🇹🇭มาลาริน💙15เม.ย,ไทยไม่ติดTop10โลก/ป่วย20,289คน หายป่วย24,969คน เสียชีวิต119คน /เข้าใจผิด! สถาบันวัคซีน ชี้แจงฯ


https://www.sanook.com/news/8547094/

https://www.bangkokbiznews.com/news/999340

เพี้ยนแคปเจอร์เข้าใจผิด! สถาบันวัคซีน ชี้แจงติด "โอมิครอน" ไม่ช่วยกระตุ้นภูมิ

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ออกแถลงการณ์กรณีโซเชียลส่งข้อมูลอ้างปล่อยให้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ "โอมิครอน" สร้างภูมิธรรมชาติโดยไม่ต้องฉีดเข็มกระตุ้น ระบุเป็นความเข้าใจผิด ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงควรไปฉีดเข็มกระตุ้น ป้องกันป่วยหนักเสียชีวิตได้

จากกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์ที่มีการระบุว่า ไม่มีความจำเป็นต้องเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้น การปล่อยให้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน มีความปลอดภัย และเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันโรคตามธรรมชาตินั้น

เมื่อวันที่ 14 เม.ย.2565 สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ออกแถลงการณ์ เรื่องความจำเป็นของการได้รับวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้น ระบุว่า สถาบันมีความห่วงใยต่อประชาชนที่ได้รับการส่งต่อข้อมูลที่มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนดังกล่าว โดยยืนยันว่า การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นในสถานการณ์ที่ไวรัสมีการกลายพันธุ์อย่างรวดเร็วนั้น มีความจำเป็นอย่างมากโดยการฉีค วัคชีนเข็มกระตุ้น ช่วยลดอาการป่วยที่รุนแรง ลดโอกาสการเสียชีวิต และลดโอกาสการเกิด ภาวะ Long COVID ในผู้ใหญ่ รวมถึงภาวะอักเสบทั่วร่างกายในเด็ก  Mis-C) จากการป่วยด้วยโควิด-19 ได้จริง

วัคซีนเข็มกระตุ้นช่วยลดความรุนแรงโควิด

หลักฐานเชิงประจักษ์ชี้ว่า วัคชีนเข็มกระตุ้นสามารถ ลดอาการเหล่านี้ลงได้มากกว่าผู้ป่วยที่ไม่เคยฉีดวัคซีนเลย หรือฉีดวัคซีนแล้วแต่ไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้การฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้น มีการดำเนินการอย่างกว้างขวาง ทำให้มีรายงานยืนยันความปลอดภัยและประสิทธิผล (Vaccine effectiveness) ของการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นจำนวนมากจากหลายประเทศทั่วโลก
โดยในประเทศไทยได้มีการเก็บข้อมูล เพื่อศึกษาประสิทธิผลของวัคชีนที่ใช้ในประเทศด้วยเช่นกัน ผลการศึกษาในปัจจุบัน (ข้อมูลการประเมินประสิทธิผลวัคซีนจากการใช้จริง จ.เชียงใหม่ ช่วงเดือน ม.ค.-มี.ค.2565 ณ วันที่ 8 เม.ย.65) ระบุว่า....👨‍💻👩‍💻🧑‍💻

ในสถานการณ์การระบาดของโอมิครอน การฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม ไม่ป้องกันการติดเชื้อ แต่สามารถป้องกันการเสียชีวิตได้มากกว่า 85% และหากได้รับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ในระยะเวลาที่เหมาะสม สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 34-68% และเพิ่มการป้องกันการเสียชีวิตได้ถึง 98-99%


จากผลการประเมินประสิทธิผลวัคซีนจากการใช้จริงในระดับโลก ทำให้องค์การอนามัยโลกได้ออกประกาศสนับสนุนให้ประชาชน เข้ารับวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้น เพื่อลดอัตราการป่วยหนัก และเสียชีวิตจากการคิดเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน ด้วยเช่นกัน

