🇹🇭🌈มาลาริน🌈🇹🇭โควิดรายสัปดาห์ลดลงต่อเนื่อง ติดเชื้อ472 คน เสียชีวิต29 ราย/เปิดบริการฉีดวัคซีนต่างชาติแล้ว 31จังหวัด

โควิดประจำสัปดาห์! รอบ 7 วัน ติดเชื้อใหม่ 472 คน เสียชีวิต 29 ราย


วันที่ 30 มกราคม 2566 เพจเฟซบุ๊ก "ศูนย์ข้อมูล COVID-19" รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด 19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 22 – 28 มกราคม 2566 พบผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) จำนวน 472 ราย : เฉลี่ยรายวัน จำนวน 67 ราย/วัน ผู้เสียชีวิต (รายสัปดาห์) จำนวน 29 ราย : เฉลี่ยรายวัน จำนวน 4 ราย/วัน มีผู้ป่วยปอดอักเสบ 160 ราย และผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจ 99 ราย



https://www.naewna.com/local/707566

ผู้ติดโควิดในไทยลดลงต่อเนื่อง หน่วยบริการวัคซีนแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติเปิดแล้ว 31 จังหวัด 128 แห่ง



วันนี้ (30 มกราคม) ที่กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังการประชุมติดตามสถานการณ์โรคโควิดว่า สถานการณ์โรคโควิดของประเทศไทยในสัปดาห์ที่ 4 (22-28 มกราคม 2566) มีผู้ป่วยรักษาในโรงพยาบาล 472 ราย เฉลี่ย 67 รายต่อวัน ผู้ป่วยปอดอักเสบ 160 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 99 ราย และผู้เสียชีวิต 29 ราย เฉลี่ย 4 รายต่อวัน ถือว่ามีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง แต่ผู้เสียชีวิตทั้งหมดยังเป็นกลุ่มเสี่ยง 608 ส่วนใหญ่ไม่ได้รับวัคซีนหรือได้รับเพียง 1 เข็ม ดังนั้นขอให้ประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง 608 มารับวัคซีนให้ครบ 4 เข็ม เพื่อช่วยลดการป่วยอาการหนักและการเสียชีวิต 
 
สำหรับการเฝ้าระวังโรคยังดำเนินการอย่างต่อเนื่องทั้งในสถานพยาบาลและสถานที่เสี่ยง รวมทั้งเตรียมพร้อมรับผู้เดินทางจากต่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้น โดยประสานภาคการท่องเที่ยวให้มีการตรวจคัดกรองด้วย ATK ในกลุ่มผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวเป็นประจำทุกสัปดาห์ และแจ้งหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ กรณีพบการระบาดในลักษณะคลัสเตอร์ โดยผลการตรวจ RT-PCR ในผู้เดินทางก่อนออกนอกประเทศ ระหว่างวันที่ 8-21 มกราคม 2566 จำนวน 828 ราย พบผู้ติดเชื้อ 33 ราย คิดเป็น 3.99% เป็นคนจีน 12 ราย คนไทย 9 ราย และสัญชาติอื่นๆ 12 ราย
 
นพ.โอภาส กล่าวต่อไปว่า จากการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิดที่พบในประเทศไทย โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่า ยังเป็นสายพันธุ์โอมิครอน BA.2.75 ถึง 90% ซึ่งภูมิคุ้มกันออกฤทธิ์ชนิดยาว (LAAB) ยังใช้ได้ผลดี เพราะสามารถลบล้างฤทธิ์เชื้อไวรัส BA.2.75  ได้ จึงมีการปรับแนวทางเพื่อเพิ่มการเข้าถึงในกลุ่มเสี่ยงอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรังที่ไม่เคยได้รับวัคซีนโควิดมาก่อน และกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ทั้งในสถานพยาบาลและสถานดูแลผู้สูงอายุ สำหรับประชาชนทั่วไปยังแนะนำให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรค ได้แก่ การฉีดวัคซีนให้ครบ 4 เข็ม หากมีอาการป่วยทางเดินหายใจให้ตรวจคัดกรองด้วย ATK และสวมหน้ากากขณะอยู่ใกล้ชิดผู้อื่น รวมทั้งสวมหน้ากากในสถานที่สาธารณะ เช่น โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า และขนส่งสาธารณะ
 
