😎 จะมีบางคนที่รู้สึกว่า เอ๊ะ เราก็ไม่ได้กินเยอะนะ แล้วนี่ไม่ได้มโนไปเองด้วย แต่มีการบันทึกไว้อ่ะ ว่ากินอะไรไปบ้าง ได้พลังงานเท่าไหร่ มันก็ไม่ได้เยอะจริงๆนะแกรรรร แล้วทำไมมันถึงไม่ลดเลย หรือบางคนที่ เอ๊ะ กินไปก็เยอะแล้ว เนี่ย track อาหารไว้ก็กินเยอะ แต่น้ำหนักไม่เพิ่มเลย มันเป็นกันแน่
📌 ในงานนี้จริงๆก็ไม่ตรงกับที่เกริ่นไปนักนะครับ (เอ้า แล้วพิมพ์ทำไม ๕๕) แต่ก็นำใช้ได้ใกล้เคียงกันอยู่ คือเขาตั้งคำถามกับวิธีที่เราใช้ในการประเมินอาหารที่ทาน ซึ่งวิธีนึงที่นิยมใช้กันก็คือ การสัมภาษณ์การทานย้อนหลัง 24 ชั่วโมง (24 hour diet recall) ว่ามีความแม่นยำให้ข้อมูลพลังงานที่ทานจริงมากแค่ไหน
🔎 โดยเขานำ Doubly labeled water (DLW) ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานระดับ gold standard ในการวัดการใช้พลังงานรวมของร่างกาย (Total Energy Expenditure, TEE) มาใช้เปรียบเทียบกัน ว่าที่เราประเมินว่าเรากินจากที่เราจดจำได้ว่ากินอะไรไปบ้าง พอคิดคำนวณออกมาเป็นพลังงานอาหารแล้ว แตกต่างกันเท่าไหร่
👧🏻 มีกลุ่มตัวอย่าง 72 คน (ชาย 36 หญิง 36) อายุระหว่าง 20-49 ปี เขากำหนดไว้ว่า BMI อย่างน้อย 18.5 แต่ไม่ถึง 25 ก็คือช่วง BMI คนรูปร่างเกณฑ์ปกติ ไม่อยู่ในการคุมอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก ไม่มีภาวะป่วยหรือใช้ยาอะไร ไม่ได้เป็นนักกีฬา หรือออกกำลังกายหนักมาก พักอยู่ใกล้ๆบริเวณที่เขาทำการศึกษา สุดท้ายจบงานหลุดไป 1 คนเหลือ 72 คน
⚖️ การเก็บข้อมูลเพื่อนำมาศึกษาก็มีทั้งการชั่งน้ำหนัก ในระหว่างการทำ TEE เพื่อดูการเผาผลาญ 14 วัน แล้วก็มีการวัดส่วนสูง วัดค่า Bodycomposition ต่างๆ ด้วย BIA ใช้เครื่อง Inbody 720 ซึ่งก็ได้มาตรฐานอยู่ ส่วนการเก็บข้อมูล 24hr diet recall ทำสัปดาห์ละ 3 ครั้ง วันธรรมดา 2 วันหยุด 1 วันเว้นวัน ก็เป็นรูปแบบตามมาตรฐานนะครับ จากข้อมูลต่างๆ เขาก็นำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
📝 ซึ่งก็พบว่า ข้อมูลการทาน Total Energy Intake (TEI) ที่ได้จากการประเมิน 24hr diet recall นั้นเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับ TEE ที่ได้จากวิธี DLW แล้วพบว่าพลังงานอาหารที่ทานนั้น รายงานต่ำกว่าที่ควรจะเป็น (Underreporting) แล้วต่ำไปเฉลี่ยราว 300 แคลต่อวันเลยนะครับเนี่ย 
👧🏻 ถ้าดูแยกเพศ ผู้ชายนี่ต่ำกว่าควรไปร่วม 350 แคลต่อวัน เหมือนกินพิซซ่าไปชิ้นครึ่งแล้วไม่รู้สึกว่าได้กินไป ว่าง่ายๆ ถ้าพวกเขาบอกว่าเนี่ยกินไปก็ไม่ได้เยอะอะไรนะ ดูสิกินไปแค่วันละ 2000 แคลเอง แต่จริงๆพวกเขากินไป 2350 แคลต่อวัน อันนี้คิดจากค่าเฉลี่ยนะครับ ถ้าดูรายคนก็มีบวกลบมากน้อยกว่านี้อีก
