โควิดขาขึ้น! "หมอ ยง" แนะรีบฉีดวัคซีนกระตุ้น อย่าไปรอวัคซีนตัวใหม่
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ โพสต์ไขข้อสงสัยเรื่อง ควรฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นต่อหรือว่าจะรอวัคซีนตัวใหม่ในขณะนี้ที่โควิดขาขึ้น ตอบชัดควรจะรีบให้วัคซีน แทนที่จะไปรอวัคซีนตัวใหม่ เพราะบ้านเราไม่ได้เป็นประเทศผู้ผลิตวัคซีน
วันนี้ (3 ธ.ค.) เฟซบุ๊ก "Yong Poovorawan" หรือ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ตอบคำถามในเรื่อง ควรฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นต่อหรือว่าจะรอวัคซีนตัวใหม่ ที่กำลังระบาดหนักอยู่ในขณะนี้
โดยระบุว่า "การระบาดของ covid-19 เป็นไปตามฤดูกาล ในรอบของปี ในระลอกนี้ การระบาดจะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นมา และจะขึ้นสูงสุดหลังปีใหม่หรือเดือนมกราคม และจะไปเริ่มลดลงตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป จนเหลือน้อยมากในเดือนมีนาคม และจะไปขึ้นการระบาดรอบใหม่ของปีในฤดูฝนหรือเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกันยายน เป็นไปตามฤดูกาลของโรคทางเดินหายใจ
ขณะนี้การระบาดอยู่ในขาขึ้น ตามทิศทางของฤดูกาล จึงมีความจำเป็นที่จะต้องกระตุ้นภูมิต้านทานให้สูงขึ้นในขณะนี้ แทนที่จะรอไปถึงเดือนมกราคม หรือกุมภาพันธ์ ซึ่งอยู่ขาลง วัคซีนในบ้านเรา ถึงแม้จะเป็นสายพันธุ์เดิม การกระตุ้นในระดับเซลล์ เพื่อลดความรุนแรงของโรค สามารถทำได้ดีมาก วัคซีนตามสายพันธุ์ ถึงแม้จะมีการเพิ่มขึ้นมา จะป้องกันการติดเชื้อ เพราะเป็นแอนติบอดี หรือ B cell และเมื่อภูมิขึ้นมาแล้วก็ลดลง และเมื่อลดลงถึงระดับหนึ่งไม่ว่าจะเป็นวัคซีนอะไร ก็เกิดการติดเชื้อได้ จึงไม่มีวัคซีนเทพในการป้องกันการติดเชื้อ
การลดความรุนแรงของโรคจึงขึ้นอยู่กับจำนวนเข็มที่ฉีด มากกว่าชนิดของวัคซีนที่ฉีด แน่นอนการให้วัคซีนแต่ละครั้งควรมีระยะเวลาห่างกัน โดยทั่วไปในเข็มกระตุ้นยิ่งห่างยิ่งดี แต่ข้อเสียก็คือว่าถ้าห่างเกินไปจะเกิดการติดเชื้อเสียก่อน ดังนั้นจึงอยากให้ทุกคนได้อย่างน้อย 3 เข็ม และถ้าจะฉีดเข็มที่ 4 ก็ควรห่างไป 4-6 เดือน และถ้าได้ 4 เข็มแล้วมานานมาก เช่นเกิน 6 เดือนไปแล้ว จะให้เข็มที่ 5 ก็ไม่ว่ากัน เพราะเมื่อนานแล้วภูมิคุ้มกันก็จะลดลงไปเป็นจำนวนมาก การกระตุ้นก็เป็นการเพิ่มภูมิต้านทานทั้งแอนติบอดีและระดับเซลล์
เมื่อ covid-19 อยู่ขาขึ้น เราจึงควรจะรีบให้วัคซีน แทนที่จะไปรอวัคซีนตัวใหม่ หรือวัคซีน 2 สายพันธุ์ ที่กว่าจะเข้ามาก็อยู่ในขาลงของ covid-19 เราไม่ได้เป็นประเทศผู้ผลิตวัคซีน การกลายพันธุ์ของไวรัส จะกลายพันธุ์ในส่วนของหนามแหลมที่เป็นส่วนในการป้องกันการติดเชื้อ และตลอดปีที่ผ่านมาสายพันธุ์ที่ระบาดในบ้านเราก็ยังเป็นโอมิครอน แต่จะแตกต่างในกลุ่มย่อย เป็น BA.1, BA.2, BA.2.75, BA.4, BA.5 ประชากรไทยติดเชื้อไปแล้วประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ (จากการศึกษาด้วยการเจาะเลือดที่ชลบุรี) ส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อจะเป็นสายพันธุ์โอมิครอน ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อร่วมกับภูมิคุ้มกันที่ได้จากวัคซีน ถือเป็นภูมิคุ้มกันแบบลูกผสมที่ดีมาก และใกล้เคียงกับสายพันธุ์ที่สุด ส่วนการกลายพันธุ์ที่ออกไปมากอย่างที่มีข่าว เดลตาครอน ไม่ได้มีปัญหาในประเทศไทย การระบาดที่เกิดขึ้นยังเป็นโอมิครอนอยู่ จึงยังไม่ได้หลีกหนีภูมิต้านทานของประชากรส่วนใหญ่ไปมาก ไม่ได้น่าวิตกแต่อย่างใด