กลุ่มเสี่ยง 608 ยังรับวัคซีนเข็มกระตุ้นเพียง 35%

สถานการณ์ของประเทศไทยในปัจจุบัน พบว่า ความครอบคลุมการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นโดยรวมยังค่อนข้างน้อย โดยมีความครอบคลุมของการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเพียง 35% เท่านั้น (ข้อมูลระดับประเทศ ณ วันที่ 8 มษายน) และจากการเก็บข้อมูลของผู้ที่มีอาการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตจากโควิต-19 พบว่า ยังคงเป็นประชากรในกลุ่ม 608 ซึ่งได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป

กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว 7 โรค คือ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคเบาหวานและกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป ในอัตราส่วนที่สูงกว่าประชากรกลุ่มอื่น โดยพบด้วยว่า ประชากรในกลุ่ม 608 ยังมีการเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นค่อนข้างต่ำ

ดังนั้น สถาบันจึงขอเชิญชวนประชาชนทั่วไป และโดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีโรคร่วม 7 กลุ่มโรค และหญิงตั้งครรภ์ ที่ยังไม่เคยฉีดวัคชีนโควิด-19 มาก่อน ให้เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มแรก และเข้ารับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ตามกำหนดนัดหมาย หากได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 มาแล้วนานกว่า 3 เดือน ให้รีบเข้ารับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 และหากได้รับวัคซีนเข็มที่ 3 มาแล้ว เป็นเวลา 4 เตือนขึ้นไป ให้รีบเข้ารับวัคซีนเข็มที่ 4

นอกจากนี้ การสวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง หมั่นล้างมือ ยังคงเป็นมาตรการสำคัญ ที่เมื่อปฏิบัติควบคู่กับการฉีดวัคซีนจะช่วยควบคุมการระบาดของโรค ลดโอกาสการกลายพันธุ์ของไวรัส และลดความเสี่ยงของการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตจากโควิต 19 ได้อย่างมีประสิทธิผล สถาบันจึงขอให้ประชาชนยังคงปฏิบัติตนตามมาตรการป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยของตนเองและบุคคลที่ท่านรัก



https://news.thaipbs.or.th/content/314549

นานาเรียนติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ

ไทยติดเชื้อลดลงแต่ยังอยู่ในหลักสองหมื่น  เสียชีวิตเพิ่ม

การติดเชื้อโอมิครอนแล้ว ไม่ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

อย่างไรก็ต้องฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเพื่อลดความเสี่ยงรุนแรง

.....พาพันไฟท์ติ้ง🤟
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 15
ยาต้านไวรัสตำรับใหม่จากรัสเซีย

รัสเซียทุ่มเงินกว่า 300 ล้านรูเบิล ผลิต ‘ยาต้านไวรัสโคโรนา’ ตัวใหม่


วลาดีวอสต็อค, (ซินหัว) — รัฐบาลรัสเซียจัดสรรเงิน จำนวน 387 ล้านรูเบิล (ราว 150 ล้านบาท) เพื่อผลิตมีร์-19 (Mir-19)
ซึ่งคือ ยาต้านเชื้อไวรัสโคโรนาตัวใหม่ที่พัฒนาโดยคณะนักวิทยาศาสตร์ของรัสเซีย

สำนักประชาสัมพันธ์ของคณะรัฐมนตรีรัสเซีย เผยว่านายมิคาอิล มิชูสติน นรต.รัสเซีย ลงนามกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดสรรงบฯ
ซึ่งจะถูกแจกจ่ายแก่สถาบันภูมิคุ้มกันวิทยา สังกัดหน่วยงานชีววิทยาการแพทย์แห่งสหพันธรัฐ (FMBA)
เพื่อใช้ปรับปรุงและจัดซื้ออุปกรณ์จำเป็นต่อการพัฒนายาข้างต้น

ทั้งนี้ มีร์-19 (Mir-19) ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนโดยกระทรวงสาธารณสุขรัสเซีย เมื่อ 22 ธ.ค.2021 ปีที่ผ่านมา
สามารถป้องกันและรักษาการติดโควิด โดยผ่านการให้ทางปอด หรือจมูก โดยมันสามารถยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัส
และป้องกันอาการป่วยรุนแรง ตลอดจนโรคปอดบวม และภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน
https://www.newtv.co.th/news/98205
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่