🔎 ถ้าดูเป็นความสัมพันธ์ของค่า TEI และ TEE ก็ไปในทิศทางเดียวกันนะครับ แต่จะเห็นว่าข้อมูลส่วนใหญ่จะไปอยู่ในทางฝั่งของ Underreporting เสียมากกว่า ส่วนมากถ้าถามว่ากินอะไรไปบ้าง เก็บข้อมูลออกมาคำนวณพลังงานที่ทาน จะได้น้อยกว่าที่ทานไปจริงๆ ส่วนคนที่รายงานแล้วคิดออกมาได้มากกว่าที่ทานจริงๆ ก็มีบ้างแต่ไม่มากเท่าไหร่ (ในคนกลุ่มนี้)
📌 ซึ่งข้อมูลจากงานนี้ ก็พบว่าการประเมินโภชนาการด้วยวิธี 24hr diet recall ในผู้ชายได้ผลต่ำกว่าจริงประมาณ 12.2% และในผู้หญิง 11.8% และถ้าในภาพรวมก็ต่ำกว่าจริง 12% เมื่อเทียบกับผลที่ได้จาก DLW
😎 อย่างไรก็ตามอันนี้ก็คือข้อมูลจากคนกลุ่มนี้นะครับ ซึ่งถ้าเป็นคนกลุ่มอื่น ก็อาจจะแตกต่างกันไปได้ ก็ต้องศึกษาต่อในอีกหลายๆ กลุ่มหลายๆครั้งก่อนจะนำไปสู่ข้อสรุปอย่างชัดเจน งานนี้ศึกษาในคนเกาหลี ในคนไทย หรือคนชาติอื่นๆ ก็อาจจะแตกต่างกันไปได้เช่นกัน แต่ก็พอเห็นภาพที่น่าสนใจอยู่นะครับ
😎 ข้อมูลนี้ก็นำไปใช้ประโยชน์ได้หลายมุม อย่างในกลุ่มนักวิจัยทางอาหาร สุขภาพ หรือสาธารณสุข ก็ทางนึง อย่างพวกเราๆท่านๆ นำไปใช้กับตัวเอง ก็อาจจะลองดูประกอบกับฟีดแบค การควบคุมน้ำหนักของเราเองประกอบครับ เอาง่ายๆ ถ้าน้ำหนักขึ้น แต่เอ๊ะ ก็กินไม่เยอะนี่หว่า ดูข้อมูลโภชนาการแล้วก็ไม่มีอะไร บางทีอาจจะแอบเยอะโดยไม่รู้ตัวก็ได้ อิอิ
ที่มาและแหล่งอ้างอิง
https://www.fatfighting.net/article-2022-10-20-comparison-of-total-energy-intakes-estimated-by-24-hour-diet-recall-with-total-energy-expenditure-measured-by-the-doubly-labeled-water-method/
ฉันก็ไม่ได้กินไปเยอะเลยนะ ทำไมยังอ้วนอยู่อ่ะ 🤔
📌 ในงานนี้จริงๆก็ไม่ตรงกับที่เกริ่นไปนักนะครับ (เอ้า แล้วพิมพ์ทำไม ๕๕) แต่ก็นำใช้ได้ใกล้เคียงกันอยู่ คือเขาตั้งคำถามกับวิธีที่เราใช้ในการประเมินอาหารที่ทาน ซึ่งวิธีนึงที่นิยมใช้กันก็คือ การสัมภาษณ์การทานย้อนหลัง 24 ชั่วโมง (24 hour diet recall) ว่ามีความแม่นยำให้ข้อมูลพลังงานที่ทานจริงมากแค่ไหน
🔎 โดยเขานำ Doubly labeled water (DLW) ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานระดับ gold standard ในการวัดการใช้พลังงานรวมของร่างกาย (Total Energy Expenditure, TEE) มาใช้เปรียบเทียบกัน ว่าที่เราประเมินว่าเรากินจากที่เราจดจำได้ว่ากินอะไรไปบ้าง พอคิดคำนวณออกมาเป็นพลังงานอาหารแล้ว แตกต่างกันเท่าไหร่
👧🏻 มีกลุ่มตัวอย่าง 72 คน (ชาย 36 หญิง 36) อายุระหว่าง 20-49 ปี เขากำหนดไว้ว่า BMI อย่างน้อย 18.5 แต่ไม่ถึง 25 ก็คือช่วง BMI คนรูปร่างเกณฑ์ปกติ ไม่อยู่ในการคุมอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก ไม่มีภาวะป่วยหรือใช้ยาอะไร ไม่ได้เป็นนักกีฬา หรือออกกำลังกายหนักมาก พักอยู่ใกล้ๆบริเวณที่เขาทำการศึกษา สุดท้ายจบงานหลุดไป 1 คนเหลือ 72 คน
