🇹🇭มาลาริน💛27มิ.ย.ไทยไม่ติดTop10โลก/ป่วย1,735คน หายป่วย2,138คน เสียชีวิต15คน/สธ.เล็งฉีดวัคซีนโควิด เด็กอายุ 6เดือน-5ปี


https://www.sanook.com/news/8583006/

https://www.bangkokbiznews.com/social/1012153

https://www.bangkokbiznews.com/social/1012195

เพี้ยนแคปเจอร์สธ.เล็งฉีดวัคซีนโควิด เด็กอายุ 6เดือน- 5ปี รออย.อนุมัติ หลังBA.4/BA.5 แพร่เร็วกว่าเดิม1.3-1.4เท่า



27 มิ.ย.65- ที่โรงแรมแกรนด์ ริชมอนด์ จ.นนทบุรี นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์โอมิครอน BA.4/BA.5 ว่า 2 สายพันธุ์ย่อยนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีระบบเฝ้าระวังสายพันธุ์ และพบตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งประเด็นที่กังวลว่าโรคจะแพร่เร็วจนไม่สามารถควบคุมได้นั้น พบว่าในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษสายพันธุ์ BA.4/BA.5 แพร่เร็วกว่าโอมิครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม 1.3-1.4 เท่า แต่ประเทศอื่นในยุโรปยังพบว่าแพร่ได้น้อยกว่า ดังนั้น เรื่องความเร็วในการแพร่เชื้อจึงยังไม่มีความชัดเจน ส่วนในประเทศไทย จากการส่งตรวจสายพันธุ์ยังพบสัดส่วนในคนต่างชาติมากกว่าคนไทย และจากการเฝ้าระวังเรื่องการทำให้เกิดอาการรุนแรงจนต้องเข้าโรงพยาบาลมากขึ้น ขณะนี้ยังไม่พบว่ามีลักษณะเช่นนั้น

“สิ่งสำคัญคือ พบว่า BA.4/BA.5 ทำให้ภูมิต้านทานเชื้อลดลงบ้าง จึงแนะนำให้มีการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเพิ่ม โดยผู้ที่ฉีด 3 เข็มแล้ว หากถึงระยะเวลาที่แนะนำ คือ 4 เดือน ควรมาฉีดกระตุ้นซ้ำ เพราะมีข้อมูลในต่างประเทศว่าผู้ป่วยจากสายพันธุ์ BA.4/BA.5 ถ้าได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นอาการจะน้อยกว่าคนที่ไม่ได้ฉีด ซึ่งชัดเจนว่าวัคซีนยังได้ผลในการป้องกันอาการหนักและเสียชีวิต” นายแพทย์เกียรติภูมิกล่าว
 
นายแพทย์เกียรติภูมิกล่าวต่อว่า ส่วนการขับเคลื่อนโรคโควิด 19 สู่ระยะหลังการระบาดใหญ่ (Post-Pandemic) หลังวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 คาดว่าจะเป็นไปตามแผน ซึ่งประเด็นสำคัญคือ การระบาดใหญ่ในประเทศไทยคงไม่มีแล้ว โรคลดความรุนแรงลง และระบบสาธารณสุขรองรับได้ ไม่ใช่ว่าจะไม่มีโรคเกิดขึ้น แต่อาจมีเป็นคลัสเตอร์ขึ้นมาบ้างแล้วลดลงไป ทั้งหมดจะอยู่ภายใต้การควบคุม ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม มีระบบเฝ้าระวังและเตรียมการรักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยหนักและใส่ท่อช่วยหายใจ รวมถึงยังต้องฉีดวัคซีนในกลุ่มผู้สูงอายุและมีโรคเรื้อรัง ซึ่งยังเป็นกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อและเสียชีวิตที่สำคัญ โดยขณะนี้สามารถฉีดวัคซีนโควิด 19 สะสมเกือบ 140 ล้านโดสแล้ว มีประชาชนได้ฉีดเข็มแรก 60 ล้านคน ส่วนกลุ่มเด็กอายุ 6 เดือนถึง 5 ปี อย.สหรัฐอเมริกาอนุญาตให้ฉีดได้แล้วในประเทศไทยหากได้รับการอนุมัติจาก อย. ไทยแล้ว จะมีการหารือถึงเวลาและรูปแบบการฉีดที่เหมาะสมต่อไป

https://www.thaipost.net/covid-19-news/169969/

...ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ

วันนี้ผู้ป่วยใหม่น้อยกว่าผู้หายป่วย  และยังมีสถิติลดลง

โอมิครอนสายพันธุ์BA.4/BA.5 ยังไม่น่ากังวล แต่ก็ควรฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น เพราะทำให้ภูมิต้านเชื้อลดลง

