อาการต่างๆ น้อยลง โรคก็จะดำเนินต่อไป เป็นประจำฤดูกาล ภาพรวมความรุนแรงของโรคจะน้อยลง เพราะประชากรส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานเกิดขึ้น ถึงแม้ว่าจะไม่ตรงกับสายพันธุ์
https://www.thaipost.net/covid-19-news/214382/
ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ.....