ถอดบทเรียน ‘ปตท.’ ถอยลงทุน EV ตัดทิ้งธุรกิจเสี่ยงไม่ทำกำไร
ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ถือเป็นเทรนด์ที่ทั่วโลกต่างออกมาตรการสนับสนุนนโยบายเปลี่ยนเครื่องยนต์สันดาปภายในเป็นรถไฟฟ้าเพื่อลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก เนื่องจากกลุ่มยานยนต์ถือเป็นกลุ่มที่มีการปล่อยคาร์บอนในปริมาณที่สูง สร้างมลพิษและส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
นโยบาย 30@30 เป็นแนวทางการส่งเสริมอีวีของประเทศ เพื่อให้มุ่งสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก โดยคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ได้ออกแนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ตามนโยบาย 30@30 คือ การตั้งเป้าผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030 หรือ พ.ศ. 2573 ถือเป็นอีกหนึ่งกลไกที่จะนำพาประเทศไทยเข้าสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ (Low-carbon Society)
เป้าหมายการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ประเภทรถยนต์นั่งและรถกระบะ 725,000 คัน รถจักรยานยนต์ 675,000 คัน รถบัสและรถบรรทุก 34,000 คัน นอกจากนั้น ยังมีการส่งเสริมการผลิตรถสามล้อ เรือโดยสาร และรถไฟระบบรางอีกด้วย
ดังนั้น กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ในประเทศไทยต่างเล็งเห็นถึงธุรกิจอีวี จึงเริ่มมีเป้าหมายการผลิตที่ชัดเจน แต่ด้วยการลงทุนในธุรกิจขนาดใหญ่จะต้องใช้เม็ดเงินลงทุนสูง และต้องอาศัยความร่วมมือกับกลุ่มบริษัทที่มีความรู้ความสามารถที่เพียงพอ เพื่อสร้างเม็ดเงินและกำไรตามแผนที่ลงทุนไป
อย่างไรก็ตาม จากพิษเศรษฐกิจที่ชะลอตัว อีกทั้งผู้ผลิตอีวีจีนเข้ามาตีตลาดในประเทศไทยหลายแบรนด์ ส่งผลให้การแข่งขันรุนแรงมากขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยมียอดผลิตลดลง ทำให้ธุรกิจที่จะลงทุนในอุตสาหกรรมอีวีไทย ต้องปรับแผนลงทุนใหม่ ไม่เว้นแม้แต่ กลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่ต้องลดสัดส่วนการลงทุนในธุรกิจอีวีเช่นกัน
อ่านต่อ
https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1161404?anm=
ถอดบทเรียน ‘ปตท.’ ถอยลงทุน EV ตัดทิ้งธุรกิจเสี่ยงไม่ทำกำไร
ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ถือเป็นเทรนด์ที่ทั่วโลกต่างออกมาตรการสนับสนุนนโยบายเปลี่ยนเครื่องยนต์สันดาปภายในเป็นรถไฟฟ้าเพื่อลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก เนื่องจากกลุ่มยานยนต์ถือเป็นกลุ่มที่มีการปล่อยคาร์บอนในปริมาณที่สูง สร้างมลพิษและส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
นโยบาย 30@30 เป็นแนวทางการส่งเสริมอีวีของประเทศ เพื่อให้มุ่งสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก โดยคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ได้ออกแนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ตามนโยบาย 30@30 คือ การตั้งเป้าผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030 หรือ พ.ศ. 2573 ถือเป็นอีกหนึ่งกลไกที่จะนำพาประเทศไทยเข้าสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ (Low-carbon Society)
เป้าหมายการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ประเภทรถยนต์นั่งและรถกระบะ 725,000 คัน รถจักรยานยนต์ 675,000 คัน รถบัสและรถบรรทุก 34,000 คัน นอกจากนั้น ยังมีการส่งเสริมการผลิตรถสามล้อ เรือโดยสาร และรถไฟระบบรางอีกด้วย
ดังนั้น กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ในประเทศไทยต่างเล็งเห็นถึงธุรกิจอีวี จึงเริ่มมีเป้าหมายการผลิตที่ชัดเจน แต่ด้วยการลงทุนในธุรกิจขนาดใหญ่จะต้องใช้เม็ดเงินลงทุนสูง และต้องอาศัยความร่วมมือกับกลุ่มบริษัทที่มีความรู้ความสามารถที่เพียงพอ เพื่อสร้างเม็ดเงินและกำไรตามแผนที่ลงทุนไป
อย่างไรก็ตาม จากพิษเศรษฐกิจที่ชะลอตัว อีกทั้งผู้ผลิตอีวีจีนเข้ามาตีตลาดในประเทศไทยหลายแบรนด์ ส่งผลให้การแข่งขันรุนแรงมากขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยมียอดผลิตลดลง ทำให้ธุรกิจที่จะลงทุนในอุตสาหกรรมอีวีไทย ต้องปรับแผนลงทุนใหม่ ไม่เว้นแม้แต่ กลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่ต้องลดสัดส่วนการลงทุนในธุรกิจอีวีเช่นกัน
อ่านต่อ https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1161404?anm=