ความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ, เอกชน และประชาชนนั้นเป็นสิ่งสำคัญ และการจะบรรลุเป้าหมายเดียวกันให้ได้นั้น การวางแผนเชิงกลยุทธ์ และการวางกลไกการขับเคลื่อนจึงเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงประเทศ ไปสู่ความเป็นผู้นำการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของโลก
เพื่อการนั้น นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และคณะรัฐมนตรี จึงมีมติแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติขึ้น เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 เพื่อกำหนดทิศทาง, เป้าหมาย และการบูรณาการแผนปฏิบัติการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสอดประสานกันอย่างได้ผล และครอบคลุมทั้งระบบ รวมไปถึงการชักจูงภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และสังคม
ภายใต้การนำที่ชัดเจนในเป้าหมาย ของรัฐบาลนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ภาคเอกชนมากมาย เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งอนาคตของประเทศร่วมกับรัฐบาล
นี่จะเห็นได้จากความสำเร็จของภาคเอกชนผู้ผลิตของไทย ภายใต้ความร่วมมือส่งเสริมของภาครัฐและสถาบันวิจัย/การศึกษา จนสามารถดัดแปลงรถ ขสมก. อายุ 20 ปี ให้กลายเป็นรถโดยสารไฟฟ้า ออกให้บริการประชาชนได้ หรือความสามารถของผู้ผลิตไทย ที่สามารถผลิตรถโดยสารไฟฟ้าเอกชนออกจำหน่ายสู่ท้องตลาดได้ อีกทั้งยังสามารถผลิตเรือโดยสารไฟฟ้า ออกให้บริการประชาชนในกรุงเทพ ฯ, ราชบุรี และเรือนำเที่ยวระหว่างภูเก็ต-พังงา
นอกจากนี้ ความรวดเร็วของการเพิ่มสถานีชาร์จประจุไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันมีแล้วถึง 944 แห่งทั่วประเทศนั้น จะเป็นไปไม่ได้เลย หากขาดความร่วมมือระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.), การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กับภาคเอกชน ผู้ผลิตยานยนต์, ผู้ให้บริการห้างสรรพสินค้า, โรงแรม, ผู้ให้บริการพลังงานและสถานีบริการน้ำมัน ตลอดจนนักลงทุนผู้รักษ์สิ่งแวดล้อม
และสุดท้าย ด้วยความร่วมมือร่วมใจจากพี่น้องประชาชนชาวไทย ที่เข้าใจในเป้าหมายของรัฐบาล จนทำให้วันนี้ ประเทศไทยมียานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนแล้วมากถึง 284,163 คัน คิดเป็น 65% ของเป้าหมายการส่งเสริมตามนโยบาย 30@30 แล้ว ทั้ง ๆ ที่ยังมีเวลาเหลืออีกถึง 8 ปี
สิ่งเหล่านี้ เห็นได้ชัดถึงพลังของความสามัคคีของคนไทย และความปรองดองของคนไทย เพื่อการบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อความรุ่งเรืองร่วมกันของประเทศไทยของพวกเราทุกคน
#ยานยนต์ไฟฟ้าอุตสาหกรรมแห่งอนาคตของไทย #ยุทธศาสตร์ชาติ20ปี
#สร้างไทยไปด้วยกัน #ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
#PMOC #ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี
@@@@@ รถไฟฟ้า EV คืบหน้าต่อเนื่อง @@@
เพื่อการนั้น นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และคณะรัฐมนตรี จึงมีมติแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติขึ้น เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 เพื่อกำหนดทิศทาง, เป้าหมาย และการบูรณาการแผนปฏิบัติการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสอดประสานกันอย่างได้ผล และครอบคลุมทั้งระบบ รวมไปถึงการชักจูงภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และสังคม
ภายใต้การนำที่ชัดเจนในเป้าหมาย ของรัฐบาลนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ภาคเอกชนมากมาย เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งอนาคตของประเทศร่วมกับรัฐบาล
นี่จะเห็นได้จากความสำเร็จของภาคเอกชนผู้ผลิตของไทย ภายใต้ความร่วมมือส่งเสริมของภาครัฐและสถาบันวิจัย/การศึกษา จนสามารถดัดแปลงรถ ขสมก. อายุ 20 ปี ให้กลายเป็นรถโดยสารไฟฟ้า ออกให้บริการประชาชนได้ หรือความสามารถของผู้ผลิตไทย ที่สามารถผลิตรถโดยสารไฟฟ้าเอกชนออกจำหน่ายสู่ท้องตลาดได้ อีกทั้งยังสามารถผลิตเรือโดยสารไฟฟ้า ออกให้บริการประชาชนในกรุงเทพ ฯ, ราชบุรี และเรือนำเที่ยวระหว่างภูเก็ต-พังงา
นอกจากนี้ ความรวดเร็วของการเพิ่มสถานีชาร์จประจุไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันมีแล้วถึง 944 แห่งทั่วประเทศนั้น จะเป็นไปไม่ได้เลย หากขาดความร่วมมือระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.), การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กับภาคเอกชน ผู้ผลิตยานยนต์, ผู้ให้บริการห้างสรรพสินค้า, โรงแรม, ผู้ให้บริการพลังงานและสถานีบริการน้ำมัน ตลอดจนนักลงทุนผู้รักษ์สิ่งแวดล้อม
และสุดท้าย ด้วยความร่วมมือร่วมใจจากพี่น้องประชาชนชาวไทย ที่เข้าใจในเป้าหมายของรัฐบาล จนทำให้วันนี้ ประเทศไทยมียานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนแล้วมากถึง 284,163 คัน คิดเป็น 65% ของเป้าหมายการส่งเสริมตามนโยบาย 30@30 แล้ว ทั้ง ๆ ที่ยังมีเวลาเหลืออีกถึง 8 ปี
สิ่งเหล่านี้ เห็นได้ชัดถึงพลังของความสามัคคีของคนไทย และความปรองดองของคนไทย เพื่อการบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อความรุ่งเรืองร่วมกันของประเทศไทยของพวกเราทุกคน
#ยานยนต์ไฟฟ้าอุตสาหกรรมแห่งอนาคตของไทย #ยุทธศาสตร์ชาติ20ปี
#สร้างไทยไปด้วยกัน #ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
#PMOC #ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี