🇹🇭มาลาริน🧡2ก.ย.ป่วย14,956คน รักษาหาย17,936คน เสียชีวิต262คน วานนี้ฉีดได้827,462โดส/โควิด77จว./สายพันธุ์มิว/9ปท.ครบโดส

ปูเสื่อเริ่มจะนิ่ง..โควิดวันนี้ ติดเชื้อเพิ่ม 14,956 ราย เสียชีวิต 262 ราย หายป่วย 17,936 ราย

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด-19 ในไทยวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 14,956 ราย แบ่งเป็นผู้ติดเชื้อใหม่ 14,600 ราย และผู้ติดเชื้อในเรือนจำ 356 ราย ยอดติดเชื้อรวมระลอกเมษายน 1,205,624 ราย รวมยอดติดเชื้อสะสม 1,234,487 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 262 ราย เสียชีวิตสะสม 12,103 ราย หายป่วยเพิ่ม 17,936 ราย หายป่วยสะสมระลอกเมษายน 1,031,278 ราย ผู้ป่วยกำลังรักษา 163,680 ราย



 

https://www.sanook.com/news/8436834/

เม่าแพนด้าติดเชื้อใหม่ 40 จว.ยังเกินร้อย "กทม." ลดแต่หนัก
"สมุทรปราการ" ยืนพัน ภาคกลางอ่วมสุด

เมื่อวันที่ 2 ก.ย.64 ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 รายงานสถานการณ์การติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย ข้อมูลวันที่ 2 ก.ย.64 เวลา 01.00 น. ประเทศไทยยังคงพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ใน 77 จังหวัด โดยกทม.ยังคงพบผู้ติดเชื้อรายใหม่มากที่สุด 3,322 ราย ตามด้วยสมุทรปราการ ที่ยังคงอยู่ในหลักพัน 1,220 ราย ชลบุรีมาอันดับ 3 ที่ 881 ราย และอันดับ 4 คือ สมุทรสาคร 733 ราย ขณะที่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่น้อยที่สุดที่ จ.พะเยา 6 ราย โดยพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เกินร้อยใน 40 จังหวัด สูงสุดที่ภาคกลาง ตามด้วยภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และตะวันตก ส่วนภาคเหนือผู้ติดเชื้อรายใหม่ยังคงอยู่ในหลักสิบเท่านั้น

ภาคกลาง พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เกินร้อยใน 14 จังหวัดคือ กทม. สมุทรปราการ สมุทรสาคร พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สระบุรี นนทบุรี สุพรรณบุรี เพชรบูรณ์ ปทุมธานี ลพบุรี นครนายก อ่างทอง และสมุทรสงคราม

ภาคใต้พบผู้ติดเชื้อใหม่เกินร้อยใน 10 จังหวัด สูงสุดคือ นราธิวาส ยะลา สงขลา ภูเก็ต นครศรีธรรมราช ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง ปัตตานี และพัทลุง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบผู้ติดเชื้อใหม่เกินร้อยใน 7 จังหวัดคือ นครราชสีมา ขอนแก่น บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ และอุดรธานี

ภาคตะวันออก พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เกินร้อยใน 6 จังหวัดได้แก่ ระยอง ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี จันทบุรี สระแก้ว
 
ภาคตะวันตก พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เกินร้อยใน 3 จังหวัดคือ ราชบุรี กาญจนบุรี และตาก



https://siamrath.co.th/n/276948



เว็บไซต์เอบีซีของออสเตรเลียรายงานว่า โควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ที่ชื่อว่า “มิว” พบครั้งแรกที่โคลอมเบียเมื่อเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา และมีรายงานพบการระบาดเป็นระยะๆ ในหลายพื้นที่ของอเมริกาใต้และยุโรป แต่ยังไม่พบมากเท่าสายพันธุ์เดลตา
 
ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า ทั่วโลกยังมีผู้ติดเชื้อในสัดส่วนเล็กน้อย นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาว่ามีคุณสมบัติต้านทานภูมิคุ้มกันที่เกิดจากวัคซีนหรือติดเชื้อและหายแล้วหรือไม่

สายพันธุ์มิวมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าB.1.621 ขณะนี้ถูกดับเบิลยูเอชโอจัดให้เป็น 1 ใน 5 สายพันธุ์ที่น่าสนใจ ซึ่งหมายความว่าแม้จะน่าจับตาเป็นพิเศษ แต่เป็นไปได้ว่ามีปัญหาน้อยกว่าสายพันธุ์เดลตาหรืออัลฟา ที่ถูกจัดให้เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล

มิวเป็นสายพันธุ์ที่น่าสนใจสายพันธ์ุแรกถัดจากสายพันธุ์แลมบ์ดา ที่ดับเบิลยูเอชโอขึ้นบัญชีเมื่อเดือน มิ.ย. รายงานระบาดวิทยาฉบับล่าสุดของดับเบิลยูเอชโอระบุว่า มิวมีการกลายพันธุ์ที่บ่งชี้ว่าอาจมีคุณสมบัติหลุดรอดภูมิคุ้มกันได้ ซึ่งจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติม

นายพอล กริฟฟิน ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อจากองค์กรไม่แสวงหากำไร “เมเทอร์ เฮลธ์ เซอร์วิส” และมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ กล่าวว่า ผู้เชี่ยวชาญมักจะมองหาสายพันธุ์กลายพันธุ์บริเวณโปรตีนหนามที่ทำให้คนฉีดวัคซีนแล้วก็ติดเชื้อได้ง่าย
 
“ถ้าโปรตีนหนามเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ ก็แน่นอนว่าวัคซีนที่เรามีอาจป้องกันได้น้อยลง ซึ่งจะเป็นแบบนั้นได้ต้องใช้เวลาสักระยะ ตอนนี้ยังไม่เกิดขึ้น” นักวิชาการกล่าว

ดับเบิลยูเอชโอย้ำกว่า ต้องวิจัยเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจผลกระทบของสายพันธุ์มิว ขณะที่นายกริฟฟินกล่าวว่า ยังไม่มีหลักฐานชี้ว่ามิวเป็นสายพันธุ์ที่หลุดรอดภูมิคุ้มกันไปได้

สำหรับความชุกของการติดเชื้อทั่วโลก นับตั้งแต่ตรวจพบครั้งแรกก็พบสายพันธุ์นี้น้อยลง ปัจจุบันทั่วโลกอยู่ที่ไม่ถึง 0.1% แต่ความชุกในโคลอมเบียที่ 39% และเอกวาดอร์ 13% ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และมีรายงานการระบาดในหลายพื้นที่ของสหรัฐและยุโรป

สำหรับโควิดกลายพันธุ์ทั้ง 9 สายพันธุ์ที่ถูกดับเบิลยูเอชโอขึ้นบัญชีเป็นสายพันธุ์น่าสนใจ 5 สายพันธุ์ ได้แก่ (1) เอตา พบครั้งแรกในหลายประเทศเมื่อเดือน ธ.ค.2563 (2) ไอโอตา พบครั้งแรกที่สหรัฐ เมื่อเดือน พ.ย.2563 (3) คัปปา พบครั้งแรกในอินเดียเมื่อ ต.ค.2563 (4) แลมป์ดา พบครั้งแรกในเปรู เมื่อเดือน ธ.ค.2563 (5) มิว พบครั้งแรกในโคลอมเบีย เมื่อ ม.ค.2564

ส่วนสายพันธุ์ที่น่ากังวล 4 สายพันธ์ุ ได้แก่ (1) อัลฟา พบครั้งแรกในสหราชอาณาจักร เมื่อก.ย.2563 (2) เบตา พบครั้งแรกที่แอฟริกาใต้ เมื่อ พ.ค.2563 (3) แกมมา พบครั้งแรกในบราซิล เมื่อ พ.ย.2563 (4) เดลตา พบครั้งแรกในอินเดีย เมื่อ ต.ค.2563