นพ.โอภาส กล่าวอีกว่า การให้บริการวัคซีนป้องกันโควิดแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติขณะนี้เปิดจุดบริการใน 31 จังหวัด รวม 128 แห่ง แยกเป็น ภาคกลาง 5 จังหวัด, ภาคเหนือ 8 จังหวัด, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6 จังหวัด, ภาคใต้ 8 จังหวัด, ภาคตะวันออก 2 จังหวัด และภาคตะวันตก 2 จังหวัด 
 
โดยหน่วยบริการภาครัฐนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่ประสงค์จะเปิดให้บริการวัคซีนโควิดสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ สามารถแจ้งกรมควบคุมโรคและทำเรื่องขอสนับสนุนวัคซีนผ่านต้นสังกัดได้ ส่วนหน่วยบริการภาคเอกชนอยู่ระหว่างการจัดทำแนวทางและรายละเอียดการดำเนินการ ขณะนี้จึงยังไม่มีการอนุมัติให้เปิดบริการ

https://thestandard.co/thailand-covid-decreasing-300166/

ข่าวโควิดยังมีอยู่นะคะ....
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9

สถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด 19 รายสัปดาห์
ระหว่างวันที่ 22 - 28 มกราคม 2566
ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์)
จำนวน 472 ราย : เฉลี่ยรายวัน จำนวน 67 ราย/วัน
ผู้เสียชีวิต (รายสัปดาห์)
จำนวน 29 ราย : เฉลี่ยรายวัน จำนวน 4 ราย/วัน
---------------------
หายป่วยสะสม 3,065 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2566)
เสียชีวิตสะสม 196 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2566)
---------------------
ผู้ป่วยปอดอักเสบ 160 ราย
ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 99 ราย
https://web.facebook.com/thaimoph/posts/pfbid0bny7cgRGqcFdRkaHT7aeNXLnvHiwBPLbf4eJaVNjGJLfbHj7Ak66kZCGXgqg4AGDl


สธ. ยืนยัน “LAAB” ยังใช้ได้กับสายพันธุ์ BA.2.75 ที่ระบาดในไทย เตรียมปรับรูปแบบให้กลุ่มเสี่ยงเข้าถึงมากขึ้น

นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ได้กล่าวถึง การให้บริการแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาว (Long-acting Antibodies: LAAB) หรือที่รู้จักในนามภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปให้กับประชากรที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ หรือผู้ที่ได้รับวัคซีนแต่ไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้สูงเพียงพอต่อการป้องกันโรค เช่น ผู้ป่วยกลุ่มภูมิคุ้มกันบกพร่อง กลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือด และกลุ่มผู้สูงอายุ เป็นต้น โดยเริ่มให้บริการตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2565 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ในระยะที่ผ่านมายังมีประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวไม่มากนัก กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมควบคุมโรค จึงได้ปรับรูปแบบการให้บริการโดยใช้กลยุทธ์เพิ่มโอกาสให้กลุ่มเสี่ยงได้รับรู้ข้อมูลและตัดสินใจ (Encouraging Decision) โดยเน้นให้บุคลากรทางการแพทย์ให้ข้อมูลประโยชน์ของภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้มีโอกาสได้ทราบข้อมูลและซักถาม ก่อนที่กลุ่มเป้าหมายจะได้ตัดสินใจขอรับแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวได้ที่โรงพยาบาล

จากข้อมูลของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ชี้ให้เห็นว่า ในระยะนี้ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ในประเทศไทยเป็นสายพันธุ์ BA.2.75 ซึ่งแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวสามารถใช้ได้ผลดี และในปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ กรมควบคุมโรคจึงผลักดันการให้บริการภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปแก่ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ในสถานดูแลผู้สูงอายุที่อยู่รวมกันจำนวนมากมีโอกาสติดเชื้อพร้อมกันหลายคน ซึ่งจะช่วยป้องกันการสูญเสียได้ โดยการลดความเสี่ยงป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิต ทั้งนี้ การใช้กลยุทธ์ใหม่เป็นการเพิ่มโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายได้รับข้อมูล LAAB มากขึ้นก่อนการตัดสินใจเข้ารับ และให้เป็นไปตามความสมัครใจของกลุ่มเป้าหมาย

ที่มา กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02gQe9QCNiqhzT71TSjhjNdwUheg3VSnmLiqdSVGyGzdr2waWVJqFNjUiLkAripntql


สถานการณ์โควิดต่างประเทศ อินเดียอนุมัติการใช้วัคซีนป้องกัน Covid-19 ชนิดพ่นจมูก สร้างภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับแบบฉีด

