จตุรารักขกรรมฐาน
พระราชนิพนธ์
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
แปลและเรียบเรียง
พระศาสนโศภน (แจ่ม จัตตัสสัลโล)
* * * * * * * *
พุทฺธานุสฺสติ เมตฺตา จ อสุภํ มรณสฺสติ อิจฺจิมา จตุรารกฺขา จตุรารักษ์เหล่านี้ คือพุทธานุสสติ เมตตา อสุภะ มรณัสสติ
วิสุทฺธธมฺมสนฺตาโน
พระพุทธเจ้า พระองค์มีพระสันดานบริบูรณ์ด้วยพระธรรมอันบริสุทธิ์
อนุตฺตราย โพธิยา โยคโต จ ปโพธา จ พุทฺโธ พุทฺโธติ ญายเต อันสัตวโลกมารู้สึกว่า พุทธะ ๆ ดังนี้ เพราะพระปัญญาตรัสรู้อย่างยิ่ง เพราะประกอบสัตว์ไว้ในธรรม และเพราะทรงปลุกสัตว์ผู้หลับอยู่ให้ตื่น (ดังนี้ชื่อว่าพุทธานุสสติ)
นรานรติรจฺฉานเภทา สตฺตา สุเขสิโน
สัตว์ทั้งหลาย ต่างด้วยมนุษย์ อมนุษย์ และดิรัจฉาน เป็นผู้แสวงหาความสุข
สพฺเพปิ สุขิโน โหนฺตุ
ขอเหล่าสัตว์แม้ทั้งปวง จงเป็นผู้ถึงความสุข
สุขิตตฺตา จ เขมิโน
และเป็นผู้เกษมสำราญ เพราะถึงความสุข (ดังนี้ชื่อว่าเมตตาภาวนา)
เกสโลมาทิฉวานํ อยเมว สมุสฺสโย กาโย สพฺโพปิ เชคุจฺโฉ
กายนี้แล เป็นที่ประชุมแห่งซากศพ มีผมขนเป็นต้น แม้ทั้งหมดเป็นของน่าเบื่อหน่าย
วณฺณาทิโต ปฏิกฺกุโล
ปฏิกูลโดยส่วนมีสีเป็นต้น (ดังนี้ชื่อว่าอสุภกัมมัฏฐาน)
ชีวิตินฺทฺริยุปจฺเฉท สงฺขาตมรณํ สิยา สพฺเพสํปีธ ปาณีนํ
ความตายกล่าวคือความแตกขาดแห่งชีวิตอินทรีย์ พึงมีแก่สัตว์ทั้งหลายหมดด้วยกันในโลกนี้
ตญฺหิ ธุวํ น ชีวิตํ
เพราะว่า ความตายเป็นของเที่ยง ชีวิตความเป็นอยู่เป็นของไม่เที่ยง (ดังนี้ชื่อว่ามรณัสสติ),
อิติ ดังนี้แล.
จตุรารักขกรรมฐาน