ทั้งนี้ คาดว่าเมื่อเวลาผ่านไปไวรัสกระจายไปมากก็มีโอกาสกลายพันธุ์มาก นายกริฟฟินกล่าวว่า วิธีที่ดีที่สุดในการจำกัดการกลายพันธุ์ของไวรัสคือการจำกัดการกระจายด้วยการฉีดวัคซีนให้มากขึ้นเพื่อลดโอกาสการที่ไวรัสจะมีชีวิตรอดในร่างกาย

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/957906



การฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ประชากรได้เกิน 70% เป็นเป้าหมายสำคัญที่หลายประเทศกำลังพยายามก้าวไปให้ถึง เพื่อหวังที่จะสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd Immunity) ในการป้องกันโควิด-19
 
และแม้การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาอาจมีแนวโน้มทำให้การฉีดวัคซีนครบโดสให้ประชากร 70% อาจไม่เพียงพออีกต่อไป และตัวเลข 70% นี้ก็ยังเป็นหมุดหมายสำคัญของหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยเช่นกัน

โดยข้อมูล ณ วันที่ 1 ก.ย. ทั่วโลกมีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่ได้รับการยืนยันแล้วประมาณ 5.33 พันล้านโดส มีประชากรได้รับวัคซีนครบ 2 โดสประมาณ 1.2 พันล้านคน หรือราว 15% ของประชากรทั้งโลก
 
อัตราการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 40 ล้านโดสต่อวัน ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า ถ้าดำเนินต่อไปในอัตรานี้ จะให้เวลาอีก 138 วัน ประชากรทั้งโลกจะได้รับวัคซีนครบ 2 โดส
 
แต่ความเป็นจริงไม่ได้ง่ายอย่างตัวเลขคาดการณ์ เพราะสายพันธุ์เดลตาทำให้หลายประเทศวางแผนการฉีดวัคซีนเข็ม 3 (บูสเตอร์โดส) ให้กับประชากรเพิ่มเติม เท่ากับว่า ส่วนแบ่งของวัคซีนที่จะถูกส่งไปให้ประเทศยากจนหรือประเทศที่ยังไม่มีวัคซีนแม้แต่เข็มเดียวก็จะน้อยลงไป และทำให้เป้าหมายการฉีดวัคซีนครบ 2 โดสให้ 70% ของประชากรโลกอาจห่างไกลออกไปอีก

ปัจจุบัน มีเพียง 9 ประเทศในโลกเท่านั้น (ไม่นับประเทศเล็ก ๆ หรือที่เป็นหมู่เกาะ และไม่นับยูเออี เนื่องจากแจ้งแต่เลข % แต่ไม่แจ้งจำนวนจริงผู้ได้รับวัคซีน) ที่สามารถฉีดวัคซีนโควิด-19 ครบ 2 โดสให้ประชากรได้เกิน 70% ได้แก่
 
มอลตา ประเทศในยุโรปที่มีประชากรมากกว่า 500,000 คนเพียงเล็กน้อย เป็นประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ประชากรครบโดสได้สูงที่สุดในโลก อยู่ที่ 80.29% หรือเท่ากับ 413,163 คน วัคซีนที่ใช้เป็นของจอห์นสันฯ โมเดอร์นา แอสตร้าฯ และไฟเซอร์
 
ไอซ์แลนด์ อีกหนึ่งประเทศจากยุโรปที่มีประชากรไม่มาก ราว 350,000 คน ฉีดวัคซีนครบโดสให้ประชากรแล้ว 76.85% หรือ 263,882 คน วัคซีนที่ใช้เป็นเซตเดียวกับของมอลตา
 
หนึ่งเดียวจากเอเชียที่ติดในลิสต์นี้คือ สิงคโปร์ ฉีดวัคซีนครบโดสไปแล้ว 75.60% หรือ 4,458,182 คน วัคซีนที่ใช้ประกอบไปด้วยโมเดอร์นา ไฟเซอร์ และซิโนแวค