ดังนั้น ขณะนี้อยู่ในขาขึ้นตามฤดูกาล ควรได้รับวัคซีนในการป้องกันที่เหมาะสม ที่มีอยู่ในบ้านเรา และจะไม่รอจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ หรือรอวัคซีนสายพันธุ์ใหม่
https://mgronline.com/onlinesection/detail/9650000115127
WHO หวั่น! เกิดโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ หากการ์ดตก
องค์การอนามัยโลกออกมาเตือนว่า เวลานี้ทั่วโลกมีความตื่นตัวเกี่ยวกับโควิด-19 ลดน้อยลง ตรงนี้อาจเป็นช่องโหว่ที่ทำให้เกิดโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่ร้ายแรงขึ้นได้
เทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส (Tedros Adhanom Ghebreyesus) ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยเมื่อวานนี้ว่า เวลานี้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่ได้ผ่านจุดพีคของการแพร่ระบาดโควิด-19 ไปแล้ว และเริ่มผ่อนคลายการเฝ้าระวังการระบาดของโควิด รวมถึงการตรวจหาเชื้อ และการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ซึ่งเวลานี้โควิดได้คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกไปแล้วกว่า 6 ล้าน 6 แสนคน
ทั้งนี้ ผู้อำนวยการ WHO ระบุว่า ความล้มเหลวของกลยุทธ์ในการรับมือกับการระบาดของโควิด-19 ยังเป็นเงื่อนไขที่สำคัญในการเกิดโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่ร้ายแรง
แม้ว่าประชากร 90 % ของโลกมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโควิดในระดับหนึ่งแล้ว และดูเหมือนว่าได้ขยับใกล้จุดสิ้นสุดของการระบาดใหญ่แล้ว แต่ว่าจริงๆแล้ว ยังไม่ไปถึงจุดนั้น
"WHO ประมาณการว่า ตอนนี้มีประชากรโลกอย่างน้อย 90 เปอร์เซ็นต์มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโควิด-19 ผ่านการติดเชื้อ หรือการเข้ารับวัคซีน เราขยับเข้าใกล้จุดสิ้นสุดของการระบาดใหญ่แล้ว แต่เรายังไม่ไปถึงจุดนั้นนะครับ ยังมีช่องโหว่ในการเฝ้าระวัง การตรวจหาเชื้อโควิด การจัดลำดับ และการฉีดวัคซีน ที่ยังคงสร้างเงื่อนไขที่สมบูรณ์ สำหรับความกังวลของโควิดสายพันธุ์ใหม่ ที่อาจทำให้เกิดการเสียชีวิตได้อย่างมีนัยยะสำคัญ"
ความเห็นของผู้อำนวยการ WHO มีขึ้น ขณะที่จีนพบผู้ติดเชื้อโควิดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อวานนี้จีนได้ผ่อนปรนข้อกำหนดตรวจหาเชื้อโควิด-19 และกฎเกณฑ์การกักตัวในบางเมือง ซึ่งสร้างความดีใจผสมปนเปกับความกังวลให้กับผู้คนในประเทศ
ด้านไมเคิล ไรอัน (Mike Ryan) ผู้อำนวยการฝ่ายฉุกเฉินของ WHO กล่าวว่า ทางองค์การอนามัยโลกยินดีที่จีนปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการรับมือโควิด-19 พร้อมย้ำว่านโยบายโควิดเป็นศูนย์ เป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน และไม่สามารถหยุดยั้งโควิดสายพันธุ์โอมิครอนที่แพร่ระบาดได้รวดเร็ว และกดตัวเลขผู้ติดเชื้อไม่ให้เพิ่มขึ้นแม้แต่คนเดียวได้
นอกจากนี้ ไรอัน ยังกล่าวอีกว่า เวลานี้ทุกคนกำลังทุกข์ทรมานในการรับมือกับมาตรการที่จำกัดการเดินทาง และเผชิญวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากที่รัฐบาลจะต้องรับฟังประชาชนของตัวเอง เมื่อพวกเขารู้สึกเจ็บปวด
https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/185868
ติดตามข่าวโคบิดกันต่อนะคะ....