และไทยอาจจะได้ฉีดวัคซีนในเด็ก6เดือน-5ปีอีกด้วยค่ะ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน 2565
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid06GYHJzr8wJTNjhXiJpj9ghQwtTJQkRDBHC8bBUbDW64vZphuBGMj6xPBxB2BCN7Xl


จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 26 มิ.ย. 2565)
รวม 139,602,400 โดส ใน 77 จังหวัด

ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 26 มิถุนายน 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 55,655 โดส

เข็มที่ 1 : 3,853 ราย
เข็มที่ 2 : 7,886 ราย
เข็มที่ 3 : 43,916 ราย

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 56,961,123 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 53,131,864 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 29,509,413 ราย

แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0RbN4UDLEddNHtTvBzaAbvvS7xezxFSQTKW79jcXYoS9PEPhZhf4WiWvyhjXdpQkDl


สธ. แจง Omicron BA.4 / BA.5 ไม่มีข้อมูลรุนแรงขึ้น ประชาชนอย่าวิตกกังวล
แนะฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน

นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีมีการเผยแพร่ข้อความทางสื่อโซเชียลว่าเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์ Omicron BA.4 และ BA.5 มีความรุนแรงกว่าสายพันธุ์ Delta 5 เท่า และมีอัตราเสียชีวิตสูง ว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่มีหลักฐานและแหล่งที่มาของข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ขอให้ประชาชนอย่าวิตกกังวลต่อข้อมูลดังกล่าว ทั้งนี้ เชื้อโควิด 19 สายพันธุ์ Omicron BA.4 และ BA.5 แม้องค์การอนามัยโลกจะจัดให้เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวลและต้องเฝ้าระวัง (VOC lineages under monitoring :VOC-LUM) เนื่องจากความสามารถในการแพร่เชื้อเพิ่มขึ้น หลบภูมิคุ้มกันได้มากขึ้น แต่ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอว่ามีความรุนแรงมากขึ้น

สำหรับสถานการณ์ของทั้ง 2 สายพันธุ์นี้ องค์การอนามัยโลกให้ความเห็นว่าต้องเฝ้าระวัง BA.5 อย่างใกล้ชิด เนื่องจากแอนติบอดีที่จะทำลายฤทธิ์ของเชื้อใช้ได้น้อย ยารักษาตอบสนองน้อยลง แต่ยังสรุปไม่ได้ว่ามีความรุนแรงเพิ่มขึ้นหรือไม่ ต้องรอข้อมูลเพิ่มเติม ขณะที่ฐานข้อมูลโลก GISAID พบ BA.5 สะสม 31,577 ตัวอย่าง ใน 62 ประเทศ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 16% เป็น 25% ส่วน BA.4 พบสะสม 14,655 ตัวอย่าง แนวโน้มลดลงจาก 16% เหลือ 9%

แม้ช่วงนี้จะมีการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถดำเนินชีวิตได้ใกล้เคียงปกติและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่ขอให้ยังคงมาตรการป้องกันตนเองที่เหมาะสม เพื่อช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อทุกสายพันธุ์ นอกจากนี้ การที่ประชาชนเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันสูงมากพอยังเป็นเรื่องที่สำคัญและมีความจำเป็น เพราะจะทำให้ช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อและป้องกันอาการรุนแรงได้

ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0QiufcaeMj3rQ5KWtJhgUv8S75VLyMpmNtTD2dmQ6ohjjhgBteVBxZESYJ8StyW3Pl


กรมควบคุมโรคแนะนำวิธีการป้องกันโควิด 19
เมื่อเข้าสู่ระยะหลังการระบาดใหญ่ Post-Pandemic

ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02mpw9BdB7cztSfMGBbnGJYybbDycK5ncyCaTc66kGzG2arvLkC4bf1yYoLnoZdFJvl


นายกฯ ชื่นชมนักวิจัยไทย พัฒนาอุปกรณ์การแพทย์รับมือโควิด
ลดการนำเข้า เสริมศักยภาพไทยสู่ Medical Hub

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ติดตามผลงานการคิดค้นผลงานของคนไทยอย่างใกล้ชิด และล่าสุดได้แสดงความชื่นชมต่อนักวิจัยที่ได้พัฒนาผลงานนวัตกรรมด้านสุขภาพ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ การวินิจฉัยและการดูแลรักษา ทำให้ประเทศไทยมีความพร้อมในการรับมือโควิด-19 ในช่วงสองปีที่ผ่านมา โดยกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) ภายใต้การกำกับของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้จัดสรรงบระมาณสนับสนุนในภาพรวม 3 พันกว่าล้านบาท
ตัวอย่างผลงาน มีดังนี้
1.เครื่องช่วยหายใจอัตราไหลสูง
2.ชุดตรวจโควิดด้วยวิธีแลมป์เปลี่ยนสี
3.ชุดตรวจ “COVITECT-1” ด้วย Real-Time RT PCR ผ่านมาตรฐานสากล
4.หลอดเก็บเลือดอินโนเมด