กลับมาที่ยุโรป โปรตุเกส ฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ประชากรครบโดสแล้ว 74.03% หรือ 7,526,823 คนจากประชากร 10 ล้านคน วัคซีนที่ใช้เป็นของจอห์นสันฯ โมเดอร์นา แอสตร้าฯ และไฟเซอร์
 
ยังอยู่กันที่ยุโรป เดนมาร์ก ซึ่งเป็นประเทศที่นิวมีเดีย พีพีทีวี เคยระบุไว้ว่า มีอัตราการตรวจหาเชื้อโควิด-19 มากที่สุดในโลก ก็ไม่น้อยหน้าในเรื่องของการฉีดวัคซีนโควิด-19  เพราะฉีดครบโดสให้ประชากรไปแล้ว 72.78% หรือเท่ากับ 4,230,741 คน วัคซีนที่ใช้เป็นของจอห์นสันฯ โมเดอร์นา และไฟเซอร์
 
ถัดมาในแถบอเมริกาใต้กันบ้าง อุรุกวัย ฉีดวัคซีนครบโดสไปแล้ว 72.09% หรือ 2,512,476 คน วัคซีนที่ใช้เป็นแอสตร้าฯ ไฟเซอร์ และซิโนแวค

ต่อมายังคงเป็นประเทศในโซนยุโรปอย่าง สเปน ซึ่งเพิ่งฉีดวัคซีนโควิด-19 ครบโดสให้ประชากรทะลุ 70% ได้เมื่อไม่นานมานี้เอง โดยปัจจุบันฉีดไปแล้ว 71.46% ของประชากรทั้งประเทศ เท่ากับ 33,404,577 ล้านคน วัคซีนที่ใช้เหมือนกับประเทศยุโรปส่วนใหญ่ คือ จอห์นสันฯ โมเดอร์นา แอสตร้าฯ และไฟเซอร์
 
ทางด้าน ชิลี ฉีดครบโดสไปแล้ว 71.37% หรือ 13,712,047 คน วัคซีนที่ใช้จะดูแตกต่างจากประเทศอื่นเล็กน้อย ประกอบด้วย แคนซิโน แอสตร้าฯ ไฟเซอร์ และซิโนแวค
 
สุดท้ายคือ เบลเยียม ฉีดวัคซีนครบโดสให้ประชากรทะลุ 70% มาหมาด ๆ อยู่ที่ 70.16% หรือเท่ากับประชากร 8,161,019 คน วัคซีนที่ใช้คือจอห์นสันฯ โมเดอร์นา แอสตร้าฯ และไฟเซอร์
 
จะสังเกตได้ว่า จากทั้ง 9 ประเทศ มีถึง 6 ประเทศที่มาจากภูมิภาคยุโรป และวัคซีนโควิด-19 ที่ใช้ก็คล้ายคลึงกัน เพราะส่วนใหญ่มาจากการจัดสรรของสหภาพยุโรป (อียู) และส่วนใหญ่เป็นประเทศประชากรน้อยไม่ถึง 10 ล้านคน



https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/155467

เม่าอ่านหนังสือพิมพ์วันนี้คนป่วยในโรงพยาบาลลดลงเพราะหายป่วยมากกว่าอีกวันแล้วค่ะ

ฉีดวัคซีนก็ได้จำนวนมากกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้

มีหลายจังหวัดที่ติดเชื้อเป็นหลักหน่วย  มีสถานการณ์ดีขึ้น

ทั่วโลกจับตาโควิดสายพันธุ์มิว

และมีเพียง 9 ประเทศในโลกนี้ที่ฉีดวัคซีนได้ครบ 70%

ติดตามเนื้อหาเพิ่มเติมได้จากผู้โพสต์ในกระทู้ ต่อไปค่ะ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 12

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน 2564
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/398660631752267


[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รายงานข้อมูลสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19
ณ วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน 2564