🇹🇭💜มาลาริน💜🇹🇭โควิดขาขึ้น"หมอ ยง"แนะรีบฉีดวัคซีนกระตุ้น อย่าไปรอวัคซีนตัวใหม่/WHO หวั่น! เกิดโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ โพสต์ไขข้อสงสัยเรื่อง ควรฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นต่อหรือว่าจะรอวัคซีนตัวใหม่ในขณะนี้ที่โควิดขาขึ้น ตอบชัดควรจะรีบให้วัคซีน แทนที่จะไปรอวัคซีนตัวใหม่ เพราะบ้านเราไม่ได้เป็นประเทศผู้ผลิตวัคซีน
วันนี้ (3 ธ.ค.) เฟซบุ๊ก "Yong Poovorawan" หรือ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ตอบคำถามในเรื่อง ควรฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นต่อหรือว่าจะรอวัคซีนตัวใหม่ ที่กำลังระบาดหนักอยู่ในขณะนี้
โดยระบุว่า "การระบาดของ covid-19 เป็นไปตามฤดูกาล ในรอบของปี ในระลอกนี้ การระบาดจะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นมา และจะขึ้นสูงสุดหลังปีใหม่หรือเดือนมกราคม และจะไปเริ่มลดลงตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป จนเหลือน้อยมากในเดือนมีนาคม และจะไปขึ้นการระบาดรอบใหม่ของปีในฤดูฝนหรือเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกันยายน เป็นไปตามฤดูกาลของโรคทางเดินหายใจ
ขณะนี้การระบาดอยู่ในขาขึ้น ตามทิศทางของฤดูกาล จึงมีความจำเป็นที่จะต้องกระตุ้นภูมิต้านทานให้สูงขึ้นในขณะนี้ แทนที่จะรอไปถึงเดือนมกราคม หรือกุมภาพันธ์ ซึ่งอยู่ขาลง วัคซีนในบ้านเรา ถึงแม้จะเป็นสายพันธุ์เดิม การกระตุ้นในระดับเซลล์ เพื่อลดความรุนแรงของโรค สามารถทำได้ดีมาก วัคซีนตามสายพันธุ์ ถึงแม้จะมีการเพิ่มขึ้นมา จะป้องกันการติดเชื้อ เพราะเป็นแอนติบอดี หรือ B cell และเมื่อภูมิขึ้นมาแล้วก็ลดลง และเมื่อลดลงถึงระดับหนึ่งไม่ว่าจะเป็นวัคซีนอะไร ก็เกิดการติดเชื้อได้ จึงไม่มีวัคซีนเทพในการป้องกันการติดเชื้อ
การลดความรุนแรงของโรคจึงขึ้นอยู่กับจำนวนเข็มที่ฉีด มากกว่าชนิดของวัคซีนที่ฉีด แน่นอนการให้วัคซีนแต่ละครั้งควรมีระยะเวลาห่างกัน โดยทั่วไปในเข็มกระตุ้นยิ่งห่างยิ่งดี แต่ข้อเสียก็คือว่าถ้าห่างเกินไปจะเกิดการติดเชื้อเสียก่อน ดังนั้นจึงอยากให้ทุกคนได้อย่างน้อย 3 เข็ม และถ้าจะฉีดเข็มที่ 4 ก็ควรห่างไป 4-6 เดือน และถ้าได้ 4 เข็มแล้วมานานมาก เช่นเกิน 6 เดือนไปแล้ว จะให้เข็มที่ 5 ก็ไม่ว่ากัน เพราะเมื่อนานแล้วภูมิคุ้มกันก็จะลดลงไปเป็นจำนวนมาก การกระตุ้นก็เป็นการเพิ่มภูมิต้านทานทั้งแอนติบอดีและระดับเซลล์
เมื่อ covid-19 อยู่ขาขึ้น เราจึงควรจะรีบให้วัคซีน แทนที่จะไปรอวัคซีนตัวใหม่ หรือวัคซีน 2 สายพันธุ์ ที่กว่าจะเข้ามาก็อยู่ในขาลงของ covid-19 เราไม่ได้เป็นประเทศผู้ผลิตวัคซีน การกลายพันธุ์ของไวรัส จะกลายพันธุ์ในส่วนของหนามแหลมที่เป็นส่วนในการป้องกันการติดเชื้อ และตลอดปีที่ผ่านมาสายพันธุ์ที่ระบาดในบ้านเราก็ยังเป็นโอมิครอน แต่จะแตกต่างในกลุ่มย่อย เป็น BA.1, BA.2, BA.2.75, BA.4, BA.5 ประชากรไทยติดเชื้อไปแล้วประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ (จากการศึกษาด้วยการเจาะเลือดที่ชลบุรี) ส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อจะเป็นสายพันธุ์โอมิครอน ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อร่วมกับภูมิคุ้มกันที่ได้จากวัคซีน ถือเป็นภูมิคุ้มกันแบบลูกผสมที่ดีมาก และใกล้เคียงกับสายพันธุ์ที่สุด ส่วนการกลายพันธุ์ที่ออกไปมากอย่างที่มีข่าว เดลตาครอน ไม่ได้มีปัญหาในประเทศไทย การระบาดที่เกิดขึ้นยังเป็นโอมิครอนอยู่ จึงยังไม่ได้หลีกหนีภูมิต้านทานของประชากรส่วนใหญ่ไปมาก ไม่ได้น่าวิตกแต่อย่างใด