สำนักข่าว BBC รายงานว่า อินเดียอนุมัติการใช้วัคซีนป้องกัน Covid-19 แบบพ่นจมูก ใช้ชื่อว่า iNCOVACC ซึ่งผลิตโดยบริษัท Bharat Biotech ของอินเดีย โดยวัคซีนดังกล่าวช่วยสร้างภูมิต้านทานไวรัสบริเวณช่องจมูกและทางเดินหายใจส่วนบน ซึ่งเป็นส่วนที่เชื้อ Covid-19 มักเข้าสู่ร่างกาย โดยวัคซีนดังกล่าวมีราคาโดสละ 800 รูปี หรือประมาณ 330 บาท สำหรับการใช้ในโรงพยาบาลเอกชน และมีราคา 325 รูปี หรือประมาณ 128 บาท สำหรับการใช้ในโรงพยาบาลของรัฐ วัคซีน iNCOVACC ต้องรับ 2 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 28 วัน ทั้งนี้ นายแพทย์ Krishna Ella ประธานบริษัท Bharat Biotech ระบุว่า วัคซีนดังกล่าวใช้งานง่าย เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้เข็มหรือหลอดฉีดยา และสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับวัคซีนแบบฉีด

ที่มา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0DXffu6nyxb6zuQyXgXkAx76shaGZX87xf6rssm3dCDFh4AzJscz8njed26Re25mkl


ศูนย์ฉีดวัคซีน COVID-19 ณ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง
เปิดให้บริการ เดือน กุมภาพันธ์ เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์
เวลา 08.00 - 16.00 น.
สำหรับผู้มีอายุ 5 ปีขึ้นไป ทุกสัญชาติ
ผู้ประสงค์รับวัคซีนสามารถเข้ารับบริการได้
โดยจองผ่านแอป QueQ และรับ Walk in

ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค และหญิงตั้งครรภ์ควรเข้ารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ลดความรุนแรงของอาการและลดการเสียชีวิต

ที่มา สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid07PrtiosFL3CjRJhJY1H6Fz9H5DYeGtrHJT4pYJ9g4hXBz1KJ2yHwWXRt9LCSgSvWl


“นพ.ยง” เผยติดโควิด 19 รอบ 2 ไม่รุนแรง อาการเหมือนไข้หวัดใหญ่ แม้ไม่มีวัคซีนเทพ แต่ยับยั้งป่วยรุนแรง โควิดรอบสัปดาห์ป่วยหนักไม่ถึง 500

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กระบุ โควิด 19 การติดเชื้อซ้ำความรุนแรงของโรค ลดลง โดยโรคโควิด 19 เป็นแล้วเป็นอีกได้ เหมือนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนที่ฉีดไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ ภูมิต้านทานที่เกิดจากวัคซีนแต่ละชนิด ไม่ว่าจะสูงต่ำ จึงไม่แตกต่างกัน ไม่มีวัคซีนเทพ

จากการศึกษาของศูนย์ฯ ในผู้ที่ติดเชื้อครั้งแรกและติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2 ในจำนวนมากกว่า 200 คนพบว่าการติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2 ส่วนใหญ่อาการน้อยกว่าการติดเชื้อครั้งแรก ในเกือบทุกลักษณะอาการ ยกเว้นน้ำมูกไหล ที่มีการพบในอัตราส่วนที่เท่ากัน อาการที่ลดลง เกิดจากผลที่มีภูมิต้านทานที่เกิดขึ้น จากการติดเชื้อครั้งแรก รวมทั้งจำนวนหนึ่งได้รับวัคซีน และการเปลี่ยนแปลงของสายพันธุ์ไวรัส ที่อาจจะทำให้ความรุนแรงลดลง การติดเชื้อครั้งที่ 2 ส่วนใหญ่อาการจึงน้อยกว่าครั้งแรก

ขณะที่ ศูนย์โควิด 19 เผยยอดผู้ติดเชื้อ รายสัปดาห์ (22 - 28 ม.ค. 2566)
● ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล จำนวน 472 ราย : เฉลี่ยรายวัน จำนวน 67 ราย/วัน
● ผู้เสียชีวิต จำนวน 29 ราย : เฉลี่ยรายวัน จำนวน 4 ราย/วัน
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid027dHwLWoN5yxWELY7217wWxvJ6k8g7qD8btzaSw7XbV838u5PW2bQ5GT13SK93yFul
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่