ที่มา : รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0AjhL9AURoEN3rSbEJx3kx1hRjFAtgfdvpgpd3jhYSphxpiuyhegwHXNrxoXkBF6jl


กพท. ออกประกาศแจ้งสายการบินทั่วโลกให้ปฏิบัติ 5 ข้อ
ตามมาตรการเข้าประเทศใหม่ที่จะเริ่ม 1 ก.ค. นี้

1. ยกเลิกลงทะเบียน Thailand Pass เข้าไทย
2. ผู้โดยสารที่ได้รับวัคซีนครบถ้วน เข้าไทยได้โดยไม่ต้องมีผลตรวจ COVID - 19
3. ผู้โดยสารที่ยังไม่ได้รับวัคซีน หรือได้รับวัคซีนแล้วแต่ไม่ครบโดส จะต้องมีผลการตรวจ PRO-ATK หรือ RT -PCR ไม่เกิน 72 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง
4. สายการบินจะต้องตรวจสอบเอกสารของผู้โดยสารระหว่างประเทศว่ามีเอกสารการรับวัคซีน หรือผลการตรวจ PRO ATK หรือผลการตรวจ RT-PCR หากไม่มีจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ด่านตรวจโรค
5. สายการบินต่างชาติ สามารถส่งเอกสารรับรองลูกเรือว่าเป็นไปตามข้อกำหนด เพื่ออำนวยความสะดวก

***ทั้งนี้ ยังคงแนะนำให้ผู้โดยสารสวมใส่หน้ากากอนามัยระหว่างเดินทางในเครื่องบิน เนื่องจากเป็นพื้นที่ปิด

ที่มา : CAAT - The Civil Aviation Authority of Thailand สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid08GJX5psF1NfBcnUjXN14eSM23ryvnvB2GUJCVTZG3bzhtmsR6D2bmPQPxVty7892l


ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน
และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19)
คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร มีมติ

ยกเลิกประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว 5 ฉบับ (ฉบับที่ 49-53)
ยกเลิกประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ให้ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครสวมหน้ากากอนามัย
หรือหน้ากากผ้าทุกครั้งตลอดเวลาที่ออกนอกเคหสถาน หรือสถานที่พำนัก
ยกเลิกประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2564
การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าให้เป็นการปฏิบัติโดยความสมัครใจ โดยขอให้ประชาชนพิจารณาประโยชน์ในการสวมหน้ากากอย่างถูกวิธี
กิจการ/กิจกรรมที่ทำได้ เปิดดำเนินการได้เมื่อมีความพร้อม ภายใต้กฎหมายและหลักเกณฑ์ที่กำหนด
- การเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวเพื่อการทำงานข้ามเขต กรุงเทพมหานคร
- ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม สามารถเปิดให้บริการจำหน่ายและการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้านได้
- สถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์คาราโอเกะ หรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน
- สถานเสริมความงาม ร้านเสริมสวย แต่งผมหรือตัดผม ร้านทำเล็บ และร้านสัก
- สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สปา หรือสถานประกอบการนวดแผนไทย
- โรงมหรสพ โรงละคร การแสดงพื้นบ้าน หรือสถานที่ที่มีลักษณะเดียวกัน
- สถานประกอบกิจการอาบน้ำ สถานประกอบกิจการอบไอน้ำ อบสมุนไพร
- การใช้สถานที่หรือสนามกีฬาเพื่อการจัดแข่งขันกีฬา
- การจัดกิจกรรมรวมกลุ่มของบุคคลจำนวนมากให้สามารถทำได้ตามความเหมาะสม
- กรณีมีการรวมกลุ่มของบุคคลจำนวนรวมกันมากกว่าสองพันคน ให้ผู้รับผิดชอบแจ้งการจัดกิจกรรมต่อสำนักงานเขต
- สถานที่ กิจการ หรือกิจกรรมอื่นที่มิได้กำหนดไว้ในประกาศนี้ สามารถเปิดดำเนินการ
ประกาศนี้มีผล ตั้งแต่ 24 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป

ที่มา : กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02PnXVubxMDeH4u8C7i8QE3ks1p6rvtNU54VsvooxzoFRjC6MeW3DJENCJf7otFhZl


คำแนะนำ ป้องกันโรคโควิด 19
เมื่อเข้าสู่ระยะหลังการระบาดใหญ่ Post-Pandemic
- สงสัยว่าเป็นโควิด 19 ทำอย่างไร?
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid06GYHJzr8wHe61Z3eUbz3yVLGeednZcJkcaVszahvn9NpNngq4g2y5QmUfnC89w4Vl&id=100068069971811
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่