ดังนั้น ขณะนี้อยู่ในขาขึ้นตามฤดูกาล ควรได้รับวัคซีนในการป้องกันที่เหมาะสม ที่มีอยู่ในบ้านเรา และจะไม่รอจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ หรือรอวัคซีนสายพันธุ์ใหม่
https://mgronline.com/onlinesection/detail/9650000115127
WHO หวั่น! เกิดโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ หากการ์ดตก
องค์การอนามัยโลกออกมาเตือนว่า เวลานี้ทั่วโลกมีความตื่นตัวเกี่ยวกับโควิด-19 ลดน้อยลง ตรงนี้อาจเป็นช่องโหว่ที่ทำให้เกิดโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่ร้ายแรงขึ้นได้
เทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส (Tedros Adhanom Ghebreyesus) ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยเมื่อวานนี้ว่า เวลานี้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่ได้ผ่านจุดพีคของการแพร่ระบาดโควิด-19 ไปแล้ว และเริ่มผ่อนคลายการเฝ้าระวังการระบาดของโควิด รวมถึงการตรวจหาเชื้อ และการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ซึ่งเวลานี้โควิดได้คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกไปแล้วกว่า 6 ล้าน 6 แสนคน
ทั้งนี้ ผู้อำนวยการ WHO ระบุว่า ความล้มเหลวของกลยุทธ์ในการรับมือกับการระบาดของโควิด-19 ยังเป็นเงื่อนไขที่สำคัญในการเกิดโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่ร้ายแรง
แม้ว่าประชากร 90 % ของโลกมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโควิดในระดับหนึ่งแล้ว และดูเหมือนว่าได้ขยับใกล้จุดสิ้นสุดของการระบาดใหญ่แล้ว แต่ว่าจริงๆแล้ว ยังไม่ไปถึงจุดนั้น
"WHO ประมาณการว่า ตอนนี้มีประชากรโลกอย่างน้อย 90 เปอร์เซ็นต์มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโควิด-19 ผ่านการติดเชื้อ หรือการเข้ารับวัคซีน เราขยับเข้าใกล้จุดสิ้นสุดของการระบาดใหญ่แล้ว แต่เรายังไม่ไปถึงจุดนั้นนะครับ ยังมีช่องโหว่ในการเฝ้าระวัง การตรวจหาเชื้อโควิด การจัดลำดับ และการฉีดวัคซีน ที่ยังคงสร้างเงื่อนไขที่สมบูรณ์ สำหรับความกังวลของโควิดสายพันธุ์ใหม่ ที่อาจทำให้เกิดการเสียชีวิตได้อย่างมีนัยยะสำคัญ"
ความเห็นของผู้อำนวยการ WHO มีขึ้น ขณะที่จีนพบผู้ติดเชื้อโควิดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อวานนี้จีนได้ผ่อนปรนข้อกำหนดตรวจหาเชื้อโควิด-19 และกฎเกณฑ์การกักตัวในบางเมือง ซึ่งสร้างความดีใจผสมปนเปกับความกังวลให้กับผู้คนในประเทศ
ด้านไมเคิล ไรอัน (Mike Ryan) ผู้อำนวยการฝ่ายฉุกเฉินของ WHO กล่าวว่า ทางองค์การอนามัยโลกยินดีที่จีนปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการรับมือโควิด-19 พร้อมย้ำว่านโยบายโควิดเป็นศูนย์ เป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน และไม่สามารถหยุดยั้งโควิดสายพันธุ์โอมิครอนที่แพร่ระบาดได้รวดเร็ว และกดตัวเลขผู้ติดเชื้อไม่ให้เพิ่มขึ้นแม้แต่คนเดียวได้
นอกจากนี้ ไรอัน ยังกล่าวอีกว่า เวลานี้ทุกคนกำลังทุกข์ทรมานในการรับมือกับมาตรการที่จำกัดการเดินทาง และเผชิญวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากที่รัฐบาลจะต้องรับฟังประชาชนของตัวเอง เมื่อพวกเขารู้สึกเจ็บปวด
https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/185868
ติดตามข่าวโคบิดกันต่อนะคะ....