⚖️ การเก็บข้อมูลเพื่อนำมาศึกษาก็มีทั้งการชั่งน้ำหนัก ในระหว่างการทำ TEE เพื่อดูการเผาผลาญ 14 วัน แล้วก็มีการวัดส่วนสูง วัดค่า Bodycomposition ต่างๆ ด้วย BIA ใช้เครื่อง Inbody 720 ซึ่งก็ได้มาตรฐานอยู่ ส่วนการเก็บข้อมูล 24hr diet recall ทำสัปดาห์ละ 3 ครั้ง วันธรรมดา 2 วันหยุด 1 วันเว้นวัน ก็เป็นรูปแบบตามมาตรฐานนะครับ จากข้อมูลต่างๆ เขาก็นำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
📝 ซึ่งก็พบว่า ข้อมูลการทาน Total Energy Intake (TEI) ที่ได้จากการประเมิน 24hr diet recall นั้นเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับ TEE ที่ได้จากวิธี DLW แล้วพบว่าพลังงานอาหารที่ทานนั้น รายงานต่ำกว่าที่ควรจะเป็น (Underreporting) แล้วต่ำไปเฉลี่ยราว 300 แคลต่อวันเลยนะครับเนี่ย 
👧🏻 ถ้าดูแยกเพศ ผู้ชายนี่ต่ำกว่าควรไปร่วม 350 แคลต่อวัน เหมือนกินพิซซ่าไปชิ้นครึ่งแล้วไม่รู้สึกว่าได้กินไป ว่าง่ายๆ ถ้าพวกเขาบอกว่าเนี่ยกินไปก็ไม่ได้เยอะอะไรนะ ดูสิกินไปแค่วันละ 2000 แคลเอง แต่จริงๆพวกเขากินไป 2350 แคลต่อวัน อันนี้คิดจากค่าเฉลี่ยนะครับ ถ้าดูรายคนก็มีบวกลบมากน้อยกว่านี้อีก
🔎 ถ้าดูเป็นความสัมพันธ์ของค่า TEI และ TEE ก็ไปในทิศทางเดียวกันนะครับ แต่จะเห็นว่าข้อมูลส่วนใหญ่จะไปอยู่ในทางฝั่งของ Underreporting เสียมากกว่า ส่วนมากถ้าถามว่ากินอะไรไปบ้าง เก็บข้อมูลออกมาคำนวณพลังงานที่ทาน จะได้น้อยกว่าที่ทานไปจริงๆ ส่วนคนที่รายงานแล้วคิดออกมาได้มากกว่าที่ทานจริงๆ ก็มีบ้างแต่ไม่มากเท่าไหร่ (ในคนกลุ่มนี้)
📌 ซึ่งข้อมูลจากงานนี้ ก็พบว่าการประเมินโภชนาการด้วยวิธี 24hr diet recall ในผู้ชายได้ผลต่ำกว่าจริงประมาณ 12.2% และในผู้หญิง 11.8% และถ้าในภาพรวมก็ต่ำกว่าจริง 12% เมื่อเทียบกับผลที่ได้จาก DLW
😎 อย่างไรก็ตามอันนี้ก็คือข้อมูลจากคนกลุ่มนี้นะครับ ซึ่งถ้าเป็นคนกลุ่มอื่น ก็อาจจะแตกต่างกันไปได้ ก็ต้องศึกษาต่อในอีกหลายๆ กลุ่มหลายๆครั้งก่อนจะนำไปสู่ข้อสรุปอย่างชัดเจน งานนี้ศึกษาในคนเกาหลี ในคนไทย หรือคนชาติอื่นๆ ก็อาจจะแตกต่างกันไปได้เช่นกัน แต่ก็พอเห็นภาพที่น่าสนใจอยู่นะครับ
😎 ข้อมูลนี้ก็นำไปใช้ประโยชน์ได้หลายมุม อย่างในกลุ่มนักวิจัยทางอาหาร สุขภาพ หรือสาธารณสุข ก็ทางนึง อย่างพวกเราๆท่านๆ นำไปใช้กับตัวเอง ก็อาจจะลองดูประกอบกับฟีดแบค การควบคุมน้ำหนักของเราเองประกอบครับ เอาง่ายๆ ถ้าน้ำหนักขึ้น แต่เอ๊ะ ก็กินไม่เยอะนี่หว่า ดูข้อมูลโภชนาการแล้วก็ไม่มีอะไร บางทีอาจจะแอบเยอะโดยไม่รู้ตัวก็ได้ อิอิ
ที่มาและแหล่งอ้างอิง
https://www.fatfighting.net/article-2022-10-20-comparison-of-total-energy-intakes-estimated-by-24-hour-diet-recall-with-total-energy-expenditure-measured-by-the-doubly-labeled-water-method/