ประเทศไทย
วันนี้มีผู้ติดเชื้อ 14,956 ราย รวมผู้ติดเชื้อสะสม 1,234,487 ราย
- เป็นผู้ติดเชื้อจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการฯเพิ่มขึ้น 12,361 ราย
- เป็นผู้ติดเชื้อจากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 356 ราย
- เป็นผู้ติดเชื้อที่เดินทางจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น  17 ราย
- ผู้ติดเชื้อในสถานกักกันของรัฐสะสม 4,958 ราย
- เป็นผู้ติดเชื้อจากการตรวจคัดกรองเชิงรุกวันนี้  2,222 ราย (ยอดผู้ติดเชื้อสะสมจากการตรวจคัดกรองเชิงรุกอยู่ที่ 250,579 ราย)

เสียชีวิตรวม 12,103 ราย(วันนี้มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 262 ราย)
รักษาหายป่วยแล้ว 1,058,704 ราย (มีผู้ป่วยกลับบ้านเพิ่มขึ้น 17,936 ราย)
รักษาอยู่ในโรงพยาบาล 163,680 ราย

ผู้ติดเชื้อรายใหม่ภายในประเทศ (ไม่รวมเรือนจำ) 14,583 ราย มีรายละเอียดดังนี้ จากกรุงเทพฯ(3,322) ปริมณฑล (2,752) จังหวัดอื่น ๆ (8,509)

สำหรับผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ เพิ่มขึ้นในวันนี้ 17 ราย และเข้า Quarantine โดยเข้ารับการรักษาที่เชียงราย(1) ตราด(1) จันทบุรี(1) กรุงทพฯ(1) ภูเก็ต (2) นราธิวาส(2) และ อยู่ระหว่างประสาน รพ.(9) มีรายละเอียดดังนี้
- จากประเทศลาว 1 ราย
- จากประเทศกัมพูชา 11 ราย
- จากประเทศมาเลเซีย 2 ราย
- จากประเทศญี่ปุ่น 1 ราย
- จากประเทศอิสราเอล 1 ราย
- จากประเทศสหราชอาณาจักร 1 ราย

สถานการณ์โลกในวันนี้
- ยอดผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลก 219.2  ล้านราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตสะสมกว่า 4.5 ล้านราย(คิดเป็นร้อยละ 2.07 ของจำนวนผู้ติดเชื้อ) ในขณะที่ผู้รักษาหายมีจำนวน 196  ล้านราย (คิดเป็นร้อยละ 89.41)
- สหรัฐอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่  184,420  ราย และยอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่อันดับ 1 ของโลก อยู่ที่ 659,927 ราย
- อินเดีย ยอดผู้ติดเชื้อสะสมทะลุ 32.8 ล้านรายแล้ว โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ 45,971 ราย ทั้งนี้ยอดผู้รักษาหายในอินเดียอยู่ที่ 32 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 97.4
- ไทยมียอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่อันดับ 29  และยอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่อันดับ 45 ของโลก

สถานการณ์อาเซียนในวันนี้
- เมียนมา ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสม 402,640  ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่เฉลี่ยในรอบ 7 วันที่ผ่านมาอยู่ที่ 3,109 ราย และมีจำนวนผู้เสียชีวิตกว่า 15,490 ราย
- มาเลเซีย ยอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 1,765,016 ราย โดยยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ อยู่ที่ 18,762  ราย
- กัมพูชา ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสม 93,510 ราย มียอดผู้เสียชีวิตสะสม 1,916 ราย
- ลาว ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสม 15,289  ราย โดยกำลังรักษาอยู่ 9,857  ราย
- เวียดนาม ผู้ติดเชื้อรายใหม่อยู่ที่  11,434  ราย และมียอดผู้เสียชีวิตสะสม 11,868 ราย

ประมวลข้อมูลโดย กรมควบคุมโรค และศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนาสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
https://web.facebook.com/nrctofficial/posts/4118293711629503
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่